กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น

    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น


    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น


    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น

    พระราชนิพนธ์บทละครใน ‘เรื่องอิเหนา’ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีความตอนหนึ่งที่กล่าวถึง ‘คัดเค้า’ ว่า

    เดินเอยเดินทาง
    ตามหว่างอรัญวาป่าใหญ่
    มรคารื่นราบดังปราบไว้
    เหมือนทางที่คลาไคลไปใช้บน
    พิศพรรณรุกขชาติที่เชิงผา
    ดาษดาดอกดวงพวงผล
    เห็นกล้วยไม้ใกล้ทางเสด็จดล
    ดอกโรยร่วงหล่นบนลานทราย
    คัดเค้าสาวหยุดย้อยระย้า
    เหมือนเมื่อประสันตาเอามาถวาย
    หอมกลิ่นสุกรมเมื่อลมชาย
    คล้ายคล้ายพระเชษฐาพาชมดง

    คัดเค้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyceros horridus Lour. หรือชื่อเดิม Randia siamensis Craib อยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่น เช่น คัดเค้าเครือ, คัดเค้าหนาม, หนามเล็บแมว, เค็ดเค้า, พญาเท้าเอว เป็นต้น คัดเค้าเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นซึ่งเป็นเถามีความเหนียวและแข็งมาก ตามลำต้นมีหนามโค้งแหลมคมออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างแข็งและหนา


    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น


    ดอกมีสีขาว โคนดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง และออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น เริ่มแรกบานจะมีสีขาว และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นหอมแรงมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน ฤดูกาลออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม และดอกจะบานเต็มต้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ หลังกลีบดอกร่วงก็จะออกผลระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผลมีลักษณะกลมรี ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่จะเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

    ประโยชน์ทางด้านพืชสมุนไพรของคัดเค้ามีมากมาย เรียกว่าเป็นยาทั้งต้น ได้แก่ เปลือก ซึ่งมีรสฝาด ใช้ปิดธาตุแก้เสมหะ แก้โลหิตซ่าน แก้เลือดออกในทวารทั้ง 9, เถาหรือลำต้น ใช้แก้ไข้ บำรุงโลหิต ขับเสมหะ, ใบแก้อาการโลหิตซ่าน โลหิตจาง, ดอกแก้เลือดกำเดา รักษาฝี, ผลใช้ฟอกโลหิตระดูของสตรี แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต และบำรุงผิวให้ผ่องใส ราก แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาฝี รักษาแผลทั่วไปโดยเฉพาะแผลสุนัขกัด, ส่วนหนามใช้แก้ฝีประคำร้อย แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้พิษไข้กาฬ เป็นต้น

    ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 ยูถิกปุปผิยเถราปทานที่ 10 ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคัดเค้า ซึ่งพระยูถิกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้

    พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา มีพระจักษุ ทรงออกจากป่าใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่พระวิหาร เราเอามือทั้งสองประคองดอกคัดเค้าอันสวยงาม ไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีพระหฤทัยเมตตา ผู้คงที่ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราเสวยสมบัติแล้ว ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ 50 แต่กัลปนี้ ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน พระนามว่า สมิตนันทนะ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้



    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น


    อาจารย์เรืองอุไร กุศลาศัย ได้เขียนถึงดอกคัดเค้าไว้ใน ‘หนังสือดอกไม้หอมเมืองไทย’ ว่า

    ดอกเอ๋ยดอกคัดเค้า
    ครึ่งลำเถาครึ่งต้นทนทานเหลือ
    หนามแหลมโค้งโง้งงอกออกคู่เครือ
    หวังแผ่เผื่อป้องกันภยันตราย
    เพราะดอกเจ้าขาวลออบริสุทธิ์
    หอมแรงดุจเด็ดดมสมมาดหมาย
    แต่เย็นย่ำคุงค่ำ ณ คืนปลาย
    กลิ่นกระจายซาบซึ้งติดตรึงเอยฯ


    (หมายเหตุ คำว่า ‘คุง’ เป็นภาษาโบราณ แปลว่า นาน ตลอดไป ตราบเท่า)



    คัดเค้า บานทั้งเช้า บานทั้งเย็น




    เครดิต : เวปธรรมจักร.เน็ต/บา้นมหา.คอม

  2. #2
    เคยเห็นอยู่ค่ะลุงใหญ่ ตอนเป็นเด็กน้อย กลิ่นหอมเย็น ตอนเช้าเย็น แต่ตอนนี้บ่เห็นอีกแล้วค่ะ
    LET IT BE...

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •