กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: วันวิสาขบูชา

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชาที่จะมาถึงนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชาวพุทธอย่างไร และควรปฏิบัติตนอย่างไร........วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

    ........วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ( คือเดือน 6 ) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้
    ........1. ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
    .........2. ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ 4 หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่
    .....1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    .....2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    .....3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
    .....4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
    ทั้ง 4 ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
    .........3. ปรินิพพาน เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง ( ต้นสาละ คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไป

    .......วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้ ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกัน ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน 6 ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น 3 พิธี คือ
    …...1.พิธีหลวง ( พระราชพิธี )
    …...2.พิธีราษฎร์ ( พิธีของประชาชนทั่วไป )
    …...3.พิธีของพระสงฆ์ ( พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้ )

    การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา
    …...1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
    …...2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
    …...3. ไปเวียนเทียน ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
    …...4. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
    …...5. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ


    ที่มา:
    ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539.
    ประเพณีและพิธีมงคลไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมบรรณาคาร, 2518.



    วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา

  2. #2
    น้ำตาล
    Guest
    ขอบคุณจ้าที่นำบทความสาระดีๆมาให้อ่านจ้า...:g:g

  3. #3
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์

    ชาวบ้านมหาที่รัก.....................มาทักทาย
    ขณะข้างนอก.........................ยอดไม้ล้วนไหวสั่น
    วิสาขะคืนนี้ไม่มีจันทร์................ด้วยเมฆบดบังมันจนมืดมิด
    ใช่ ตะวันไม่เคยดับ...................แต่จันทรานั้นกลับมืดสนิท
    เพียงอีกคืนหนึ่งหรอก-รออีกนิด....จันทร์จะกลับมีชีวิตเช่นตะวัน
    เถอะถึงเราคนข้างแรม................ย่อมยังมีจันทร์แจ่มมาปลุกขวัญ
    คืนมืด ใช่มืดชั่วนิรันดิ์.................คืนไหน คืนนั้น ย่อมหวนคืน
    ขอเพียงเรายังคงมีวิต................ไม่มีใครไม่คิดลืมตาตื่น
    ถึงช่วงก้าวสับสนก็ทนกลืน...........ดูนั่นใครทนฝืนกลืนน้ำตา
    น้ำตานั้นดื่มกินได้ต่างข้าว............เพื่อชีวิตยืนยาวแสวงหา
    พันธกิจบีบคั้นพันธนา.................ไปจนกว่าบรรลุโลกนามสมมุติ
    ใครบ้าง-อิสระได้อย่างนก............ที่ว่ายโผผกไปสูงสุด
    แต่เมื่อโลกคืมือคอยยื้อยุด...........นกย่อมมีวันหยุดลงผ่อนพัก
    ใครบางคนเคยพูดไว้เช่นนั้น..........นกมีขาเหมือนกัน-ผมตระหนัก
    สิ่งสำคัญ-ชีวิตนี้คือที่รัก...............จะถนอมกล่อมฟักมันอย่างไร
    เถอะ แต่ละคนต่างมีทาง..............จะสุขบ้างทุกข์บ้างอย่าสงสัย
    เถอะ แต่ละคนต่างมีใจ................จะปวดร้าวแค่ไหนไม่เกินร้าว
    เมื่อเราต่างรักในวิถี.....................ย่อมแต่นกเท่านั้นจักเหินหาว
    (หรืออาจมีลูกไก่ไปเป็นดาว).........จะเจ็บปวดรวดร้าวก็อย่างนก
    บนเส้นทางโบยบินเหนือยอดตึก......คิดถึงคุณโดยสำนึก-ใช่ตระหนก
    เมื่อผมเองยังดั้นฝ่าเหนือป่ารก........ยังยิ้มหัวทำตลก-ก็เท่านั้น
    คิดถึงคุณผ่านมิติสุญญากาศ...........ไม่เสียชาติเกิดในยุคโลกสร้างสรรค์
    ผมก็มีอีแมวแล้วเหมียนกัน.............ไว้วันหลังสักวันลองส่งดู
    preechab@pttep.com...........เปิดรับข่าวทุกคน หล่อ-ไม่หล่อ-สวย-ไม่สวย-ขาว-งาม-หรู
    เอาละ...ผมจะปิดหน้าต่างบานประตู...วิสาขะรุหรู่ขอตัวนอน...

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •