พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด


หลวงพ่อพระไชยเชษฐา
วัดถ้ำสุวรรณคูหา อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู


ชาวอำเภอสุวรรณคูหามีสิ่งเคารพบูชาสูงยิ่ง คือ หลวงพ่อพระไชยเชษฐา
เป็นพระพุทธรูปปางมุจลินทร์ นาคปรก ๗ เศียร ที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา
เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวอำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู เป็นยิ่งนัก

ทั้งนี้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระเจ้าแผ่นดินล้านช้าง
ได้สร้างไว้เมื่อเกือบ ๕๐๐ ปีมาแล้ว พร้อมถวายวิสุงคามสีมาให้แก่วัด
มอบ “นาจังหัน” (ที่ทำกิน) ให้ชาวบ้านได้ทำไร่ทำนา
และประกาศให้ผู้ที่ได้นาจังหันเสียภาษีร้อยละ ๑๐ ให้การทำนุบำรุง
วัดถ้ำสุวรรณคูหา และหลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านก็นำภาษีมาส่งให้วัด

ช่วงดังกล่าวเข้าสู่ฤดูหนาว ชาวบ้านต้องมาพักอาศัยค้างแรมในบริเวณวัด
จึงต้องนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นย่างไฟเป็นข้าวจี่กินกัน
และถวายเป็นการสักการะหลวงพ่อพระไชยเชษฐา และถวายพระสงฆ์
จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

แต่ละปีชาวบ้านที่นี่มีหน้าที่ต้องทำข้าวจี่ยักษ์ที่น่าจะบอกว่าใหญ่ที่สุดในโลก
ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเจริญของบ้านเมือง
ความศรัทธาของชาวบ้าน ที่ได้สืบสานประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
และเป็นความภาคภูมิใจของคนอำเภอสุวรรณคูหา และจังหวัดหนองบัวลำภู

“วัดถ้ำสุวรรณคูหา” เป็นวัดที่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ
ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว
ในสมัยก่อนเป็นวัดอรัญวาสี (ธรรมยุต) ปัจจุบันเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย
สร้างในภูเขาหินปูน โดยพระเถระในสมัยนั้นได้ดัดแปลงถ้ำ
ให้เป็นที่พักอาศัยจำวัดบำเพ็ญภาวนา ภูเขาลูกดังกล่าวมีถ้ำอยู่กว่า ๔๐ ถ้ำ
มีถ้ำใหญ่เรียกว่า ถ้ำสุวรรณคูหา ใช้เป็นสถานที่ทำสังฆกรรม (ลงอุโบสถ)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)
ด้านหน้า “ถ้ำสุวรรณคูหา” อันเป็นสถานที่ทำสังฆกรรม (ลงอุโบสถ)

ภายในถ้ำมีพระประธานปางมุจลินทร์ ศิลปะสมัยล้านช้าง
มีนาคปรก ๗ เศียร หน้าตักกว้าง ๔ เมตร สูง ๕ เมตร สร้างด้วยปูนทราย
มีส่วนผสมเป็นปูนขาว ๒ ส่วน ทราย ๕ ส่วน น้ำมะขาม ๒ ส่วน
ก่ออิฐเป็นโครงสร้างภายใน มีชื่อเรียกว่า “พระไชยเชษฐา”
สร้างในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง

ามศิลาจารึกที่ปรากฏที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา
ระบุเทียบเท่าปีพุทธศักราช ๒๐๑๖ หรือกว่า ๔๘๔ ปีล่วงมาแล้ว
จารึกไว้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงทำนุบำรุงวัดถ้ำสุวรรณคูหา
ถึงแม้ไม่ได้สร้างถาวรวัตถุ แต่ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัด
ด้านละ ๑,๐๐๐ วา (รวมเป็นจำนวน ๒,๕๐๐ ไร่)
พระราชทานนาจังหัน คือ พื้นที่ในหมู่บ้านเป็นสิทธิของวัด
เมื่อมีผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว มะพร้าว
ตาล หมาก พลู เป็นต้น ต้องเป็นสิทธิของวัดร้อยละ ๑๐

หมู่บ้านในเขตนาจังหันในปัจจุบันนี้มี บ้านดงยาง บ้านนาตาแหลว
บ้านนาสึกสาง (บ้านนาสี) บ้านนาท่าเป็ด (บ้านนาไร่เดียว)
บ้านกุดผึ้ง บ้านนาหัน บ้านโนนสง่า บ้านนาแพงเมือง บ้านคูหาพัฒนา

ซึ่งชาวบ้านที่อยู่ในเขตนาจังหันไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร
และไม่ต้องเสียค่าส่วยไร่ (ภาษี) แก่เจ้าเมือง
เป็นการแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
และความศักดิ์สิทธิ์ของพระไชยเชษฐามาโดยตลอด

พระอธิการเพิ่ม พุทธธัมโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำสุวรรณคูหา
เปิดเผยว่า ปัจจุบันจะมีชาวบ้านมาจากหลายแห่งทั้งภาคอีสานหรือภาคอื่นๆ
เดินทางมากราบไหว้ บนบานศาลกล่าว ด้วยการนำดอกไม้ธูปเทียน
โพธิ์เงินโพธิ์ทอง พวงมาลัย มากราบไหว้ขอพรพระไชยเชษฐา
ชาวบ้านทำไร่ทำนาก็ขอให้มีผลิตผลออกมาดีไร่นาอุดมสมบูรณ์
หลายคนมาบนบานขอให้มีตำแหน่งหน้าที่ดีๆ สอบได้ที่ดี
หรือทำมาหากินมีรายได้ดี ซึ่งก็มักประสบผลสำเร็จ
ลูกศิษย์ลูกหาที่ศรัทธาก็สร้างองค์พระไชยเชษฐาจำลองมาถวาย


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)
ภายใน “ถ้ำสุวรรณคูหา” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระไชยเชษฐา”

ส่วนคนในอำเภอสุวรรณคูหา หากจะออกไปต่างจังหวัดไปทำงานต่างถิ่น
หรือออกไปประกอบอาชีพที่อื่น จะเข้ามากราบไหว้ขอพร ขอให้แคล้วคลาด
หรือมีรายได้กลับมาเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งมักจะเห็นผล
บางคนถึงกับปวารณาตัวกลับเข้ามาบำรุงรักษาวัด

และในวันขึ้น ๑๓-๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
อำเภอสุวรรณคูหา ร่วมกับเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา
จะจัดงานบวงสรวงพระไชยเชษฐา เป็นประจำทุกปี
โดยจะมีชาวบ้านร่วมนำข้าวเปลือก ข้าวสาร ผลิตผลทางการเกษตร
นำมาถวายพระไชยเชษฐา พร้อมทั้งจัดขบวนแห่รำฟ้อนอย่างสวยงาม

ที่ถือปฏิบัติมิได้ขาดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
คือ การที่ชาวบ้านในสมัยก่อนในนาจังหัน
เมื่อนำสิ่งของมาถวายเพื่อทำนุบำรุงรักษาวัด
ซึ่งอยู่ในช่วง ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ที่มีอากาศหนาวเย็น
มักจะนำข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นย่างไฟเป็นข้าวจี่
มีการร่วมวงกินร่วมกันและสนทนาพาทีกัน เรียกกันว่ารวมบุญข้าวจี่

ก่อนจะรับประทาน ต้องถวายพระสงฆ์เป็นภัตตาหาร
ได้ถือปฏิบัติมาช้านานจนปัจจุบันกลายเป็นประเพณีบุญข้าวจี่
ซึ่งคณะกรรมการจัดงานก็ได้จัดสร้างข้าวจี่ยักษ์ขนาดใหญ่
ถวายหลวงพ่อพระไชยเชษฐา
ก่อนจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมงานได้รับประทาน

ถือเป็นการรับบารมีหลวงพ่อพระไชยเชษฐา
ที่มีประชาชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมากในทุกปีด้วย



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)
ป้ายประวัติย่อของ “หลวงพ่อพระไชยเชษฐา”








พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด


หลวงพ่อร้องไห้ หรือ “หลวงพ่อโต”
[พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท ปางป่าลิไลยก์
ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณประตูทางเข้าวัด]
วัดสี่ร้อย ต.สี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

“วัดสี่ร้อย” เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า ๑๕๐-๒๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย
หมู่ที่ ๔ ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๕๔ หลักกิโลเมตรที่ ๓๑-๓๒
บนเส้นทางสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หรืออ่างทอง-วิเศษชัยชาญ

ชื่อตำบลสี่ร้อยและชื่อวัดสี่ร้อย เป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์
แก่ “ขุนรองปลัดชู และทหารกองอาทมาต ชาววิเศษชัยชาญ ๔๐๐ คน”
ที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เมืองกุย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๒

ณ วัดสี่ร้อยแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์
มีขนาดหน้าตักกว้าง ๖ เมตรเศษ สูงตลอดยอดพระรัศมีราว ๒๑ เมตร
มีนามว่า “หลวงพ่อโต” ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน้อย
เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับนั่งกลางแจ้งห้อยพระบาท
ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณประตูทางเข้าวัด พระพักต์หันไปทางทิศตะวันออก
พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระเพลาขวา พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระเพลาซ้าย
ลักษณะพุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมมน พระรัศมีค่อนข้างสูง
เป็นที่น่าแปลกที่ช่างสร้างให้อารมณ์ที่ปรากฏบนพระพักตร์ค่อนข้างหมอง

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ ในสมัยที่หลวงพ่อบุญ เป็นเจ้าอาวาส
หลวงพ่อปั้น หรือพระครูสังคกิต เจ้าอาวาสวัดพิกุล (วัดพิกุลโสคัณธ์)
ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้ร่วมกับหลวงพ่อบุญ เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง
สร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเป็นการจำลองมาจาก
วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
โดยใช้เวลาก่อสร้างอยู่ราว ๑๖ ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์

ชาวบ้านทั้งใกล้และไกลต่างเคารพศรัทธา “หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย” เป็นอันมาก
งานเทศกาลประจำปีของวัดในวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ซึ่งตรงกับเทศกาลลอยกระทงนั้น สมัยก่อนจะแน่นขนัดด้วยเรือยนต์ เรือพาย
ร้านขายของ และฝูงชนมากมายที่มากราบนมัสการองค์พระและร่วมงานลอยกระทง

แต่อีกชื่อที่เป็นที่สนใจแก่คนทั่วไป ก็คือ “หลวงพ่อร้องไห้”
เพราะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ มีข่าวใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า
“หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย” มีโลหิตไหลออกมาจากพระนาสิก (จมูก)
ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป เป็นที่โจษจันกันไปทั่ว
เหตุการณ์นั้นมีชาวบ้านในอำเภอวิเศษชัยชาญล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
ทำให้มีสาธุชนผู้สนใจทั้งชาวจังหวัดอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง
ต่างหาโอกาสเดินทางมานมัสการ กราบไหว้สักการะเป็นอันมาก

กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ มีข่าวใหญ่อีกว่า
“หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย” มีโลหิตไหลออกมาทางจมูก บริเวณหน้าอก
หัวไหล่ ด้านหลัง และตามส่วนต่างๆ ทั่วองค์พระพุทธรูปอีกเป็นจำนวนมาก
ชาวบ้านต่างพากันตื่นตระหนกหวั่นลางร้าย ด้วยเชื่อว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว
อาจเกิดจากองค์หลวงพ่อโตท่านเสียใจ หลังท่านเห็นพระสงฆ์กับชาวบ้าน
ทะเลาะกันในงานพิธีบวงสรวงเปิด อนุสาวรีย์ขุนรองปลัดชู ณ วัดสี่ร้อย
เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ก็อาจจะเป็นได้
นอกจากนี้แล้ว “หลวงพ่อโต วัดสี่ร้อย” องค์นี้ ยังเคยมีปาฏิหาริย์
มีน้ำตาไหลออกมาจากพระเนตร ยามที่บ้านเมืองจะเกิดอาเพศด้วย

นอกจากนี้ ภายในอุโบสถ วัดสี่ร้อย เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ฝีมือช่างอยุธยาที่มีความงดงามมาก ปัจจุบันภาพลบเลือนไปหมดแล้ว

ชาววิเศษชัยชาญไปสร้างชื่อเสียงในการรบท้องถิ่นอื่นถึง ๒ ครั้ง
คือ การรบของชาววิเศษชัยชาญ ที่ค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
และการรบของขุนรองปลัดชู กับทหาร “กองอาทมาต” ชาววิเศษชัยชาญ
ที่อ่าวหว้าขาว อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปัจจุบันนี้

เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๒ ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
กองทัพพม่ายกทัพมาตีไทย โดยอ้างสาเหตุว่า ไทยช่วยมอญที่หนีพม่าเข้ามา
มอญนั้นหนีพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ที่เมืองตะนาวศรี ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นของไทย
พม่าขอตัวหัวหน้ากบฏมอญ แต่ทางไทยไม่ยินยอมมอบให้



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

ประวัติท่านขุนรองปลัดชู กองอาทมาต และวัดสี่ร้อย

วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง ในอดีตล่วงมาถึงปีพุทธศักราช ๒๓๐๓
พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า กำลังฉลองพระเกศธาตุ อยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
จึงรับสั่งให้ “มังระราชบุตร” กับ “มังฆ้องนรธา” คุมทัพพล ๘,๐๐๐ คน
ลงไปตีเมืองทวายที่แข็งเมือง มังระราชบุตรตีเมืองได้แล้ว
ทราบว่ากำปั่นจากเมืองทวายหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองตะนาวศรี
และเมืองมะริด (ของไทย) หลายลำ จึงขอยกทัพไปตีเมืองทั้งสอง
ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยา ต่ออีก
มังระราชบุตรยกทัพพล ๘,๐๐๐ ซึ่งคงตายไปบ้าง
ไปตีเมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด (ของไทย) ได้โดยง่าย
เป็นผลให้พม่าประมาทฝีมือไทย จึงคิดจะเข้ามาตีหัวเมืองไทย
ทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยาทราบข่าวศึกจากเมืองตะนาวศรี ก่อนที่เมืองตะนาวศรีจะแตก
จึงให้ พระยายมราช เป็นแม่ทัพคุมพล ๓,๐๐๐ คนยกไปรักษาเมืองมะริด
และให้ พระยารัตนาธิเบศร์ ซึ่งเป็นจตุสดมภ์กรมวัง
(เรียกว่าตั้งแม่ทัพแบบตั้งส่งเดช) คุมทัพพล ๒,๐๐๐ คนยกหนุนขึ้นไป

ในครั้งนั้นยังโปรดให้ ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ
ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย
พร้อมด้วยพรรคพวกชาววิเศษไชยชาญอีกจำนวน ๔๐๐ คน
โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต” ทุกคนที่อยู่ในกองอาทมาตเรียกว่า
จะยิงก็ไม่เข้า จะแทงก็ไม่เข้า หนังเหนียวกันทั้งกอง จนเป็นที่เลื่องลือ
ยกไปเข้าสมทบกับกองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ด้วย

ส่วนทัพพระยายมราชยกกองทัพไปทางด่านสิงขร ที่ประจวบคีรีขันธ์
ข้ามเขาบรรทัดไป พอพ้นแดนไทยก็ทราบว่า เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด
เสียแก่พม่าแล้ว จึงยั้งทัพอยู่ที่แก่งตุ่มปลายน้ำตะนาวศรี หวังรอคำสั่งต่อไป

ครั้นเมื่อกองทัพพม่ารู้ว่า ทัพไทยตั้งอยู่ที่ปลายน้ำตะนาวศรี
มังระราชบุตรจึงให้มังฆ้องนรธา ยกมาตีกองทัพพระยายมราชแตกพ่ายไป
(พระยายมราช เดิมคือ พระยาราชครองเมือง ไร้ฝีมือในการรบ)
ขณะนั้นทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ตั้งอยู่ที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จึงได้สั่งให้กองอาทมาตของขุนรองปลัดชู คุมขึ้นไปตั้งสกัดกองทัพพม่า
อยู่ที่อ่าวหว้าขาว ตั้งอยู่เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันนี้

พอพม่ายกทัพผ่านมาแต่เช้าตรู่ ขุนรองปลัดชูจึงคุมกองอาทมาต
ออกโจมตีพม่าข้าศึก รบด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอน
ถึงแม้ทหารของไทยจะน้อยกว่า แต่ก็ไล่ฆ่าฟันพม่าล้มตายเป็นอันมาก
การต่อสู้ผ่านไป ๑ คืนถึงเที่ยงวันรุ่งขึ้น ก็ยังไม่สามารถเอาชนะพม่าได้
เพราะพม่ายกทัพหนุนเข้ามาช่วยอีก ด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงเหนื่อยอ่อนแรง
สิ้นกำลังลง ในที่สุดก็ถูกพม่ารุกไล่โจมตีแตกพ่ายยับเยิน

ฝ่ายพระยารัตนาธิเบศร์พอทราบว่า กองทัพพระยายมราชแตกถอยลงมาแล้ว
ก็ให้เกณฑ์พลอีก ๕๐๐ คน ให้ยกไปหนุนกองอาทมาตของขุนรองปลัดชู
ที่มีพลยกไปเพียง ๔๐๐ คน แต่กองหนุนก็ยกทัพไปช่วยไม่ทัน
เพราะขุนรองปลัดชูและกองอาทมาตนั้นรบมาตั้งแต่เช้าตรู่จนยันเที่ยง
แม้ทหารกองอาทมาตจะมีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า หนังเหนียว
แต่ทหารพม่าก็ใช้วิธีทุบตีและไสช้างเข้าเหยียบย่ำทหารกองอาทมาตให้ตาย
ที่ไม่ตายด้วยการถูกทุบตีหรือช้างเหยียบ ก็ถูกไล่ลงน้ำทะเลจนจมน้ำตายหมด
ในที่สุด ขุนรองปลัดชู พร้อมด้วยทหารกองอาทมาตอีกจำนวน ๔๐๐ คน
ก็เสียชีวิตลงด้วยฝีมือของทัพพม่าหมดทั้งกอง

พระยารัตนาธิเบศร์นั้น พอทราบข่าวว่า ทหาร “กองอาทมาต” แตกพ่าย
ก็ถอยหนีกลับไปยังเมืองเพชรบุรี กองทัพพม่าก็ตีตามไล่เข้ามา
ฝ่าย พระเจ้าอลองพญา ที่มาตรวจตราดูเมืองตะนาวศรีที่ตีได้
พอทราบข่าวว่าได้ชัยชนะอย่างง่ายดายเช่นนั้น จึงคิดมาตีกรุงศรีอยุธยาทันที
แต่การรบในครั้งนี้ พระเจ้าอลองพญา (น่าจะไม่ใช่ทหารปืนใหญ่)
ตอนมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทรงบัญชาการยิงปืนใหญ่ด้วยพระองค์เอง
จะเอาระยะไกลเข้าว่า จึงบรรจุดินปืนมากจนลำกล้องระเบิด
และการระเบิดของลำกล้องปืน เป็นผลให้พระเจ้าอลองพญาบาดเจ็บสาหัส
จึงยกทัพกลับไปทางเมืองตาก หมายจะพ้นแดนไทยทางด่านแม่ละเมา
แต่ยังไม่พ้นแดนไทย ก็สิ้นพระชนม์ในป่า ซึ่งสถานที่แห่งนี้ในปัจจุบัน
ก็คือ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช จังหวัดตาก

ชาววิเศษไชยชาญ เมื่อทราบข่าวการตายยกกองของกองอาทมาต
ก็โศรกเศร้าเสียใจ จึงได้แต่ภาวนาขอบุญกุศลที่ได้สร้างสมไว้จงเป็นปัจจัย
ส่งผลให้ดวงวิญญาณของทหารกล้าได้ไปสู่สุคติ ความเงียบเหงาวังเวงเกิดขึ้น
หมดกำลังใจในการทำมาหากิน ไม่มีอะไรดีไปกว่าการร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ
ไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้พลีชีพด้วยการสร้าง วัดสี่ร้อย ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๑๓
ใช้ชื่อสี่ร้อยตามจำนวนกองอาทมาตสี่ร้อยคน ที่ไม่ได้กลับมา
เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังของชาวเมืองวิเศษไชยชาญ
เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่พลีชีพปกป้องปฐพีถึงกับเสียชีวิต
โดยตั้งนามว่า วัดสี่ร้อย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนทั่วไป

อ่างทองเป็นจังหวัดที่เล็ก แต่ก็มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่เป็นอันมาก
อย่างวัดสี่ร้อยก็เป็นอีกหนึ่งวัดที่มีพระใหญ่ให้ชาวบ้านสักการบูชาและชมความงาม
บรรยากาศในวัดค่อนข้างเงียบสงบ วันหยุดหรือวันว่างขอเชิญแวะมานมัสการ
ท่านจะได้เห็นถึงความใหญ่โตของพระใหญ่ และประวัติความเป็นมาที่น่าทึ่งของวัดสี่ร้อย

-การเดินทาง

ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๕๔ หลักกิโลเมตรที่ ๓๑-๓๒
บนเส้นทางสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หรืออ่างทอง-วิเศษชัยชาญ
ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒.๕ กิโลเมตร
แล้วแยกซ้ายมือไปตามถนนคันคลองชลประทานอีก ๕ กิโลเมตร



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)






พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์
อนุสรณ์เหตุการณ์พระสงฆ์ทะเลาะกัน
ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งแรกในสมัยพุทธกาล



พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทะเลาะวิวาทกัน ก็คงมีบ่อยๆ เพราะความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จนเกิดความแตกแยกเป็นครั้งแรก และเกิดขึ้นในครั้งสมัยพุทธกาลด้วย ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ก็คือ การทะเลาะของภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

ในอรรถกถาธรรมบท (ธัมมปทัฏฐกถา) ได้นำมาเล่าต่อ พร้อม “ใส่ไข่” (ผมอยากจะเรียกอย่างนั้น) ทำให้เราอ่านไปมีความมันในอารมณ์ไปด้วย ขอนำมาถ่ายทอดในวันเลือกตั้ง ที่อารมณ์ของคนในสังคมไทยแตกต่างกัน เพราะสนับสนุนนักการเมืองต่างพรรค (มันเกี่ยวกันไหมเนี่ย)

เรื่องมีอยู่ว่า ในวัดแห่งหนึ่ง เมืองโกสัมพี มีพระภิกษุอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพระเถระสองรูปเป็นที่เคารพของพระภิกษุทั้งหลาย รูปหนึ่งเป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย มีความเชี่ยวชาญในการอธิบายพระวินัย เรียกตามศัพท์ของพระอรรถกถาจารย์ว่า “พระวินัยธร” อีกรูปหนึ่งมีความสามารถในการถ่ายทอดพระธรรม เรียกว่า “พระธรรมกถึก”

ทั้งสองรูปมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากทัดเทียมกัน ถึงในเนื้อหาจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกชัดเจน แต่โดยพฤตินัยก็พอมองเห็นเป็นรูปธรรม รวมไปถึงญาติโยมด้วย พวกที่ชอบพระนักเทศน์ก็ไปหาพระนักเทศน์ พวกที่ชอบพระผู้เชี่ยวชาญพระวินัยก็ไปหาพระวินัยธรบ่อยๆ สมัยนี้เรียกว่า “ขึ้น” ทั้งสองรูป มีญาติโยมขึ้นพอๆ กัน

ท่านเหล่านี้ก็อยู่ด้วยกันมาด้วยดี ไม่มีอะไร อยู่มาวันหนึ่ง พระวินัยธรเข้าห้องน้ำ (สมัยโน้นวัจกุฎีก็คงเป็นส้วมหลุม มากกว่าห้องน้ำในปัจจุบัน) ออกมาเจอพระธรรมกถึก จึงถามว่า “ท่านใช่ไหมที่เข้าห้องน้ำก่อนผม”

พระธรรมกถึกรับว่า “ใช่ มีอะไรหรือ”

“ท่านเหลือน้ำชำระไว้ครึ่งขัน ท่านทำผิดพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฎแล้ว รู้หรือเปล่า” พระวินัยธรกล่าว

โอ ผมไม่รู้ ถ้าอย่างนั้นผมขอปลงอาบัติ” พระธรรมกถึก ยอมรับและยินดี “ปลงอาบัติ” หรือแสดงอาบัติอันเป็นวิธีออกจากอาบัติตามพระวินัย

พระวินัยธรกล่าวว่า ถ้าท่านไม่มีเจตนาก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องอาบัติดอก แล้วก็เดินจากไป เรื่องก็น่าจะแล้วกันไป แต่ไม่แล้วสิครับ พระวินัยธรไปเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า พระธรรมกถึก ดีแต่เทศน์สอนคนอื่น ตัวเองต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้เลย ลูกศิษย์พระวินัยธรก็ไปบอกลูกศิษย์พระธรรมกถึก ทำนองบลั๊ฟกันกลายๆ ว่า พรรคท่านฟ้องแก้เกี้ยว เอ๊ย อาจารย์ของพวกท่านดีแต่สอนคนอื่น ตัวเองต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้

เรื่องรู้ถึงหูพระธรรมกถึก ก็หูแดงสิครับ ใครมันจะยอมให้กล่าวหาว่าพิมพ์สติ๊กเกอร์ เอ๊ยจงใจละเมิดพระวินัย จึงศอกกลับพระวินัยธรว่า สับปลับ ทีแรกว่าไม่เป็นไร แต่คราวนี้ว่าต้องอาบัติ พระวินัยธร ก็ต้องอาบัติข้อพูดเท็จเหมือนกัน เอาละสิครับ เมื่ออาจารย์ทะเลาะกัน พวกลูกศิษย์ก็ทะเลาะกันด้วย ขยายวงกว้างออกไปจนถึงญาติโยมผู้ถือหางทั้งสองฝ่ายด้วย เรื่องลุกลามไปใหญ่โต ทราบถึงพระพุทธองค์ พระองค์เสด็จมาห้ามปราบ แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เลือดเข้าตาแล้ว ไม่ยอมเชื่อฟัง

พระพุทธองค์ทรงระอาพระทัย จึงเสด็จหลีกไปประทับอยู่ ณ ป่าปาลิเลยยกะ (หรือปาลิไลยกะ) ตามลำพัง มีช้างนามเดียวกับป่านี้เฝ้าปรนนิบัติ ทรงจำพรรษาที่นั่น ในคัมภีร์พระไตรปิฎกพูดถึงช้างตัวเดียว ไม่พูดถึงลิง แต่ในอรรถกถาบอกว่ามีลิงด้วยตัวหนึ่ง

หมายเหตุไว้ตรงนี้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ผู้เป็นนักปราชญ์ท่านบอกว่า ช้างนั้น ถ้าเป็นช้างป่าลักษณนามต้องเรียกว่า “ตัว” แต่ถ้าช้างที่ขึ้นระวางแล้วเรียกว่า “เชือก” ว่าอย่างนั้น ผมเป็นแค่ “นักปาด” ก็ต้องเชื่อท่าน

ว่ากันว่าช้างคอยต้มน้ำให้พระพุทธองค์ทรงสรง ทำอย่างไรหรือครับ แกกลิ้งก้อนหินที่ตากแดดทั้งวันยังอมความร้อนอยู่ ลงในแอ่งน้ำเล็กๆ น้ำนั้นก็อุ่นขึ้นมา แล้วก็ไปหมอบแทบพระบาททำนองอาราธนาให้สรงสนาน พระพุทธองค์เสด็จไปสรงน้ำนั้น อย่างนี้ทุกวัน

เจ้าจ๋อเห็นช้างทำอย่างนั้น ก็อยากทำอะไรแด่พระพุทธองค์บ้าง มองไปมองมาเห็นผึ้งรวงใหญ่ ก็ไปเอามาถวาย พระพุทธองค์ทรงรับแล้วก็วางไว้ ไม่เสวย เจ้าจ๋อสงสัยว่าทำไมพระองค์ไม่เสวย ก็ไปหยิบรวงผึ้งมาพินิจพิเคราะห์ดู เห็นตัวอ่อนเยอะแยะเลย จึงหยิบออกจนหมดแล้วถวายใหม่ คราวนี้พระองค์เสวย ก็เลยกระโดดโลดเต้นด้วยความดีใจ ที่อีกฝ่ายจะถูก กกต. แบนเรื่องปริญญาปลอม เอ๊ยที่พระพุทธองค์เสวยผึ้งที่ตนถวาย ปล่อยกิ่งนี้จับกิ่งนั้นเพลิน บังเอิญไปจับกิ่งไม้แห้งเข้า กิ่งไม้หักร่วงลงมา ถูกตอไม้ทิ่มตูดตาย คัมภีร์เล่าต่อว่า ลิงตัวนั้นตายไปเกิดเป็นเทพบุตรนามว่า มักกฎเทพบุตร (แปลว่าเทพบุตรจ๋อ) ปานนั้นเชียว

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จหลีกไปตามลำพัง พวกอุบาสกอุบาสิกาที่ทรงธรรมไม่เข้าข้างฝ่ายไหนทั้งนั้น ก็พากันแอนตี้พระภิกษุเหล่านั้น ไม่ถวายอาหารบิณฑบาต กล่าวโทษว่าเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์เสด็จหนีไป พวกตนมิได้เฝ้าพระพุทธองค์ พระภิกษุเหล่านั้นรู้สำนึก จึงขอขมา แต่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายบอกให้ไปกราบขอขมาพระพุทธองค์ ครั้นออกพรรษาแล้วพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อขอขมา โดยมีพระอานนท์เป็นผู้ประสานงาน (แหม ใช้ภาษาทันสมัยจังเนาะ) พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษของการทะเลาะวิวาทและอานิสงส์ (ผลดี) ของความสามัคคีแก่พระสงฆ์สาวกเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นก็กลับมาสมัครสมานสามัคคีกันเหมือนเดิม

ชาวพุทธได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่ง เป็นอนุสรณ์เหตุการณ์ครั้งนี้ คือ ปางปาลิไลยกะ (ป่าเลไลยก์, ป่าลิไลยก์) พระพุทธองค์ประทับนั่งห้อยพระบาท มีลิงถือรวงผึ้ง และช้างหมอบแทนพระยุคลบาท อย่าถามว่าสร้างสมัยไหน ผมไม่ทราบ เพราะเกิดไม่ทัน

นี้เป็นการทะเลาะกันของพระสงฆ์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในประวัติพระพุทธศาสนา แต่การทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นต่างกัน ก็ไม่ถึงกับแตกนิกายดังในสมัยหลัง เพราะอย่างไรก็มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นจุดศูนย์กลายคอยชี้แจงไกล่เกลี่ยให้กลับคืนดีกัน สมัครสมานสามัคคีกันเหมือนเดิม


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

"พระพุทธปาลิไลย” เป็นพระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์ (ป่าเลไลยก์)
ประดิษฐานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)
พระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์ (ป่าเลไลยก์)
ประดิษฐานบนหลังเขาวัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
ที่มาของรูปภาพ : fb. ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธไสยาสน์
วัดป่าโมก วรวิหาร อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง


วัดป่าโมก วรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจาก อ.เมืองอ่างทอง ไป ๑๘ กิโลเมตร
ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง-อยุธยา
เดิมมีวัด ๒ วัดตั้งอยู่ติดกัน คือ วัดตลาด กับ วัดชีปะขาว

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย
มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ๒๒.๕๘ เมตร
ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความ เป็นมาน่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า
ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่ง แม่น้ำ

ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชได้ เสด็จมาชุมนุมพลและถวาย
สักการะ บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ในปีพ.ศ. ๒๒๖๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้ เสด็จมาควบคุมการชลอองค์พระให้พ้นจาก
กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังไปไว้ ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาด ห่างจากฝั่ง แม่น้ำ ๑๖๘ เมตรแล้ว โปรดให้รวมทั้งสองวัดเป็นวัดเดียวกันพระ
ราชทานนามว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณ นั้นมีต้นโมกมากมาย

พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า วัดตลาด อยู่ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง วัดป่าโมก เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีความเก่าแก่คู่กันมากับวัด มีขนาดใหญ่โตและงดงามมาก สร้างก่อนรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาประชุมพลก่อนจะเสด็จไปรบกับ พระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาทรงสักการะพระพุทธไสยาสน์ก่อน เมื่อปี พ.ศ. 2135

เดิมองค์พระพุทธไสยาสน์และพระวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อยห่างจากที่ตั้งปัจจุบัน 4 เส้น 4 วา เนื่องจาก ที่ตั้งนั้นเป็นคุ้งน้ำ น้ำจึงเซาะตลิ่งพังลงไปจนใกล้ถึงองค์พระ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระราชสงครามเป็นนายกองดำเนินการชะลอพระพุทธไสยาสน์ ให้ลึกเข้ามาจากฝั่ง 4 เส้น 4 วา แล้วสร้าง พระวิหารสำหรับพระพุทธไสยาสน์ เรื่องราวการชะลอพระพุทธไสยาสน์นี้มีปรากฎอยู่ในศิลาจารึก ติดไว้ที่ฝา ผนังพระอุโบสถของวัดป่าโมก มีใจความดังนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2271 พระเจ้าปราสาททอง เสด็จพระราชดำเนินมายืนบกชะลอพระพุทธไสยาสน์ ณ อำเภอ ป่าโมก ให้พ้นอันตรายจากน้ำเซาะตลิ่งพัง โดยชะลอให้ห่างฝั่งแม่น้ำ 4 เส้น 4 วา แล้วให้สร้างพระวิหาร สำหรับองค์พระพุทธไสยาสน์ที่วัดตลาด เนื่องจากพระวิหารเดิมฝาผนังและหลังคาชำรุดทรุดโทรม

นอกจากนั้นยังมีโคลงพระราชนิพนธ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ เรื่อง การชะลอพระพุทธไสยาสน์ เมื่อครั้งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ นิพนธ์ ถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นจำนวนโคลง 69 บท มีสำนวนตามบทที่ 2 ดังนี้
ตะวันลงตรงทิศทุกัง
เซราะฝั่งพงรหุรหาย
ขุดเขื่อนเลื่อนทลมทลาย
ผนังแยกแตกแตนซ้ำ
แทงสาย
รอดน้ำ
ริมราก
รูปร้าวปฏิมา

ในโคลงดังกล่าวยังได้บรรยายว่า พระราชสงครามเป็นผู้ที่มีความสามารถ
เคยทำงานสำคัญมาหลายครั้ง การชะลอครั้งนี้ได้จัดการขุดดิน
ทำร่อง ทำราง ด้วยความยากลำบากจนเป็นผลสำเร็จ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

ตำนานเรื่องเล่าพระพุทธรูปพูดได้ วัดป่าโมก วรวิหาร

เรื่องมหัศจรรย์อภินิหารของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนจำนวนมากเคารพนับถือ
มีร่ำลือกันมามากมายหลายเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่มีการจารึก
ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือเรื่อง พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พูดได้ โดยผู้บันทึกก็คือ พระครูปาโมกข์มุนี เจ้าอาวาสวัดป่าโมก

พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาว ๒๒.๕๘ เมตร เดิมอยู่ริมแม่น้ำ ไม่มีประวัติว่าใครสร้างและสร้าง
มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ใน พ.ศ. ๒๒๖๘ น้ำได้เซาะตลิ่งใกล้เข้ามาจนพระพุทธรูปใกล้จะพังลงน้ำ ขุนนางข้าราชการได้ทูล ขอเสนอ
พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)ให้รื้อออกแล้วสร้างใหม่ แต่พระยาราชสงคราม ผู้ถนัดเรื่องช่าง และเป็นผู้ขุดคลองโคกขามที่คดเคี้ยวให้
เป็นเส้นตรง ขอรับอาสาย้ายเข้ามาให้ห่างตลิ่งโดยไม่ทำให้พระพุทธรูปเสียหาย พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระไม่ทรงเชื่อว่าจะย้ายพระพุทธ
รูปใหญ่และหนักขนาดนั้นได้แต่พระยาราชสงครามรับรองด้วยชีวิตและพระราชาต่างคณะต่างก็ไม่เห็นด้วยในการจะทุบทำลาย
พระพุทธรูป พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้ชะลอองค์พระเข้ามาให้ห่างฝั่งตามคำทูลเสนอ

พระยาสงครามได้เริ่มงานชะลอพระพุทธไสยาสน์โดยขุดดินใต้ฐาน แล้วสอดท่อนซุงเรียงเข้าไปหลายท่อนเรียงกันตลอด จากนั้นก็
ใช้กำลังคนชักลากฐานให้เลื่อนไปบนท่อนซุงที่กลิ้งไป เมื่อถึงที่อันเหมาะแล้วพระเจ้าท้ายสระจึงให้สร้างวิหารครอบไว้ยั่งยื่นมาจน
ถึงทุกวันนี้


ส่วนเหตุการณ์มหัศจรรย์ที่ถูกจารึกไว้ เกิดขึ้นในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เวลา
ประมาณ ๖ โมงเย็น โดยอุบาสิกาเหลียน อยู่บ้านเอกราช แขวงป่าโมก หลานของพระ
ภิกษุโต ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโมก ได้เอาใบ้ไม้มาต้มให้พระภิกษุโตซึ่งเป็นอหิวาตก
โรคฉัน ก็ปรากฏว่าพระภิกษุโตหายจากโรคอหิวาต์อย่างมหัศจรรย์

พระครูปาโมกข์มุนี จึงซักถามอุบาสิกาเหลียนถึงที่มาของยา อุบาสิกาเหลียนก็ว่าขอมา
จากพระพุทธไสยาสน์ และยังคุยว่าพระพุทธไสยาสน์เป็นหลวงพ่อของนาง เมื่อต้องการ
สิ่งใดก็จะไปขออยู่เสมอ แม้แต่ถามไถ่เรื่องต่างๆ ก็จะมีเสียงตอบกลับมาจากพระอุระ
พระครูปาโมกข์มุนี จะขอเข้าไปฟังด้วย อุบาสิกาเหลียนก็ไม่ขัดข้อง

พระครูปาโมกข์มุนีนั่งอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ ห่างประมาณ ๔ ศอก
อุบาสิกาเหลียนก็จุดธูปเทียนและเอาใบ พูล ๑ ใบทาปูนพับเป็นสี่เหลี่ยม หมาก ๑ ซีก
ยาสูบ ๑ มวน ใส่ในพานบูชาแล้วอธิษฐานดังๆ ให้ได้ยินกันทั่วว่า

"นิมนต์หลวงพ่อเอาของในพานนี้ไปฉันด้วยเถิด"

ประมาณ ๒ นาที ของที่ถวายอยู่ในพานก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ พระครูปาโมกข์มุนี ยังไม่หายสงสัย ถามอุบาสิกาเหลียนว่าจะขอ
พูดกับหลวงพ่อเองได้หรือไม่ ก็มีเสียงตอบมาจากพระอุระว่า "ได้"

ท่านพระครูจึงถามว่า "หลวงพ่อสุขสบายดีหรือ?"
มีเสียงตอบว่า "สบายดี"
พระครูถามต่อไปว่า "หลวงพ่อสุขสบายแล้วจะให้ความสุขสบายแก่กระผมบ้างไม่ได้หรือ?"
มีเสียงตอบว่า "พระครูก็สุขสบายอยู่แล้ว"
พระครูถามต่อไปว่า "จะให้สุขสบายยิ่งขึ้นกว่านั้นได้หรือไม่"
มีเสียงตอบว่า "ไม่ได้"
พระครูซักอีกว่า "เหตุใดจึงไม่ได้"
หลวงพ่อตอบว่า "เดือนยี่กับเดือนห้าจะเกิดอหิวาตกโรค"
พระครูซักต่อไปว่า "ทำไมท่านจึงทราบได้ แล้วไม่ทราบเรื่องหยูกยาบ้างหรือ ถ้าทราบช่วยบอกให้คนทั้งปวงด้วย"
หลวงพ่อตอบว่า "ไม่ต้องกินยาหรอก กินน้ำมนต์ก็หาย"
พระครูถามต่อว่า "เดือนยี่กับเดือนห้ายังอีกนาน จะเวียบเทียนถวายจะชอบหรือไม่"
หลวงพ่อบอกว่า "ชอบ"
พระครูถามว่า "จะให้ทำข้างขึ้นหรือข้างแรม"
หลวงพ่อตอบว่า "ข้างแรม"
พระครูถามว่า "เครื่องดีดสีตีเป่าจะต้องใช้หรือไม่"
หลวงพ่อไม่ตอบ ....
พระครูถามต่อว่า "คนที่มาเวียนเทียนจะขอน้ำมนต์ไปดื่มตั้งแต่เดือยอ้าย จะคุ้มไปถึงเดือนยี่ เดือนห้าได้หรือไม่"
หลวงพ่อยืนยันว่า "ได้"

สักขีพยานทั้ง ๓๐ คน ต่างได้ยินคำโต้ตอบนี้โดยทั่วถึงกันวันต่อๆ มาพระครูโมกข์มุนียังมาสนทนากับพระพุทธไสยาสน์อีกโดยมี
สักขีพยานมาร่วมฟังด้วยทุกครั้ง จึงได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไว้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เพื่อยืนยันว่าพระพุทธไสยาสน์ วัด
ป่าโมกข์ เมืองอ่างทองพูดได้

เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) แวะมานมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

"มีอำแดงคนหนึ่งไปบอกหลวงพ่อพระนอน ขอให้ช่วยรักษาลุงซึ่งป่วย พระนอนนั้นบอกตำรายา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์เสียงก้อง
ออกมาจากพระอุระ พระครูไม่เชื่อจึงได้ลองพูดดูบ้าง ก็ได้รับคำตอบทักทายเป็นอันดี แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บป่วยด้วยยา
นั้น เป็นอะไรๆ ก็หาย ห้ามมิให้เรียกขวัญข้าวค่ายา นอกจากหมากคำเดียว"


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)

พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ “หลวงพ่อโต”
พระประธานในพระวิหาร วัดไชโย จ.อ่างทอง


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๗)







เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41014&sid=d706b6af525c0a8dd863e6bf1f6a0eed
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35