กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: ความรู้ทั่วไปเรื่อง"โรคเบาหวาน"

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    คนคำเขื่อนแก้ว
    Guest

    เรื่องฮิตน่าอ่าน ความรู้ทั่วไปเรื่อง"โรคเบาหวาน"

    ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานคืออะไร

    โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ
    ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

    โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร

    คนปกติเมื่อรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทแป้งจะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระเพาะอาหารและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
    เพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย โดยต้องอาศัยฮอร์โมนจากตับอ่อน คืออินสุลินเป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
    ดังนั้นถ้าตับอ่อนสร้างฮอร์โมนดินสุลินไม่ได้ หรือสร้างได้ไม่พอ เนื่องจากความต้องการอินสุลินเพิ่มขึ้นจากอินสุลินออกฤทธิ์ไม่ได้ดี
    ทำให้มีน้ำตาลในเลือดเหลือค้างมาก และมีระดับสูงกว่าปกติ จึงเกิดอาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน

    อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

    คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับพลาสม่ากลูโคส 70-100 มก./ดล.
    หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม. ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก./ดล.
    ในผู้ป่วยเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลสูงมากจนเกินความสามารถของไตในการกั้นมิให้น้ำตาลออกมาในปัสสาวะ
    (พลาสม่ากลูโคสในเลือดมากกว่า 180 มก./ดล.) จะมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ซึ่งจะดึงน้ำตามมา ทำให้สูญเสียน้ำไปด้วย
    ผู้ป่วยจึงมีอาการ ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก มีอาการหิวบ่อนรับประทานจุแต่น้ำหนักลด
    เนื่องจากร่างกายเอาน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ มีการสลายพลังงานออกมาจากไขมันและกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
    ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการคันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยเพศหญิง
    ชาปลายมือปลายเท้า ตามัว

    ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่มีอาการชัดเจน แต่ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติเป็นระยะเวลานานๆ ก็สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้

    วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้อย่างไร

    จากการตรวจระดับพลาสม่ากลูโคสตามเกณฑ์ ดังนี้

    ก. กรณีมีอาการโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวแล้วข้างต้น วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคส (อดอาหารหรือไม่ก็ได้)
    เกิด 200 มก./ดล. เพียงครั้งเดียว

    ข. ไม่มีอาการ ต้องการตรวจเช็คร่างกาย วินิจฉัยเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารเช้ามากกว่า 126 มก./ดล. 2 ครั้ง

    ค. กรณีสงสัยว่าเป็นเบาหวานแต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารเช้าไม่ถึง 126 มก./ดล.
    ให้ตรวจโดยดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่มและ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่า

    - เป็นเบาหวาน เมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชม. มากกว่า 200 มก./ดล.
    - ปกติ เมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชม. น้อยกว่า 140 มก./ดล.
    - บกพร่องต่อการคุมระดับน้ำตาล เมื่อระดับพลาสท่ากลูโคสที่ 2 ชม. อยู่ระหว่าง 140-199 มก./ดล.
    ง. ระดับน้ำตาล 10-125 มก./ดล. ถือว่าอาจมีความผิดปกติ ให้ติดตามต่อไป
    กรณีที่ปัจจัยเสี่ยงสูง สงสัยเบาหวานให้ตรวจดู ตามข้อ ค.

    หมายเหตุ ในการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลพลาสม่ากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชม.
    ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือลูกอม แต่รับประทานน้ำเปล่าได้

    ผู้ใดควรได้รับการตรวจเช็คเบาหวาน

    - ผู้มีอาการดังกล่าวข้างต้น
    - ผู้ไม่มีอาการแต่อายุเกิน 40 ปี ถ้าตรวจแล้วปกติให้ตรวจทุก 3 ปี
    - ผู้ไม่มีอาการแต่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
    - ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
    - น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน (นน.(กก)/ส่วนสูง (เมตร)2 > 25)
    - เคยแท้งหรือบุตรตายตอนคลอด
    - คลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 มก.
    - เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    - หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
    - ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

    แม้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ก็ควรหมั่นตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในข่ายสงสัย
    ก็ควรตรวจระดับพลาสม่ากลูโครเป็นระยะทุก 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
    และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้
    ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยที่วินิจฉัยได้เมื่อมีอาการชัดเจน สามารถพบโรคแทรกซ้อนได้ตั้งแต่แรก
    เนื่องจากอาจเป็นโรคเบาหวานมานานแล้ว

    สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

    เบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน)
    ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
    1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
    2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลังฮอร์โมนอินสุลินลดลง
    3. ตับอ่อนได้รับความกระทบกระเทือน
    - ตับอ่อนอักเสบ
    - อุบัติเหตุ
    4. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด หัด หัดเยอรมัน คางทูม มีผลต่อตับอ่อน
    5. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิดทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น
    หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
    6. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน

    เบาหวานมีกี่ประเภท สามารถแบ่งได้เป็น

    1. เบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน)
    2. เบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหงานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
    3. เบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน
    4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
    ในประเทศไทยพบ เบาหวานชนิดที่ 2 มากสุดประมาณร้อยละ 95

    ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของ เบาหวานประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2

    เบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทที่ 2

    มักเกิดในคนอายุน้อย (น้อยกว่า 40 ปี) มักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปี

    ผอม อ้วน
    ไม่สามารถผลิตอินสุลินได้ หรือผลิตได้เพียงเล็กน้อย ยังสามารถผลิตอินสุลินได้บ้าง หรือผลิตเป็นปกติแต่

    การตอบสนองต่ออินสุลินลดลง


    มักเกิดอาการรุนแรง อาจมีอาการเล็กน้อย รุนแรง หรือไม่มีอาการเลยก็ได้

    การรักษาจำเป็นต้องใช้อินสุลิน อาจรักษาโดยการควบคุมอาหารอย่างเดียว หรือรับประทานยา

    หรือบางรายอาจต้องฉีดอินสุลิน





    โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดี สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
    จะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
    .............................................................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มา : แผ่นพับ บริษัท แล็บบอราทอรี่ส์ โฟนิเย่ (ประเทศไทย) จำกัด พ.ญ.ยุพิน เบ็ญจสุรัตน์วงศ์


    12 กันยายน 2550
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ติ๋ม เปอร์โย; 29-03-2010 at 14:56.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •