กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: ประวัติจังหวัดอุดรธานี

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1

    ประวัติจังหวัดอุดรธานี

    คำขวัญประจำจังหวัด:น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรม 5,000 ปี ธานีผ้าหมี่ขิด
    แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์


    ประวัติการปกครองจังหวัดอุดรธานี


    ประวัติศาสตร์จังหวัดอุดรธานี


    ผู้ว่าราชการจังหวัด

    ประวัติจังหวัดอุดรธานี
    นายจารึก ปริญญาพล

    ความหมายของตราประจำจังหวัด :ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483

    ธงประจำจังหวัดอุดรธานี : เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง

    ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี คือ ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8 - 15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือน มกราคม - มีนาคม

    พันธู์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด คือ ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 - 20 เมตร ใบรูปไขา ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน

    อุดรธานี ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นดินแดน ที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของโลก จ.อุดรธานีตั้งอยู่บนเส้นรุ้งที่ 17 อาศาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ระยะทางประมาณ 562 ก.ม.

    อุดรธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ๕๖๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑๑,๗๓๐.๓ ตารางกิโลเมตร
    จ.อุดรธานี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,780.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.362 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ มากเป็นอันดับ 4 ใน 19 จังหวัด ของภาคอิสาน รองจาก จ.นครราชสีมา,อุบลราชธานีและชัยภูมิ จ.อุดรธานี แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๑๘ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ
    อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ อำเภอศรีธาตุ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอสร้างคอม อำเภอทุ่งฝน กิ่งอำเภอนายูง และกิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์

    สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ของ จ.อุดรธานี ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทาง จ.หนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตก มีภูเขาและป่าติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาว ตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจน จรดทางใต้สุดเขต จ.อุดรธานี มีลักษณะแบ่ง จ.อุดรธานี ออกเป็นสองส่วน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200-700 เมตร

    สภาพภูมิอากาศ ภูมิอากาศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาล้อมรอบทาง ด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น อยู่ทางตะวันตก เทือกเขาสันกำแพงและ พนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่ เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝน จ.อุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและ อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภมิ สูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วนฤดูหนาวเคยมี อุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 อาศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร

    อาณาเขตติดต่อ

    ทิศเหนือ จดจังหวัดหนองคาย
    ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
    ทิศตะวันออก จดจังหวัดสกลนคร
    ทิศตะวันตก จดจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย

    แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขตประวัติจังหวัดอุดรธานี

    การปกครอง


    การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 155 ตำบล 1,666 หมู่บ้าน 1 เทศบาล 150 องค์การบริหารส่วนตำบล และ 29 สุขาภิบาล ดังนี้

    อำเภอเมือง
    อำเภอหนองวัวซอ 39 กม.
    อำเภอหนองหาน 35 กม.
    อำเภอบ้านผือ 55 กม.
    อำเภอบ้านดุง 84 กม.
    อำเภอกุมภวาปี 43 กม.
    อำเภอโนนสะอาด 53 กม.
    อำเภอกุดจับ 24 กม.
    อำเภอวังสามหมอ 96 กม.
    อำเภอสร้างคอม 68 กม.
    อำเภอทุ่งฝน 65 กม.
    อำเภอไชยวาน 62 กม.
    อำเภอหนองแสง 35 กม.
    อำเภอเพ็ญ 43 กม.
    อำเภอน้ำโสม 110 กม.
    อำเภอนายูง 129 กม.
    อำเภอศรีธาตุ 72 กม.
    อำเภอพิบูลย์รักษ์ 63 กม.
    กิ่งอำเภอกู่แก้ว 65 กม.
    กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กม.


    โครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัด
    การจัดองค์กรราชการบริหารส่วนภูมิภาค มี หน่วยราชการที่อยู่ในการกำกับดูแลของ ผู้ว่าราชการจังหวัด คือ ส่วนราชการต่างๆ ใน ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
    ส่วนราชการใน ระดับจังหวัดเป็นหน่วยงาน 2 ลักษณะ คือ หน่วยราชการ บริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด และหน่วยราชการบริหาร ส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง )
    หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดของ จังหวัดอุดรธานี มีทั้งสิ้น 32 หน่วยงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ อีก 24 หน่วยงาน
    ส่วนหน่วยราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด มีทั้งสิ้น 67 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ทั้งสิ้น 53 หน่วยงาน หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระ 7 หน่วยงาน ส่วนการจัดองค์กรราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น มี 4 รูปแบบ คือ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

    แสดงโครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี



    ราชการในจังหวัดที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางสังกัดกระทรวงมหาดไทย

    (1) ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4
    (2) สถานีตำรวจทางหลวง 3กองกำกับการ 4
    (3) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่24
    (4) ศูนย์สื่อสาร เขต 5
    (5) กองกำกับการ 4 กองบังคับการฝึกพิเศษ
    (6) เรือนจำกลางอุดรธานี
    (7) สำนักงานตำรวจสันติบาล 1 ภาค 4
    กองกำกับการ 2 สันติบาล 1
    ส่วนราชการระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย

    (1) สำนักงานจังหวัด
    (2) ที่ทำการปกครองจังหวัด
    (3) ตำรวจภูธรจังหวัด
    (4) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
    (5) สำนักงานทีดินจังหวัด
    (6) สำนักงานโยธาธิการจังหวัด
    (7) สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
    (8.) สำนักงานผังเมืองจังหวัด
    ส่วนราชการระดับอำเภอ

    (1) อำเภอ
    (2) ตำบล
    (3) หมู่บ้าน
    ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

    (1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
    (2) เทศบาล
    (3) สุขาภิบาล
    (4) องค์การบริหารส่วนตำบล

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.udonthani.com/
    อยากฮู้จักเมืองอุดรฯกะเข้าไปอ่านข้อมูลได้เลยจ้า การท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร แผนที่ การเดินทาง
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ติ๋ม เปอร์โย; 30-03-2010 at 01:13.
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •