กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: " รู้เรื่องพาร์กินสัน "

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    " รู้เรื่องพาร์กินสัน "

    " รู้เรื่องพาร์กินสัน "
    " รู้เรื่องพาร์กินสัน "


    รู้เรื่องพาร์กินสัน

    โรคพารกินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท บริเวณก้านสมอง ส่งผลให้สารเคมีชนิดชื่อว่า โดปามีน ( Dopamine) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีปริมาณลดลง ทำให้การทำงานของระบบการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง

    ศ.นพ. นิพนธ์ พวงวรินทร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน ดังต่อไปนี้คือ

    1ความชราภาพของสมอง เมื่อถึงวัยชรา บางคนเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จะมีจำนวนลดลง ซึ่งทำให้ความจดจำ ตลอดจนการสั่งการของสมองผิดปกติไปด้วย


    2การกินยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กด หรือต้านการสร้างสารโดปามีน โดยมากผู้ป่วยทางจิตเวชที่ได้รับยากล่อมประสาท ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะมีโอกาสเป็นโรคพาร์กินสันได้เช่นกัน

    3นอกจากนั้น อาจมาจากสาเหตุอื่นๆ อาทิ สารพิษบางชนิด เช่น สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนิดไซด์ ที่เข้าสู่ร่างกาย หรือในบางกรณีที่สมองขาดออกซิเจนในเวลานาน เช่น จมน้ำ ถูกบีบคอ หรือเกิดการอุดตันในทางเดินหายใจ จากเสมหะหรืออาหาร เป็นต้น

    @อาการของพาร์กินสัน

    อาการของโรคพาร์กินสันที่แสดงออกชัดเจน และมักพบในผู้ป่วยทั่วไปมีดังนี้

    1อาการสั่น มักพบได้บ่อยที่มือและเท้า แต่บางครั้งผู้ป่วยบางคนก็เป็นที่คางหรือลิ้น ประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วย จะมีอาการสั่นโดยเฉพาะเวลาอยู่นิ่งๆ จะสั่นมาก (ประมาณ 4-8 ครั้ง/วินาที) แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมโดยไม่อยู่นิ่ง อาการสั่นก็จะลดลงหรือหายไป

    2อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่บริเวณโคนแขน โคนขาและลำตัว แม้ว่าจะไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักก็ตาม ผู้ป่วยบางรายต้องกินยาแก้ปวด หรือต้องนวดอยู่เป็นประจำ

    3มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ระยะแรกผู้ป่วยอาจรู้สึกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำตามปกติช้าลง และเคลื่อนไหวไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนก่อน โดยเฉพาะระยะเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว ถ้าเป็นมากขึ้น อาจเดินเองไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้าหรือใช้คนพยุง

    4การทรงตัวลำบาก จนทำให้ท่าเดินผิดปกติไปจากเดิม นอกจากนั้น ผู้ป่วยบางคนยังเดินหลังค่อม ตัวงอ มือชิดแนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหกล้มได้บ่อยๆ จนในบางราย โดยเฉพาะผู้สูงอาอายุ ทำให้กระดูกต้นขาหัก สะโพกหัก ศีรษะแตก เป็นต้น

    นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางราย ยังมีอาการแทรกซ้อนอื่นอีก เช่น สีหน้าเฉยเมย ไม่ค่อยยิ้มเวลาหัวเราะ ดูเหมือนไม่มีอารมณ์ และความรู้สึกใดๆ เสียงพูดมักจะเบา มีจังหวะเดียวไม่มีเสียงสูงต่ำ หากพูดไปนานๆ เสียงจะหายไปในลำคอ การเขียน ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อยๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออกในที่สุด มีปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมา ได้คล่องแคล่วอย่างคนปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุก
    นอกจากนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้อแท้ สิ้นหวัง ซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งอาจเป็นมากถึงขั้นทำร้ายตัวเอง บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นท้องผูกเป็นประจำ อ่อนเพลีย เป็นต้น

    @แนวทางการรักษา

    เนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรัง ชนิดที่รักษาไม่หายขาด ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับยา และรักษาไปตามอาการตลอดชีวิต ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยแพทย์ได้แบ่งแนวทางในการรักษาไว้ดังนี้

    1รักษาโดยการใช้ยา

    2การทำกายภาพบำบัด

    3การผ่าตัด

    นอกจากนั้น การออกกำลังกายมีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การวิ่งเหยาะๆ การเดินเร็วๆ ขี้จักรยาน หรือว่ายน้ำ เป็นต้น





    ที่มา : เฟซบุ๊ค/หมอ สารภี

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อ้ายพจน์
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    263
    :*-ขอบคุณข้อมูลดีๆครับลุงใหญ่

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •