มีวิธีลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งแต่ละชนิดมาฝากกัน...

วิธีลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง



มะเร็งรังไข่
สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 25% หากไม่ใช้แป้งมี่มีผสมของ TALC หรือ TALCUM มาทาบริเวณจุดซ่อนเร้น เพราะ TALC นี้ อาจจะไปสะสม จนทำให้เกิดเป็นมะเร็งรังไข่ได้

มะเร็งเต้านม
สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 20% เมื่อออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินวันละ 2 แก้ว และการมีลูกก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้อีก 7%

มะเร็งผิวหนัง
สามารถลดความเสี่ยงลงได้เกือบเต็ม 100% หากใช้ครีมกันแดดทาผิวเพื่อป้องกันทุกวัน ปกติแล้วครีมกันแดดที่มีอัตราป้องกัน SPF 15 ก็เพียงพอ แต่ในยามหน้าร้อน แดดจ้าควรเพิ่มเป็น SPF 30 แล้วอย่าลืมทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เพื่อการปกป้องอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งศีรษะ, ลำคอ และระบบย่อยส่วนบน
สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 50% หากกินส้มเป็นประจำทุกวัน วันละหนึ่งหรือสองผล เพราะส้มมีวิตามินซี และมีสารต้านอนุมูลอิสระ

มะเร็งปากมดลูก
สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 90% หากมีการตรวจภายใน ด้วยวิธีการ PAP SMEAR ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 18-70 ปี ควรจะตรวจภายใน โดยสูตินรีแพทย์เป็นประจำ ปีละหนึ่งครั้ง

มะเร็งลำไส้
สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 50% หากรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและไม่เป็นโรคอ้วน รวมถึงไม่ดื่มเครื่องดื่มมึนเมาด้วย และยังสามารถลดความเสี่ยงลงได้อีก 30% หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงและผักใบเขียวทุกวัน

มะเร็งปอด

สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 90% หากไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่

มะเร็งต่อมลูกหมาก
สามารถลดความเสี่ยงลงได้ 70% หากดื่มชาวันละ 3 แก้วขึ้นไป เพราะการศึกษาในประเทศจีนพบว่า ผู้ชายที่ดื่มชาอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี จะลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากลงได้ถึง 85%

สารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

จากผลการศึกษาในงานวิจัยขนาดใหญ่อันหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the National Cancer Institute พบว่าการรับประทานสารอาหารที่มีผลช่วยต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง เช่น วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี ซึ่งในคนที่สูบบุหรี่หากรับประทานวิตามินอีในปริมาณสูง จะสามารถช่วยให้ความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามให้ลดน้อยลงได้ ทั้งนี้หากเหล่าคุณผู้ชายมีโอกาสน้อยที่จะได้รับเบต้าแคโรทีนจากอาหาร ผลการศึกษายังแนะนำให้รับประทานจากอาหารเสริมซึ่งก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน

ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาก เกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระกับการช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงเป็นที่มาของการศึกษาขนาดใหญ่ในครั้งนี้ที่ศึกษาโดยคุณหมอ Richard B. Hayes และทีมจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในเมือง Bethesda มลรัฐแมรี่แลนด์ได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเกือบ 30,000 คนที่ผ่านการตรวจหาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

จากการเฝ้าติดตามผลอาสาสมัครแต่ละคนเฉลี่ยนาน 4.2 ปีอาสาสมัครจำนวนนี้เกิดโรคมะเร็งขึ้นในระหว่างที่ศึกษาวิจัยจำนวน 1,338 คน ซึ่ง 520 คนอยู่ในขั้นลุกลาม

จากการวิเคราะห์ทั้งหมดพบว่า ไม่พบความสัมพันธ์ของการรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระทั้ง วิตามินอี วิตามินซี และ เบต้าแคโรทีนกับอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือการรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงไม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่าในรายที่รับประทานเบต้าแคโรทีนอย่างน้อย 2000 ไมโครกรัมน่าจะมีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากลงได้

ในคนที่เคยสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่ในช่วง 10 ปีนี้พบว่าการรับประทานวิตามินอีนั้นมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแบบลุกลามได้ แต่มันก็ไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ

โดยสรุปการรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระทั้ง วิตามินอี วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ไม่พบว่ามีส่วนช่วยลดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่หากรับประทานเบต้าแคโรทีนอย่างน้อย 2000 ไมโครกรัม จะพบว่ามีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากลงได้ ส่วนในคนที่สูบบุหรี่ที่รับประทานวิตามินอี จะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแบบลุกลามได้ แต่มันก็ไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังนั้นการที่จะช่วยคนสูบบุหรี่ที่ดีที่สุดคือการพยายามให้คนเราเริ่มสูบให้ช้าที่สุดและเลิกให้เร็วที่สุดนั่นเอง


ที่มาของข่าวและภาพประกอบ http://www.healthdd.com