ดอกอ้อ ทุ่งทอง


ชื่อจริง : นางสาวบุปผา บุญมี
บ้านเกิด : บ้านเลขที่ 53 หมู่ 1 บ้านโนนค้อ ตำบลโนนค้อ อำเภอบุณฑริก จ. อุบลราชธานี
บิดา :.นายสง่า บุญมี (เสียชีวิตเมื่อปี 26 ตุลาคม 2546)
มารดา : นางสำราญ บุญมี
พี่น้อง : มีพี่น้อง 5 คน เป็นคนโตของครอบครัว มีน้องสาว 2 คน น้องชาย 2 คน
การศึกษา
- ระดับประถมศึกษา : โรงเรียนบ้านโนนค้อ ตำบลโนนค้อ อำเภอบุณฑริก จ. อุบลราชธานี
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนนาส่วงวิทยา อำเภอเดชอุดม จ. อุบลราชธานี
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนนาส่วงวิทยา อำเภอเดชอุดม จ. อุบลราชธานี

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

บนเส้นทางแห่งชีวิตที่ไม่อาจลิขิตได้ ความยากจนของครอบครัวทำให้หลายคนต้องเจอกับอุปสรรคมาตั้งแต่เกิด ดังเช่นศิลปินลูกทุ่งสาว “ ดอกอ้อ ทุ่งทอง” ผู้ที่อยู่กับความจนอย่างที่หัวใจของเธอไม่ปรารถนา แต่ปัญหาทางฐานะกลับเป็นวัคซีนที่ทำให้ดอกอ้อต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ กระทั่งประสบความสำเร็จได้เป็นนักร้องสังกัดแกรมมี่โกลด์ ผ่านผลงานเพลงมาถึงปัจจุบันเป็นชุดที่สองแล้ว จากอัลบั้มแรก “ อกหักวันแห่เทียน” ที่พลิกผันชีวิตดอกอ้อ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงลูกทุ่ง จนถึงอัลบั้มชุดที่สอง “เบอร์โทรเจ้าชู้” และอัลบั้มล่าสุด “ หนุ่มบ้านเฮาสาวโรงงาน” ที่ร้องคู่กับ ศร สินชัย เป็นครั้งแรก


จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง


ดอกอ้อ ทุ่งทอง เมื่อราว 20 ปีก่อน เธอคือ เด็กหญิง บุปผา บุญมี วัย 8 ขวบ ที่ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านเล็กๆ ใน ต.โนนค้อ อ.บุญฑริก จ. อุบลราชธานี แม้จะอยู่ในช่วงวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและต้องการพักผ่อน แต่ด้วยความที่ถือกำเนิดในครอบครัวที่ยากจน จึงต้องทำงานหาบเหงื่อต่างน้ำราวกับผู้ใหญ่ เริ่มที่กิจวัตรประจำวันงานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการหุงหาอาหาร ปัดกวาด เช็ดถูบ้าน ดอกอ้อ ลงมือทำโดยไม่เคยบ่น และยังต้องเดินทางรับจ้างหาบน้ำจากลำห้วยราว 10 กิโลเมตร เพื่อแลกกับงินเพียงไม่เกินวันละ 50 บาท เสร็จจากหาบน้ำก็ต้องเก็บผัก ดอกเห็ด และ หอย ตามท้องไร่ท้องนามาขาย หรือ ถ้าสบโอกาสเจอขวดน้ำเปล่าที่ใช้หมด ถูกโยนทิ้งเธอก็จะเก็บมาขาย สารพัดที่จะทำเพื่อให้ได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ด้วยจิตสำนึกอยู่เสมอว่าตัวเองเป็นพี่คนโต ถือว่าเป็นเสาหลักรองจากพ่อแม่ ที่ต้องดูแลน้องสาวและนองชายอีก 4 คน พอถึงหน้านาก็หารายได้จากการรับจ้างถอนต้นกล้าข้าว มัดละบาท ตกเฉลี่ยได้วันละ 100 บาท ซึ่งไม่พอกับปากท้องของหลายชีวิตในครอบครัว จึงต้องรับจ้างเกี่ยวข้าว หาบข้าว ฟาดข้าว สารพัดที่ดอกอ้อทำได้เทียบเท่าผู้ใหญ่ จนบางครั้งถึงกับเป็นลมล้มพับ เพราะไม่มีเงินมาซื้อข้าวมาประทังความหิว และด้วยความที่เป็นเด็กที่อยากกินขนมหวานเหมือนเพื่อนวัยเดียวกัน แต่เพราะความจน พอเห็นเพื่อนได้กินเงาะโรงเรียน ก็เลยเอาเปลือกเงาะที่เพื่อนกินเสร็จแล้วโยนทิ้งมาแทะเนื้อที่ติดมาเล็กน้อยประทังความอยากตามประสาเด็ก ส่วนพักกลางวันในโรงเรียนก็ลงขันกับเพื่อนซื้อส้มตำมากินกับข้าว และ กบ เขียด อึ่งอ่าง ที่แต่ละคนเตรียมมากินด้วยกัน

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

ความยากจนยังส่งผลให้ดอกอ้อมีปัญหาการเรียนต่อ หลังจบชั้นประศึกษาปีที่ 6 จึงไม่มีเงินที่จะเรียนต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ช่วงนั้นเลยต้องทำนาเลี้ยงควายอยู่ที่บ้าน หนึ่งปีให้หลัง ครูพินิจ ทางทอง ครูใหญ่โรงเรียนโนนค้อ จ. อุบลราชธานี รับดอกอ้อเป็นลูกบุญธรรม เพราะครูพินิจไม่มีลูกสาวและสงสารความกตัญญูของดอกอ้อที่เป็นเด็กขยันหาเงินช่วยครอบครัวอย่างไม่กลัวลำบาก พร้อมกับมีโอกาสร่วมกับคณะหมอลำของครูพินิจ รับงานโชว์ช่วงศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์ ตามงานต่างๆ ทั้งในตัวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

ดังสุภาสิตที่ว่าอยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น ดอกอ้อจะช่วยทำทุกอย่างที่จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวพ่อแม่บุญธรรม โดยเช้าตรู่ของทุกวันจะต้องเตรียมหุงหาอาหาร และ จัดเตรียมร้านขายก๋วยเตี๋ยวของพ่อบุญธรรม ซึ่งขณะพักกลางวันตอนเรียนยังแวะกลับบ้านเพื่อมาช่วยขายด้วย รวมทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์ของทุกคนในครอบครัว ยังนำไปซักที่บ่อน้ำบาดาลต้องเดินเท้าไปไกลเป็นกิโลฯ ด้วยจิตสำนึกที่เธอเปิดใจว่าเพราะไม่อยากสร้างความลำบากให้กับพ่อแม่บุญธรรม ท่านคือผู้ที่มีพระคุณอุปการะให้มีอนาคตทางการศึกษาให้ดีขึ้น บ่อยครั้งที่ดอกอ้อปฏิเสธความช่วยเหลือจากพ่อแม่บุญธรรมที่หยิบยื่นให้ในเรื่องอื่นๆ เช่นการซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ให้ เพราะรู้ดีว่าท่านยังมีลูกในไส้ที่ต้องเลี้ยงดู ดอกอ้อจึงได้ใส่แต่เสื้อผ้าตัวเก่า

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

ภายหลังพอที่จะมีเงินเรียนต่อ จึงส่งตัวเองเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนาส่วงวิทยาคม และได้อยู่กับคณะหมอลำของโรงเรียน แต่ชีวิตก็ไม่ได้สุขสบายขึ้น รายได้จากการอยู่คณะหมอลำไม่พอรายจ่ายในชีวิตประจำวันที่ตัวเองแบกรับอยู่ และบ่อยครั้งที่ต้องทำงานจนแทบไม่มีเวลานอนจนครูในโรงเรียนเห็นดอกอ้อนั่งหลับจากความอ่อนเพลียเดินสายกับคณะหมอลำและยังต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อหุงหาอาหารให้กับปู่และย่าของพ่อบุญธรรมที่ตัวเองอาศัยบ้านอยู่ เวลาที่เหลืออันน้อยนิดช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ไหนที่ไม่มีงาน วันศุกร์หลังเลิกเรียนและซ้อมรำตอนค่ำ ดอกอ้อจะไม่ลืมกลับบ้านเกิดไปเยี่ยมพ่อแม่ที่อยู่ต่างอำเภอราว 80 กิโลฯ พร้อมกับนำเงินที่สะสมได้อันน้อยนิดไปช่วยเหลือที่บ้าน บางครั้งไม่มีเงินค่ารถกลับบ้านก็ต้องโบกรถตามข้างทาง
นาข้าวที่ต้องเช่าและน้องที่มักจะเจ็บออดแอดเป็นประจำ ทำให้พ่อของดอกอ้อต้องแบกไข่ไก่ที่รับซื้อมาไปหาบปิ้งขายตามโรงงานในกรุงเทพฯ จนบ่าของพ่อเป็นรอยช้ำ ซึ่งคราใดที่เธอพูดถึงเรื่องนี้จะต้องหลุดน้ำตาออกมาทุกครั้ง พร้อมทั้งทั้งตัดพ้อตัวเองที่ไม่อาจทำให้พ่ออยู่อย่างสุขสบายได้

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

แต่สิ่งที่ทำให้ดอกอ้อคลายความโศกเศร้าได้บ้างก็คือความภูมิใจที่ตนเองได้ทุนเรียนดีและยังเป็นนักเรียนดีเด่นที่ทำให้กับโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนของโรงเรียนไปประกวดร้องเพลงตามเวทีต่างๆรวมถึงกิจกรรมแสดงละครและอ่านกลอนหน้าเวที เกียรติบัตรและรางวัลที่ผ่านมาในชีวิตสมัยตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนจึงถูกเก็บไว้เพื่อย้ำเตือนความทรงจำเสมอ และยังเคยได้ทุนการศึกษาจาก ฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นอีกด้วย

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

ด้วยความสามารถในการร้องลำหน้าเวทีที่มีรางวัลเป็นเครื่องการันตรี ทำให้ดอกอ้อได้โควตาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในคณะศิลปะศาสตร์เอกดนตรีและนาฏศิลป์ พร้อมกับได้ร่วมกับคณะวงโปงลางของมหาวิทยาลัยแต่ความยากจนก็เล่นงานเธออีกครั้งแม้จะได้ทุนเรียนต่อฟรีแต่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั้งค่าเช่าหอพักและค่าเครื่องแต่งกาย จำต้องแบกภาระเองทุกอย่าง ดอกอ้อจึงตัดสินใจละทิ้งการเรียนอย่างน่าเสียดาย โดยคิดว่ายอมละการเรียนเพื่อหาเงินส่งน้องเรียนต่อและช่วยเหลือพ่อแม่ที่ยังลำบาก ดีกว่าต้องไปรบกวนเอาเงินของครอบครัวมาช่วยเหลือการเรียนของตนเอง

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง


ชีวิตพลิกผลันเมื่ออยู่มาวันหนึ่ง ดอกอ้อไปขายเสื้อผ้า แล้วลูกค้าของเธอชักชวนให้ไปขายประกันชีวิตด้วยกัน อย่างไม่มีอะไรจะสูญเสีย เพราะงานนี้แทบไม่ต้องลงทุนอะไร ทั้งค่าสมัครและค่าที่พักคนชักชวนออกให้หมด หลังขายประกันได้ระยะหนึ่งรายได้ที่เริ่มงอกเงยขึ้น พอที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้นมาบ้าง แต่ด้วยใจรักในอาชีพร้องรำ จึงยังไม่ทิ้งงานเดินสายไปกับคณะหมอลำที่ตนเรียนสมัยมัธยม และบางครั้งนึกสนุกก้ไปประกวดร้องเพลงตามเวทีต่างๆ จึงได้เจอกับนักแต่งเพลงมือทอง “ ครูสลา คุณวุฒิ “ ที่เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด ครูสลาทาบทามให้ดอกอ้อไปเทสต์เสียงที่แกรมมี่โกลด์ แต่ด้วยความประหม่าในครั้งนั้น เสียงร้องจึงไม่ได้มาตรฐานที่ทีมงานต้องการ และต้องกลับมาซ้อมร้องเพื่อรอโอกาสไปเทสต์เสียงใหม่
อีกครั้ง

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง


ระหว่างที่รอเทสต์เสียงใหม่ ดอกอ้อได้พบกับนักจัดรายการวิทยุที่จังหวัดอุบลฯ ที่ชื่ออนุชิต และนักแต่งเพลง อาจารย์สุดโก้ เจียระไน ซึ่งทั้งสองท่านให้การชี้แนะเรื่องการร้องเพลงจนมีวิธีการร้องที่ดีขึ้น ท่านทั้งสองยังทำเดโมตัวอย่างเสียงร้องไปนำเสนอกับแกรมมี่โกลด์ อีกครั้งหนึ่ง ครวนี้เลยได้ทำอัลบั้มสมใจในชุด “ อกหักวันแห่เทียน ” และผลงานล่าสุด“ เบอร์โทรเจ้าชู้ ” ที่วางแผงในปีนี้
แต่เป็นเรื่องที่หน้าเศร้า หลังจากออกอัลบั้มชุดแรกของดอกอ้อไม่กี่เดือน พ่อก็ต้องมาจากโลกนี้ไปอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เสาหลักของครอบครัวพังคลืนลงมาโดยที่ยังไม่ทันตั้งตัว เพราะพ่อคือที่ปรึกษาของดอกอ้อมาโดยตลอด

[URL=http://google.co.th]จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง[/

ความสะเทือนใจผนวกกับความเหนื่อล้าจากการทำงานหนักเพื่อช่วยเหลือครอบครัว จนบางครั้งกลั้นน้ำตาไม่อยู่ แต่ไม่อยากให้แม่และน้องเห็นความอ่อนแอ จึงต้องถีบจักรยานไปร้องที่อื่น
การได้เป็นนักร้องที่มีผลงานอัลบั้มของตนเองในค่ายเพลงที่มีมาตรฐาน ซึ่งแน่นอนชีวิตย่อมมีความสุขสบายขึ้น แต่ความสุขตามความหมายของดอกอ้อทุกวันนี้ คือที่บ้านได้ปูหลังคาใหม่ ไม่ต้องนอนหลบน้ำฝนที่หยดจากหลังคารั่วอีกต่อไป และที่พื้นใต้ถุนของบ้านก็ได้ปูซีเมนต์ ไม่ได้ร่ำรวยเงินถุงเงินถังอย่างคนมีเงินเลยแม้แต่น้อย และที่ฟังแล้วน่าสะเทือนใจก็คือบ้านของดอกอ้อพึ่งมีส้วมเพียงไม่กี่ปีนี่เอง ทั้งที่บ้านอื่นในระแวกเดียวกันมีครบกันทุกบ้านแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาครอบครัวของเธอต้องใช้ห้องน้ำตามธรรมชาติเป็นที่ปลดทุกข์
แม้วันนี้ดอกอ้อจะรู้สึกเสียใจที่พ่อต้องมาจากไปในวันที่เธอพึ่งก้าวเข้าสู่ความสำเร็จของชีวิต แต่ในความเสียใจนั้น ก็ยังแฝงความภูมิใจอยู่ลึกๆ ที่ตัวเองสามารถสู้ชีวิตจากคนที่ติดดินแทบไม่มีอะไรเลย จนมีทุกอย่างเทียบชั้นกับคนปกติในสังคม และทุกวันนี้ยังได้กำลังใจจากแม่และน้องที่เปรียบเสมือนโอสถ์ให้มีแรงสู้ต่อไป โดยเฉพาะเรื่องการศึกาที่ตัวเองเคยพลาดโอกาสมาแล้ว

จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทองจากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง

ถึงตอนนี้ดอกอ้อจึงตัดสินใจเรียนต่อในระดับปริญญาตรีอีกครั้งที่คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)
เรื่องราวทั้งหมดเป็นอีกบทละครในชีวิตจริง ของผู้หญิงตัวเล็กๆที่ชื่อ “ ดอกอ้อ ทุ่งทอง


จากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทองจากนส.บุปผา กระทั่งมาเป็น ดอกอ้อ ทุ่งทอง



สิบล้อน้อย

ขอบคุณเวบของดอกอ้อครับผม