นำเสนอ"หมากล่ำ หรือ มะกล่ำ"

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Red Sandalwood Tree

ชื่ออื่น : มะกล่ำตาช้าง มะหัวแดง มะโหกแดง

ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10 ? 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ยอดอ่อนมีขนนุ่มเป็นมัน เปลือกต้นเรียบหรือแตกสะเก็ด สีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลอ่อน ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนง 2 ? 6 คู่ ก้านแขนงแต่ละก้านมีใบย่อย 7 ? 15 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.6 ? 1.5 เซนติเมตร ยาว 2 ? 3.5 เซนติเมตร ปลายและโคนมน ดอก เล็ก สีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อคล้ายหางกระรอก ผล เป็นฝักแบนบิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 12 ? 20 เซนติเมตร เมื่อแก่แตก เมล็ด สีแดง รูปโล่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ? 8 มิลลิเมตร

นิเวศวิทยา : ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด

ประโยชน์ : เนื้อไม้ ไสกบตบแต่งค่อนข้างยาก ใช้ในการก่อสร้าง เกวียน ใบ ต้มรับประทานแก้ปวดข้อ แก้ท้องร่วงและบิด เมล็ด บดเป็นผงดับพิษ รักษาแผลที่เกิดจากหนองและฝี ใบและเมล็ด แก้ริดสีดวงทวารหนัก

(เอามานึ่งใส่ปลาค่อโตใหญ่ ครับพี่น้อง แซบเป็นตาหน่าย ตำแจ่วสินั่ว บู้ย แม่ซ้อยกะแม่ซ้อยเถาะเหว้ย)