หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 4 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 1234 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 21 ถึง 30 จากทั้งหมด 34

หัวข้อ: วันสุนทรภู่-ประวัติสุนทรภู่

  1. #21
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    กิจกรรมเนื่องในวันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน 2551
    การแสดงมิวสิควีดีโอเรื่อง "ตามรอยสุนทรภู่"
    ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต ้น
    โรงเรียนอนุบาลคลองขลุง 2551


    [yflash]http://www.youtube.com/v/t7FVjkitQzg&hl=en&fs=1[/yflash]



    วันสุนทรภู่ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย 2551

    [yflash]http://www.youtube.com/v/8yh5_g9bBtY&hl=en&fs=1[/yflash]




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #22
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ผลงานสีไม้เป็นภาพผลงานของเด็กหญิงอสรา ศรีปัญหา ชั้นม.2/1หัวข้อ"วันสุนทรภู่"(ภาพชนะเลิศ)ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในวันสุนทรภู่ที่โรงเรียนของยายได้จัดกิจกรรมนี้ค่ะ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 15-06-2009 at 00:27.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  3. #23
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    จะหักอื่น ขืนหัก ก็จักได้
    หักอาลัย นี้ไม่หลุด สุดจะหัก
    สารพัด ตัดขาด ประหลาดนัก
    แต่ตัดรัก นี้ไม่ขาด ประหลาดใจ

    กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "นิราศอิเหนา"
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  4. #24
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    ผลงานสุนทรภู่
    ผลงานสุนทรภู่ และวรรณกรรมของสุนทรภู่ มีอยู่มากมาย ดังนี้

    ประเภทนิราศมี ๙ เรื่อง คือ

    1. นิราศเมืองแกลง 2350
    2. นิราศพระบาท 2350
    3. นิราศภูเขาทอง 2371
    4. นิราศเมืองเพชร 2371-2374
    5. นิราศวัดเจ้าฟ้า 2375
    6. นิราศอิเหนา 2375-2378
    7. นิราศสุพรรณ 2377-2380
    8. รำพันพิลาป 2385
    9. นิราศพระประธม 2385-2388

    ประเภทนิทานมี ๕ เรื่อง คือ

    1. โคบุตร
    2. พระอภัยมณี
    3. พระไชยสุริยา
    4. ลักษณะวงศ์
    5. สิงหไกรภพ

    ประเภทสุภาษิตมี ๒ เรื่อง คือ

    1. สวัสดิรักษา
    2. เพลงยาวถวายโอวาท

    ประเภทบทละครมี ๑ เรื่อง คือ

    1. อภัยนุราช

    ประเภทเสภามี ๒ เรื่อง คือ

    1. ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
    2. พระราชพงศาวดาร

    ประเภทบทเห่กล่อมมี ๔ เรื่อง

    1. จับระบำ
    2. กากี
    3. พระอภัยมณี
    4. โคบุตร
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  5. #25
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    งานสร้างสรรค์ของท่านสุนทรภู่
    ประเภทนิราศ

    กลอนนิราศ เป็นรูปแแบบกลอนของสุนทรภู่ โดยท่านได้นำเอาวิธีการของกลอนเพลงยาว มาปรับปรุงเพิ่มเติมวิธีการบรรยายและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านแล้วสอดแทรกบทคร่ำครวญ อาลัยอาวรณ์ที่ต้องพลัดพรากจากมา เช่น
    แสนอาลัยใจหายไม่วายห่วง
    ดังศรศักดิ์ปักซ้ำระกำทรวง เสียดายดวงจันทราพงางาม
    เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่ แต่เดือนยี่นี่ก็ย่างเข้าเดือนสาม
    หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า
    พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
    พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
    เนื้อความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น
    ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
    ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
    หรือในนิราศพระประธมซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยท่านพรรณนาความไว้ว่า
    ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
    เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
    แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
    เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา
    จะเห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลงนิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น
    ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
    โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย
    และ
    ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
    แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
    ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น
    เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
    ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
    ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
    เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
    นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง
    ดังนั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้แต่คนเดียว

    นิราศเมืองแกลง

    นิราศเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลายอย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน
    นิราศเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลายอย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน
    ขอให้น้องครองสัตย์ปฏิญาณ ได้พบพานภายหน้าเหมือนอารมณ์
    พอควรคู่รู้รักประจักษ์จิต จะได้ชิดชื่นน้องประคองสม
    ถึงต่างแดนแสนไกลไพรพนม ให้ลอยลมลงมาแอบแนบอุรา
    อย่ารู้จักผลักพลิกทั้งหยิกข่วน แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา
    ให้แย้มยิ้มพริ้มพร้อมน้อมวิญญาณ์ แล้วก็อย่าขี้หึงตะบึงบอน
    หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า
    พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
    พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
    เนื้อความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น
    ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
    ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
    หรือในนิราศพระประธมซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยท่านพรรณนาความไว้ว่า
    ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
    เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
    แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
    เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา
    จะเห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลงนิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น
    ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
    โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย
    และ
    ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
    แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
    ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น
    เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
    ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
    ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
    เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
    นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง
    ดังนั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้แต่คนเดียว

    นิราศพระบาท

    นิราศเรื่องนี้แต่งขึ้นหลังจากนิราศเมืองแกลง เล่าเรื่องการเดินทางตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ที่ผนวชเป็นพระ และได้เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เมืองสระบุรี ทำให้ผู้อ่านสามารถรู้เรื่องราวการไปทำบุญฉลองสมโภชพระพุทธบาท อันเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นทั้งยังได้แสดงประวัติส่วนตัวของผู้แต่งด้วยว่า เมื่อได้แต่งงานกับแม่จันแล้วก็มักมีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เสมอๆ ขณะนั้นสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระภิกษุพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังสุนทรภู่เขียนนิราศเรื่องนี้ไว้อย่างดี การบรรยาย และพรรณนาเด่นชัดทำให้เกิดภาพพจน์ ประกอบการใช้สำนวนเปรียบเทียบชัดเจนให้ความรู้สึกกินใจแก่ผู้อ่าน เช่น
    กำแพงรอบคอบคูก็ดูลึก ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้
    ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย
    หรือธานินทร์สิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค ไพรีรุกรบได้ดังใจหมาย
    เหมือนทุกวันแล้วไม่คัณนาตาย ให้ใจหายหวั่นหวั่นถึงจันทร์ดวง
    พี่ดูใจภายนอกออกหนักแน่น ดังเขตแคว้นคูขอบนครหลวง
    ไม่เห็นจริงใจนางในกลางทรวง ชายทะลวงเข้ามาบ้างหรืออย่างไร

    นิราศภูเขาทอง

    นิราศเรื่องนี้ท่านแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตอนที่ชีวิตของท่านตกอับมาก และยังบวชเป็นพระ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นการบวชเพื่อหลบราชภัยที่สุนทรภู่เกรงว่าอาจจะมีมาถึงตัวท่านก็ได้ ทำให้ต้องพรรณนาความรู้สึกนึกคิดได้อย่างถึงแก่น ประกอบกับความชำนาญในลีลาของกลอนที่มากขึ้นดังนั้นนิราศภูเขาทองนี้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดแม้ว่าจะมีความยาวไม่มากนัก คือ ๑๗๖ คำกลอนเท่านั้นนอกจากนั้นเนื้อหายังแตกต่างไปจากนิราศเรื่องอื่นๆ เพราะไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ความพิศวาส แต่จะพรรณนาถึงความจริงแท้ของชีวิตมนุษย์ โดยท่านยกเอาชีวิตของท่านเป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นนิราศภูเขาทองจึงเด่นด้วยปรัชญา ความคิดที่ลึกซึ้ง เช่น
    ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก
    โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น
    กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
    เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น
    หรืออีกตอนหนึ่งว่า
    ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
    โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย
    ทำบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
    ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

    นิราศวัดเจ้าฟ้า

    นิราศเรื่องนี้แต่งขึ้นภายหลังนิราศภูเขาทอง เนื่องจากว่าขณะนั้นท่านยังเป็นพระอยู่ การจะเขียนพร่ำพรรณนาถึงความรักในเชิงโลกียวิสัยหรือแม้แต่การที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆเป็นสิ่งอันไม่สมควรกับสมณเพศเช่นท่าน ดังนั้นท่านจึงเลี่ยงเสียโดยใช้ชื่อของ หนูพัด ซึ่งเป็นเณรบุตรชายของท่าน และได้ติดตามไปด้วยเป็นผู้แต่งขึ้น ถึงกระนั้นก็ดีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และวรรณคดีต่างก็ลงความเห็นเหมือนๆ กันว่า เป็นสำนวนกลอนของท่านอยู่ดีนิราศวัดเจ้าฟ้านี้เป็นนิราศที่เล่าถึงเรื่องการเดินทางไปค้นหายาอายุวัฒนะที่กรุงศรีอยุธยาตามลายแทงที่ได้มาว่ามีอยู่ที่วัดเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นวัดอยู่กลางทุ่งเมืองกรุงเก่า ในการเดินทางไปครั้งนั้นทำให้ต้องผจญกับเรื่องเร้นลับต่างๆและในที่สุดก็ไม่สามารถค้นพบสิ่งที่ต้องการนั้นได้ตัวอย่างความบางตอนจากนิราศวัดเจ้าฟ้า ในตอนที่ท่านผ่านเมืองสามโคกซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญ สุนทรภู่บันทึกเรื่องราวไว้ดังนี้
    เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
    ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
    ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
    เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
    นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง

    นิราศอิเหนา

    นิราศเป็นนิราศที่แต่งขึ้นจากจินตนาการของท่าน โดยอาศัยเค้าเรื่องจากบทละครเรื่องอิเหนาตอน บุษบาถูกลมพายุหอบ และอิเหนาออกติดตามค้นหา ซึ่งจะแตกต่างจากนิราศเรื่องอื่นๆ ซึ่งเกิดจากการเดินทางใช้วิธีพรรณนาเกี่ยวกับสถานที่โดยสอดแทรกความรู้สึกของตนที่มีต่อคนรักเป็นส่วนใหญ่ แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากการเดินทางแต่อย่างใดคงใช้วิธีการให้อิเหนาที่ต้องพลัดพรากจากนางบุษบาไปจึงพรรณนาคร่ำครวญเสียดายนางบุษบา เช่น
    จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ หักอาลัยนี่ไม่หลุดสุดจะหัก
    สารพัดตัดขาดประหลาดนัก แต่ตัดรักนี่ไม่ขาดประหลาดใจ
    คำประพันธ์บางบทแม้ว่าจะใช้คำธรรมดา แต่เมื่อสุนทรภู่ได้นำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันแล้ว ให้ทั้งอารมณ์ ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง เช่น
    ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย

    นิราศสุพรรณ

    เป็นนิราศเรื่องเดียวที่แต่งด้วยคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ และเป็นหนึ่งในสองเรื่องที่ท่านมิได้แต่งด้วยกลอน (เรื่องแรกคือ กาพย์พระไชยสุริยา )รูปแบบของโคลงสี่สุภาพที่ท่านแต่งนั้นก็เป็นไปในลักษณะเฉพาะของท่านกล่าวคือ มีการเล่นสัมผัสในวรรค ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษรเช่นเดียวกับกลอนที่ท่านถนัด เช่น
    กาเหยี่ยวเที่ยวว้าว่อน เวหา
    ร่อนร่ายหมายมัจฉา โฉบได้
    ฯลฯ
    บูราณท่านว่าน้ำ สำคัญ
    ป่าต้นคนสุพรรณ ผ่องแผ้ว
    แดนดินถิ่นสุวรรณ ธรรมชาติ มาศเอย
    ผิวจึ่งเกลี้ยงเสียงแจ้ว แจ่มน้ำคำสนอง
    ในนิราศสุพรรณนี้สุนทรภู่ได้เขียนรำลึกถึงความหลังเมื่อยังหนุ่ม เช่นตอนที่ท่านผ่านวัดชีปะขาว ได้เขียนไว้ว่า
    วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ แรกเรียน
    ทำสูตรสอนเสมียน สมุดน้อย
    เดินระวางระวังเวียน หว่างวัด ปะขาวเฮย
    เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย สวาทน้องกลางสวน

    นิราศเมืองเพชร

    นิราศเรื่องนี้นักวรรณคดีลงความเห็นกันว่า เป็นนิราศที่มีความยอดเยี่ยมในสำนวนกลอนรองลงมาจากนิราศภูเขาทอง อาจจะเป็นเพราะความเชี่ยวชาญที่เพิ่มพูนขึ้นจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานนายตำรา ณ เมืองใต้ กล่าวว่า สุนทรภู่มีความชำนาญเรื่องการใช้คำอย่างยิ่ง เช่น ตอนพรรณนาถึงพวกลิงไว้ว่า
    เวทนาวานรอ่อนน้อยน้อย กระจ้อยร่อยกระจิริดจิ๊ดจิ๊ดจิ๋ว
    เห็นได้ว่าท่านจัดเอาคำซึ่งแสดงว่า เล็กลงตามลำดับได้หมดหรือลีลาการเล่นสัมผัสทั้งสระและอักษร เช่น
    จนไม่มีที่รักเป็นหลักแหล่ง ต้องคว้างแคว้งควานหานิจจาเอ๋ย
    โอ้เปลี่ยวใจไร้รักที่จักเชย ชมแต่เตยแตกงามเมื่อยามโซ
    ในขณะนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และวรรณคดีไทยบางท่านโดยเฉพาะคณะแห่งสถาบันราชภัฏเพชรบุรี และนักวิชาการของกรมศิลปากรได้เสนอแนวคิดว่า สุนทรภู่น่าจะเป็นชาวเมืองเพชรบุรีดังเช่นที่ ภิญโญ ศรีจำลองได้นำเสนอเอกสารที่เกี่ยวกับนิราศเมืองเพชรซึ่งค้นพบใหม่มีเนื้อความแตกต่างไปจากเดิมว่า
    ทั้งโบสถ์บ้านฐานที่ยังมีอยู่ แต่ท่านผู้ญาติกานั้นอาสัญ
    เพราะกรุงแตกแยกย้ายพลัดพรายกัน จึงสิ้นพันธุ์พงศาเอกากาย
    ที่เหล่ากอหลอเหลือในเนื้อญาติ เป็นเชื้อชาติชาวเพชรบุรียังมีหลาย
    แต่สิ้นผู้ปู่ย่าพวกตายาย ญาติทั้งหลายมิได้รู้เรื่องบูราณ
    นอกจากนั้นยังได้หลักฐานจากการที่สุนทรภู่นั้นเดินทางไปเพชรบุรีหลายครั้งจนมีภรรยาที่เป็นชาวเมืองเพชรด้วย

    นิราศพระประธม

    เป็นนิราศที่ท่านแต่งขึ้นเมื่อครั้งไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกกันว่า พระประธม นิราศเรื่องนี้สุนทรภู่ไดพยายามรำลึกถึงชีวิตในอดีตโดยเฉพาะเรื่องความรักที่มีต่อหญิงหลายๆคน บางคนที่ท่านมีความผูกพันมากก็จะพร่ำพรรณนาไว้อย่างลึกซึ้ง กินใจ เช่นเมื่อเดินทางผ่านไปถึงคลองบางกรวย สุนทรภู่มีจิตระลึกถึงแม่นิ่มซึ่งภรรยาอีกคนหนึ่ง และเป็นคนในท้องที่นั้น ท่านพรรณนาไว้ว่า
    เห็นคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
    เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
    แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
    เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา
    ความดีเด่นของนิราศเรื่องนี้อีกประการหนึ่งคือ การใช้โวหารเปรียบเทียบได้อย่างไพเราะงดงาม และกินใจมาก เช่น ในตอนที่ท่านอธิษฐานถึงความรักต่อองค์พระปฐมเจดีย์ว่า
    แม้นเป็นไม้ให้พี่นี้เป็นนก ให้ได้กกกิ่งไม้อยู่ไพรสัณฑ์
    แม้นเป็นนารีผลวิมลจันทร์ ขอให้ฉันเป็นพระยาวิชาธร
    แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นแมลงภู่ ได้ชื่นชูเชยชมสมเกสร
    เป็นวารีพี่หวังเป็นมังกร ์ ได้เชยช้อนชมทะเลทุกเวลา
    แม้นเป็นถ้ำน้ำใจใคร่เป็นหงส์ จะได้ลงสิงสู่ในคูหา
    แม้นเนื้อเย็นเป็นเทพธิดา พี่ขออาศัยเสน่ห์เป็นเทวัญ

    รำพันพิลาป

    รำพันพิลาปแม้มิได้เป็นบันทึกการเดินทางเช่นนิราศเรื่องอื่นๆแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีก็จัดให้อยู่ในประเภทนิราศด้วยรำพันพิลาปนี้เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของท่านโดยมีมูลเหตุจากสังหรณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อของคนไทยสมัยนั้น กล่าวคือ
    เงียบสงัดวัดวาในราตรี เสียงเป็ดผีหวีหวีดจังหรีดเรียง
    หริ่งหริ่งเรื่อยเฉื่อยชื่นสะอื้นอก สำเนียงนกแสกแถกแสกแสกเสียง
    เสียงแมงมุมอุ้มไข่มาใต้เตียง ตีอกเพียงผึงผึงตะลึงฟัง
    จากนั้นยังฝันไปอีกด้วย ดังนั้นเมื่อตื่นขึ้นทำให้ท่านต้องแต่งรำพันพิลาปขึ้นมาคล้ายกับเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชีวิตของท่านนั่นเอง ดังเช่นเขียนไว้ว่า
    นักเลงกลอนนอนฝันเป็นสันดาน เคยเขียนอ่านอดใจไม่ใคร่ฟัง
    จะฝากดีฝีปากจะฝากรัก ด้วยจวนจักจากถิ่นถวิลหวัง
    ไว้อาลัยให้ละห้อยจงคอยฟัง จะร่ำสั่งสิ้นสุดอยุธยา
    นอกจากนั้นท่านยังบรรยายถึงวัดเทพธิดาราม ซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ในขณะนั้นด้วย
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  6. #26
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นักรบหัวใจ
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    208
    ขอบคุณครับที่ทำให้รำลึกนึกถึงตอนวัยเรียนครับ

  7. #27
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวoffit
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    85

    เรื่องฮิตน่าอ่าน 26มิถุนายนวันสุนทรภู่

    ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

    สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

    "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

    ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ ?พ่อพัด? ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

    หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง ?นิราศพระบาท? พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก ?นิราศพระบาท? ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย

    จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

    ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ

    "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่"

    สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"

    ผลงานของสุนทรภู่

    หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ?

    ประเภทนิราศ

    - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง

    - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา

    - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

    - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง

    - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา

    - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3)

    - แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา

    - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท

    - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) ?เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี

    - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

    ประเภทนิทาน

    เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

    ประเภทสุภาษิต

    - สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

    - สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

    - เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

    ประเภทบทละคร

    - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ประเภทบทเสภา

    - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)

    - เรื่องพระราชพงศาวดาร

    ประเภทบทเห่กล่อม

    แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี

    ที่มาของวันสุนทรภู่

    องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

    ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

    ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง

    กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่

    1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
    2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
    3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่


    สุนทรภู่ ครูกลอน อักษรศิลป์ ศิลปิน แห่งกวี ศรีสยาม
    โครงฉันท์กาพย์ กลอนนิราศ ลือเรืองนาม ล้วนเลิศล้ำ ระบือไกล ในโลกา
    พระอภัยมณี อิเหนา นั้นสร้างชื่อ นิราศฤา ภูเขาทอง ต้องรักษา
    สุภาษิตสอนหญิงให้นำพา วันทองว่า นางหลายใจ ใช่ความจริง
    ทั้งขุนช้าง ขุนแผน แสนสะท้าน นั้นอิงอ้าง นิยายไทย ในทุกสิ่ง
    จันทรโครพ รามเกียรติ์ ไม่ประวิง ใจไม่กลิ้ง ดังใบบอน ท่านสอนมา




    ขอบคุณเนื้อหาจาก:kapook

  8. #28
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขอบคุณมากค่ะ สำหรับสาระข้อมูลที่มีประโยชน์ทางการศึกษามากนะคะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  9. #29
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    เมื่อวานเพ็นไปซื้อตราไปรษณีย์ สุนทรภู่ ที่มีขายเฉพาะในจังหวัดระยองมาค่ะ..
    มาอยู่ระยองนานแต่ก็ไม่ค่อยรู้ข้อมูลเท่าไหร่ ขอบคุณนะค่ะ

  10. #30
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    สุนทรภู่ บรมครูกวีศรีสยาม

    สุนทรภู่ บรมครูกวีศรีสยาม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 26-06-2010 at 19:03.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 4 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 1234 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •