กิ๊กติดคุก6เดือน  กม.ใหม่คุมผัวเมีย

กระทรวงการพัฒนาสังคมฯเร่งกำหนดคำนิยาม "สามีและภรรยานอกใจ-มีชู้-มีกิ๊ก" ลักษณะใดเข้าข่ายทำร้ายจิตใจตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวบ้างหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้วระบุการกระทำผิดลักษณะดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 6 พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับด้านเอ็นจีโอจี้พม.เผยแพร่กฎหมายดังกล่าวแจกคู่มือคนทำงาน-ประชาชน

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นางจิตราภาสุนทรพิพิธรองผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่าพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมาระบุว่าความรุนแรงในครอบครัวหมายถึงการกระทำใดๆโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจิตใจหรือสุขภาพหรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจิตใจหรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัวหรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการไม่กระทำการหรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ

"ดังนั้นกรณีที่ผู้หญิงและผู้ชายถูกสามีหรือภรรยาตัวเองนอกใจโดยไม่เต็มใจย่อมถือเป็นการทำร้ายจิตใจด้วยสามารถใช้สิทธิ์ฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ได้โดยโทษสูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับโดยสำนักงานกิจการสตรีฯจะเร่งหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อกำหนดนิยามของความรุนแรงด้านจิตใจให้ชัดเจนว่าต้องมีระดับความรุนแรงอย่างไรหรือส่งผลกระทบกับผู้ถูกกระทำมากน้อยเพียงใดจึงจะเข้าข่ายตามกฎหมายนี้" รองผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกล่าว

ด้านน.ส.สุเพ็ญศรีพึ่งโคกสูงหัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรีมูลนิธิเพื่อนหญิงเปิดเผยว่าระหว่างปี 2548-2550 พบว่ามีผู้หญิงปรึกษาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 3,496 กรณีส่วนใหญ่ประสบปัญหามากกว่า 1 กรณีและมักเก็บเงียบบางรายกลายเป็นผู้ต้องหาพยายามฆ่าหรือฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาในที่สุดโดยแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อนหญิงและมูลนิธิหญิงไทยได้จัดเสวนาเรื่อง "ไม่ทุกข์ซ้ำฟื้นเร็วด้วยกระบวนการที่เป็นมิตร" โดยเชิญผู้แทนกลไกสหวิชาชีพด้านกระบวนการยุติธรรมสังคมสงเคราะห์และสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550 โดยทุกฝ่ายยอมรับว่ายังมีความสับสนไม่ชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยเฉพาะกรณีที่เป็นการทำร้ายจิตใจลักษณะใดจึงจะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้จึงเรียกร้องให้กระทรวงพม. เร่งกำหนดกรอบให้ชัดเจนและจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายแจกจ่ายให้กับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายเช่นพนักงานสอบสวนจิตแพทย์นักสังคมสงเคราะห์ผู้พิพากษาและประชาชน



โดยข่าวสดวันพุธที่ 30 เมษายนพ.ศ. 2551