"หุ่นยนต์หมา" ช่วยทหารลำเลียงสัมภาระ




ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=xqMVg5ixhd0
เพนตากอน พัฒนาสุนัขหุ่นยนต์ เล็งส่งประจำหน่วยทหาร สามารถขนส่งยุทธภัณฑ์หนัก 180 กิโลกรัมได้สบาย เดินไกล 30 กม.ได้โดยไม่ต้องหยุดพัก

กองทัพสหรัฐได้นำหุ่นยนต์เจ้าตูบเวอร์ชั่นล่าสุด ชื่อว่า แอลเอส3 หรือ อัลฟาด็อก ซึ่งสามารถติดตามทหาราบไปในสนามรบได้ ออกแสดงแก่สื่อมวลชน

จักรกลสุนัขตัวนี้ พัฒนาโดยบริษัทบอสตัน ไดนามิกส์ สามารถเดินไกล 20 ไมล์ได้โดยไม่ต้องหยุดพัก และแบกสัมภาระได้ถึง 400 ปอนด์


ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=xY42w1w0TWk
องค์การโครงการวิจัยการป้องกันประเทศชั้นสูง หรือดาร์ปา บอกว่า แอลเอส3 ได้สาธิตการเดินด้วยขาในระบบกึ่งอัตโนมัติ,ติดตามกองทหารไปในภูมิประเทศอันทุรกันดาร และมีปฏิสัมพันธ์กับทหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ คล้ายกับสัตว์ที่ผ่านการฝึกกับผู้ดูแล

พันโท โจ ฮิท ผู้จัดการโครงการของดาร์ปา เผยว่า ขณะนี้ เริ่มทดสอบเจ้าอัลฟาด็อกในหน่วยนาวิกโยธินแล้ว

"แอลเอส3 เป็นการผสมผสานขีดความสามารถของลาต่างกับความฉลาดของสัตว์ที่ผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดีเข้าด้วยกัน"

"หุ่นยนต์หมา" ช่วยทหารลำเลียงสัมภาระ
ในการสาธิตเมื่อเร็วๆนี้ หุ่นยนต์ต้นแบบของแอลเอส3 ได้แสดงการเดิน การวิ่ง การมอง และความเป็นอิสระ ล่าสุด เจ้าหุ่นยนต์แสดงให้เห็นว่ามันสามารถเคลื่อนไหวโดยมีเสียงการทำงานของมอเตอร์เบาลงกว่าเดิม

"แอลเอส3 รุ่นใหม่นี้มีเสียงดังน้อยกว่าเดิม 10 เท่า ในรุ่นเก่านั้น ทหารไม่สามารถคุยกันรู้เรื่องเลยถ้ายืนอยู่ใกล้ๆมัน" ฮิทบอก"แล้วมันยังสามารถเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนไหวจากการเดิน 1-3 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นการวิ่งเหยาะๆไปตามทางขรุขระด้วยความเร็ว 5 ไมล์ต่อชั่วโมง แล้วในที่สุดก็วิ่งบนพื้นราบได้เร็ว 7 ไมล์ต่อชั่วโมง"

"หุ่นยนต์หมา" ช่วยทหารลำเลียงสัมภาระ
"มันสามารถวิ่งด้วยสี่ขาได้อย่างราบรื่น ถ้าสะดุดล้ม มันก็สามารถลุกยืนได้โดยอัตโนมัติ แล้วออกวิ่งต่อไป"

เขาบอกอีกว่า แอลเอส3 สามารถติดตามคนนำทาง และตามรอยของสมาชิกในหมวดหมู่ได้ด้วย

ในเดือนธันวาคมนี้ หน่วยนาวิกโยธินจะทดสอบแอลเอส3ในภาคสนามที่ค่ายทหารหลายแห่ง เช่น ในทะเลทรายแคลิฟอร์เนีย และในเวอร์จิเนีย โดยใช้เวลา 2 ปี

"หุ่นยนต์หมา" ช่วยทหารลำเลียงสัมภาระ
เจ้าอัลฟาด็อกสามารถรู้พิกัดของผู้ดูแลมันได้ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่มีหน้าจอสัมผัสคล้ายไอแพด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ทีอาร์ซี (TRC-Marine corps Tactical Robot Controller)