หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 11

หัวข้อ: พืชผัก – เพื่อรักษาสุขภาพ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    พืชผัก – เพื่อรักษาสุขภาพ


    *****************
    พืชผัก – เพื่อรักษาสุขภาพ
    *****************



    สิ่งที่นำเสนอชนิดแรก ก็คือ กล่ำปลีแดง



    กล่ำปลีแดง



    พืชผัก – เพื่อรักษาสุขภาพ


    ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleraceae var. rubra
    ชื่อสามัญ Red Cabbage



    ลักษณะ

    เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้าย กะหล่ำปลีธรรมดา แต่มีสีแดง เนื่องจากใบมีสาร anthocyanin จำนวนมาก ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยวสีแดง หนา และมีนวล ใบเรียงตัว สลับซ้อนกันแน่นหลายชั้น เรียงแน่น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์


    คุณค่าทางอาหาร

    ด้วยเนื้อผักกรุบกรอบของกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารอินไทบินที่ออกรสขมกว่ากะหล่ำปลีสีขาวธรรมดา แต่สารอินไทบินัวนี้มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี ไต และกระเพาะดีขึ้นนอกจากนี้กะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงช่วยเสริมฮีโมโกลบินให้แก่ร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นตัวการสำคัญที่นำพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ
    และในกะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนิน สามารถรักษาโรคกะเพาะอาหารและมีสารกอยโตรเจนที่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก นอกจากนั้นยังพบว่ามีสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้มีการวิจัยพบกะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดปวดแก้นมคัดแม่หลังคลอด[

    คุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีแดง

    กะหล่ำปลีแดง เป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน(สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยก มาจาก trytophan; กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึง สองเท่า


    ซึ่งจะคุณค่าของกล่ำปลีแดง

    1 ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์(Sulfer)
    2 ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่
    3 ต้านสารก่อ มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ โรคมะเร็งในช่องท้อง
    4 ลดระดับคลอเรสเตอรอล
    5 ช่วยงับประสาท ทำให้นอนหลับดี
    6 น้ำกะหล่ำปลีคั้นสดๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ


    ข้อควรระวัง

    กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควร กินกะหล่ำปลีสดๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป

    กะหล่ำปลีแดง นิยมรับประทานสด เช่น ในสลัด หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหาร ไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร


    ++++++++++


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197


    กะหล่ำดอก






    ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. var. botrytis L. Cruciferae
    ชื่อสามัญ Cauliflower
    วงศ์ BRASSICACEAE




    ลักษณะ


    - เป็นผักประเภทอายุปีเดียวและอายุสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นผักอายุปีเดียว
    - ลำต้นสูงประมาณ 40-55 เซนติเมตร
    ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5-1.20 กิโลกรัม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร
    - มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน


    กะหล่ำดอก

    เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้



    คุณค่าทางอาหาร

    1 มีวิตามินซีสูงมาก ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีวิตามินซีสูงถึง 96 มิลลิกรัม สูงกว่าที่ร่างกายเราต้องการใน 1 วัน คือ 60 มิลลิกรัม
    2 ะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไร
    3 ช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและทำให้สเปิร์มแข็งแรงด้วย
    4 ในดอกกะหล่ำมีสารซัลโฟราเฟนที่เพิ่มปริมาณแอนไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งที่เต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี


    กล่ำดอกประกอบด้วยสาร


    1 เอนไซม์ต้านมะเร็งชื่อ ซัลโฟราเฟน (sulforaphane)
    2 สารฟีโนลิกส์ (phenolics)
    3 สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates)
    4 สารผลึกอินโดล (indoles)
    5 อินโดล ทรี คาร์บินัล (indole-3-carbinal)
    6 ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones)
    7 กลูโคไซโนเลท (glucosinolates)
    8 กรดโฟลิก และคูมารีน ( folic acid & coumarines)
    9 กะหล่ำดิบจะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก


    ประโยชน์ของกล่ำดอก

    ใช้กินเป็นผัก มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ออกจากเซล กลไกที่เกิดขึ้น คือ สารซัลโฟราเฟน ทำให้มีการผลิตเอมไซม์-phase II มากขึ้น
    ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอ็มไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เพราะเอ็มไซม์ชนิดแรกนี้สามารถไป ทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซล พืชในวงศ์นี้รวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ

    สารประกอบที่พบแล้วในพืชวงศ์นี้สามารถต้านอนุมูลอิสสระได้ดี มีสารโพแตสเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ และความดันโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง สารซัลโฟราเฟน ช่วยเพิ่มปริมาณเอ็มไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลมะเร็งได้ดีมาก


    คำแนะนำ

    ควรกินเป็นประจำ จะสามารถช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี กรดโฟลิค ช่วยป้องกันมะเร็ง ลำไส้และมะเร็งเต้านม สารอินโดลส์ คาดว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งบางชนิดได้ดี สารอินโดล-3 คารฝืบินอล ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม คั้นเอาแต่น้ำอมช่วยรักษาแผลในปาก กลั้วคอแก้คออักเสบ น้ำผักสดช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง หอบหืด ไม่ควรปรุงให้สุกเกินไป เพราะ ความร้อนจะไปทำลายคุณสมบัติทางยาได้



    ประโยชน์

    กะหล่ำดอกจะมีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (carcinogens) ออกจากเซลล์ กลไกที่เกิดขึ้นคือ สารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ทำให้มีการผลิตเอนไซม์เฟสทูมากขึ้น (phase II) ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอนไซม์เฟสวัน (phase I) ที่เป็นอันตรายได้ เพราะเอนไซม์เฟสทู สามารถไปทำอันตรายสารพันธุกรรมในเซลล์ (cellular DNA) และจากรายงานผลการวิจัยที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อต้นปีที่แล้วพบว่า พืชในวงศ์ ครูซิเฟอร์อี้ (Cruciferae) ซึ่งรวมถึง บร็อคโคลี คะน้า ผักกาดขาว และกะหล่ำต่างๆ มีสารประกอบที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี ดังนั้นจึงช่วยต้านมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานว่า ผักดังกล่าวช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดี และจากการที่มีโพแทสเซียมสูงนี้เอง จึงช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตได้อีกด้วย

    มีรายงานวิธีการใช้กะหล่ำดอก โดยให้นำกะหล่ำดอกไปคั้นน้ำ แล้วนำน้ำกะหล่ำดอกที่คั้นได้ไปใช้ อมกลั้วปาก พบว่าสามารถรักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ
    ยังพบว่าในน้ำกะหล่ำดอกสดช่วยรักษา แผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง ปวดศรีษะชนิดเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบ
    โดยแนะนำให้ดื่มประมาณ 1- 2 ออนซ์ทุกวัน


    คำแนะนำ

    ในการรับประทานกะหล่ำดอกอย่าปรุงสุกเกินไปนะคะ เพราะการปรุงสุกเกินไปจะทำลายคุณสมบัติทางยาของกะหล่ำดอก



    ++++++++++


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    หน่อไม้ฝรั่ง






    ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparagus officinalis L.
    ชื่อสามัญ Asparagus
    วงศ์ Liliaceae



    ลักษณะ

    หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชผักที่มีลำต้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นใต้ดิน และลำต้นเหนือดิน

    ลำต้นใต้ดิน อาจถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบรากรวมเรียกว่า rhizome หรือเหง้า อาหารของหน่อไม้ฝรั่งจะถูกส่งมาเก็บ ที่ส่วนนี้ ลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายแท่งดินสอ งอกกระจายออกเป็นรัศมี โดยรอบ เรียกอีกอย่างว่า crown ระบบราก แผ่ขยายออกไป ประมาณ 3-5 ฟุต หรือมากกว่านั้น

    ยอดอ่อนหรือหน่ออ่อน (spear) เจริญมาจากเหง้าเป็นส่วนที่ใช้ รับประทาน ถ้าปล่อยให้หน่ออ่อนเจริญเติบโตจะกลายเป็นลำต้นเหนือดิน ซึ่งมีความสูง 1.5 - 2 เมตร

    ลำต้นเหนือดิน มีใบเป็นเกล็ดบาง ๆ ติดอยู่ตามข้อ ส่วนที่เห็นเป็นลักษณะคล้ายเส้นขน (ที่เรียกกันว่าใบ) แท้จริง เป็นส่วนของกิ่งก้านที่เปลี่ยนไปทำหน้าที่ใบ เรียกว่า claode หรือ cladophyll

    ต้นเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น (dioecious)

    ดอก มีขนาดเล็ก มีจำนวนมากและเกิดตามกิ่งก้าน

    ผล มีลักษณะกลม ขนาดเล็ก มีสีเขียวเมื่ออ่อนและสีแดงส้ม เมื่อสุก มีเมล็ดอยู่ภายในผลละ 2-3 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีดำ



    คุณค่าทางอาหาร

    เป็นแหล่งให้โฟเลต เบตาแคโรทีน วิตามินซี อี และโพแทสเซียม คลินิกเกอร์ลินซึ่งมีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคด้วยน้ำผักผลไม้ตามแนวทางของแพทย์ธรรมชาติบำบัด ถือว่าน้ำหน่อไม้ฝรั่งเป็นแหล่งให้วิตามินอีที่ดี


    สาระประโยชน์

    หน่อไม้ฝรั่งมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอย่างอ่อน ขับปัสสาวะ ช่วยกระตุ้นการทำงานของไต และมีสารต้านอนุมูลอิสระ อาจมีสารต้านไวรัสด้วย

    ชาวอินเดียนแดงสมัยก่อน
    ใช้หน่อไม้ฝรั่งตากแห้ง เป็นยาขับปัสสาวะแก้ปัญหาโรคกระเพาะปัสสาวะ และโรคไต มันมีสารบางชนิด ป้องกันการฉีกขาดของเส้นโลหิตฝอย ช่วยบรรเทาโรคหัวใจ

    ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของยุโรป Maurice Messegue บันทึกการใช้น้ำหน่อไม้ฝรั่งรักษาโรคไตไว้เมื่อปี ค.ศ. 1970 ว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งมีอาการเจ็บคอ หลังจากนั้น 10 วัน เกิดอาการบวมน้ำที่ขาและใบหน้า เห็นได้ชัดเจน ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ผู้ป่วยบ่นว่ามีอาการปวดหัวข้างเดียว และเจ็บหัวเหน่ารุนแรง วินิจฉัยว่าเป็นโรคBright’s Disease หรือไตอักเสบเฉียบพลัน

    ผู้ป่วยได้รับการบำบัดโดยควบคุมอาหาร งดสุรา จำกัดปริมาณเกลือ และโปรตีน และให้ดื่มน้ำหน่อไม้ฝรั่งสลับกับน้ำเปล่า และให้นอนพักบนเตียงจนกว่าอาการจะทุเลา ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและหายขาดใน -5 สัปดาห์


    ++++++++++


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับที่เอาข้อมูลดีๆมาฝาก คุณค่าของพืชผักแต่ละชนิดมีสารและประโยชน์แตกต่างกันไป

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197


    ข้าวโพดอ่อน






    ชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays Linn.
    วงศ์ ZINGIBERACEAE
    ชื่อสามัญ Baby Corn.
    ชื่อท้องถิ่น ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)




    ลักษณะ

    - ข้าวโพดเป็นพืชพวกหญ้า มีลำต้นแข็งแรง และตั้งตรงคล้ายต้นอ้อย
    - ความสูงของลำต้นแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อาจมีความสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ไปจนถึง 6 เมตร
    - ลำต้นเป็นปล้องๆ อาจมีตั้งแต่ 8-20 ปล้อง |
    - ใบยาวเรียวเกาะติดกับต้น
    - ฝักข้าวโพดจะเกิดตรงข้ออยู่ตรงส่วนกลางของลำต้น โดยมีเปลือกเป็นกลีบบางๆ สีเขียว มีหลายชั้นห่อหุ้มอยู่เปลือกชั้นนอกมีสีเขียวแก่กว่าชั้นใน
    - ปลายฝักมีเส้นเล็กๆ สีเขียวอ่อนใสบางเหมือนเส้นผม เรียกว่าไหมข้าวโพด หรือ ฝอยข้าวโพด
    - ข้าวโพดต้นหนึ่งอาจมีหลายฝักก็ได้
    - เมล็ดข้าวโพดที่เรารับประทานมีหลายสี เช่น สีนวล สีเหลือง สีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยจะเกาะติดอยู่ตรงส่วนที่เป็นแกนกลางเรียกว่าซักข้าวโพด


    สาระประโยชน์

    - โดยจะประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซียม
    - เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน
    - ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ
    - ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
    - ถ้ากินข้าวโพดอ่อนเป็นประจำ จะช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมน้ำ รักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และจมูกอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีอีกด้วย


    นอกจากนี้ข้าวโพดยังมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องอุปโภคหลายชนิด
    เช่น


    1 ทำสบู่, น้ำมันใส่ผม, น้ำหอม, กระดาษ, ผ้า ตลอดจนฝัก, ใบ, ลำต้น
    2 ทำผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง อาทิ ปุ๋ย, วัตถุฉนวนไฟฟ้า
    3 ซังข้าวโพดแห้งยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มได้
    4 ข้าวโพดมีสรรพคุณทางยา อาทิ ช่วยบำรุงร่างกาย, หัวใจ, ปอด, ขับปัสสาวะ และนำมาพอกรักษาแผล


    คุณค่าทางอาหาร

    ข้าวโพดอ่อน 100 กรัม ให้พลังงาน 33 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 91.8 กรัม โปรตีน 2.3 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.3 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 12 ไมโครกรัม ไทอะมิน 0.13 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม


    ข้าวโพดมีสารอาหาร

    - คาร์โบไฮเดรต "ข้าวโพด"มีคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 72 ข้าวโพดหนัก 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่
    - ไขมัน เมล็ดข้าวโพดมีไขมันอยู่ร้อยละ 4 มีฤทธิ์ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิตสูง
    - โปรตีน โปรตีนในข้าวโพดเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะจากกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือไลซีนและทริบโตฟาน ควรรับประทานข้าวโพดร่วมกับถั่วเมล็ดต่างๆ
    - วิตามิน อุดมด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 รวมไปถึงเกลือแร่ด้วย



    +++++++++++


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #6
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ถั่วฝักยาว






    ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata Hc
    วงศ์ LEGUMINOSAE
    ชื่อสามัญ Yard long Bean




    ลักษณะ ทั่วไป

    1 ถั่วฝักยาว จัดเป็นพืชผักในตระกูลถั่ว ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลที่สุดคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน เป็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวเอเซียนิยมบริโภคมาก โดยเฉพาะชาวฮ่องกงและสิงคโปร์ ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมันตะวันตก ตลอดจนประเทศทางแถบตะวันออกกลางก็นับว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะมีความต้องการสูง

    2 ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะใช้ปรุงอาหาร บางชนิดใช้บริโภคสดในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง

    3 ถั่วฝักยาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและอินเดีย เป็นพืชตระกูลถั่งที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย การเลื้อยของเถา มีทิศทางการพันทวนเข็มนาฬิกา

    4 ถั่วฝักยาวจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ระบบรากของพืชตระกูลถั่วจะมีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน เป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่างเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด


    สาระประโยชน์

    1 ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำ เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
    2 เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
    3 เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสด จะมีรสชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
    4 ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อ ใช้รักษาภายนอกโดยการพอก หรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทา ใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น



    สาระประโยชน์ในการเป็นสมุนไพร

    1 ใบ ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง
    2 เปลือกฝักใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
    3 เมล็ด ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
    4 ราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
    5 . ใช้ฝักสดเคี้ยวกิน หรือตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้รักษาอาการท้องอืดและแน่น เพราะกินมากเกินไป เรอเปรี้ยว

    6 ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู นำมาตุ๋นกับเนื้อวัวกิน สำหรับเด็กที่เบื่ออาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหาร ทำงานไม่ดี

    7 เมล็ด และผักบุ้ง นำมาตุ๋นกับเนื้อไก่กิน รักษาอาการตกขาวของสตรี

    8 ใช้เมล็ดหรือฝักสด นำมาต้มน้ำผสมกับเกลือใช้กินทุกวัน เพื่อเป็นยาบำรุงไต


    .........................


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  7. #7
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กระเจี๊ยบมอญ







    ชื่อสามัญ: Ladies' Finger, Lady's Finger, Okra

    ชื่อพื้นเมือง:
    กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย มะเขือมอญ(ภาคกลาง),มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ/ลำปาง)

    ชื่อพฤกษศาสตร์
    Abelmoschus esculetus (L.) Moench., Hibiscus esculentus L.

    ชื่อวงศ์: MALVACEAE





    ลักษณะ


    1 ไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. มีขนทั่วไป

    2 ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ

    3 เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น

    4 ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวตามง่ามใบ มีริ้วประดับ เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม

    5 เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้

    6 อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก

    7 ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก

    8 ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก

    9 เมล็ดรูปไต ขนาด 3-6 มม.



    สาระประโยชน์


    1 ฝักอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูง กินได้ ในต่างประเทศบรรจุเป็นอาหารกระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง
    2 เมล็ดแก่ มีน้ำมันมาก กากเมล็ดมีโปรตีนเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์
    3 เส้นใย จากต้นใช้ทำเชือกและกระดาษ นอกจากนี้โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งในอินเดียยังนำเมือกจากต้นมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด
    4 สำหรับการใช้ประโยชน์ทางยาแผนโบราณของจีน ราก เมล็ด และดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ


    ประโยชน์ด้านสมุนไพร

    1 ผลอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี และไนอาซิน

    - มีสารเมือกและ เพคติน ใช้แก้โรคกระเพาะอาหาร โดยนำผลแห้งมาป่นเป็นผงละเอียดชงกับน้ำร้อน รับประทาน เป็นยาหล่อลื่นในโรคโกโนเรียระงับพิษ
    ขับปัสสาวะ

    - แก้พยาธิตัวจิ๊ด โดยเอาผลกระเจี๊ยบมอญที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหารกิน เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกงส้ม กินวันละ ๓ เวลาทุกวัน วันละ ๔ - ๕ ผล ติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน

    2 กลีบเลี้ยง มีสารแอนโทไซยานิน และกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดแอสคอบิก (วิตามินซี) กรดซีตริก กรดมาลิก และกรดทาทาริก ทำให้มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินเอ และเพคติน กลีบเลี้ยง ปรุงเป็นเครื่องดื่ม ผลไม้กวน และแยม


    ข้อแนะนำ

    เวลาต้มต้องให้สุกจริงๆ ถ้าไม่สุกจะเหม็นเขียว กินแล้วจะเป็นอันตรายเกิดการเบื่อเมาได้


    ............................................................


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  8. #8
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กระชาย







    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf. ,Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr. ,Gastrochilus panduratus Ridl.

    วงศ์
    Zinggberaceae

    ชื่อท้องถิ่น
    กะแอน ระแอน(ภาคเหนือ) ขิงทรา(มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์(กรุงเทพฯ)




    ลักษณะ

    1 กระชายเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า
    2 มีรากติดเป็นกระจุกเป็นที่สะสมอาหารเป็นรูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีเหลืองอมแดง มีกลิ่นหอม
    3 คนไทยรู้จักกระชายในฐานะเครื่องปรุงอาหาร ดับกลิ่นในอาหารจำพวกแกงต่างๆ โดยใช้เป็นกระจำในครัวเรือน


    สารสำคัญ

    1 น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) 0.08% เช่น 1,5-Cineol ,Boesenbergin A ,Camphor ,Camphene และ Thujene (ช่วยดับกลิ่นคาว ทำให้กระเพาะและลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น ) เป็นต้น
    2 มีสารกลุ่ม Flavonoid และ chalcone ด้วย


    สรรพคุณทางสมุนไพร

    รสเผ็ดเล็กน้อย ขมนิดหน่อย ใช้แก้ปวดมนในท้องไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อใช้
    1 แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดมวนในท้อง
    2 แก้บิด
    3. ขับระดู ขับระดูขาว
    4. บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน
    5. บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย
    6. แก้โรคในปาก
    7. ขับปัสสาวะ
    8. แก้โรคขาดประจำเดือน
    9. แก้ลมแน่นหน้าอก แก้หัวใจสั่น


    คุณค่าทางอาหาร

    1 กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้ นำไปปรุงกับอาหารได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็ก ผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ
    2 ในรากเหง้าของกระชายมี แคลเซียม เหล็กมาก นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย


    เพิ่มเติม

    1.รักษาอาการแน่นจุกเสียด ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 2-5 กรัม ทุบพอแตก ต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ

    2.ใช้รากกระชายบำบัดอาการ ED (Erectile Dysfuntional) หรือโรคนกเขาไม่ขัน โดยกินทั้งราก
    วิธีที่ 1 ใช้ตำราแก้ฝ้าขาวในปาก อาการจะเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังวันที่ 3-4
    วิธีที่ 2 รากกระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่เห็นผลกินอีก 2 แคปซูลก่อนอาหารเย็น หรือกลับไปใช้วิธีที่ 1 จะเริ่มกินบอกภรรยาด้วย ถ้าได้ผลแล้วภรรยาบ่นให้ภรรยากินด้วยเหมือนๆ กัน
    วิธีที่ 3 เพิ่มกระชายในอาหาร ทำเป็นกับข้าวธรรมดาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ (ทุบแบบหัวข่า) แกงเผ็ด (หั่นเป็นฝอย) กินทุกวัน พร้อมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เห็นผลในหนึ่งเดือน เนื่องจากในรากกระชายมีสารที่ออกฤทธิ์คลายการหดตัวของผนังหลอดเลือดในกลุ่มยารักษาอีดี กลุ่มที่ 3 (ยาที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ได้แก่ สารกลุ่ม prostanoids (PGE1), ไนตริก ออกไซด์ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไนตริกออกไซด์ (ได้แก่ nitric oxide synthase)) โดยไม่พบรายงานความเป็นพิษเมื่อบริโภคในระดับที่เป็นอาหาร

    3.บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์

    4.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน

    5.แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้ง ละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก(เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที:7 วัน

    6.ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน

    7.แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทยหรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก

    8.ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2

    9.ฤทธิ์บำรุงหัวใจ นำเหง้าและรากกระชายปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชาชงน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา


    +++++++++++++++++++

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  9. #9
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กระเทียม





    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Allium sativum Linn.

    วงศ์
    Alliaceae

    ชื่อท้องถิ่น
    กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)



    ลักษณะ

    - พืชล้มลุก สูง 40-80 ซม. มีหัวใต้ดิน (bulb) ซึ่งแบ่งเป็นกลีบเล็กๆ ได้หลายกลีบ แต่ละกลีบมีกาบใบแห้งๆ หุ้มไว้ในลักษณะแคบยาว กว้าง 1 - 2.5 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ปลายแหลม ดอกช่อ แทงจากลำต้นใต้ดิน
    - ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน สีชมพู ผลแห้ง แตกได้
    - สามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ากระเทียม กลีบเล็กพันธุ์จาก จังหวัดศีรษะเกษ มีสารสำคัญมากที่สุด


    ข้อมูลสารระเหยในกระเทียม

    สารเคมีในหัวกระเทียม คือ
    1 น้ำมันหอมระเหย Essential oil โดยทั่วไปกระเทียมจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.6-1 ในน้ำมันหอมระเหย มีสารเคมีที่มีกำมะถันเป็นองค์หระกอบหลายชนิด ตัวที่สำคัญก็คือ "อัลลิซิน"
    2 มี Sulfane dimethy dipropl-disulfide sllinase "อัลลิซิน"
    เป็นน้ำมันไม่มีสี ละลายได้ในน้ำ ในแอลกอฮอล์ เบนซิน และอีเทอร์ ถ้ากลั่นโดยใช้การร้อนโดยตรง จะถูกทำลาย"อัลลิซิน"ได้รับความสนใจและแยกสกัดบากกว่า มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดด้วยกัน หัวกระเทียมสามารถลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ได้ทั้งคนปกติและคนไข้ที่มีโฆเลสเตอรอลสูง


    สรรพคุณทางสมุนไพร

    1 รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะช่วยย่อยอาหาร ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
    2 ใช้กระเทียมและขิงสดย่างละเท่ากัน ตำละเอียด ละลายกับน้ำอ้อยสด คั้นน้ำจิบแก้ไอกัดเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง โดยสารที่ออกฤทธิ์ เป็นยาแก้ไอ คือ allicin ซึ่งละลายน้ำได้ และถูกทำลายด้วยความร้อน
    3 กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเป็นผลจาก allicin มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้หลายชนิด ทำได้โดยการฝานกลีบกระเทียม แล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงอ่อนๆ ก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน
    4 ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
    5 ลดความดันโลหิตสูง
    6 ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
    7 ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
    8 ลดน้ำตาลในเลือด
    9 ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
    10 ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
    11 รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
    12 เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
    13 รักษาโรคไอกรน
    14 แก้หืดและโรคหลอดลม
    15 แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
    16 ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
    17 ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
    18 แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
    19 แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
    20 ต่อต้านเนื้องอก
    21 กำจัดพิษตะกั่ว
    22 บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย
    23 กระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า




    ++++++++++++++++
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  10. #10
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ผักกวางตุ้ง






    ชื่อวิทยาศาสตร์
    Brassica chinensis Jusl var parachinensis (Bailey) Tsen & Lee

    วงศ์
    Cruciferae

    ชื่อสามัญ
    Chinese Cabbage-PAI TSAI



    ลักษณะ

    ผักที่นิยมบริโภคกันมาก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม เป็นต้น สามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศทั้งในรูปของสวนผักการค้า

    ราก เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ 1.20 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนงแผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน รากแก้วอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าดินมีสภาพชื้นและเย็น
    ลำต้น ตั้งตรง มีสีเขียว ขนาดโตเต็มที่ใช้รับประทานได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 43-54 เซนติเมตร ก่อนออกดอกลำต้นจะสั้น มีข้อถี่มากจนดูเป็นกระจุกที่โคนต้น เมื่อออกดอกแล้วในระยะติดฝักต้นจะสูงขึ้นมาก โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 85-144 เซนติเมตร

    ใบ ใบเลี้ยงมี 2 ใบ มีสีเขียว ปลายใบตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น เป็นใบเดี่ยว ใบเรียบไม่ห่อหัว สีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเป็นรอยฟันเลื่อยเล็กมาก ใบแก่ผิวใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่มีขน ของใบเรียบหรืออาจมีรอยเว้าตื้นๆ ขนาดเล็กโคนใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมน ก้านใบที่ติดกับลำต้นมีสีเขียวอ่อนเป็นร่องและเรียวกลมขึ้นไปหาแผ่นใบ ก้านใบหนาและมีสีขาวอมเขียว สำหรับใบที่ช่อดอกจะมีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร รูปใบเรียวแหลมไปทางฐานใบและปลายใบ ขอบใบเรียบ

    ช่อดอกและดอก ผักกาดเขียวกวางตุ้งจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 55-75 วัน ช่อดอกยาว 50-90 เซนติเมตร ดอกตูมรวมกลุ่มอยู่บนยอดดอกช่อดอก ดอกบานจากด้านล่างไปหาด้านบน ดอกที่บานแล้วมีก้านดอกยาวกว่าดอกที่ตูม ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ ขนาดดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกสีเขียวอ่อน 4 อัน ขนาดเล็กกลีบกว้าง 0.1-0.2 เซนติเมตร ยาว 0.7-0.8 เซนติเมตร กลีบชั้นในสีเหลืองสด 4 อัน แยกเป็นกลีบๆ ขนาดกลีบกว้าง 0.5-0.6 เซนติเมตรยาว 1.1-1.2 เซนติเมตรมีเกสรตัวผู้ 6 อัน อับเกสรสีเหลืองแก่ ก้านชูเกสรสีเหลือง รังไข่ยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร ซึ่งอยู่เหนือกลีบดอกและเกสรตัวผู้ก้านเกสรตัวเมียสีเขียว ยาว 0.2-0.25เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียเป็นตุ่มสีเหลืองอ่อน ดอกบานในตอนเช้าประมาณเวลา 08.00 น.
    ผล ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปร่างเรียวยาว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปลายไม่มีเมล็ด ยาวประมาณ 0.9-1.5 เซนติเมตร และส่วนที่มีเมล็ดยาวประมาณ 3-4.1 เซนติเมตรกว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.3-2.5 เซนติเมตร ผลตั้งขึ้น เมื่อผลแก่จะแตกตามยาวจากโคนไปหาปลายผลเมื่ออ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล
    เมล็ด ค่อนข้างกลม มีทั้งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดมีลายแบบร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด น้ำหนัก 1,000 เมล็ดประมาณ 2.5 กรัม

    ผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากคือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบ สำหรับพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเสริมแนะนำคือ พันธุ์น่าน 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นผักกาดชนิดไม่ห่อปลี ส่วนกลางของก้านใบค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียวอ่อน ความยาวเฉลี่ย 19.5 เซนติเมตร (อายุ 40 วัน) ความหนาของก้านใบเฉลี่ย 0.9 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร ใบสีเขียว ลักษณะยาวรี ความยาวของใบเฉลี่ย 30 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนติเมตร ความสูงเมื่ออายุ 40 วัน เฉลี่ย 57.26 เซนติเมตร น้ำหนักต้นเฉลี่ย 550 กรัม ออกดอกเมื่ออายุ 50 วัน

    ลักษณะเด่นของพันธุ์น่าน 1 คือ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็ว อายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุระหว่าง 30-40 วัน น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้นสูง ต้นไม่แตกแขนงทำให้เสียหายน้อยในการบรรจุเพื่อการขนส่ง ไม่ออกดอกก่อนอายุ 40 วัน จึงสามารถทยอยเก็บเกี่ยวส่งตลาดได้ตั้งแต่อายุ 30-40 วัน แต่ข้อเสียของพันธุ์น่าน 1 ก็คือ ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง
    ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ควรอยู่ระหว่างสภาพเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง คือ pH อยู่ระหว่าง 6-6.8 ชอบดินที่มีความชื้นสูงเพียงพอสม่ำเสมอ ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตามในประเทศไทยสามารถปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งได้ตลอดปี


    คุณค่าทางอาหาร

    ผักกวางตุ้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยโปรตีน 1.2 กรัม คาร์โบไฮเดรด 3.2 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม โซเดียม 9 มิลลิกรัม



    คุณค่าด้านสมุนไพร

    กวางตุ้งช่วยลด การเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรค กล้ามเนื้อเสื่อม


    +++++++++++++

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •