กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ต้นข้าว
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    588

    แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย

    แนะกลเม็ด...เคล็ดไม่ลับ สู่การศึกษาดนตรีไทย
    มือพิณ ระดับสุดยอด
    มีนามว่า ทองใส ทับถนน
    มือพิณวงดนตรีเพชรพิณทอง เจ้าของวงดนตรี นี้ ก็คือ นพดล ดวงพร

    ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต


    **********


    งานประเพณีไทย ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ที่มีขึ้นประจำและบ่อยครั้ง คือประเพณีการบวชนาค ประเพณีการโกนจุก และประเพณีงานศพ ฉะนั้นดนตรีไทย อยู่คู่กันคนไทยมานาน ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ดนตรีไทยจึงมีความสำคัญมาก ทำให้งานครึกครื้นและเพลิดเพลิน และยังบ่งบอกให้ทราบงานนั้นๆ ว่าคืองานอะไร เสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกไปนั้น เป็นงานมงคล หรืองานอัปมงคล เป็นต้น

    ความแตกต่างของดนตรีไทยในสมัยอดีตปัจจุบัน

    - ดนตรีไทยในสมัยอดีต จะบรรเลงตามงานวัด หรืองานประเพณีที่มีขึ้นตามบ้าน และในสมัยปัจจุบัน ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ อัตราค่าจ้างที่รับในการเล่นดนตรี มักจะนำมาเลี้ยงดูกัน แต่ปัจจุบันการเล่นดนตรี 1 งาน จะได้รับค่าจ้างในราคา 6,000 บาท เป็นเวลา 1 วัน 1 คืน คือเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายในงานวันแรก ถึงช่วงกลางคืนของงานวันสุดท้าย การนิยมเพลงไทยในสมัยอดีต กับปัจจุบันแตกต่างกันมาก ในสมัยอดีตมักจะนิยมเพลงไทยมาก ผู้ที่ฟังดนตรีไทยในสมัยนั้น ถึงแม้จะเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ก็ชำนาญในการฟังเพลง ทราบถึงคุณภาพของผู้ร้อง ว่าบุคคลใดร้องเพลงได้มีคุณภาพ หรือไม่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันบางครั้ง อาจไม่ทราบว่าใช้ในงานอะไร

    วิธีการเรียน และขั้นตอนในการเรียนดนตรีไทย

    การเรียนดนตรีไทย ตามประเพณีของโบราณ จะเลือกเรียนวันพฤหัสเป็นวันเริ่มแรก ผู้ที่สมัครเรียนต้องเตรียมอุปกรณ์ คือ ขันขาว 1 ใบ ผ้าเช็ดหน้า ธูป เทียน ดอกไม้ เงิน 6 บาท เพื่อมอบแก่ครู ต่อจากนั้นครูจะสอนเพลงสาธุการ และฝึกเพลงโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น เพลงตับ เพลงพระฉันท์เช้า เพลงพระฉันท์เพล อาบน้ำนาค เป็นต้น ครูจะให้ศิษย์ฝึกเพลงเรื่องมากๆ เพื่อเป็นการฝึกมือให้เกิดความชำนาญ เมื่อชำนาญแล้ว จะแยกเครื่องมือ และดูความเหมาะสม เกี่ยวกับผู้สมัครเรียนหรือศิษย์ ว่าสมควรจะเล่นดนตรีประเภทใด

    เมื่อแยกประเภทเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเริ่มฝึกประเภทเสภา และต่อเพลงโหมโรงเย็น สาธุการ เชิด ไอยเรศ ผู้สอนจะพยายามต่อเพลงเรื่อยๆ ไม่ให้ขาด เมื่อจบเพลงประเภทเสภา ต่อจากนั้น ครูจะต่อเพลงหน้าพาทย์ให้กับศิษย์ คือเพลงโหมโรงกลางวัน และต่อด้วยการฝึกเดี่ยว เพื่อดูการพัฒนาในการฝึกซ้อมของผู้เล่น และอาจจะให้ต่อหน้าพาทย์ เพราะส่วนใหญ่ จะใช้ประกอบกับเพลงตับ ซึ่งเป็นต้นเพลง และต้องต่อรามออกและรามเข้า แล้วอีกหลายเพลง ที่ครูจำเป็นต้องฝึกสอนให้ศิษย์ การเรียนดนตรี จะไม่มีจุดจบของการเรียน จำเป็นต้องเรียนต่อไป จนกระทั่งประพันธ์เพลงได้หรือเป็นครูคน

    ประเภทของดนตรี

    ดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทปรบไก่ และประเภทสองไม้ ในการสอนศิษย์ในการประพันธ์เพลง ครูมักจะให้ศิษย์หัดเพลงประเภทปรบไก่ เพราะเพลงประเภทนี้มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว เพลงประเภทสองไม้ มีรูปแบบที่ไม่แน่นอน เพราะเพลงประเภทนี้มีการยืดหยุ่นได้

    ขอขอบคุณข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

  2. #2
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412
    ขอบคุณที่ชี้แนะช่องทางครับ....แต่ดนตรีไทย กับดนตรีพื้นบ้านนั้นคล้ายๆกัน แต่ต่างกันโขอยู่
    ....โดยส่วนตัวอยากเล่นดนตรีพื้นบ้านมากกว่าครับ....
    (t(t(t(t

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ต้นข้าว
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    588
    :)

    ดนตรีพื้นบ้าน ต้องติดต่อ
    เวปมาสเตอร์บ้านมหา กับอ้ายทิดศรีจ้า
    ต้นข้าวกะบ่ถนัดเรื่องดนตรี แต่กะอยากอนุรักษ์ไว้
    อยากให้คนเล่นกันหลายๆ คนฟังกันหลาย ๆ
    ทั้งดนตรีพื้นบ้านอีสานบ้านเฮา ทั้งดนตรีไทยโบราณเลยล่ะจ้า *-*

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD width=35></TD><TD>ประวัติดนตรีไทย



    </TD></TR><TR><TD height=5></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE id=contentArea cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE style="DISPLAY: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=14></TD><TD width=751 background=../images/bar2.gif></TD><TD width=15></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#efefef height=21>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>



    ประวัติดนตรีไทย

    จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณา หาเหตุผลเกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะที่แตกต่างกันคือ


    ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจาก อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจาก ประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับ ดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ

    • เครื่องดีด
    • เครื่องสี
    • เครื่องตี
    • เครื่องเป่า

    ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ

    • ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
    • สุษิระ คือ เครื่องเป่า
    • อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
    • ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ


    การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย


    ทัศนะคติที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ ของประเทศจีนแล้ว

    ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับ ลักษณะและนิสัยทางดนตรี ของคนในชาตินั้น ๆ

    ไทยเรา ตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตุเห็นได้ว่า เครื่องดนตรี ดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่น

    • เกราะ, โกร่ง, กรับ
    • ฉาบ, ฉิ่ง
    • ปี่, ขลุ่ย
    • ฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น


    ต่อมาเมื่อไทยได้ อพยพ ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีน จึงได้มาพบวัฒนธรรมแบบอินเดีย โดยเฉพาะ เครื่องดนตรี อินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทย ซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรีที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่

    • พิณ
    • สังข์
    • ปี่ไฉน
    • บัณเฑาะว์
    • กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น

    ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการ ติดต่อสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีน หรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตกบางประเทศที่เข้ามา ติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่าง ของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ เล่นใน วงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย) กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย) เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญ ของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน) เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

  5. #5
    dorame
    Guest
    ชอบดนตรีไทยครับ เวลาฟังยามเย็นแล้ว นั่งระเบียงหลังบ้าน มีความสุขมาก:)

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •