ควมก่อมลูก - นอนสาเด้อหล้าหลับตาแม่สิกล่อม[ความเชื่อวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนอิสาน]
[MEDIA][wma=380,70]http://www.hotlinkfiles.com/files/213954_jvtfg/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%20-%20%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81.wma]นอนสาเด้อหล่า - ควมก่อมลูก.wma[/wma][/MEDIA]

เพลงนอนสาหล่า“นอนสาเด้อหล่า“ - ควมก่อมลูก

(เพลงกล่อมเด็ก แบบภาคอีสาน)

"นอนสะหล่าหลับตาแม่สิกล่อม

นอนตื่นแล้วจั่งค่อยกินนม โอ่....

แม่ไปไห่หมกไขไก่มาหา

แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน

แม่เลี้ยงม้อนแล่นเข้าป่าสวนหมอน.....
----------------------------------------------

...นอนสาหล่า หลับตาแม่สิกล่อม

เจ้าบ่นอนบ่ให้กินกล้วย

แม่ไปห่วยไปส่อนปลาซิว

เก็บผักติ้วมาใส่แกงเห็ด

ไปใส่เบ็ดได้ปลาค้อใหญ่

อย่าฮ้องไห้แมวโพลงสิจกตา...

อีเกิ้งเดือนดาว ผู้สาวตำข้าว

ผู้เฒ่าเป่าแคน ตั๊กแตนเป่าปี่

แมงกุดจี่ไถนา นกกระทาตุ้มป๋อม ๆ

ในครัวมีปั้นข้าวจี่ สงสารแมงวันแมงหวี่

ตอมปั้นข้าวจี่ เด็กน้อยนอนเว็น
-------------------------------------------------------------------

นอนสาเด้อ...หล่า แม่สิก่อม (นอนเสียเถอะแม่จะกล่อม

ผัดว่าอย่างสิ้นเด่อหล่า (ถ้าว่าอย่างนั้นแหละ)

อะซะไห่ ก๋างคำย่านผีพาย (อย่าร้องไห้กลางคืนกลัวผีพราย)

ยามงายผ่านผีเป้า (อย่าร้องไห้ยามเช้ากลัวผีกระสือ)

เจ้าบ่มีพ่อเลี้ยงกิ๋นแล้วให้เล่นนอนว่าสันเด๋ (เจ้าลูกไม่มีพ่อช่วยเลี้ยง กินแล้วนอน

สะว่าอย่างนั้นแหละ)

ควมก่อมลูก - นอนสาเด้อหล้าหลับตาแม่สิกล่อม[ความเชื่อวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนอิสาน]

เพลงกล่อมลูกจากภาคอีสาน
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
มหาวิทยาลัยมหิดล
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2546)

เพลงกล่อมลูกจากภาคอีสาน เมื่อพูดถึงความเป็นมายังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าประวัติความเป็นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เพราะว่า
เพลงกล่อมลูกนี้ถือว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทมุขปาฐ คือสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่ว่าไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ เคยได้ยิน
จากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายมาถึงพ่อแม่ จากพ่อแม่ก็มาถึงลูก จากลูกก็ไปถึงหลาน เหลน จนกว่าจะสูญหายไปตามกาลเวลาของการ
สืบสานวัฒนธรรม กลไกของการสืบสานวัฒนธรรมที่ทำให้เพลงกล่อมลูกอยู่ได้ก็คือ
1. การเรียนรู้ที่เรียกว่าปริยัติ ต้องเรียนรู้จากพ่อจากแม่ที่ใช้ร้องกันติดปากต่อมา
2. การปฏิบัติ คือมีการร้องกันในวิถีชีวิต
3. ปฏิเวธได้ผลอย่างที่ผู้ร้องต้องการให้เป็นไปอย่างนั้น

ทั้ง 3 ข้อนี้ถือเป็นกลไกลของการสืบสานวัฒนธรรม ทำให้เพลงกล่อมลูกอยู่ได้และอีกอย่างหนึ่งคือสังคมของคนอีสานเป็นสังคม
เกษตรกรรมเช่นเดียวกับสังคมไทยภาคอื่น ๆ เกษตรหลักของภาคอีสานนั้นในสมัยก่อน ถ้าว่ากันตามบทเพลงกล่อมลูกที่มีอยู่ก็จะ
พบว่ามีเกษตรอยู่ 3 อย่างคือ ทำไร่ ทำนา และทำสวนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อย่างที่เราเรียกว่าแม่ไปไร่ปิ้งไก่ ไปนาปิ้งปลามาป้อน
สังคมสมัยก่อนนี้ไม่มีการคุมกำเนิด ดังนั้นครอบครัวหนึ่งประมาณมีลูกหลากหลายคนทั้งผู้หญิงผู้ชายเมื่อมีลูกหลายคนพ่อแม่ก็ต้อง
เลี้ยงดูเป็นหน้าที่โดยตรงของแม่ ประการที่ 2 ลูกชายหญิงที่มีน้อง ๆ มาก คนที่เป็นพี่ก็รับเลี้ยงน้องต่อจากพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ไม่อยู่
พ่อแม่ไปทำงานทำไร่เป็นพี่ก็ต้องเลี้ยงดูน้อง ๆ ต่อไป เมื่อมีผู้ใหญ่อยู่อาจจะปู่ย่าตายายเลี้ยง พ่อตู้แม่ตู้ พ่อใหญ่แม่ใหญ่เป็นคนเลี้ยง
หลานก็ได้ การมีลูกหลานนั้นในสังคมของคนอีสานถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ดังคำที่ว่าทุกข์ย้อนมีข้าวกิน มีที่ดินอยู่มีโคนอน
มีเงินทำอยู่เต็มใจ มีเงินใหญ่ มีลูกหลานมานั่งเฝ้า การมีลูกมีหลานมานั่งเฝ้าถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนอีสาน อีกอันหนึ่ง
กระบวนการเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานนั้น เป็นกระบวนการที่ว่าจะว่าสนุกก็สนุก จะว่าน่าเบื่อก็น่าเบื่อเหมือนกัน คือคนที่ชอบคิดว่าจะไม่มี
ปัญหา สนุกดีที่อยู่กับลูกกับหลานเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน แต่ถ้าคนที่ไม่ชอบรู้สึกว่าน่าเบื่อเพราะว่าเด็กร้องไห้โยเย รบกวนไม่เป็นเวร่ำ
เวลาตราบใดที่เด็กยังไม่หลับพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกหรือที่เป็นพ่อใหญ่แม่ใหญ่ก็ไม่มีเวลาจะทำงานใดเลย จะซักผ้าจะทำกับข้าว ไม่มี
เวลาจะทำได้ต้องให้เด็กได้หลับไปเสียก่อนจึงจะมีเวลาได้ทำอย่างอื่น เด็กบางคนเข้าอู่ไกวเดี๋ยวเดียวก็หลับแต่บางคนกว่าจะหลับ
ต้องเป็นเวลานานเป็นชั่วโมงก็มี เพราะฉะนั้นวิธีที่จะให้เด็กหลับง่าย ๆ คนอีสานเขาก็มีภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง คือภูมิปัญญาการใช้
เพลงกล่อมลูกเป็นเพลงที่จะให้เด็กได้หลับไวการที่จะให้หลับไว ๆ ก็ต้องมีเสียงฮื่อ ๆ จา ๆ หรือฮื่ออ้อนเพื่อให้เด็กฟังแล้วทำให้ง่วง
และในขณะที่ฮื่อ ๆ นั้นก็จะใส่เนื้อร้องเข้าไปกับการฮื่อ ทำให้เกิดเพลงกล่อมเด็กในเวลาต่อมา ทำนองที่นิยมใช้ในแต่ละภาคก็จะ
แตกต่างกัน เพราะส่วนใหญ่จะนิยมเอาเพลงพื้นบ้านของแต่ละภาคแต่ละถิ่นมาประสมประสานกัน พร้อมกับใส่ท่วงทำนองช้า ๆ ฟัง
แล้วทำให้เกิดคล้อยตามหรืออารมณ์ง่วงหลับได้ โดยเฉพาะเด็กเมื่อได้ยินได้ฟังก็จะง่วงหลับไป บางครั้งผู้ร้องเพลงเมื่อกล่อมลูกหลับ
ก็มักจะหลับตามไปด้วยอย่างนี้ก็มีมาก
เพลงกล่อมเด็กมักจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามท้องถิ่น ลักษณะเด่นของเพลงกล่อมลูกในภาคอีสานนั้น ความจริงรวม
ไปถึงประเทศลาวด้วย เพราะวัฒนธรรมไม่มีขอบเขต ส่วนประเทศนั้นจะมีขอบเขต เพราะฉะนั้นคนอีสานกับคนลาวไม่แตกต่างกัน
เลยหรืออีกลักษณะเด่นหนึ่งของเพลงกล่อมลูกภาคอีสานนั้นถ้าจะว่าไปแล้วมีอยู่ 3 ประการด้วยกัน
1. การฮื่อ หมายถึงฮื่อประกอบเนื้อร้อง ซึ่งก่อนจะร้องต้องมีการฮื่อก่อนแล้วจึงจะต้องเพลงตามแต่ในขณะที่ร้องได้ซักบท
2 บท ก็จะมีฮื่อด้วยตามไปอีกจนกระทั่งจบ จบแล้วก็ต้องมีฮื่อด้วยเป็นการทิ้งท้ายคือแต่ละเพลงจะถือร้องเพลงกล่อมลูกทางภาค
อีสานอย่างสมบูรณ์แบบ สำหรับการฮื่อจะใช้การฮื่อทำนองเพลงเซิ้งเป็นส่วนใหญ่ มักจะใช้เพลงเซิ้ง เช่น เพลงเซิ้งฆ้องไฟเป็นต้น
เซิ้งจะมีเนื้อหาหลายแบบส่วนใหญ่เป็นรู้จักกันในคนอีสานคือเซิ้งบั้งไฟ เช่นเซิ้งขอบริจาคทรัพย์ทำบั้งไฟก็มีเซิ้งหลายแบบ การเซิ้ง
ที่นำมาใช้ในการร้องเพลงกล่อมลูกก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะช้ากว่าที่ใช้เซิ้งกันในบั้งไฟ
เพลงกล่อมเด็กนี้มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้โฮะโอโฮะโอโฮะโอ เออฮะเออ เฮอะเอ้อ เฮอะเออ จะขึ้นต้นอยู่แบบนี้ อันนี้ก็คือ
เป็นแบบลักษณะของการเซิ้งเหมือนกัน
2. เนื้อร้อง ลักษณะเด่นมักจะพบเสมอก็คือ เป็นเรื่องวิถีชีวิตของคนถิ่นอีสานว่าทำอะไรบ้างทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงควาย
ทอผ้าไหม สานเปลให้เด็กนอน บางทีก็บอกให้เด็กหลับเสียไว ๆ ถ้าไม่หลับจะมีแมวโพงมากัดกินตับไตไส้พุง เมื่อเด็กได้ยินก็กลัว
จะรีบหลับ
3. เรามักจะได้ยินท่วงทำนองที่บอก จะใช้คำว่า โอ้โฮะโอโฮะโอ้โฮะโอ และเพลงที่ดังที่สุดหรือเป็นที่รู้จักกันทางภาคอีสาน
หรือคนลาวโดยทั่วไปก็คือ เพลงนอนสาล่านอนสาหร่า

สำเนียงส่วนใหญ่ที่เราพบมักจะเป็นสำเนียงแบบทางใต้มากกว่า เพราะว่าทางใต้คนอีสานส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกันมากกว่าทางภาคอื่น ๆ เพราะฉะนั้นท่วงทำนองหรือวิธีการร้องมักจะเป็นภาษาลาวแบบทางใต้มากกว่าทางเหนือหรือ
ทางภาคกลางของประเทศลาว ลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือ ท่วงทำนองการเทศน์มหาชาติหรือเทศน์ประเวศ ทำนองหมอลำ บางทีก็มี
ส่วนช่วยในการที่จะร้องเพลงผสมผสานกันโดยเฉพาะเรื่องของเพลงพื้นบ้านมีอิทธิพลต่อการร้องเพลงกล่อมเด็กนี้มาก
นอกจากเนื้อหาจากวัฒนธรรมวิถีชีวิตการเทศน์แล้ว ความเชื่อเข้ามามีส่วนในเรื่องของการร้องเพลงกล่อมลูก เรื่องของ
ความชั่วดี แน่นอนที่จะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของเพลงกล่อมเด็กภาคอีสานมาก เพราะ
1. เป็นการสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ลูกมีความอบอุ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับแม่หรือผู้เลี้ยง
2. ทำให้เป็นเด็กดีเชื่อฟังพ่อแม่ ไม่ดื้อรั้น เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ไม่ซุกซนดื้อรั้น
3. เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จะทำให้เด็กเป็นคนมีนิสัยอ่อนโยน ไม่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น
อีกอย่างคือท่วงทำนองที่ร้องคือความเชื่อทางด้านวัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นการสืบทอดระหว่างคนรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งการร้องนี้
แน่นอนที่สุดสำเนียงที่ร้องจะต้องใช้ภาษาอีสานโดยแท้ภาษาลาวโดยแท้ถือเป็นเพลงกล่อมลูก ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีการแต่งเพลง
กล่อมลูกขึ้นมาใหม่ ส่วนใหญ่มักจะร้องสืบต่อกันมา นอกจากที่ไม่มีการร้องไม่มีการแต่งเพิ่มขึ้นมาก็ยังมีการร้องที่เปลี่ยนไป
ปัจจุบันจะใช้เพลงลูกทุ่งก็ได้ คนเลี้ยงอาจจะร้องเพลงลูกทุ่งได้เพราะร้องเนื้อเก่าไม่ได้หรือร้องเพลงเก่าไม่ได้อาจจะร้องเพลงลูกทุ่ง
ได้ก็มีบ้าง ตามยุคตามสมัยปัจจุบัน ดังนั้นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความเชื่อวัฒนธรรม วิถีชีวิตจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้
เพลงกล่อมลูกของภาคอีสานนั้นมีคุณค่า เพราะว่าเราสามารถจะรู้ว่าวิถีชีวิตคนสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไร จะดูได้จากเพลงกล่อมลูก