กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: สูตรยาปริศนา

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367

    คำถาม และรอคำตอบ สูตรยาปริศนา

    เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่เพิ่นบอกสูตรยาสมุนไพร แต่เพิ่นจะบ่บอกซือยาตรงๆ

    กะเลยอยากถามท่าน(ผู้เฒ่า)ผู้ฮู้ในบ้านมหาเฮาเบิ่งว่ามีไผฮู้แนบ่ค่ะ

    มีอยู่ว่า...ไส่บ่เต็ม-เค็มบ่จืด กับ เฒ่าบ่เป็น...ทั้งสามอย่างเพิ่นเอิ้นซือยาในตำรา แต่บ่ฮู้ว่าหมายถึงต้นหยัง สูตรยาปริศนา

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ.....

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ณัฐ ภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    747
    อือบ่ฮู้คือกันเนาะทางนี้กะด๋ายแต่ที่ว่า เฒ่าบ่เป็น นั้นบ่แม้นต้นเปลือยติฮึเขาเจ้าฮอ้งต้นอิหยังเนาะ ดอกสีมมว่งหนะพอเปลือกแก่ๆๆแหน่กะลอกออกใหม่บ่แม้นต้นอันนี้ติได้ยินผุเฒ่าทางบ้านฮอ้งชื่อต้นไม้นี้ ว่าเฒ่าหละลอกหัวหงอกหละเป็นสาวเนาะครับอ้อฮึต้นแก๋จำบ่ได้

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ paula
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    356
    แพทย์แผนโบราณอีสาน

    แพทย์แผนโบราณอีสาน หมอยาพื้นบ้านอีสาน หรือจะเรียกให้เป็นสากลก็ว่า แพทย์แผนโบราณอีสานนั้น การปรุงยาของเขาจะค้นคว้าหรือเลือกสรรสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นตัวยา สุดแท้แต่ใครจะค้นคว้าทดลองจนเป็นสรรพคุณเป็นที่แน่ชัดว่าสูตรผสมของยาแต่ละขนาน ปรือที่หมอยาพื้นบ้านเรียกว่า ยาซุม บางที่ก็เรียกควบกันไปว่า ยาซุมยาแฮน สูตรนั้น ๆ ดีหรือ ชงัด หมอยาพื้นบ้านผู้เป็นเจ้าตำรับสูตรยาก็จะตั้งชื่อตัวยาต่าง ที่เป็นส่วนประกอบในการผสมยาไว้เป็นปริศนา การตั้งชื่อตัวยาเป็นปริศนานั้นอาจเป็นการสอนให้ผู้ที่มีความตั้งใจที่จะศึกษาหาความรู้ทางตำรายาพื้นบ้าน ได้ใช้ความอุตสาหพยายามค้นหาคำตอบหรือความหมาย ของปริศนาตัวยาให้ได้ เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วจะจดจำได้นานและถาวร จึงนับว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่น่าศึกษายิ่ง ตำรายาที่เป็นปริศนาและน่าสนใจควรนำมาเผยแพร่ต่อไปนี้เป็นเพียงบางส่วน ขอนำมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

    ปริศนายาสมุนไพร (ปริศนายากลางบ้าน)
    ตำรารักษาโรคขี้กระยือ (โรคหืด) ยาซุมนี้ (ขนานนี้) มีตัวยาประกอบด้วย
    ยืนกลางน้ำ ช้ำทางใน หาบบ่หนัก ตักบ่เต็ม เค็มบ่จืด
    ตัวยาทั้ง 5 นี้ หากผู้อ่านได้อ่านดูรายชื่อตังยาแต่ละชนิดแล้ว ก็คงจะแปล
    ความหมายได้ยาก จึงขอนำคำอธิบายมาบันทึกไว้เพื่อให้ผู้สนใจใฝ่รูได้ทราบและนำไปใช้ คงจะเกิดผลดีต่อผู้ป่วยและสังคมได้บ้าง


    คำอธิบายความหมายของตัวยา
    ยืนกลางน้ำ หมายถึง ต้นแก่นกลางของ หรือ ต้นกลางของ คำว่า กลางของ ในที่นี้ หมายถึง กลางแม่น้ำโขง เพราะชื่อแม่น้ำโขง ชาวบ้านทั้งไทยและลาวจะเรียกว่า แม่น้ำของต้นแก่นกลางของในภาษาไทยกลางจะเรียกว่า ต้นดอกปีบ หรือทางพายัพจะเรียก กาซะลอง ใช้รากเป็นส่วนผสมยา ที่เรียกว่า ยืนกลางน้ำก็เนื่องจากชื่อที่ชาวบ้าน เรียกว่า ต้นกลางของ นั่นเอง
    ช้ำทางใน หมายถึง ต้นไข่เน่า ฟังขื่อแล้วก็น่าจะช้ำหรือเน่าภายในเป็นแน่หมอยาพื้นบ้านจึงตั้งชื่อว่า ช้ำทางใน ต้นไข่เน่า ภาษาไทยกลางก็เรียก ไข่เน่าเช่นเดียวกัน เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูง 8-12 เมตร ใบช่อหนึ่งมีใบย่อย 5 ใบ คล้ายใบงิ้ว ดอกเล็กสีม่วงอ่อนผลรูปไข่ ขนาดเท่าหัวแม่มือ สุกกินได้มีรสหวานเล็กน้อย ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่วไป ใช้รากเป็นตัวยา
    หาบบ่หนัก หมายถึง ต้นกะเบา ซึ่งฟังชื่อแล้วเหมือนเบา หาบคงไม่หนัก ต้นกะเบา เป็นต้นไม้ขนาดย่อมไปถึงขนาดใหญ่ มีหลายชนิดมักขึ้นในที่ชื้นแฉะ ผลมักกลมขนาดมะนาวไปถึงขนาดมะขวิดหรือส้มโอย่อม ๆ เปลือกแข็งเป็นขนสีน้ำตาลแก่เกือบดำ บางชนิดภายในมีเนื้อเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ บางชนิดกินได้ บางชนิดกินแล้วเมาเบื่อก็มี ใช้รักษาได้หลายโรค เช่น โรคเรื้อน โรคผิวหนัง และขับพยาธิ บางแห่งเรียกว่า กะเปา หรือ ง่าย้อย ใช้รากเป็นตัวยาแก้โรคหืด
    ตักบ่เต็ม หมายถึง ตันกะบก ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอก หรือมะปรางขนาดเขื่อง เม็ดในมีรสมันกินได้ หรือใช้ทำน้ำมั่นประกอบอาหาร บางที่เรียก ตระบก หรือ มะลื่น ที่หมอยาเรียกตักบ่เต็ม เพราะคำว่า บก ในภาษาอีสาน หมายถึง การลดลง เช่น น้ำลด ก็ว่า น้ำบก ดังนั้นการตักน้ำใส่โอ่งตักเท่าไรก็ไม่เต็ม เพราะบกลงหรือลดลงอยู่ตลอดตามชื่อเรียกว่า ใช้แก่นเป็นส่วนผสมยา
    เค็มบ่จืด หมายถึง ต้นมะเกลือ เอาความหมายจากคำว่าเกลือต้องมีความเค็มและรักษาความเค็มได้เสมอ มะเหลือเป็นไม้ชนิดหนึ่ง แก่นสีดำใช้ย้อมผ้า ผลใช้เป็นยา ถ่ายพยาธิได้เช่นเดียวกัน ใช้รากเป็นส่วนผสมยา

    การปรุงยา ใช้ตัวยาทั้ง 5 ชนิด อย่างละ 5 ขีด นำมาต้มเป็นน้ำดื่มให้คนป่วยโรคขี้กระยือ หรือ โรคหืด ดื่มประจำ 3 หม้อ โรคก็จะหาย บางตำราจะใช้คาถาทางพระพุทธศาสนาเข้าช่วย จะให้ตัวยาขลังยิ่งขึ้น เช่น ท่องคาถา “สักกัตวา พุทธระตะนัง” 3 จบ เป่าลงหม้อยาแล้วดื่ม จะหายเป็นปกติแล (นายจันทร์ นนทะเสน อายุ 70 ปี หมอยาพื้นบ้าน บ้านท่าควายตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2528)

    ชื่อปริศนายาอายุวัฒนะ
    กลางอากาศ พาดหว่าไม้ ไหง้ธรณี หนีสงสาร ไปนิพพานบ่กลับ
    ไขปริศนายาอายุวัฒนะ


    กลางอากาศ หมายถึง น้ำผึ้งแท้ที่เป็นน้ำผึ้งเดือน 5 ตามธรรมชาติรวงผึ้งจะห้อยลงอยู่กลางอากาศ จึงเรียกว่า กลางอากาศ
    พาดหว่าไม้ หมายถึง บอระเพ็ด หรือที่ชาวบ้านเรียก “เครือเขาฮอ” มีรสขม ใช้ทำยาป้องกันและรักษาโรคได้ บรเพ็ดจะเป็นเถาเลื้อยตามคาคบหรือกิ่งไม้จึงเรียกว่า พาดหว่าไม้มากใช้ทำยาไทย คำว่า “ไหง้” หมายถึง แยกหรือแหวก หัวแห้วหมูจะดันแยกออกจึงเรียกว่า “ไหง้ธรณี”
    หนี้สงสาร หมายถึง เครือง้วนหมู เป็นไม้เถาชนิดหนึ่งมีรสขม ใบ ดอก รับประทานได้ใช้ทำยาไทย ที่เรียก หนีสงสาร เนื่องจากในพุทธประวัติก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้สวยเนื้อสุกร จึงได้เรียกเครือง้วนหมูว่า หนีสงสาร หรือ หนีวัฏสงสาร
    ไปนิพพานบ่กลับ หมายถึง ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นชัน คำว่าขมิ้นขึ้นนั้นจะมีลักษณะพิเศษ จะมีแง่งหรือหัวขึ้นมาเรียงรายอยู่บนพื้นดินเป็นส่วนใหญ่ เหมือนกับว่าไม่กลับลงไปอยู่ดิน อีก จึงเรียก ไปนิพพานบ่กลับ

    การผสมตัวยา ให้เอาตัวยาตั้งแต่ข้อ 2-5 ผึ่งแดดให้แห้ง บดให้ละเอียด ผสมกั่นแล้วใช้น้ำผึ้งเดือน 5 ผสมให้เหนียวปั้นเป็นลูกกลอน ผึ่งแดดหรืออบให้พอแห้ง เก็บไว้รับประทานก่อนนอน จะทำให้อายุยืนนับ 100 ปี


    ข้อมูลที่มาคะน้องจำปา
    สวัสดีนครพนม แพทย์แผนโบราณอีสาน ภูมิปัญญาชาวบ้าน
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย paula; 20-10-2012 at 10:52.

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวชัยภูมิ
    วันที่สมัคร
    May 2007
    กระทู้
    473
    แม่นอีหยังน้อ ไส่บ่เต็ม-เค็มบ่จืด กับ เฒ่าบ่เป็น ไผ่ฮู้บอกแน่ อยากอู้คือกันครับ

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367
    ขอบคุณหลายๆค่ะพี่ปุ้ย สำหรับข้อมูล และได้ฮู้ตื่มอีกหลายซือยา

    "ไส่บ่เต็ม หรือ ตักบ่เต็ม กะคือต้นบักบก นั่นเอง"
    "เค็มบ่จืด กะคือ ต้นบักเกลือ น้อค่ะ"
    ส่วน "เฒ่าบ่เป็น พ่อเพิ่นบอกว่าเป็น ยานาง" สรรพคุณเป็นยาเย็นคั้นน้ำกินสดๆกะได้พะนะ

    กลางอากาศ หนิ จั่งใด๋กะคิดบ่ออกเด้อค่ะว่าเป็นน้ำผึ้ง กะสิคิดว่าเป็นใบไม้ หรือบักนุ่นพุ้นแหล่ว มันลอยไปนำลมพัด 555

  6. #6
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    แกงบ้านเฮา บ่ว่าสิเป็นแกงเห็ด แกงหน่อไม้ ยามใส่หญ้านาง ซดดีครับ คนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นยาครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •