กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ต้นข้าว
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    588

    ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

    ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

    ถ้าเราเห็นอันนี้ชัด เราก็จะทิ้งความคิดความรู้สึกอย่างนั้นได้ ทีนี้ก็ไม่ต้องคิดนั่นคิดนี่อีก คอยแต่บอกตัวเองไว้อย่างเดียวว่า "มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง" พอเข้าใจได้ชัด เห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว ทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆได้ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไป มันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่มันหมดอำนาจเสียแล้ว

    เปรียบก็เหมือนกับเด็กที่ชอบซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญ จนเราต้องดุเอา ตีเอา แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนั้นเอง พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อนรำคาญของเราก็หมดไป มันไปได้อย่างไร ก็เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราเปลี่ยน และเรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวาง จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฎฐิ

    ถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ยังเป็นมิจฉาทิฎฐิอยู่ แม้จะไปอยู่ในถ้ำลึกมืดสักเท่าใด ใจมันก็ยังยุ่งเหยิงอยู่ ใจจะสงบได้ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิเท่านั้น ทีนี้ก็หมดปัญหาจะต้องแก้ เพราะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น นี่มันเป็นอย่างนี้ เราไม่ชอบมัน เราปล่อยวางมัน เมื่อใดที่มีความรู้สึกเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น เราปล่อยวางทันที เพราะรู้แล้วว่าความรู้สึกอย่างนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะกวนเรา แม้บางทีเราอาจจะคิดอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงความรู้สึกนั้นเป็นของมันอย่างนั้นเอง

    ถ้าเราปล่อยวางมันเสีย รูปก็เป็นสักแต่ว่ารูป เสียก็สักแต่ว่าเสียง กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น รสก็สักแต่ว่ารส โผฎฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์ เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำท่า ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกัน มันก็ไม่ปนกัน เพราะธรรมชาติมันต่างกัน เหมือนกับคนที่ฉลาดก็ต่างกับคนโง่ พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" เท่านั้น


    ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด

    พระองค์ทรงปล่อยวางมันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ทรงเข้าพระทัยแล้วว่า ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด พระองค์ไม่ทรงเอามาปนกัน ใจก็สักว่าใจ ความคิดความรู้สึกก็สักว่าความคิดความรู้สึก ปล่อยให้มันเป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" รูปก็สักว่ารูป เสียงก็สักว่าเสียง ความคิดก็สักว่าความคิด จะต้องไปยึดมั่นถือมั่นทำไม ถ้าคิดได้รู้สึกได้อย่างนี้เราก็จะแยกกันได้ ความคิดความรู้สึก (อารมณ์) อยู่ทางหนึ่ง ใจก็อยู่ทางหนึ่ง เหมือนกับน้ำมันกับน้ำท่า อยู่ในขวดเดียวกัน แต่มันแยกกันอยู่

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระองค์ ก็อยู่ร่วมกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้ธรรม ท่านไม่ได้เพียงอยู่ร่วมเท่านั้น แต่ท่านยังสอนคนเหล่านั้น ทั้งคนฉลาด คนโง่ ให้รู้จักวิธีที่จะศึกษาธรรมปฏิบัติและรู้แจ้งในธรรม ท่านสอนได้เพราะท่านได้ปฏิบัติมาเอง ท่านรู้ว่ามันเป็นเรื่องของใจเท่านั้น เหมือนอย่างที่ได้พูดมานี้แหละ

    ดังนั้นการปฏิบัติภาวนานี้อย่าไปสงสัยมันเลย เราหนีจากบ้านมาบวช ไม่ใช่เพื่อหนีมาอยู่กับความหลงหรืออยู่กับความขลาดความกลัว แต่หนีมาเพื่อฝึกอบรมตัวเอง เพื่อเป็นนายตัวเอง ชนะตัวเอง ถ้าเราเข้าใจได้อย่างนี้ เราก็จะปฏิบัติธรรมได้ ธรรมะจะแจ่มชัดขึ้นในใจของเรา


    +++++

    คัดลอกบางส่วนจาก
    หนังสือการฝึกใจ
    จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต

    แสดงธรรมโดย
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโธ)

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687
    <TABLE class=tborder id=post26777 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_26777 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid">ปล่อยวางอย่างรับผิดชอบ....พระไพศาล วิสาโล
    <HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1>



    คำสอนทั้งปวงในพุทธศาสนา ถึงที่สุดแล้วมุ่งไปสู่การปล่อยวาง เพราะปล่อยวางได้เมื่อไร ก็หมดทุกข์เมื่อนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการปล่อยวาง คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจไปว่า หมายถึงอยู่เฉยๆ งอมืองอเท้า นี่เป็นความเข้าใจผิด ปล่อยวางแบบพุทธหมายถึงปล่อยวางที่ใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา หรือยึดมั่นให้มันเป็นไปตามใจเราก็จริง แต่ก็ต้องดูแลเอาใจใส่ด้วยความรับผิดชอบ เช่น ร่างกายนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ตัวเราของเรา จึงควรปล่อยวาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องดูแล

    ร่างกายไม่ใช่ของเราก็จริง แต่เราต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเราในการทำความดี เหมือนกับเรือที่จะพาเราข้ามฟาก เราก็ต้องดูแลเอาใจใส่ ถ้ารั่วก็ต้องอุด ถ้าเสียก็ต้องรู้จักซ่อมแซม เรารู้อยู่ว่าเมื่อถึงฝั่งแล้วเราจะไม่แบกเอาเรือไปด้วย แต่ในขณะที่ยังไม่ถึงฝั่ง เราก็ต้องดูแล คอยซ่อมแซมเพื่อนำเราไปถึงจุดหมายให้ได้ เรามีหน้าที่ต้องซ่อมแซมดูแลเรือ ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่ใช่เรือของเรา ก็เลยปล่อยวางไม่สนใจ ถ้าเช่นนั้นเราจะถึงจุดหมายได้อย่างไร

    มีเรื่องเล่าว่า คราวหนึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท เดินไปตรวจตราตามกุฏิพระ เห็นพระรูปหนึ่งนั่งหลบฝน เนื่องจากหลังคารั่ว ฝนจึงหยดลงมา หลวงพ่อชาก็เลยถามว่า ทำไมไม่ซ่อมหลังคาล่ะ พระรูปนั้นบอกว่าผมปล่อยวางครับ หลวงพ่อชาก็เลยบอกว่า ปล่อยวางกับวางเฉยแบบวัวแบบควายนั้นไม่เหมือนกัน

    ผู้คนมักคิดว่าวางเฉยแบบวัวแบบควายเป็นการปล่อยวางแบบพุทธ นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด ปล่อยวางเป็นเรื่องภายในใจ แต่หน้าที่การงานเราก็ต้องทำตามสมควรแก่เหตุปัจจัย โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่ตัวเราเองและต่อผู้อื่นด้วย พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตโต) ได้สรุปสั้นๆ ว่า ปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องการทำ 'จิต'

    ส่วนการทำงานต่างๆ ด้วยความรับผิดชอบนั้นเป็นเรื่องการทำ 'กิจ' ในเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนเป็นนิจ ในแง่จิตใจเราจึงควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง แต่ขณะเดียวกันอะไรที่สมควรทำเราต้องรีบทำ ไม่เฉื่อยแฉะเฉื่อยเนือย เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา การทำกิจนั้นบางทีท่านก็เรียกว่าความไม่ประมาท

    ความไม่ประมาทกับการปล่อยวางเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แม้อากัปกิริยาภายนอกทำงานด้วยความขยันขันแข็ง แต่ภายในใจไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา พร้อมอยู่เสมอที่จะเผชิญกับความผันผวน พร้อมที่จะเจอความล้มเหลว เพราะรู้ว่าเหตุปัจจัยต่างๆ มีมากมายที่เราควบคุมไม่ได้ เวลาทำงานก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่านี่มันเป็นงานของเรา ใครจะมาแตะต้องหรือวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เวลาทำอะไรก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าผลต้องออกมาอย่างนี้อย่างนั้น ถ้าไม่ออกมาตามที่หวัง ฉันโมโห ฉันโกรธ ฉันท้อแท้ ผิดหวัง ท่าทีเช่นนี้จะทำให้เป็นทุกข์ได้ง่าย

    เดี๋ยวนี้เราทำด้วยความยึดมั่นกันมาก ยึดมั่นว่าเป็นของเราก็เลยทำ ถ้าไม่ใช่ของเราก็ไม่ทำ หรือว่ายึดมั่นในผล เวลาทำอะไรก็ตามก็วาดหวังหรือหมายมั่นว่าผลจะต้องออกมาอย่างนี้จึงจะมีกำลังใจทำ ถ้าทำโดยไม่ต้องพะวงถึงผลข้างหน้า แต่ทำตามเหตุตามปัจจัยหรือมุ่งประกอบเหตุให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ แบบนี้ทำไม่เป็น ต้องมีแรงจูงใจคือเอารางวัลหรือเอาผลที่สวยงามมาล่อให้มีกำลังใจ นี่ไม่ใช่วิธีการทำงานแบบพุทธ

    ท่าทีที่ถูกต้องแบบพุทธคือทำงานโดยไม่จำเป็นต้องเอาความสำเร็จหรือรางวัลมาล่อ แต่ทำเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ มีคุณค่าและน่าทำ ขณะที่ทำจิตก็อยู่กับปัจจุบัน พร้อมเผชิญกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ล้มเหลวก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นเอง แต่งานล้มเหลว ก็ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว เพราะว่าเราไม่ได้เอาตัวตนไปผูกติดไว้กับงาน ใครมาวิจารณ์งานก็ไม่ทุกข์ไม่เสียใจ เพราะไม่ได้ยึดติดว่างานนี้เป็นตัวกูของกู

    ทำงานอะไรก็ตาม พึงทำด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบ โดยไม่ถือว่างานนั้นเป็นตัวกูของกู ทำเสร็จแล้วก็มอบผลงานให้เป็นของธรรมชาติไป ไม่ยึดว่าเป็นเราหรือของเรา คำสรรเสริญเยินยอและชื่อเสียงเกียรติยศที่เกิดขึ้น ก็มอบให้แก่ธรรมชาติ หรือมอบให้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นของเรา ใครสรรเสริญก็ไม่ได้หลงใหลได้ปลื้ม ใครมาตำหนินินทาก็ไม่ได้ทุกข์ร้อน เพราะไม่ได้ยึดว่าเป็นของเราตั้งแต่ต้น ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเวลาทำงานเรามักคาดหวังผล แถมยังไปยึดติดกับคำสรรเสริญเยินยอและคำนินทาว่ากล่าว จึงทำงานอย่างไม่มีความสุข

    การปล่อยวางหมายถึงว่าเราไม่เข้าไปยึดในผลที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบวกหรือลบ แม้ภายนอกอาจจะไม่ได้ปฏิเสธ แต่ภายในใจนั้นไม่รับอยู่แล้ว ท่านอาจารย์พุทธทาสทั้งพูดทั้งเขียนมาตลอดว่าสมณศักดิ์เป็นสิ่งสมมติ ไม่มีความหมายสำหรับท่าน ท่านขอเป็นทาสของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว แต่ว่าเมื่อท่านทำงานให้พระศาสนา จนเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ จากพระครูเลื่อนเป็นพระราชาคณะสามัญ แล้วก็เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม สุดที่พระธรรมโกศาจารย์ เคยมีลูกศิษย์มาแนะอาจารย์พุทธทาสว่า สมณศักดิ์เหล่านี้ท่านน่าจะคืนเขาไป

    ท่านอาจารย์พุทธทาสก็บอกว่า จะคืนได้อย่างไร ก็เรายังไม่ได้รับมาตั้งแต่แรกจะคืนได้อย่างไร คือแม้ทางราชการจะให้สมณศักดิ์และพัดยศมาแต่ใจท่านไม่ได้รับเลย จะเป็นชั้นไหนก็ไม่เคยรับมาตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปคืนเขา

    ถ้าเราวางใจได้อย่างนี้ เวลาทำงานได้รับคำสรรเสริญเราก็ไม่รับมาเป็นของเรา หรืออาจจะถือไว้แต่ไม่ได้เอามาสวมใส่ ทำได้แบบนี้จะรู้สึกสบาย โปร่งเบา เมื่อถึงเวลาที่เขาตำหนิติฉินเราก็ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ เพราะว่าเราไม่ได้รับตั้งแต่แรก เมื่อมีคนชมก็ไม่เพลินหรือหลงตัว เมื่อถูกตำหนิก็ไม่เสียใจ สองอย่างนี้ไปด้วยกัน ถ้าเราทำใจด้วยใจที่ปล่อยวางแล้ว เราจะทำงานด้วยใจที่สบาย อิสระ โปร่งเบา และทำด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ใช่สบายแล้วเฉื่อยชาเฉื่อยแฉะ ตรงข้าม เราทำเต็มที่ เพราะความสุขคือการอยู่กับปัจจุบัน แม้ทำงานก็มีความสุข สุขอยู่ที่งานไม่ได้อยู่ที่ผลของงาน ยิ่งมีสติและสมาธิด้วยแล้ว จะทำงานอย่างมีความสุขมาก แม้ผลจะยังไม่ปรากฏก็ตาม ถ้าทำงานด้วยท่าทีเช่นนี้ ผลของงานจะไม่มีอิทธิพลต่อเรามากนัก เราจะทำด้วยความสุข และด้วยสำนึกว่า มันเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่ทำเพราะว่ามันเป็นของเรา การปล่อยวางและการทำงานด้วยความรับผิดชอบ หรือทำด้วยความไม่ประมาท เป็นสิ่งที่เราต้องเชื่อมให้เป็นอันเดียวกันให้ได้ อย่าไปแยกกัน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการปล่อยวางตามอำนาจของกิเลสหรือความหลง มิใช่ปล่อยวางเพราะมีปัญญา


    ที่มา:
    http://www.bangkokbiznews.com/bodyheart/

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom></TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid; BORDER-TOP: #e0e0e0 0px solid; BORDER-LEFT: #e0e0e0 1px solid; BORDER-BOTTOM: #e0e0e0 1px solid"> </TD></TR></TBODY></TABLE>

  3. #3
    สาวต้นอ้อ
    Guest
    เจ้ามาอ่านบทความดี ๆ เป็นคติสอนใจค่ะ

    ขอบคุณสาวต้นข้าว และ คุณนวรัตน์มาก ๆ น่ะค่ะสรรหาบทความดี ๆ มาฝากกันเนาะค่เนาะ

    ชอบมากค่ะกับหัวข้อ....
    ร่างกายไม่ใช่ของเราก็จริง แต่เราต้องดูแลเอาใจใส่ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเราในการทำความดี

    และหัวข้อ....
    ทำงานอะไรก็ตาม พึงทำด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบ

    :g

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    กลิ่น รส รูป เสียง ความคิด ใจ มันก็แค่...สักว่า ...เท่านั้น.. สักว่า ...คือเข้าใจคำนี้ยากแท่ะน้อ..
    มองต่าง..อย่างปลง

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •