สมัยก่อนหรือปัจจุบันการรักษาคนเจ็บป่วยนี้จะอาศัยการทรงเจ้าเข้าผี เนื่องจากวิทยาการยังไม่ก้าวหน้าหรือความเชื่อ...
"หมอลำทรง"จะมีบทบาทในการที่จะเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผีกับคน การลำทรงนั้น เกิดจากการที่คนป่วย ไปรักษาที่ไหนก็ไม่หาย ก็จะมีความเชื่อในการทรงผี โดยคนป่วยจะต้องแต่งขันธ์ อาจจะ 5 หรือ 8 และค่าครู หรืออย่างอื่นที่หมอลำทรงให้จัดเตรียมไว้ ขาดไม่ได้คือไข่ต้ม 1 ลูก เมื่อจัดเตรียมพร้อมแล้ว หมอลำทรงก็จะเริ่มร่ายรำเพื่อเชิญผีมาเข้าทรง โดยมี"หมอแคน"เป่าให้จังหว่ะ เมื่อรำได้สักระยะหมอลำทรงจะมีอาการตั่วสั่นหรือที่เรียกว่าผีเข้า ผู้ที่อยู่ในที่นั้นก็จะสอบถามว่าผีที่เข้านั้นคือใคร ต้องการอะไร และที่ที่สำคัญ คือ ถามว่าคนป่วยทำไมจึงไม่หายซักที เมื่อ(คาดว่า)รู้เรื่องแล้วผีก็จะออก หมอลำทรงก็จะใช้ด้ายตัดไข่ต้มโดยตัดทางขวาง เพื่อทำการเสี่ยงทาย ว่ามีอะไรขัดข้องหรือผีไร่ผีนาผีปู่ผีย่า ต้องการอะไร แล้วให้ไปแต่งแก้ตามนั้น....
...เมื่อ ผู้ที่ได้รับการรักษาจากหมอลำทรงหายแล้ว ก็จะต้องไปขึ้นครูกับหมอลำทรงคนนั้น แล้วในแต่ละปี หมอลำทรงจะจัดให้มีการไหว้ครู ขึ้น ลูกศิษย์ก็จะร่วมรำไหว้ครู พร้อมทั้งเคร่องบูชาครูมาบูชาครูด้วย ก็คือ "การเล่นข่วง" นั่นเองคะรับ
/
/ ปล. อาจจะไม่ตรงบ้างเพราะเห็นตอนเด็กนะคะรับ อ.ศรีฯ ผู้แตกฉานด้านวัฒนธรรมอีสานช่วยเข้ามาเสริมนำแหน่ รวมถึง อธิบายเรื่อง ขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ด้วย
Bookmarks