• ๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ •
บริเวณด้านหน้าวัดโพธิ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
• ๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ •
(๑) มหัศจรรย์ “พระพุทธไสยาส”
(๒) มหัศจรรย์ “ตำราเวชเชตุพน”
(๓) มหัศจรรย์ “มหาเจดีย์สี่รัชกาล”
(๔) มหัศจรรย์ “ต้นตำนานสงกรานต์ไทย”
(๕) มหัศจรรย์ “มรดกโลกวัดโพธิ์”
(๖) มหัศจรรย์ “ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”
(๗) มหัศจรรย์ “ผ่านภพรัตนโกสินทร์”
(๘) มหัศจรรย์ “วิจิตรพระพุทธเทวปฏิมากร”
(๙) มหัศจรรย์ “ต้นตำรับนวดแผนไทย”
พระพุทธไสยาส (พระนอน) ทางด้านพระพักตร์ขององค์พระ
พระพุทธไสยาส (พระนอน) ทางด้านพระปฤษฎางค์ (ด้านหลัง) ขององค์พระ
(๑) มหัศจรรย์ “พระพุทธไสยาส”พระพุทธไสยาส (พระนอน) มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ
พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือพระวิหารพระนอน
ภายในประดิษฐาน “พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน”
ขนาดองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย
ซึ่งเป็นพระพุทธไสยาสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น โดยสร้างองค์พระขึ้นก่อนแล้วจึงสร้างพระวิหารครอบในภายหลัง
“พระพุทธไสยาส” หรือ “พระนอน” วัดโพธิ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น
พระพุทธไสยาสที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้นๆ แห่งสยามประเทศ
มีขนาดความยาวถึง ๔๖ เมตรด้วยกัน ดำเนินการสร้างโดยช่างสิบหมู่หลวง
และมีหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้าง
เชื่อกันว่าเป็นปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์
ในขณะที่พระพักตร์อิ่มเอิบ ดูขรึมขลังงดงามสมส่วน เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธายิ่งนัก
ลักษณะพระพุทธไสยาสโดยทั่วๆ ไป มีลักษณะบรรทมตะแคงขวา
พระบาทขวาเลื่อมพระบาทซ้าย แต่พระพุทธไสยาสวัดโพธิ์นั้น
มีความแตกต่างออกไปเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
คือ พระบาททั้งซ้ายและขวานั้นซ้อนเสมอกัน
อาจเป็นความตั้งใจของช่างสิบหมู่หลวงผู้สร้างที่ตั้งใจจะแสดงลวดลาย
ลักษณะเป็น ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ บนฝ่าพื้นพระบาททั้งสองก็เป็นได้
ที่น่าทึ่งคือ ลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการ
ที่งดงามโดดเด่นอย่างยิ่งบนฝ่าพื้นพระบาททั้งสองข้าง
ซึ่งเป็นลายศิลปะไทยกับจีนผสมผสานกันกลมกลืนลงตัวอย่างประณีตศิลป์
หากพิจารณาแล้ว ภาพมงคล ๑๐๘ ประการ และลวดลายภูเขาต่างๆ
ในป่าหิมพานต์ เป็นคติแบบไทยที่รับมาจากชมพูทวีป
ส่วน ภาพนก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ รวมทั้งแนวคิดเรื่องฮวงจุ้ยเป็นคติแบบจีน
อนึ่ง การประดับลวดลายจำหลักมุกภาพมงคล ๑๐๘ ประการไว้ที่ฝ่าพระบาทนั้น
เป็นไปตามคติอินเดียโบราณที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง
คือ ฝ่าพระบาทมีลายมงคล ๑๐๘ ประการ ได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้าง แก้ว
นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ
แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า ซึ่งหากเป็นพระพุทธรูปปางอื่นๆ
จะมองไม่เห็น ยกเว้นพระพุทธรูปปางไสยาสน์
ทำให้ช่างผู้สร้างบรรจงประดับลวดลายอันวิจิตรไว้อย่างเต็มที่
ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/files/ae_9_202.jpg/บ้านมหา.คอม
Bookmarks