ตำนานอาคม


ตำนานอาคม กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับหลวงปู่ศุข

พระอุปนิสัย ซึ่งมีพระเมตตาต่อผู้คนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ทรงสามารถผูกใจนักเรียนที่มีนิสัยนักเลงได้ด้วยความเป็นนักเลงที่เหนือกว่า กล่าวคือ กรมหลวงชุมพรฯ ทรงมีฐานันดรศักดิ์และความรู้ที่สูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อประกอบเข้ากับการดำเนินพระจริยวัตรในทางที่นักเลงสมัยนั้นนิยมกัน เช่น เก่งฉกาจในวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวทุกรูปแบบ มีคาถาวิทยาคมเพราะทรงมอบพระองค์เป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า ที่ผู้คนสมัยนั้นเชื่อและนับถือว่าเป็นพระอาจารย์ด้านเวทมนตร์คาถา จนเป็นที่ร่ำลือว่า ทรงอยู่ยงคงกระพัน สามารถหายตัวได้ จนทรงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เหล่าลูกศิษย์รู้สึกว่าพระองค์ทรงสามารถเป็นที่พึ่งได้ คือทรงมีทั้งพระบารมี มีทั้งความเป็นนักสู้และนักเลงที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง

พระจริยวัตรสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความไม่ถือพระองค์ ทรงแสดงให้ทุกคนประจักษ์และซาบซึ้งในพระคุณสมบัติส่วนนี้ตลอดพระชนมชีพ ดังที่มีเรื่องเล่าลือสืบมาว่า ทรงรักและเอาพระทัยใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในเวลาและนอกเวลางาน เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเวลาค่ำขณะประทับพักผ่อนที่วังนางเลิ้ง มีผู้วิ่งมาทูลว่า ทหารเรือชั้นผู้น้อยคนหนึ่งถูกรุมต่อยตีจากคู่ต่อสู้ที่ตลาดนางเลิ้ง เมื่อทรงรู้ข่าวก็เร่งเสด็จไปสถานที่เกิดเหตุทันที ทรงช่วยทหารเรือผู้นั้นให้รอดจากการถูกคู่วิวาทฟันด้วยการ” เอาพระองค์เข้ารับคมดาบโดยไม่เป็นอันตราย” หรือโปรดเสด็จไปสู่ขอผู้หญิงให้ลูกศิษย์ด้วยพระองค์เองในฐานะพระอาจารย์ มิใช่ในฐานะเจ้า หรือโปรดให้ตั้งฌาปนกิจสถานสำหรับทหารเรือขึ้นเพื่อช่วยในการฌาปนกิจ..พทหารเรือทุกระดับชั้นอย่างสมเกียรติยศ เป็นต้นท่านทรงสอนในเรื่องการสมัครสมานสามัคคีแล้วคนในชาติจะมัวทะเลาะเบาะแว้งกันไปทำไม

แม้สังขาร กูจะดับ ลับไปแล้ว
แต่จิตกู แน่แน่ว ไป่สลาย
แผ่นดินนี้ กูยังหวง ห่วงมิวาย
ลูกหญิงชาย จงละชั่ว เร่งทำดี


จำไว้ว่า กูนั้นไซร้ ยังยั้งอยู่
เอื้อเอ็นดู ลูกหลานไท มิหน่ายหนี
เจ้าอยากเล่า อยากระบาย ได้อย่างดี
เหมือนกูนี้ ยังอยู่ด้วย ช่วยอรรถ-ธรรม


คิดว่ากู ไม่มีตาย ไม่มีเกิด
จะประเสริฐ มากมาย หลายแขนง
วิริยา สติมั่น ปัญญาแทง
"นิพพาน" แจ้ง รอผู้หมั่น อัฐมรรคา


ปัจฉิมมะ ลิขิตคำ จำกูไว้
"อ้ายอัปปรีย์ อีจัญไร ให้ฉิบหาย
ริกบฏ ล้มศาสน์กษัตริย์ ให้วอดวาย
ไพร่ชั่วร้าย เร่งกลับตัว หนักแผ่นดิน"





ขอบคุณภาพ มูลนิธิราชสกุลอาภากร