กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ...ความสุขที่เห็นได้..

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687

    ...ความสุขที่เห็นได้..

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>...ความสุขที่เห็นได้... <HR width="100%" color=#dddddd SIZE=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>...ความสุขที่เห็นได้..

    อันความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุกๆ คน
    และทุกๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้ว
    ความสุขเป็นอย่างไรจึงเป็นที่รู้จักกันอยู่
    ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบสมบูรณ์สบาย ก็กล่าวกันว่าเป็นสุข

    ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและจิตใจนี่เอง

    สำหรับกายนั้น เพียงให้เครื่องอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ก็นับว่าสบาย
    แม้กายสบายดังกล่าวมานี้ ถ้าจิตไม่สบาย กายก็พลอยซูบซีดเศร้าหมองด้วย
    ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วย ความเจ็บป่วยหรือความคับแค้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ถ้าจิตยังร่าเริงสบายอยู่ ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนเท่าใดนัก
    และความไม่สบายของกายก็อาจบรรเทาไปได้

    เพราะเหตุนี้ความสุขจิตสุขใจนั่นแลเป็นสำคัญ

    อันความสุขทางจิตใจนี้ คิดๆ ดูก็น่าเห็นว่า หาได้ไม่ยากอีก
    เพราะความสุขอยู่ที่จิตใจของตนเอง
    จักต้องการให้จิตเป็นสุขเมื่อใดก็น่าจะได้
    ใครๆ เมื่อคิดดูก็จักต้องยอมรับว่า น่าคิดเห็นอย่างนั้น
    แต่ก็ต้องยอมจนอีกว่า สามัญชนทำไม่ได้เสมอไป
    เพราะยังต้องการเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข
    หรือเรียกว่าเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุข มีเงินทอง
    เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
    ถ้าเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข ขาดไปหรือมีไม่เพียงพอ ก็ทำให้เป็นสุขมิได้
    นี้เรียกว่ายังต้องปล่อยใจให้เป็นไปตามเหตุการณ์อยู่ ข้อนี้เป็นความจริง

    เพราะเหตุฉะนี้ ในที่นี้จึงประสงค์ความสุขที่มีเครื่องแวดล้อม
    หรือที่เรียกว่า สุขสมบัติ อันเป็นความสุขขั้นสามัญชนทั่วไป

    คิดดูเผินๆ ความสุขนี้น่าจักหาได้ไม่ยาก
    เพราะในโลกนี้มีเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขแวดล้อมอยู่โดยมาก

    หากสังเกตดูชีวิตของคนโดยมากที่กำลังดำเนินไปอยู่
    จักรู้สึกว่าตรงกันข้ามกับที่คิดคาด
    ทั้งนี้มิใช่เพราะ เครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขในโลกนี้มีน้อยจนไม่เพียงพอ
    แต่เป็นเพราะผู้ขาดแคลนสุขสมบัติ ไม่ทำเหตุอันเป็นศรีแห่งสุขสมบัติ
    จึงไม่ได้สุขสมบัติเป็นกรรมสิทธิ์
    ส่วนผู้ที่ทำเหตุแห่งสุขสมบัติ ย่อมได้สุขสมบัติมาเป็นกรรมสิทธิ์

    เพราะเหตุนี้ ผู้ปรารถนาสุขจึงสมควรจับเหตุให้ได้ก่อนว่า
    อะไรเป็นเหตุของความสุข และอะไรเป็นเหตุของความทุกข์

    บางคนอาจเห็นว่า เหตุของความสุขความทุกข์อยู่ภายนอก
    คือสุขเกิดจากสิ่งภายนอก มีเงิน ทอง ยศ ชื่อเสียง บ้านที่สวยงาม เป็นต้น
    ส่วนความทุกข์ก็เกิดจากสิ่งภายนอกนั้นเหมือนกัน
    บางคนอาจเห็นว่า ความสุขความทุกข์เกิดจากเหตุภายใน
    จักพิจารณาความเห็นทั้งสองนี้ต่อไป

    สิ่งภายนอกโดยมาก ถ้าเป็นส่วนที่ดี มีเงิน ทอง ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น
    ก็เป็นที่ปรารถนาตรงกันของคนเป็นอันมาก
    จึงต้องมีการแสวงหาแข่งขันกันโดยทางใดทางหนึ่ง
    เมื่อได้มาก็ให้เกิดความสุขเพราะสมปรารถนาบ้าง
    เพราะนำไปเลี้ยงชีพตนและผู้อื่นให้อิ่มหนำสำราญบ้าง
    สิ่งภายนอกย่อมอุดหนุนความสุขฉะนี้
    แต่สิ่งภายนอกเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน แปรเปลี่ยนไปอยู่เสมอ
    ความสุขที่เกี่ยวเกาะติดอยู่ก็ต้องแปรเปลี่ยนไป
    ตามความทุกข์จึงปรากฏขึ้นติดๆ กันไปทีเดียว

    ความสุขเช่นนี้เป็นความสุขที่ลอยไปลอยมา
    หรือเรียกว่าเป็นความสุข ลูกโป่งและในความแสวงหา
    ถ้าไม่ได้หรือได้สิ่งที่ไม่ชอบก็ให้เกิดความทุกข์เพราะไม่สมปรารถนา
    อนึ่ง ถ้าได้สิ่งนั้นๆ มาด้วยการกระทำที่ไม่ดี
    การกระทำนั้นก็จักเป็นเครื่องตัดทอนตนเองอีกส่วนหนึ่ง

    ข้อความที่กล่าวมานี้แสดงว่าสิ่งภายนอกอุดหนุนความสุขสำราญให้บ้าง
    แต่จัดเป็นเหตุของความสุขหรือ?

    ถ้าเป็นเหตุของความสุข ผู้ที่มีสิ่งภายนอกบริบูรณ์จักต้องเป็นสุขทุกคน
    แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น ผู้ที่บริบูรณ
    ด้วยสิ่งภายนอกแต่เป็นทุกข์มีถมไป
    เพราะเหตุนี้ สิ่งภายนอกจึงมิใช่เป็นตัวเหตุของความสุข
    เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขดังกล่าวแล้วเท่านั้น


    บัดนี้ยังเหลืออยู่อีกความเห็นหนึ่งซึ่งว่า สุขทุกข์เกิดจากเหตุภายใน

    อันสิ่งภายนอกมี เงิน ทอง ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น อันเป็นอุปกรณ์แก่ความสุข
    เมื่อคิดดูให้ซึ้งลงไป จักเห็นว่าเกิด จากการกระทำของตนเอง
    ถ้าตนเองอยู่เฉยๆ ไม่ทำการงาน อันเป็นเหตุที่เพิ่มพูนสิ่งภายนอกเหล่านั้น
    สิ่งภายนอกนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ที่มีอยู่แล้วก็ต้องแปรเปลี่ยนไป
    ถ้าไม่มีใหม่มา ชดเชยก็จักต้องหมดไปในที่สุด
    เพราะเหตุฉะนี้จึงกล่าวได้ว่า สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แก่ความสุขนั้น
    ก็เกิดขึ้นเพราะการกระทำของตนเอง
    ในทางธรรม การประกอบอาชีพ มีกสิกรรม พาณิชยกรรม เป็นต้น
    ไปตามธรรมดา ไม่เรียกเป็นการงานที่ดีหรือชั่ว
    แม้ชาวโลกก็ไม่เรียกผู้ประกอบการอาชีพไปตามธรรมดา
    ว่าเป็นคนดีหรือเป็นคนเลว
    แต่หากว่า มีการทำอย่างอื่นพิเศษออกไป
    ถ้าต้องด้วยเนติอันงามก็เรียก กันว่าดี
    ถ้าไม่ต้องด้วยเนติอันงามก็เรียกกันว่าเลว ไม่ดี

    เพราะเหตุฉะนั้น ผู้ปรารถนาสุขเบื้องตน
    จึงสมควรหมั่นประกอบการงานหาเลี้ยงชีพตามทางของตนๆ
    โดยไม่ตัดรอนกัน ไม่เฉื่อยชาเกียจคร้าน
    และแก้ไขในการงานของ ตนให้ดีขึ้น
    ก็จักไม่ต้องประสบความแร้นแค้นขัดข้อง

    ถ้าไม่หมั่นประกอบการงาน เกียจคร้าน เฉื่อยชา
    และไม่คิดแก้ไขการงานของตนให้ดีขึ้น ปล่อยไปตามเรื่อง
    ก็อาจจักต้องประสบความยากจนข้นแค้น ต้องอกแห้งเป็นทุกข์
    และนั่นเป็นความผิดใหญ่ต่อประโยชน์ปัจจุบันของตนเอง

    การทำอย่างหนึ่งทางธรรมเรียกว่าดี
    เป็นวิถีทางของคนฉลาด และทางโลกยกย่องนับถือว่าดี
    การทำอย่างนี้ เรียกว่าสุจริต แปลว่าประพฤติด
    ประพฤติดีทางกาย เรียกกายสุจริต
    ประพฤติดีทางวาจา เรียกว่าวจีสุจริต
    ประพฤติดีทางใจ เรียกว่ามโนสุจริต

    กายสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
    ไม่ประพฤติผิดในทางกามประเวณี
    วจีสุจริต จำแนกเป็น ๔ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด
    ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
    มโนสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นด้วยโลภ
    เจตนาคิดจะเอามาเป็นของของตน
    ไม่พยาบาทปองร้าย ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม
    มีความเห็น ว่าทำดีได้ทีทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น รวมเป็น ๑๐ ประการ

    ส่วนการกระทำที่ตรงกันข้ามเรียกว่า ทุจริต
    แปลว่า ประพฤติชั่ว ประพฤติชั่วทางกายเรียกว่ากายทุจริต
    ประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่าวจีทุจริต
    ประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต
    ทุจริต ๓ นี้ มีจำแนกตรงกันข้ามกับสุจริต

    คำว่า “ประพฤติ” มักจะพูดมุ่งหมายถึงการกระทำทางกายและวาจา
    คำว่า “ทำ” ก็มักพูดหมายถึงการทำทางกาย
    การทำทางวาจา เรียกว่าพูด
    การทำทางใจเรียกว่าคิด
    ส่วนทางธรรม การทำ พูด คิด เรียกเป็นอย่างเดียวกันว่า
    “ทำ” หรือ ประพฤติ และมีคำว่ากาย วาจา ใจ กำกับ
    เพื่อให้รู้ว่าทำหรือประพฤติทางไหน

    “ทุจริต” ทางธรรมเรียกว่าไม่ดี เป็นวิถีทางของผู้ไม่ฉลาด
    ทางโลกก็เหยียดหยามว่าเลว ไม่ดี
    โดยนัยนี้จึงเห็นว่าทั้งทางโลก ทั้งทางธรรม นับถือสิทธิของผู้อื่น
    หรือเรียกว่านับถือขอบเขตแห่งความสงบสุขของผู้อื่น
    เพราะสุจริตและทุจริตที่จำแนกไว้อย่างละ ๑๐ ประการนั้น
    โดยความก็คือไม่ประพฤติละเมิดสิทธิ
    หรือไม่เบียดเบียนความสงบสุขของผู้อื่น
    และการประพฤติละเมิดสิทธิและความสงบสุขของผู้อื่นนั้นเอง


    แต่ทางโลกนับถือสิทธิของบุคคลและสัตว์เดียรัจฉานบางจำพวก
    ไม่นับถือบางจำพวก โดยอาศัยกฎหมายเป็นหลัก
    ส่วนทางธรรมนับถือทั่วไปไม่มีแบ่งแยกยกเว้น
    เพราะทางธรรมละเอียดประณีต

    อนึ่ง ...ทุจริต... อยู่เฉยๆ ประพฤติไม่ได้
    ต้องประพฤติด้วยความขวนขวายพยายามจนผิดแปลกไปจากปกติ
    จึงจัดเป็นทุจริตได้
    ส่วนสุจริตประพฤติได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง
    ประพฤติไปตามปกติของตนนั่นแล
    ไม่ต้องตบแต่งเปลี่ยนแปลงก็เป็นสุจริตได้
    เพราะเหตุนี้ เมื่อว่าทางความประพฤติสุจริตจึงประพฤติได้ง่ายกว่า

    เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรทุจริตจึงเกิดขึ้นได้?

    ข้อนี้เป็นเพราะยังขาดธรรมในใจเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง
    ความประพฤติจึงเป็นไปตามใจของตน
    ผู้รักษาศีล หรือประพฤติสุจริต หรือแม้ประพฤติกฎหมายของบ้านเมือง
    ถ้าไม่มีธรรมอยู่ในใจบ้างแล้ว ก็มักจะรักษาหรือประพฤติทำนองทนายว่าความ
    เพราะการกระทำบางอย่างไม่ผิดศีลตามสิกขาบท
    ไม่ผิดสุจริตตามหัวข้อ แต่ผิดธรรมมีอยู่
    และจะประพฤติหรือรักษาให้ตลอดไปมิได้
    เพราะเหตุนี้จึงสมควรมีธรรมในใจสำหรับประพฤติคู่กันไปกับสุจริต

    ธรรมมีมาก แต่ในที่นี้จักเลือกแสดงแต่ธรรมที่สมควรประพฤติปฏิบัติ
    คู่กันไปกับสุจริต โดยนัยหนึ่ง คือ

    * มีความละอายใจในการเบียดเบียน มีความเอ็นดู
    ขวนขวายอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวงด้วยประโยชน์ คู่กับการไม่ฆ่าสัตว์

    * มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เฉลี่ยความสุข
    ของตนแก่คนที่ควรเฉลี่ยให้ ด้วยการบริจาคให้ คู่กับการไม่ลักทรัพย์

    * มีสันโดษยินดีเฉพาะสามีหรือภริยาของตน ไม่คิดนอกใจ
    สำหรับผู้ที่ยังไม่มีครอบครัว ก็มีเคารพในธรรมเนียม ประเพณีที่ดี
    ไม่คิดละเมิด คู่กับการไม่ประพฤติผิดในทางกามประเวณี

    * มีปากตรงกับใจ ไม่ลดเลี้ยวลับลมคมใน คู่กับไม่พูดปด

    * พูดชักให้เกิดสามัคคี สมานสามัคคีด้วยในใจสมาน คู่กับไม่พูดส่อเสียด

    * พูดกันดีๆ อ่อนหวานตามสมควรแก่ภาษานิยม
    มิใช่กด มิใช่ยกยอ ด้วยอัธยาศัยอ่อนโยนนิ่มนวล
    ไม่กระด้าง คู่กับไม่พูดคำหยาบ

    * พูดมีหลักฐานที่อ้างอิง มีกำหนด มีประโยชน์ มีจบ อย่างสูง
    เรียกว่า มีวาจาสิทธิ์ด้วยความตกลงใจทันท่วงที
    มั่นคงไม่โงนเงนโลเล คู่กับไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

    * มีใจสันโดษยินดีในสมบัติของตนตามได้ ตามกำลังตามสมควร
    และมีใจยินดีด้วยหรือวางใจเฉยๆ ด้วยความรู้เท่าในเมื่อผู้อื่นได้รับสมบัติ
    หรือในเมื่อเห็นสมบัติของผู้อื่น
    คู่กับไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นด้วยโลภเจตนา คิดจะเอามาเป็นของตน

    * มีเมตตาไมตรีจิตในสัตว์ทั้งปวง คู่กับไม่พยาบาทปองร้าย

    * ทำความเห็นให้ตรงเพื่อให้ถูกให้ชอบยิ่งขึ้น คู่กับความเห็นชอบ

    ธรรมตามที่แสดงมานี้มีอยู่ในบุคคลใด
    บุคคลนั้นชื่อว่า ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม
    หมายถึงความประพฤติเรียกว่า ธรรมจริยา
    ส่วนที่ตรงกันข้ามกับที่แสดงมานี้เรียกว่าอธรรม คู่กับทุจริต
    สุจริตกับธรรมที่คู่กันเรียกอย่างสั้นในที่นี้ว่าสุจริตธรรม
    นอกนี้เรียกว่าทุจริตธรรม


    สุจริตธรรมให้เกิดผลอย่างไร?

    ทุจริตธรรมให้เกิดผลอย่างไร?

    คิดให้รอบคอบสักหน่อยก็จักให้เห็นได้ในปัจจุบันนี้เอง

    ผู้ประพฤติสุจริตธรรมย่อมเป็นคนไม่มีภัย ไม่มีเวร มีกาย วาจา
    ใจปลอดโปร่งนี้เป็นความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว

    ส่วนผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ตรงกันข้าม มีกาย วาจา ใจ หมกมุ่นวุ่นวาย
    แม้จักมีทรัพย์ ยศ ชื่อเสียงสักเท่าใดก็ไม่ช่วยให้ปลอดโปร่งได้
    ต้องเปลืองทรัพย์ เปลืองสุข
    ระวังทรัพย์ ระวังรอบด้าน นี้เป็นความทุกข์ที่เห็นกันอยู่แล้ว

    ส่วนในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร?

    อาศัยพุทธภาษิตที่แสดงว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ - ผู้ทำดีย่อมได้ดี
    ปาปการี จ ปาปกํ - ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
    จึงลงสันนิษฐานได้ว่า สุจริตธรรมอำนวยผลที่ดีคือความสุข
    ทุจริตอธรรมอำนวยผลที่ชั่วคือความทุกข์ แม้ในอนาคตแน่แท้

    อนึ่ง ในที่นี้รวมผลแห่งสุจริตธรรมทั้งสิ้น
    แสดงรวมยอดอย่างเดียวว่าความสุข
    เพราะเหตุนี้ สิ่งใดเป็นอุปกรณ์แห่งความสุขหรือเรียกว่าสุขสมบัติ
    เช่น ความบริบูรณ์ทรัพย์ ผิวพรรณงาม อายุยืน ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น
    สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นผลแห่งสุจริตธรรม


    จักแสดงวิธีปฏิบัติสุจริตธรรมสักคู่หนึ่ง โดยย่อไว้เผื่อผู้ต้องการต่อไป
    คือ ไม่พยาบาทกับเมตตา

    เมื่ออารมณ์ร้ายอย่างเบาคือความหงุดหงิดไม่พอใจ
    แรงขึ้นเป็นความฉุนเฉียวร้ายกาจ
    แรงขึ้นอีกเป็นพยาบาท เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ควรทำความรู้จักและพิจารณาโดยนัยว่า
    นี้เท่ากับทำโทษตน เผาตนโดยตรง มิใช่ทำโทษหรือแผดเผาผู้อื่นเลย
    คราวที่ตนผิดใจยังเคยให้อภัยไม่ถือโทษโกรธแค้น
    เหตุไฉนเมื่อผู้อื่นทำผิดใจจึงมาลงโทษแผดเผาตนเล่า
    ผู้อื่นที่ตนโกรธนั้นเขามิได้ทุกข์ร้อนไปกับเราด้วยเลย
    อนึ่ง ควรตั้งกติกาข้อบังคับสำหรับตนว่า
    เมื่อเกิดอารมณ์ร้ายมีโกรธเป็นต้นขึ้น
    จักไม่พูด จักไม่แสดงกิริยาของ คนโกรธ
    หรือตั้งกติกาประการอื่น ซึ่งอาจจักรักษาอารมณ์ร้ายเหล่านั้นไว้ข้างใน
    มิให้ออกมาเต้นอยู่ข้างนอก
    และพยายามดับเสียด้วยอารมณ์เย็นชนิดใดชนิดหนึ่ง
    ด้วยการพิจารณาให้แยบคาย มิให้ลุกกระพือสุมอกอยู่ได้

    เมตตา มิตร ไมตรี สามคำนี้ เป็นคำหนึ่งอันเดียวกัน

    เมตตาคือความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข
    มิตรคือผู้มีเมตตาปรารถนาสุขประโยชน์ต่อกัน
    ไมตรีคือความมีเมตตาปรารถนาดีต่อกัน

    ผู้ปรารถนาจะปลูกเมตตาให้งอกงามอยู่ในจิต พึงปลูกด้วยการคิดแผ่
    ในเบื้องต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อนในบุคคลที่ชอบพอ
    มีมารดาบิดา ญาติมิตร เป็นต้น
    โดยนัยว่า ผู้นั้นๆ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์
    มีสุขสวัสดิ์ รักษาตนเถิด เมื่อจิตได้รับการฝึกหัดคุ้นเคยกับเมตตาเข้าแล้ว
    ก็แผ่ขยายให้กว้างออกไปโดยลำดับ ดังนี้
    ในคนที่เฉยๆ ไม่ชอบ ไม่ชัง ในคนที่ไม่ชอบน้อย
    ในคนที่ไม่ชอบมาก ในมนุษย์และดิรัจฉานไม่มีประมาณ

    เมตตาจิต เมื่อคิดแผ่กว้างออกไปเพียงใด
    มิตรและไมตรีก็มีความกว้างออกไปเพียงนั้น
    เมตตาไมตรีจิตมิใช่อำนวยความสุขให้เฉพาะบุคคล
    ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วน รวมตั้งแต่สองคนขึ้นไปด้วย
    คือ หมู่ชนที่มีไมตรีจิตต่อกันย่อมหมดความระแวง ไม่ต้องจ่ายทรัพย์
    จ่ายสุขในการระวังหรือเตรียมรุกรับ
    มีโอกาสประกอบการงานอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและหมู่เต็มที่
    มีความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขโดยส่วนเดียว

    เพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย
    ผู้ทรงมีพระเมตตาไมตรี มิมิตรภาพในสรรพสัตว์
    ทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกล จึงได้ทรงประทาน
    ศาสนธรรมไว้หนึ่งฉันทคาถา แปลความว่า
    บุคคลพึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต
    ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และในโลกอื่น ดังนี้

    ในข้อว่า พึงประพฤติให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติธรรม ให้เป็นทุจริต
    ในฉันทคาถานั้น คำว่า “ธรรม” น่าจักหมายเอาการงานทั้งปวง
    ที่ทำทางกาย วาจา และใจ
    คือ การทำ การพูด การคิด ที่เป็นไปอยู่ตามปกตินี้เอง
    ทรงสอนให้ทำพูด และคิด ให้เป็นสุจริต มิให้เป็นทุจริต

    ส่วนในข้อว่า ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขนั้น
    คำว่า...ธรรม... หมายความว่าความดี
    ดังคำว่ามีธรรมอยู่ในใจ ดังที่เข้าใจกันอยู่ทั่วไป
    ผู้ประพฤติกายวาจาให้เป็นสุจริต ไม่ประพฤติให้เป็นทุจริต
    ทั้งประพฤติธรรมคือมีธรรมอยู่ในใจ
    ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และในโลกอื่น
    คือในโลกอนาคตอันจักค่อยเลื่อนมาเป็นโลกปัจจุบันแก่ทุกๆ คน ในเวลาไม่ช้า

    ความสุขย่อมเกิดจากเหตุภายในคือสุจริตธรรมด้วยประการฉะนี้

    เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาสุข
    เมื่อจับตัวเหตุการณ์แห่งความสุขและความทุกข์ได้ฉะนี้แล้ว
    ควรเว้นทุจริตธรรมอันเป็นเหตุของความทุกข์
    ควรประพฤติสุจริตธรรมอันเป็น เหตุของความสุข
    ถ้าประพฤติดังนี้ ชื่อว่าได้ก่อเหตุการณ์ของความสุขสมบัติทั้งปวงไว้แล้ว
    นี้เป็นความชอบยิ่งของตนเอง
    ถ้ากลับประพฤติทุจริตธรรม เว้นสุจริตธรรมเสีย
    ย่อมชื่อว่าได้ก่อเหตุการณ์แห่งความทุกข์พิบัติทั้งปวงไว้แล้ว
    นี้เป็นความผิดของตนเอง

    อนึ่ง ถ้ามีปัญหาในชีวิตปัจจุบันของผู้ประพฤติสุจริตธรรม
    หรือทุจริตอธรรมเกิดขึ้น พึงทราบว่า
    ในคราวที่สุจริตธรรม ธรรมที่ได้ทำไว้แล้วกำลังให้ผลอยู่
    ผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ย่อมพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติและความสดชื่นร่าเริง
    อาจสำคัญทุจริตอธรรมดุจน้ำหวาน และอาจเย้ยหยันผู้ประพฤติสุจริตธรรมได้
    แต่ในกาลที่ทุจริตอธรรมของตนให้ผล
    ก็จักต้องประจวบทุกข์พิบัติซบเซาเศร้าหมองดุจต้นไม้ในฤดูแล้ง

    อนึ่ง ในคราวที่ทุจริตอธรรมที่ได้ทำไว้แล้วกำลังให้ผลอยู่
    ผู้ประพฤติสุจริตธรรมก็ยังต้องประสบทุกข์พิบัติซบเซา อับเฉาอยู่ก่อน
    แต่ในกาลที่สุจริตธรรมของตนให้ผล
    ย่อมเกิดสุขสมบัติอย่างน่าพิศวง ดุจต้นไม้ในฤดูฝน
    แม้สุจริตธรรมจักยังไม่ให้ผล โดยนัยที่กล่าวนี้ กาย วาจา และใจของตน
    ก็ย่อมปลอดโปร่งเป็นสุขสงบ เป็นผลที่มีประจำทุกทิวาราตรีกาล



    คัดลอกจาก...

    หนังสือ...ความสุขหาได้ไม่ยาก...
    (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51
    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
    ที่มา www.dhammathai.org

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ lukhin_inter
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อิสานใต้ ประเทศไทย
    กระทู้
    1,860
    ลูกหิน ขออนุโมทนา สาธุ
    .
    ขอบคุณสำหรับแนวทางธรรมที่นำมาให้ศึกษา
    อุปสรรคเป็นได้ทั้งบันไดให้ก้าวขึ้นไป...หรือ
    เป็นภูผาที่ขวางกั้น...ขึ้นอยู่กับว่าจะมองมุมไหน

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •