สาเหตุที่ใจกลางของโลกร้อน

ใจกลางโลกร้อนแค่ไหน ยิ่งลึกลงไปใต้ผิวโลก อุณหภูมิก็ยิ่งร้อนขึ้น เพราะโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ดับและเย็นลง เมื่อผิวโลกเย็นแล้ว เย็นพอที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ได้ แต่ที่ใจกลางโลกยังร้อนอยู่มาก ร้อนจนกระทั่งโลหะก็หลอมละลายหรือร้อนถึงหลายพันองศาเซลเซียส มนุษย์จึงอาศัยอยู่ไม่ได้ ตรงกลางโลกอาจจะอ่อนนุ่มมากกว่าที่คิด เนื่องจากคลื่นเสียงสามารถเดินทางผ่านเข้าไปได้ บริเวณตอนกลางของโลกคือพื้นที่ที่อยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกไปประมาณ 660 - 2,900 กิโลเมตร ความกดสูงกว่าความกดของระดับน้ำทะเล 230,000 เท่า ความร้อนอยู่ที่ 1,500-3,700 องศาเซลเซียส

โลก ( Earth ) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่าดับแล้ว มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน ( 4.57×109 ) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์

โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71 % และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา

แก่นโลก
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่น ๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่น ๆ เช่น ตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่

1) แก่นโลกชั้นนอก ( outer core ) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 องศาเซลเซียส มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
2) แก่นโลกชั้นใน ( inner core ) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

ที่มา:
http://www.nmine.8m.com/hot.html
http://www.doodaw.com/article/index....=humanuniver31
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%...B8%A5%E0%B8%81