กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนอนน้อย หนองกี่
    วันที่สมัคร
    Jan 2013
    ที่อยู่
    Nongki / Burirum
    กระทู้
    31

    อ่านข่าวออนไลน์ มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ

    มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ

    มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ

    ยอดกินกับลาบกับป่นแซบหลาย
    มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ

    มีอยู่สามต้นหน้าบ้านต้นใหญ่น่อยนึง
    มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ

    ต้นมะตูมแขก มะตูมซาอุ รักษาโรคต่าง สูง 1 เมตรขึ้นไป
    มะตูมซาอุ

    ฉบับ นี้พาโกอินเตอร์ภาคพิสดาร พอลมร้อนกำลังมาจึงนึกได้ว่าสัก ๓ ปีก่อน ช่วงเดือนเมษายน อ.อุษา กลิ่นหอม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามเล่าว่า ไปเดินสำรวจพืชผักกินได้บริเวณ บ้านหนองขามสะแบง อำเภอ บรบือ จังหวัดมหาสารคาม ได้พบเห็นต้นไม้แปลกตาอยู่ต้นหนึ่งที่ปลูกอยู่ตามบ้านของชุมชนแห่งนี้ มีใบและผลสวยงามมาก ชาวบ้านเรียกขาน “มะตูมซาอุ” พอ สอบถามที่มาที่ไปของต้นไม้ชื่อจากตะวันออกกลาง จึงได้ข้อมูลที่น่าสนใจมาก คือ ชื่อของต้นไม้ได้มาจากลักษณะของต้น ผสมกับแหล่งที่มาของต้นไม้นี้ อธิบายขยายความได้ว่า คำว่ามะตูมมาจากลักษณะของใบที่มีรูปร่างคล้ายใบมะตูมแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก จึงเรียกว่ามะตูม ส่วนคำว่าซาอุเป็นแหล่งที่มา เนื่องจากมีชาวบ้านส่วนหนึ่งไปขายแรงงานที่ประเทศซาอุดิอารเบีย และพบพืชชนิดนี้ปลูกเป็นไม้ประดับจำนวนมาก ชาวไทยผู้นิยมกินผักเคียงกับน้ำพริก จึงลองนำเอาใบมากินเป็นผักสด กินแล้วได้รสชาติดี พอกลับบ้านเฮาแดนอีสาน ก็ติดไม้ติดมือนำเมล็ด(ไม่ใช่เพชร) กลับมาปลูกในประเทศไทย แล้วพากันตั้งชื่อไว้เป็นอนุสรณ์ว่า “มะตูมซาอุ” เวลา ผ่านไปไม่นาน พบว่ามีกลุ่มคาราวานคนขายต้นไม้ในแถบอีสาน ได้นำกล้าของมะตูมซาอุมาจำหน่าย แต่เรียกชื่อใหม่ว่า “มะตูมบางเลน” ถ้าเห็นครั้งแรกอาจคิดว่าพืชชนิดนี้อยู่ในกลุ่มพืชตระกูลส้ม เพราะใบเมื่อนำมาถูขยี้มีกลิ่นหอมแรงคล้ายใบมะกรูด ลักษณะของใบและโครงสร้างของลำต้นคล้ายมะแขว่น แต่เมื่อให้นักพฤกษศาสตร์ตรวจสอบสายพันธุ์กลับพบว่า “มะตูมซาอุ” เป็นไม้ในกลุ่มไม้มะม่วง (Anacardiaceae) มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Brazilian Pepper-tree และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schinus terebinthifolius เมื่อ ดูชื่อสามัญภาษาอังกฤษก็บ่งบอกได้ว่าพืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิด อยู่ในอเมริกาใต้แถบประเทศ บราซิล อาร์เจนตินาและปารากวัย “ มะตูมซาอุ ” จัดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 10 เมตร มีกิ่งก้านมากจนมองไม่เห็นลำต้น ใบอ่อนมีสีแดง ขอบใบมีลักษณะเป็นหนาม ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกันคนละต้น ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆสีขาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ออกดอกได้ทั้งปี แต่พบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อแก่ เนื่องผลมีสีสวยสดและออกได้ทั้งปี จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ ผลเมื่อแก่จัดเปลือกจะแห้งติดเมล็ดคล้ายพริกไทย รู้มาว่าชาวอเมริกาใต้ใช้ผลมะตูมซาอุแทนพริกไทยด้วย
    การ ใช้ประโยชน์จากมะตูมซาอุมีหลากหลายมาก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ประโยชน์หลัก ๆ ด้านยาได้แก่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ ซึ่งมีรายงานทางด้านวิทยาศาสตร์สนับสนุนในเรื่องนี้ นอกจากนี้พบว่าสารสกัดของมะตูมซาอุช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันต่ำ แก้ท้องผูก กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อและรักษาบาดแผล
    สำหรับ การใช้ประโยชน์ทางยาในระดับรองลงมาได้แก่ ลดอาการปวด ทำลายเซลล์มะเร็ง ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการชักกระตุก ทำลายเชื้อไวรัส กระตุ้นการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะและกระตุ้นการขับประจำเดือน โดยมีปริมาณการใช้ สารสกัดจากส่วนของเปลือก โดยการต้มดื่ม กินครั้งละครึ่งถ้วย วันละ 2 ครั้ง หรือใช้ใบแช่น้ำให้ดื่มครั้งละครึ่งถ้วย โดยกิน 2 วันต่อครั้ง แต่ถ้าเตรียมเป็นยาดองให้รับประทานครั้งละ 2-3 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง ทุก ส่วนของไม้ชนิดนี้มีน้ำมันและน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้ก่อให้เกิดรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม เนื่องจากส่วนของใบมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบสูงมากเมื่อนำไปใส่ในน้ำร้อน ใบจะเต้นไปมาและบิดม้วนตัว ในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยน้ำมันออก ส่วนของผลซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเหมือนพริกไทยในประเทศเปรูใช้ผลิตน้ำเชื่อม น้ำส้มสายชู และอาหารว่าง ในประเทศชิลีใช้เป็นส่วนผสมของไวน์ และทำให้แห้งบดเป็นผงใช้แทนพริกไทย ในบางประเทศใช้เจือปนลงในพริกไทยดำด้วยจะได้รสชาติดี
    เมื่อ ไปสืบค้นพบว่า มะตูมซาอุเป็นพืชที่มีประวัติศาสตร์การใช้เป็นยาของชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้ มาเป็นเวลาช้านาน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ใช้เป็นยาสมานแผล ต้านแบคทีเรียและไวรัส หรือใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ในประเทศเปรูใช้น้ำยางจากต้นเป็นยาระบายอ่อน ๆ และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนทั้งหมดของต้นใช้เป็นยาปฏิชีวนะ ส่วนของน้ำยางที่แห้งแล้วเมื่อนำมารวมกับน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบใช้เป็น ยารักษาแผล ช่วยในการหยุดเลือด รักษาอาการปวดฟัน
    นอกจาก นี้ยังใช้กินเป็นยาแก้โรคไขข้อและเป็นยารุ (ยาถ่าย) ในอาฟริกาใต้ใช้ใบเป็นชาดื่มแก้หวัด และนำใบมาต้มสูดดมแก้หวัด ลดอาการซึมเศร้าและหัวใจเต้นไม่ปกติ สำหรับคนบราซิลในเขตป่าอเมซอน ใช้เปลือกทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการท้องผูก แต่ถ้านำทั้งเปลือกและใบรวมกันทำเป็นชาใช้กระตุ้นแก้อาการซึมเศร้า ในอาร์เจนตินาใช้ใบแห้งต้มดื่มเพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติและเสริมการ ทำงานของระบบทางเดินหายใจและท่อทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาป้องกันการติดเชื้อ ทุกวันนี้ยังมีการใช้มะตูมซาอุด้านยาอยู่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะการรักษาโรคต่าง ๆ ในเขตร้อน และการช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ รวมถึงโรคติดเชื้อต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นการนำเอาส่วนของเปลือกมาสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ในอเมริกาและออสเตรเลียกลับถือว่ามะตูมซาอุเป็นไม้ที่ให้โทษ เนื่องจากทัศนคติว่าเป็นไม้ต่างถิ่นที่เข้าไปรุกรานพืชประจำถิ่น แต่เชื่อว่าเมื่อได้รู้จักประโยชน์ และการนำมาใช้โดยเฉพาะเป็นอาหารสุขภาพ อีกไม่นานจะเปลี่ยนใจและเร่งศึกษาประโยชน์เพิ่มขึ้น และถ้าได้ลิ้มชิมรส เหมือนกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิสุขภาพไทยที่ลงไปทำงานในชุมชนอีสาน แล้วได้เด็ดใบชิม บอกได้สั้นๆ ว่า อร่อยและติดใจจนต้อง หิ้วกล้าต้นเล็กๆ ขึ้นเครื่องกลับมาปลูกที่กทม.เชียวหละ .

    ขอบคุณความรู้และเครดิต สมโภชพันธุ์ไม้ Tel: 089-0652129 มาเบิ่ง มะตูมแขก (สะเดาบาเรน) กับสรรพคุณของมัน อาจซ้ำกะทู้อื่นต้องขออภัยไว้นะที่นี่นำเด้อ:l-:l-

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    อยู่บ้านกะต้นใหญ่คือกันแหมสบกว่าปีแล้วมั้งเพราะอยู่บ้านมักกินก้อยกินลาบ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนไกลบ้าน2009
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    380
    ผักอั้นนี่ กินกับลาบก้อยเเซบครับผมกะกินเป็นประจำเเต่บ่ฮู้สรรคุณ

  4. #4
    ยุบ้านเดิ้นบักตูมมาเลย์ครับ กินกับลาบเนื้อก้อยปลาแซบๆพอๆกันกับยอดบักตูมอ่อนบ้านเฮา:l-
    :heart: คันเจ้าได้ขึ่ช้างกั้งห่มเป็นพระยา อย่าสุลืมชาวนาผู่ขี่ค.ว.ยคอนกล้า :heart:

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ช่างภาพอิสระ
    สัญลักษณ์ของ ฅนภูค่าว
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    นครโคราช บ้านเกิดกาฬสินธุ์
    กระทู้
    1,206
    ขอบคุณสำหรับข่อมูลที่มีประโยชน์.... :*- บ้านผมกะเอิ้นคือกัน กินกับ ลาบ ก้อย ซอยแซถึกกันดียู ลาบเป็ดกะคือ...แซบบบบ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •