อริยธรรม

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น

เรามามาที่ลานธรรมแล้วซึ่งมาบำเพ็ญกองบุญกองกุศล เจริญสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนามากันหลายวันแล้ว อันนี้ก็มีคนมากันมาก ซึ่งยังไม่ได้ก็ยังบวชกันอยู่หลายๆ คน แต่คนนี้ก็มีคนกลับไปก่อน แต่ก็ยังดี เราก็ถือมาปฏิบัติกับนักบวชเนี่ย
เราได้มาปฏิบัติ กว่าจะถึง 7 วันเนี่ยเราก็มาสร้างบุญบารมีกัน เป็นอนันต์เพราะตั้งอกตั้งใจเราก็ดีกว่าความสงบอยู่บ้านเป็นร้อย ๆ วัน จะมาสู้ 7 วันนี้ไม่ได้ ที่เราได้ปฏิบัติธรรมะปฏิปติบูชาธรรมของพระองค์ อยู่หลายวันหลายคืนแล้ว ก็อันนี้แหละ

จึงเรียกว่ามหากุศล ก็เกิดขึ้นที่กายใจของพวกเราซึ่งละบ้านช่องเคหสถาน ซึ่งมาทำความเลื่อมใส พระพุทธเจ้า และพระธรรมเจ้า และพระอริยสงฆ์เจ้า ที่เราบำเพ็ญบุญ เช่นว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆเจ้าอยู่ที่ใจ
เราก็เที่ยวบำเพ็ญบุญให้แดนของพระอริยะเกิดขึ้นอยู่ที่กายใจของพวกเรา อาตมาก็ดีใจกะญาติโยมที่มา มาได้ปฏิบัติธรรมะเพื่อพยายามจะเอามรรค ผล ให้เกิดขึ้นที่กายใจของพวกเรา เพราะกุศลธรรมเนี่ย ปฏิปติบูชาเราอยู่ เราบูชาธรรมอยู่

ทีนี้เราก็เท่ากับมีจิตฝึกหัด ฝึกหัดทำใจให้คล่องแคล่วขึ้น ให้ว่องไวจนชำนิชำนาญในการฝึกสมาธิ แล้วจิตใจของเราก็จะชำนาญขึ้น แล้วทีนี้เรามาเรียน มาเรียน ความรู้ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เรามาเรียนรู้

ที่นี่ไม่ได้มาเลย แล้วทีนี้ทำไงเราจะได้รู้ได้ รู้ไม่ได้หรอกโยม ซึ่งเราไม่ได้มาปฏิบัติกันเพราะยังไม่ ยังงมงาย เพราะเป็นห่วง เป็นห่วงบ้านช่อง ไม่สามารถที่จะทำเรื่องจิตใจได้ เพราะอะไรมันไม่ให้ทำ ก็โลภ โกรธ หลงที่มันอยู่ที่ใจนี่แหละ
มันไม่ให้ทำเอง เพราะนี่น่าเสียดาย น่าเสียดายที่คนเรายังไม่ได้มาปฏิบัติเลยแต่ที่เราได้มาปฏิบัติเนี่ยท่านจึงว่าผู้นี้จะต้องรู้รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ฝึกสมาธิ พยายามฝึกสมาธิ

...เอามือลงก็ได้โยม...เอามือลง..ทำใจ ทำสมาธิ นี่เราจะได้ จะได้ทำเรื่องของกายใจ

เอามือขวาทับมือซ้าย ขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ที่นั่งขัดสมาธิเนี่ย เพื่อจะตรัสรู้ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรานั่งพับเพียบเนี่ยมันสู้ขัดสมาธิไม่ได้

แล้วทีนี้ในการขัดสมาธิเราฝึกสมาธิสติสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ พุท ลมเข้า โธ ลมออก พุท ลมเข้า โธ ลมออก ไม่ให้ลิ้นกระดกด้วย หนิ ทำความรู้ทั่วถึง ทำความเห็น เห็นกายใจของเรา

พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ธรรมแล้วก็แนะนำสาวกของพระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติทำใจให้ทำความรู้เห็นใจใจนี่มันคิดนึก คิดรู้ รู้ คิดดีเนี่ยก็รู้ คิดชั่วมั่งก็รู้ เอาธรรมะมาแฝงจิตให้มันรู้ให้มารู้ปฏิบัติให้จิตใจเป็นธรรมะขึ้นมา แล้วเราก็จะได้
จะได้พ้นทุกข์เนี่ยคือสติปัฏฐานสี่เนี่ย จะต้องมีทุกอิริยาบถเรานั่งอยู่เราก็รู้อยู่ว่า เอาความสุขกับความทุกข์เนี่ย มาเป็นคู่หาบกันขึ้น แล้วเราก็ทำความรู้ ทั้งกายนี้ก็มีสุขเวทนาก็มี มีทุกขเวทนา ก็มี แต่ไอ้ใจเนี่ยเข้าไปรู้เห็น

จะไปร่วมกับทางกาย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ใจเรา ไม่ใช่สังขารของเรา แต่เราต้องรู้จักสภาวะที่มันเกิดดับ ทุกข์เกิดขึ้นควรกำหนดรู้ ญาติโยมมานั่งฝึกสมาธิทุกคนเนี่ยอาตมาซึ่งนั่งแนะนำสั่งสอนพวกโยม ต้องการให้โยมรู้เท่านั้นเอง
แล้วโยมก็จะได้ไปปฏิบัติที่บ้านในเมื่อปฏิบัติที่บ้านรู้เห็นแล้ว ก็จึงกลับมากลับมาส่งอารมณ์ในการข้อวัตรปฏิบัติ เมื่อเรารู้เห็น แล้วยังไม่ทราบได้แล้วจึงมาถามครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะได้แนะนำสอนสั่ง

เพราะเรามานั่งอยู่ด้วยกันทุกคนเนี่ยะ เพื่อจะตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า หนิ พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของธรรมะ เป็นเจ้าของธรรม ในใจหรือเปล่า ให้รู้ความเป็นจริงอย่างกะพระพุทธเจ้าสอนเรา

แล้วพระสงฆ์สาวกปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้า พระผู้สงฆ์สาวกก็รู้ธรรมขึ้นมารู้ธรรมขึ้นมาแล้วก็นึกเลยนะยังมี มีบุญน้อย เราจะรู้รึ ว่าเราปฏิบัติ ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ แล้วเราก็ไม่รู้ได้เพราะอวิชชาเนี่ยมันปิดบังเราไว้ จึงเราต้องมาเพ่งกันขึ้น สอนให้เพ่ง ให้รู้ ให้ละ

นิวรณ์เมื่อนิวรณ์เกิดก็ให้รู้ นิวรณ์เกิดก็ให้รู้เมื่อนิวรณ์ดับไปก็ให้รู้ ต้องการจะแนะนำให้เรารู้ วันนี้ในเมื่อจิตนี้เข้าภวังค์ไม่ได้ก็คือนิวรณ์ห้าเนี่ยแหละมันขวาง มันขวางไม่ให้จิตเข้าภวังค์ได้

ทีนี้จิตอบรมบ่มนิสัยร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติเราก็ไม่ทราบได้เราจึงได้รู้ว่าบวชที่ไหน ๆ ก็จึงไปที่นั่น เราจึงต้องพยายามตั้งอยู่นิวรณ์มันขวางเราไม่ได้ แต่เราจะลงมือปฏิบัติธรรม มันยังขวางเราได้บ้าง ถึงจะขวางเราได้เราก็กำหนดรู้

เช่นว่าเรานั่งกรรมฐาน ง่วงหงาวหาวนอนเราก็พยายามทำวิตกวิจารให้มากขึ้น มีภาวนา พุทลมเข้า โธลมออก ให้มากขึ้นแล้วธรรมนี้ก็จะต้องเกิดกับลมได้ จิตก็เข้าภวังค์ได้ จิตเข้าภวังคืได้มันก็พ้นจากนิวรณ์ห้า นิวรณ์ห้าก็ดับ จิตก็รู้ขึ้นได้ว่าเรา

เราไม่เคยรู้ เราไม่เคยเห็น บัดนี้เรามีความรู้ ความเห็น จิตนี้ก็จะต้องฉลาดขึ้นล่ะ จิตนี้ก็จะต้องฉลาดศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าก็มีขึ้น นี่ ญาติโยมก็จะไม่ลดละในธรรมได้ ถ้าจิตจิตรู้ขึ้นมาจิตเห็นขึ้นมาแต่ก่อนจิตไม่รู้ไม่เห็น
มันก็ตกอยู่ในทุกข์ อวิชชามันก็สอนสอนให้ซะะจนไม่รู้

ทีนี้ได้อาศัยครูบาแนะนำ หรือสั่งสอน ญาติโยมก็มีกะใจในการปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมะ เมื่อปฏิบัติธรรมะเมื่อรู้เห็นขึ้นแล้วเราก็สบายกายสบายใจเมื่อจิตสมาธิเกิดขึ้นแล้ว เรามองดู ผม ผมที่เกสา ทีนี้เมื่อจิตสงบแล้วมันก็อยู่กับผม

ก็จะได้เห็นผมปรากฏผมขึ้นแล้ว ทีนี้จิตนี้มันก็จะต้องวิตกอยู่กับเส้นปรากฏเห็นมีสว่างขึ้นแล้ว เราพยายามเข้ามาดูที่เกสาผม ดูไปๆ ก็เหมือนกับสว่างทั่วไป แล้วทีนี้ก็ โยมก็จะต้องมีศรัทธาแล้วว่า พอจิตมีสมาธิ ความสงบมี ความสงบนี้เอง
ทำให้รู้เห็นขึ้นได้ เนี่ยโยมก็ต้องมีเพียรมีหมั่นขึ้นบ่อย ๆ มีเพียรมีหมั่นขึ้นบ่อย ๆ ทีนี้ ฌานจิต จิตก็ได้ฌานเกิดขึ้น มีปฐมฌานเป็นอารมณ์ เมื่อเรานักปฏิบัติเนี่ย เราทำปฐมฌานกันอยู่บ่อย ๆ อืม แต่ยังไม่ ยังไม่เข้าถึงปฐมได้
จะต้องมีเพียรมีหมั่นให้มาก ๆ ขึ้น

ทีนี้เราจะทำสมาธิเนี่ยหลับตามองดูช้าๆ ดูที่เส้นผมตั้งอยู่กับหนัง หนังนี้ก็มีผมอยู่กับหนัง หนังมันก็ไม่รู้จักผม ผมมันก็ไม่รู้จักหนัง เพราะจะรู้ธรรมะก็ปัญญานี่แหละ

นั่งอยู่กับพื้นเราก็ทำความรู้ว่านั่งอยู่กับพื้น แล้วนั่งดูว่า กำหนดมาเบื้องต่ำ กำหนดว่าเบื้องต่ำไปสู่เบื้องสูง พิจารณาอยู่เป็นอารมณ์นี้แหละ ทีนี้วิตก ยกจิตขึ้นที่เส้นผม วิตกยกจิตเห็นหนัง ผมตั้งอยู่กับหนัง วิตกยกหนังโดยรอบหุ้มกะโหลกศีรษะ
กำหนดรู้เห็น หนังหุ้มกะโหลกศีรษะ กำหนดรู้เห็นขึ้นมา ให้มองดูให้มองดูแล้วดูหนังทั่ว ๆ หุ้ม หุ้มโดยรอบ หุ้มกระดูกอยู่ หุ้มเส้นเอ็นอยู่ หนังโดยรอบร่างกายของเรา เราควรกำหนดรู้ ทุกคนที่อยู่ในศาลานี้ ทำเหมือนเราอยู่ผู้เดียว อย่านึกว่านั่งหลายคน นึกว่านั่งอยู่คนเดียว ทำใจอย่างนี้

เรากำหนดที่ พุทลมเข้า โธลมออก ลมเข้ากำหนดรู้ สภาวะเคลื่อนไหว กายยกกำหนดรู้ ที่กายเคลื่อนไหวพุท ลมเข้ากายก็บานออก ลมออกกายก็ยุบลง ให้เรามีความรู้เห็นอย่างงี้แหละ แล้วเมื่อจิตเป็นสมาธิขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ ต้องรู้เห็น
เรารักษาศีลดีแล้ว ศีลเรารับแล้ว ศีลสิกขานี่เป็นปกติอยู่พยายามใช้จิต จิตตสิกขา ฝึกให้สมาธิเกิด เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว จิตจะต้องมีความรู้จะต้องมีความเห็น ไม่รู้ไม่ได้ ไม่เห็นไม่ได้ ต้องรู้ต้องเห็นเมื่อจิตมีสมาธิแล้ว
เพราะเราไม่ปล่อยตาออกไปไกล แม้เจริญอยู่ก็เพราะดูอยู่ที่ร่างกายของเรา ลืมตาถ้าเราหลับตาเราก็ตั้งอยู่ในสภาวะอยู่ในสภาวะ ไม่ให้จิตนี้ออกไปภายนอก ให้จิตอยู่ อยู่แต่ยาววาหนา คืบ

นี่แหละแล้วหนักขึ้นเราก็จะมีศรัทธาปสาทะความเลื่อมใสในพระศาสนาขึ้นได้

เหมือนอาตมาเมื่อปฏิบัติใหม่ๆ ก็เหมือนกับญาติโยมนี่แหละ ปฏิบัติไปปฏิบัติไป มันก็มีความรู้ความเห็นขึ้นศรัทธามันก็เกิดแรงกล้าขึ้น

ทีนี้เราก็อยากทำ มันก็อยากรู้ มันก็อยากเห็น อยากจะทำให้มากขึ้น เพราะเพื่อทำเอาบุญ บุญเนี่ยเป็นที่ฉลาด นะ เป็นผู้ฉลาด ทำให้มาก อย่าให้เสียทีว่าเรามาเกิด มาพบพระศาสนา มาพบพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าของธรรม

ทำให้รู้จักว่านิวรณ์ไม่มีก็ให้รู้ นิวรณ์ก็คือนามธรรม กายเมื่อยกายปวด กองแห่งรูป ที่รู้ว่าเมื่อยว่าปวด เป็นนามธรรม แล้วรู้ดีรู้ชั่ว นี่ก็นามธรรม รู้เห็นสมาธิเวลารู้ ตั้งใจ สติสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ทุกขณะ ความทุกข์เกิดขึ้นกำหนดรู้

เปลี่ยนอิริยาบถทุกข์ดับไปก็กำหนดรู้ สุขเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ เมื่อรู้ รู้อยู่อย่างงี้แล้ว จะไม่รู้ทำคำสั่งสอนไม่ได้ จะต้องรู้ ที่เรานั่งแนะนำสั่งสอนธรรมอยู่นี้ เพื่ออบรมเสริมสร้างบารมีธรรม ธรรมของพระพุทธเจ้าเนี่ยเมื่อเราทำความรู้ ความจำแนกก็จะได้รู้ขึ้น มีขึ้น แล้วเป็นผู้ฉลาด เคารพในธรรมะพระพุทธเจ้า

ที่เราแนะนำกันเนี่ยะ ก็อยากให้รู้ อยากให้เห็น แล้วศรัทธาจะได้มีความแก่กล้าขึ้น อย่าเชื่อ อย่าเชื่อ อย่าเชื่อในคำที่ไม่ดีไม่ชอบ เชื่อในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้มาก เจริญให้มาก ถ้ามีความง่วงเหงาหาวนอนก็ลืมตาขึ้น ลืมตาขึ้นดูโน่นดูนี่

ดูที่กายใจของเราบ้าง เพ่งดู เพ่ง แล้วก็หลับตา หลับตารู้เห็น เมื่อไม่เห็นเราก็ดูให้มากขึ้น แล้วก็หลับตาลงให้เห็น เมื่อไม่เห็นก็ทำใจเฉยๆ เมื่อจิตเราดูเพ่งอยู่นาน เมื่อหลับไปก็จะเห็นเป็นรูปร่างของเราขึ้น แล้วก็มีเพียรมีหมั่นทำอย่างนี้ให้มากขึ้น ไม่ช้าเราก็นัยน์ตาก็จะมีแสงสว่างไสวขึ้นควรยินดี

ทำสงบเราก็รู้ว่าสงบ ถ้าไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบ เฉยไว้ ทำรู้เฉยไว้ ทำรู้เฉยไว้ รู้เฉยนี่ จะเป็นตำราให้รู้มากๆ ขึ้น ทีนี้เราจะไปไหนก็ดี ที่มันควรไปเราจะไป ที่ที่ไม่ควรไปเราก็ไม่ไป อย่างงี้ก็ธรรมะก็จะรู้ได้รวดเร็ว

มาเถอะโยม มาเรียนพระกัมมัฏฐานกับพระ พระท่านจะได้แนะนำให้ เพราะผู้แนะนำหรือสั่งสอนเนี่ย รู้เป็นผู้สอนหนังสือ ครูต้องมีความรู้หนังสือ จึงจะสอนลูกศิษย์เด็ก ๆ ได้ เด็กคนไหนจะเก่ง คนไหนจะฉลาดครูก็ดีใจ

ดูที่กลางท้ายทอย ตรงหูสองข้าง ให้มองให้เห็น พอมันมีสมาธิเนี่ยใจมันจะเลิกคิดนึก เรานั่งภาวนาอยู่ มีตัวหยุดภาวนาหยุดแล้ว ทำใจให้มันแจ่ม ให้ใจนี่แจ่มใส...ความพยายามไม่ให้มันง่วงหงาวหาวนอน

ทีนี้ถ้ามันง่วงเหงาหาวนอนทำอย่างไร เราก็กำหนดไว้ จะให้กำหนดนั่งนิ่งนี้ไม่ได้ เราก็กำหนดว่าจะลุก ลุกเดินจงกรม เดินเดินให้มาก เดินจนหายง่วงนอน เดินจนให้หายฟุ้งซ่าน ทีนี้ก็สมาธิก็จะดีขึ้น บางคนจะเดินแล้วได้ธรรมะ ได้ฌาน ได้บารมีเกิดขึ้น บางคนจะได้สมาธิในการนอน บางคนจะได้สมาธิในการนั่งอยู่บางคนจะได้สมาธิในการนอนอยู่ แล้วสงบมาก แล้วในอิริยาบถอื่นเนี่ย ทำให้แก่กล้าทุกอิริยาบถไป

ที่เรานั่งสับ...งึก แล้วเราก็ตื่น สับงึก เราก็ตื่น นี่แหละ ความรู้ตัวเกิดขึ้น แล้วหนักขึ้น ๆ จะไม่สับ จะรู้เห็น บางครั้งมันสับปุ๊บมันสว่างขึ้นก็มี บางคนนั่งนิ่งอยู่เฉย ๆ แล้วจิตเข้าภวังสว่างขึ้น ซึ่งเรามีความรู้สึกว่าสมาธิเกิดขึ้นกับเราแล้ว เราก็พยายามทำเฉยรู้ เฉยรู้เข้าไว้

นี่เบื้องต้นของเรา นี่แหละเบื้องต้นของเรา จะรู้เบื้องกลางก็รู้ เบื้องปลายก็ เราก็ทำอย่างนี้แหละ ถึงพระพุทธเจ้าก็เห็นอย่างงี้แหละ ธรรมที่เราได้นี่ ที่ยังไม่ได้ก็ทำให้มากขึ้น ทำเอาบุญหนัดขึ้นก็จะรู้ตาม ตามรู้ตามเห็นเหมือนอย่างกับพระพุทธเจ้าที่ท่านรู้ท่านเห็น พระองค์ท่านทรงเชยชมคนขยันนะ

ทีนี้เมื่อเรามีความเมื่อยขึ้นมาเราขัดสมาธิ ก็ค่อย ๆ ขยับ ค่อย ๆ ขยับ บางครั้งพอขยับเคลื่อนไหวทุกขเวทนาก็ดับ ทีนี้เมื่อดับเราก็เปลี่ยนอิริยาบถชี้ให้เห็นว่าทุกข์นี้ดับไปแล้ว รู้เมื่อสุขเกิดแล้วทางกาย ใจนี้จิตต้องรู้อยุ่ทุกขณะ จะรู้ว่าปวดเมื่อยเป็นตัวเรา ของเรา ความเจ็บนี้จะเป็นตัวเรา ความคิดนึกนี่ก็เป็นตัวเรา อย่างนี้นานรู้ กำหนดอย่างนี้ นานรู้ รู้เมื่อสุขนี้ไม่ใช่ของเรา ทุกข์นี้ก็ไม่ใช่ของเรา ถ้ารู้อย่างนี้จริงๆ บ่อยๆ ไม่ช้า พวกที่นักปฏิบัติก็ต้องได้ธรรมะ

ก็ครูบาอาจารย์ทำมาแล้ว ที่สอนเนี่ยครูบาอาจารย์ทำมาแล้ว ครูบาอาจารย์รู้มาแล้ว เราก็รู้ที่เราจะสอนเนี่ย เราก็เห็นเราก็สอนเรื่องเห็น แล้วเมื่อครูบาอาจารย์สอนอย่างนี้แล้วลูกศิษย์ทำนิวรณ์ให้ดับได้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตาก็จะเกิดกับผู้ปฏิบัติขึ้น ทีนี้จะมีเพียรมีหมั่นมากขึ้น เข้าฌานออกฌาน เข้าฌานออกฌานอยู่เสมอ ทีนี้ปัญญาญาณนี่ก็จะแจ้งชัดชึ้นในนามรูป นี่ ให้มองที่ลูกตา ให้มองที่ลูกตา ให้มองที่รูจมูกสองข้างนี่ ให้มองดูรูจมูกสองข้างนี่ ให้รู้ ให้จิตนี่สงบ จะมีทั้งความรู้ จะมีความเห็น ทำใจให้สบาย ทำใจให้สบาย ใจสว่างขึ้น ตาสว่างขึ้น เราก็รู้เห็นขึ้น ให้มองดูให้ตรงลูกตาดำ ดูให้เห็นตาดำ ให้เห็นถึงตาขาวให้มองดู ให้มองเห็นที่ตาขาว ดูรูหู 2 ข้างที่ตรงกัน มองดูให้รู้เห็น กายเบาใจเบาก็ให้รู้ ว่าเรามีสมาธิแล้ว ทำใจให้รู้เห็น ที่เราขัดสมาธิ ถ้าไม่เห็นให้ลืมตาดู ลืมตาดูทั่ว ๆ ร่างกายของเรา เพ่งให้มากให้นานขึ้น

แล้วหลับตาซะให้รูปนี้รู้เห็นขึ้นมา ให้ทำแบบนี้ที่ให้คำแนะนำหรือสั่งสอนที่หลับๆ ลืมๆนี่ จะทำให้โอภาสหรือแสงสว่าง มันเกิดถ้าเราทำงานอยู่ทุก ๆ วัน เรามีเพียรมีหมั่น อยู่อย่างนี้ทุกๆ วัน นั่งไม่เกิน 3 เดือนมันไม่ทน 9 วัน 10 วัน หรือครึ่งเดือน
ไม่เป็นหรอกถ้าเพียรเอาจริงๆ นี่ เพียรรู้เพียรเห็นเหมือนอาตมาแนะนำสั่งสอน จะต้องรู้ต้องเห็นแน่นอน

อาตมาเคยนั่งอยู่ในป่าช้า นั่งจนเหงื่อเปียกผ้าจีวรหมด เหงื่อเปียกทั่วตัวหมด มันสงบ มันจะเย็น เหงื่อนี่จนเย็น กายก็เย็นใจก็เย็น เมื่อนั่ง นั่งอยู่ซักชั่วโมงเนี่ย ไม่นานหรอก มันก็สงบเอง ถ้าใจสงบแล้วมันไม่ค่อยร้อนเท่าไรหรอก
ใจมีสมาธิเพราะอย่างงั้นเราจะต้องมีเพียรกันให้มาก ธรรมะที่อาตมาอัดเทปไว้เนี่ย โยมพยายามเอาไปฟัง เอาไปทำแล้วเปิดเบา ๆ ไม่ต้องเปิดให้แรงมาก แล้วจะสงบดี หนักขึ้น ม้วนเทปนี้ก็เดี๋ยวเดียว ม้วนเทปนี้ก็เดี๋ยวเดียว ลงพอจิตมีสมาธิมาก
มันจะต้องสองหน้า เพราะศรัทธาก็ดี ศีล ตำราก็มี ทำความรู้เท่าทันคาถาขึ้น

ปฐมฌานเนี่ยะแท้จริงเนี่ยะ ถ้าศีลดี ปฐมฌานกิดกับผู้ปฏิบัติ แล้วเข้าออกได้อยู่เป็นนิจ ปฐมฌานเนี่ยะ นั่นแหละคือองค์พระโสดา นี่ ไม่ใช่อื่นไกลเลย มีหิริความละอายต่อบาปกลัวต่อบาปอยู่เสมอ เข้าฌานออกฌานอยู่เสมอ

นั่นแหละพระโสดา ก็จะรู้ขึ้นเองสามารถโสดาเนี่ยจะระลึกชาติของตัวเองได้ชาติหนึ่ง สองชาติ หรือ ๓ ชาติตามกำลังสมาธิขอให้ญาติโยมได้รักษาศีล ๕ ไว้ให้ดี นี่แหละที่เราจะรู้ขึ้นเองได้ ที่เราจะเห็นขึ้นเองได้ นี่แหละศรัทธามันจะไม่หวั่นไหว
แล้วจะรู้เลยว่า สังโยชน์นี้ดับลงไป หรือความละอายต่อบาป กลัวต่อบาป ก็เกิดขึ้นกับพระโสดาทีเดียว ขอให้พยายามทำ ญาติโยม ขอให้พยายามทำให้สงบอย่างเดียว ให้สงบแล้วให้รู้สงบอย่างงั้น

สงบจะให้รู้...รู้...รู้...รู้ทั้งคิดไม่ดี รู้ทั้งคิดดี รู้เฉย รู้เฉย ธรรมะนี่จะต้องเจริญขึ้นได้ เมื่อโยมรู้เห็นธรรมะแล้ว ธรรมะนี่จะต้องเจริญขึ้นได้ เมื่อโยมมารู้เห็นธรรมะแล้ว ทีนี้ไม่ปฏิบัติธรรมะมันเสื่อมขึ้นทีนี้จะไม่อยากนั่ง จะไม่อยากปฏิบัติ

เมื่อธรรมะเนี่ยเกิดขึ้นแล้วปฐมฌานเกิดขึ้น มันจะทั้งนั่ง ทั้งนอน ทั้งยืน ทั้งเดินพิจารณา ไม่อยากคุยมาก ไม่อยากพูดมาก มนสิการสอนใจอยู่เสมอ อยู่กับตัวเองธรรมเจริญฌานชอบเกิดขึ้นแล้ว ทีนี้เมื่อพิจารณาสติสัมปชัญญะความรู้ตัวดีแล้ว
สัมมาสติเกิดขึ้นกะเราแล้วสัมมาสมาธิเจริญฌานชอบ จิตชอบ ตั้งใจชอบเจริญฌานชอบ นี่แหละฌานเกิดแล้ว ฌานเกิดกับผู้ปฏิบัติแล้วเมื่อฌานเกิด ความวิริยะมีความเพียรมีความหมั่นมีความเจริญให้บ่อยขึ้น เนี่ยธรรมะเกิดขึ้นจะรู้

หายใจน้อยลงไปก็รู้ หายใจหยาบขึ้นก็รู้ ใจน้อยลงไปก็รู้ หายใจหยาบก็รู้ หายใจน้อยก็รู้ หายใจหยาบก็รู้ ใจละเอียดลงไปก็รู้ เหมือนไม่หายใจเลย นี่แหละจิตจะเข้ามรรคผลดี จึงเรียกว่าอย่างนี้เจริญให้มาก เจริญให้มาก

อาตมาก็แนะนำธรรมะนี่มาเป็นเวลานานแล้ว อาตมาก็แนะนำสั่งสอนญาติโยมทำสติสัมปชัญญะความรู้ตัวว่า จะออกจากสมาธิ ให้ทำความรู้สึกซะก่อน ใช้มือขวานี้ลาก ลาก ลากให้ติดขาขวานี่ แล้วให้มองดูว่า มือขวานี้ขยับเขยื้อน ทำใจรู้ ทำใจรู้
ถ้าหากว่า ใจนี่รู้เว้นแต่ตายังไม่เห็น ก็ทำอย่างนี้แหละ ทีนี้ทั้งรู้และทั้งเห็น ใช้ได้แล้วให้ดีขึ้นมากทั้งรู้และทั้งเห็นทีนี้พยายาม พยายามรู้ เอามือไปคว่ำกับหัวเข่า ทำวางใจให้เฉย ทำความรู้อยู่กับมือขวาที่เกาะเข่าขวา มือซ้ายก็เหมือนพระสดุ้งมาร
ทำเป็นองค์พระสดุ้งมาร ทำความรู้เห็นอยู่ทุกขณะ เมื่อเห็นก็ทำความรู้อยู่ นี่ แล้วใช้มือซ้ายออกไปอีก เช่นเดียวกัน ทำความรู้เห็น ทำความรู้เห็นว่า จิต กายแล้วพยายามพับมือนี้ขึ้นหัวเข่าแล้ว ถ้าไม่เห็นก็ทำความรู้

แล้วพยายามพลิกมือกลับหัวเข่าสองข้าง ทำความรู้เห็น ที่สัมผัสหรือถูกต้อง แต่ไม่เห็นเราก็ทำสัมผัส ความถูกต้องรู้ ให้รู้ๆ รู้อย่างนี้ให้มากขึ้น หนักเข้าทั้งรู้ทั้งเห็น นี้เรียกว่าทัสสนะรู้ ทัสสนะเห็น เมื่อจะเห็นอย่างนี้ก็จะเหมาะกับว่า ผู้เจริญฌานชอบ
ผู้เจริญฌานชอบ หนักเข้า ยืนก็รู้ ...เห็น นั่งก็รู้ ... เห็น ยืนอยู่ก็รู้ ...เห็น เดินจงกรม ทำความลืมตา ทำความรู้...เห็น ทีนี้ก็ไปยืน..เห็น แล้วถ้าก็บิดตัวกลับ ถ้าบิดตัวกลับ มีสติสัมปชัญญะความรู้เท่า เท่ารู้เท่าเห็น แต่เพียงกาย

แม้จะรู้ว่าเดิน เดินจงกรมมีสมาธิดี เดินก็มีสมาธิ ยืนอยู่ก็มีสมาธิ นอนอยู่ก็มีสมาธิ ทั้งรู้ทั้งเห็น เห็นทั้งหลับตา เห็นทั้งลืมตา ธรรมะที่ไม่เคยรู้เห็น มันมารู้เห็นขึ้น ท่านเรียกว่าทัสสนะ ท่านเรียกว่าฌานจิต จิตได้ฌาน จิตนี้สงบ ใจนี้ก็สงบ
การก็สงบเป็นอันเดียว กายก็ไม่กำเริบ ใจก็ไม่กำเริบ เพราะรู้อยู่อย่างนี้ อย่างนี้แหละจึงว่าผู้ปฏิบัติต้องมนสิการ ใส่ใจอยู่สม่ำเสมอๆ นี่แหละจึงเรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นี่แล้วก็มีอานุภาพมาก อยู่ทางด้านจิตใจของเรา แล้วก็เราไม่ปฏิบัติอย่างนี้
ถ้าเวลาตายเกิดทุกข์มากเนี่ย ถ้าเราตายเรามีฌานจิต เรามีฌานอยู่ ปัญญาก็มีเมื่อจะแตกดับ กายจะแตกดับกรรมนิมิต คตินิมิตก็จะสร้างมามีเทพเทวดาเขาจะลงมา ด้วยผลาอานิสงส์ที่เราที่ปฏิบัติเนี่ย ก็จะปรากฏขึ้นกับผู้ปฏิบัติ แล้วก็เทวโลกสมบัติก็ปรากฏในขณะนั้นเลย ทีนี้พญายมจะมาได้อย่างไร เรามีเทวธรรมซะแล้ว

ญาติโยมที่อาตมาสอนนี้ก็เพื่ออะไร กล่าวเพื่อจริงใจ เพื่อจะให้ศรัทธาได้แก่กล้าขึ้น แล้วก็จะได้รู้ความเป็นจริง จะได้ปฏิบัติไม่อยากเลิกจะไปบ้านก็พยายามทำอยู่เสมอ อย่างนี้จึงเรียกว่า ธรรมกระตุ้นเตือน ให้ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นที่กายใจ
ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ก็จะได้เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ เราไม่เคย ไม่เคยมีฌาน ฌานก็เกิดขึ้นปัญญาญาณก็แจ้งขึ้น หนิ จะกระตุ้นเตือนอย่างนี้จึง เราไม่ส่งเสริมโลภ โกรธ หลง เราทำให้วางว่าเดี๋ยวนี้ความโลภของเราก็ไม่มี

ความโกรธของเราก็ไม่มีหนิ แล้วเราก็ต้องถือใจว่างอยู่เสมออย่างงี้แหละเป็นอารมณ์ เราก็ไม่ได้มีมาเราก็รู้ว่าหนิความโกรธเกิดขึ้นกะเราแล้ว เราก็ทำรู้เฉย ๆ แล้วก็จะดับไปอีกเราก็ทำทีนี้เราก็จะอยู่กับความดับ มันเกิดขึ้นมาเราก็จะรู้เราก็เห็น อย่างนี้เรียกว่าสติสัมปชัญญะก็ดีสัมมาสมาธิก็ดี ปัญญาก็เกิดขึ้นหนิ

เรา เราญาติโยม สาวๆ ก็ดี เมื่อคนยังหนุ่มสาวก็ดี พยายามทำให้มาก ก็นึกว่าเราทำงานเราก็ทำสมาธิ ไม่ใช่ว่าเราทำงานเราก็เลิกทำสมาธิ ทำให้มันชำนิชำนาญ ถึงจะทำงานเราก็ทำสมาธิอยู่เสมอจะดำไร่ ดำนา เกี่ยวข้าวหรือจะค้าขายอยู่ เราก็หมั่นนึกรู้ ยืนรู้ นั่งรู้ เราก็ขายของได้อะไรได้ อย่างนี้มรรคผลมันก็เกิดขึ้นในขณะเราค้าขายหรือดำนาก็ได้ นี่ เพราะนี้เราเรียนหนังสืออยู่ กำลังตอบข้อสอบข้ออะไรเราก็ทำความรู้อยู่ หนักเข้าเราก็จะมีจิตที่ฉลาด จึงเรียกว่าพระอริยะเจ้าเกิดขึ้นในกายใจของบุคคลแล้ว ก็เป็นผู้ฉลาดนั้น

ขออย่าประมาทนะ โกรธก็เรานะ อย่างนี้ไม่ถูกนะ โกรธนี้มันอะไร ให้รู้อยู่กับความไม่โกรธดีกว่า ทีนี้ก็จะสบายขึ้น แล้วก็โกรธนี้มันทำให้แตก แตกหมู่กันได้ เกลียดกันได้ คนที่รัก ๆ นี่ก็จะทำให้หน่าย สามีภรรยาก็จะเกลียด ก็จะชังกันขึ้นเดี๋ยวนั้นแหละ พอไอ้โลภ โกรธ หลงมันดับไปแล้ว มันก็กระจู๋กระจี๊ดีขึ้นได้อีก

นี่แหละคนเรามันไม่รู้จักสติสัมปชัญญะ มันไม่มีมันก็ทำเราได้ทุกสิ่งทุกอย่างทุกประการ มันให้เราตีกันก็ได้ มันให้รักกันก็ได้ อย่างงี้ก็ตกอยู่กับอำนาจของความคนพาลนี่ อยู่ในความพาล

อาตมาก็ฝากโยมให้ญาติโยมฟัง ฟังในธรรมมะในคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ขอก็มีไม่โลภไม่โกรธก็มี ความชังก็มีอย่างงี้ความรู้ของพระพุทธเจ้าขอให้เอาความรู้ของพระพุทธเจ้านี่ไปใช้ รู้เฉย รู้เฉย รู้เฉย พอหนักเข้า หนักเข้า เมื่อเราไม่ต่อไฟขึ้นมาแล้วไฟมันก็ต้องดับไอ้ไฟนี่มันเกิดแล้วเราก็หาไม้มาใส่ไฟมันก็ลุกมากขึ้น มันก็จะเกิดเดือดร้อนกันขึ้นได้ คนบ้านเดียวก็จะต้องแตกกัน เมื่อธรรมของพระอริยะเกิดขึ้นแล้วไม่มีอะไร โลภ โกรธ หลง มันจะไปมีอะไรขึ้นในหมู่คณะได้

ขออำนาจบารมีธรรมคำสั่งสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้บำเพ็ญกันมานี่หลายวันแล้ว ก็ขอให้อำนาจบารมีธรรมนี่แหละ ถึงแม้จะสึกหาลาเพศก็ให้รักษาศีล 5 ไว้ให้ดี แล้วก็ให้เชื่อว่าติดต่อพระโสดาบันไว้ไว้ที่กายใจของเรา

เราก็จะได้เห็นทุกข์แล้วเราเอาพระโสดาบันที่เกิดขึ้นอยู่ในกายใจของเรามีหิริความละอายต่อบาป กลัวต่อบาป แล้วก็ โลภ โกรธ หลงนั้นก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ หรอกเป็นผู้สุคโต จะยืนก็ดี นั่งอยู่ก็ดีลุกไปอยู่ตรงโน้นก็ดี นอนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี จึงเรียกว่าสุคโต เป็นผู้มีความสุข ความไม่โลภ ความไม่โกรธนี่นะ พยายามฝึกเสียนะฝึกกัน แล้วพระอริยธรรมก็จะได้เกิดขึ้นที่กายใจของพวกเรา ขอเหมือนกันกับที่พุทธเจ้าเข้านิพพานนั่นหน่ะโอ้โลมปฏิโลมญาณ เข้าปฐมฌานเข้าทุติยฌาน เข้าตติยฌาน เข้าจตุรฌาน ถอยมาอีก อยู่ปฐมฌาน มาพิจารณาสัตว์มาดูสัตว์ มาดูหมู่สัตว์มีลูกศิษย์ที่เป็นอริยธรรม พระอนุรุทธ เข้าฌาน ออกฌานตามอยู่เสมอว่า องค์ที่ไม่รู้ก็ถาม ตอนนี้พระองค์กำลังชมฌานอยู่ฌานนั้ ฌานนี้

เหมือนกันกับพวกเรา ๆ นี้ก็เหมือนกันเรามากระทำก็เพื่อตามแนวทางแห่งพระพุทธเจ้า และพระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า และเราก็จะได้ชมฌานเมื่อใกล้แตกดับ เราก็จะได้พ้นทุกข์อย่างพระพุทธเจ้านั่นแหละ

เราก็พยายามทำ ดีกว่าไม่ทำเลยวันนึงก็ขอให้ได้ทำอยู่เสมอ ๆ เดินเราก็ทำ นั่งเราก็ทำ ยืนเราก็ทำ ทำอยู่ในใจของเรา เราก็รู้ขึ้นเอง ทำขึ้นเองไม่ใช่ว่าไปทำงานนี่ไม่ได้ไปทำธรรมะเลยอย่างงี้มันเฉยมาก เฉยมาก

ญาติโยมทุกคนให้จำเอาไปทำเถอะไม่ช้าธรรมะก็จะเกิดกับญาติโยม เพราะความไม่โลภ ไม่โกรธมันมีแล้วอยู่แล้ว ความโลภ โกรธ หลงก็มีอยู่เมื่อเราไม่มนสิการความโลภ โกรธ หลง มันก็เกิดกะเราได้ ทีนี้มันจะเกิดขึ้นก็เดี๋ยวเดียว

มีสติสัมปชัญญะความรู้ตัว ก็จะรู้ธรรมเห็นธรรม เห็นอารมณ์สิ่งไม่ดี เห็นอารมณ์สิ่งที่ชั่ว อารมณ์นี้เป็นธรรมที่ดีที่เจริญ มันก็จะอยู่กับความเจริญ แล้วธรรมะนี่ก็จะเกิดได้ตามที่เราปฏิบัติใจอยู่

นึกว่าสงสาร นึกว่าสงสารตัวเอง ที่มันโลภ มันโกรธ อย่าให้มันหมักหมมอยู่ในใจมันต้องเกิดละ ถ้ามันไม่เกิดเราก็ไม่รู้ เพราะอย่างงั้นเราต้องต้องรู้จักว่า ไม่เกิดไม่อยู่กับความดับ ต้องให้รู้ทั้ง 2 อย่าง มันเกิดขึ้นก็รู้ หายโกรธขึ้นก็รู้
ต้องรู้อย่างงี้ถึงจะเรียกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างงี้ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้สร้างตนให้เป็นพระอริยะ

เอาละขอบารมีธรรมที่อาตมาได้บำเพ็ญบุญมา 41 พรรษานี้แล้ว ก็ขอให้อำนาจบารมีธรรมที่เราได้ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยกัน ก็ขอให้ว่างจากความโลภ โกรธ หลง

ขอให้จริยธรรมเกิดขึ้นที่กายใจของพระอริยเจ้าสัมมาสัมพุทธก็จะเกิดมากับญาติโยมทุกคน ๆ ขอให้ได้ มรรค 4 ผล 4 พระนิพพาน 1 จงเจริญ ๆ


[มีต่อนะครับ]
http://www.baanmaha.com/community/sh...ad.php?t=29218