โคพันธุ์บราห์มัน
...วัวอเมริกันบราห์มัน หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าวัวบราห์มัน เป็นวัวอินเดีย (Bos indicus) ที่ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา กล่าวกันว่าพันธุ์ที่ ประกอบกันขึ้นเป็นวัว บราห์มันนี้ ได้แก่ กุสเซอร์รัส (Guzerat) เนลลอร์ (Nellore) กีรร์ (Gyr) กฤษณะ (Krishna Valley ....

....แหล่งกำเนิดของโคบราห์มันในโลกมีจุดใหญ่ๆ 2 ที่ คือที่ สหรัฐอเมริกา และที่ออสเตรเลีย โดยที่สหรัฐอเมริกานั้นเกิดจากการนำโคพันธุ์ซีบูที่นำเข้าประเทศในราว พ.ศ.2397 หรือประมาณเกือบ 150 ปีมาแล้วมาผสมข้ามพันธุ์กันระหว่างพันธุ์ซีบู 4 สาย ได้แก่ เกอร์นาลอร์ กริสนะแวเลย์ และกูเจอราท ซึ่งนำเข้ามาจากอินเดีย จนในที่สุด พ.ศ.2467 หรือประมาณเกือบ 80 ปีมานี้ ก็มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปรับปรุงพันธุ์โคบราห์มันขึ้นที่มลรัฐเทกซัส และได้มีการกระจายประชากรไปทั่วประเทศและนอกประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่า 63 ประเทศ นับถึงปี พ.ศ.2534 พบว่ามีโคบราห์มันชั้นเลิศที่ได้รับการจดทะเบียนจากสมาคมมากกว่า 1 ล้านตัว ส่วนของประเทศออสเตรเลียนั้นก็ได้มีการผสมข้ามพันธุ์ไปมาระหว่างโคที่นำเข้าซึ่งมีเลือดซีบูเหมือนกัน จนในปี พ.ศ.2489 หรือเกือบ 55 ปีมาแล้วก็ได้มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปรับปรุงพันธุ์โคบราห์มันขึ้นด้วยการสนับสนุนจากนักปรับปรุงพันธุ์จากสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าของโคบราห์มันในสหรัฐอเมริกาจะนำของออสเตรเลียอยู่ประมาณ 25 ปี โคเนื้อในออสเตรเลีย จำนวน 30 ล้านตัวนั้นมีอยู่ในรัฐควีนแลนด์เสียเกือบ 11 ล้านตัว ซึ่งเป็นโคเนื้อพันธุ์แท้เลือดซีบูประมาณ 1.8 ล้านตัว ที่เหลือก็เป็นพวกลูกผสมและเลือดยุโรปโคบราห์มันชั้นเลิศที่จดทะเบียนกับสมาคมมีประมาณ 2 แสนตัว ที่เหลือก็เป็นพวกไม่จดทะเบียน ซึ่งมีคุณภาพด้อยลงไปกว่าพวกที่ได้รับการจดทะเบียน ...

....น้ำหนักแรกเกิด 29.49 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม 177.63 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตระยะกินนม 717 กรัม/วัน อัตราการเจริญเติบโตเพศผู้เมื่อทดสอบ 998.5 กรัม/วัน ช่วงห่างการให้ลูก 554 วัน ...

....โคบราห์มันมีโครงร่างไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป มีลำตัวใหญ่ขนาดกลาง ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 850 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 550 กิโลกรัม มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำเฉลี่ยประมาณ 28 กิโลกรัม ทำให้คลอดลูกได้ง่าย ไม่มีปัญหาในการคลอดยาก ทำให้ได้ลูกมีชีวิตรอดจนถึงวัยเจริญพันธุ์สูง เชิงกรานดี ทำให้ลูกที่เกิดไม่ฟกช้ำดำเขียว อันมีผลต่อการเจริญเติบโตหลังคลอดเป็นอย่างมาก โคบราห์มันอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ไม่โดดถีบเตะ ไม่กัด และไม่ดุร้าย รักคนเลี้ยง ...

....เนื่องจากมีเชื้อสายมาจากโคซีบู ทำให้โคบราห์มันเป็นนักเดินทนที่ยอดเยี่ยม อันสืบเนื่องมาจากส่วนของกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรงนั่นเอง พบว่าในสภาพที่ทุรกันดาร โคบราห์มันก็สามารถพาเอาตัวรอดได้โดยอาศัยพืชอาหารทีมีคุณภาพต่ำที่สุด ขณะที่โคเนื้อพันธุ์ยุโรปและลูกผสมอื่นๆ เสียชีวิตลงโดยสิ้นเชิง ......เนื่องจากโคบราห์มันเป็นโคที่มีความฉลาดมาก ทำให้มีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบด้านมาก การแสดงออกดังกล่าวนี้ทำให้คนที่ไม่เข้าใจมองภาพผิดคิดว่าเป็นโคขี้ตื่น แต่ที่จริงแล้วเมื่อโคบราห์มันได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจากเจ้าของก็จะไม่ตื่น ไม่แตะไม่ถีบหรือกัดแต่อย่างใด ซึ่งถ้าเป็นโคโง่ ลักษณะเช่นนี้จะยังไม่หายไปแม้ว่าจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีเพียงใดก็ตาม ...

....โคบราห์มันเมื่อเลี้ยงเป็นโคขุน จะโตได้วันละประมาณ 1 กิโลกรัม ด้วยอาหารข้นที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อผสมข้ามกับโคเลือดยุโรปพันธุ์ใดๆไม่ว่าจะเป็นลิมัวซิน ชาร์โรเลส์ ซิมเมนทอล เป็นต้น ก็จะได้ลูกที่โตได้วันละ 1.3 กิโลกรัมในอาหารที่มีโปรตีนมากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ จึงใช้เป็นโคพื้นฐานในการผสมข้ามพันธุ์ได้ดีเยี่ยม เพราะจะทำให้ลูกผสมที่เกิดขึ้นมีความดีเด่นเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ ความชุ่มฉ่ำของเนื้อโคบราห์มันแม้ว่าจะไม่ดีเท่ากับโคยุโรปทั่วไป แต่โคบราห์มันมีเปอร์เซ็นต์ซากไม่น้อยกว่าโคพันธุ์อื่นๆ กล่าวคือมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนดีเด่นของโคบราห์มันก็คือ มีซากที่มีส่วนทิ้งน้อยกว่าพันธุ์อื่นทำให้ลดภาระสภาวะแวดล้อมเป็นพิษขณะกำจัดของเสียจากโรงฆ่า นอกจากนี้ก็เลี้ยงถึงเวลาส่งตลาดได้ภายในเวลา 6 เดือน หากเริ่มขุนจากอายุประมาณปีครึ่งซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม และเลี้ยงขุนจนถึงน้ำหนักอย่างน้อย 420 กิโลกรัม เมื่ออายุครบ 2 ปี ...

....จุดมุ่งหมายหลักของการสร้างพันธุ์วัวบราห์มันขึ้นมาคือ การสร้างพันธุ์วัวให้มีความอดทน และมีร่างกายแข็งแรง ทำกำไรให้แก่ผู้เลี้ยงได้ ไม่ว่าอยู่ในสภาพร้อนหรือ สภาพอากาศหนาว และเพื่อให้การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดได้มาตรฐาน ในสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดตั้งสมาคมผู้เลี้ยงวัวอเมริกันบราห์มัน (American Brahman Breeders Association - ABBA)ขึ้นในปีพ.ศ. 2467 Mr. J.W. Sartwelle จาก Houston เลขาธิการคนแรกของสมาคม ABBA เสนอชื่อวัวที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้ว่า " อเมริกันบราห์มัน " และได้รับการยอมรับเป็นชื่อของวัวพันธุ์ใหม่นี้ และได้มีการจัดทำสมุดทะเบียนพันธุ์ประวัติ (Herd book) เพื่อบันทึกประวัติสายพันธุ์ของวัวบราห์มัน ขึ้น เพื่อรักษามาตรฐานพันธุ์วัวบราห์มันจึงกลายเป็นพันธุ์วัวเนื้อพันธุ์แท้พันธุ์แรกสุดที่ปรับปรุงขึ้นในประเทศอเมริกา ...

...บรรพบุรุษของวัวบราห์มันที่มีชื่อเสียง ได้แก่ แมนโซ่ (Manso) เป็นพ่อวัวที่มีโครงสร้างและลักษณะกล้ามเนื้อตะโพกดี มีนิสัยเชื่อง โตเร็ว เชื่อกันว่า 75% ของวัวอเมริกันบราห์มันในอเมริกาสืบสายเลือดมาจากพ่อพันธุ์ตัวนี้ ลักษณะเด่นของวัวในสายพันธุ์นี้คือ ลำตัวลึกมาก มีกล้ามเนื้อตะโพกมาก มีอายุผสมพันธุ์ได้เร็ว ให้น้ำนมเลี้ยงลูกมาก ทำให้ลูกเติบโตเร็ว ตัวที่มีชื่อเสียงมากในสายพันธุ์นี้คือ Elefante Manso 226/3 ซึ่งให้ลูกหลานเป็นแชมป์เปี้ยนมากมาย ....

....ซูการ์แลนด์ เล๊คคราต้า (Sugarland's Rexcrata) เป็นสายพันธุ์บราห์มันที่มีชื่อเสียงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ มีลำตัวยาว ลึก และโตเร็ว พ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากของสายพันธุ์นี้คือ Sugarland's Rexcrata 229/3 ซึ่งให้ลูกเป็นแชมเปี้ยนถึงปี 1990 เป็นจำนวนถึง 44 ตัว จึงได้ตำแหน่งเป็น Register of Renoun ในลำดับที่ 2 ...

....นอกจากนั้นก็มีสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงสายพันธุ์อื่นอีกคือสายพันธุ์อิมเพอร์ราเตอร์ (Imperator) ลักษณะเด่นคือ เป็นวัวBlack Pigment ทำให้สมารถทนร้อนได้ดี และในสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ยังสามารถเติบโตได้ดีมาก ...

....สืบเนื่องจากความดีเด่นของวัวบราห์มันของประเทศสหรัฐอเมริกานี้เอง ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนต่างตระหนักดีว่า วัวพันธุ์นี้แหละเป็นวัวที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อน จึงได้มีการนำเข้าวัวบราห์มันจากอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งต้นตอของพันธุ์นี้ไปเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก วัวบราห์ มันที่เลี้ยงกันในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 61 ประเทศนั้นเป็นวัว บราห์มันที่ได้รับการจดทะเบียนของสมาคมผู้เลี้ยงวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (ABBA) ในปี 2530 มีเกินกว่า 925,000 ตัว ...

....สายพันธุ์ซูวา (Suva) เป็นสายพันธุ์ที่ให้น้ำนมเลี้ยงลูกดี มีลักษณะรูปร่างสวยงาม ถ่ายทอดลักษณะที่ดีต่างๆ ไปยังลูกได้ดี พ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซูวา 203 (Suva 203) เป็นวัวที่ให้น้ำนมเลี้ยงลูกเป็นที่หนึ่งใน Sire Summary ปี 1989 ให้ลูกเป็นแชมเปี้ยนถึงปี 1990 ถึง 118 ตัว ...

....นอกจากสายพันธุ์บราห์มันเทาแล้ว บราห์มันแดงที่มีชื่อเสียง คือ Mr.America 61/9 ของฟาร์ม HK Ranch, Mr.Red Mayro 257/2 ของฟาร์ม วี-8 เป็นต้น ...

....การนำเข้าวัวอเมริกาบราห์มันสายเลือดดี เพื่อขยายพันธุ์เป็นพันธุ์แท้ หรือเพื่อปรับปรุงพันธุ์วัวพื้นเมืองหรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการผสมข้ามกับวัวพันธุ์อื่น เป็นการลงทุนที่ช่วยย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์วัวอย่างดีเพราะกว่าที่จะได้เป็นวังอเมริกาบราห์มันที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ เขาต้องใช้เวลาผสมและคัดเลือกพันธุ์สืบต่อเนื่องกันมาถึง 136 ปี

....วัวอเมริกาบราห์มันใช้สร้างวัวพันธุ์เนื้อขึ้นมาหลายพันธุ์ เนื่องจากวัวบราห์มันมีความดีเด่นหลายประการที่เหมาะสมกับเขตที่มีอากาศร้อน ยิ่งนำไปผสมกับวัวยุโรป ด้วยแล้วจะเป็นการรวบรวมลักษณะดีเยี่ยมของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน จะได้พันธุ์วัวพันธุ์ใหม่ที่มีความร้อน ทนโรค ทนแมลง และให้เนื้อคุณภาพดีเยี่ยม หลักการนี้เป็นที่ยอม รับกันในหมู่ผู้เลี้ยงวัวเนื้อทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติการจึงมีการสร้างพันธุ์วัวเนื้อขึ้นมาใหม่หลายพันธุ์ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เช่น .......สมาคมผู้เลี้ยงโคบราห์มัน คือ ศูนย์กลางของผู้เลี้ยงโคบราห์มันทั่วประเทศ ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิก เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2534 ได้มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคบราห์มันพันธุ์แท้ ซึ่งนำเข้าโคจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ผู้เลี้ยงโคบราห์มันลูกผสม นักวิชาการจากหน่วยงานของรัฐบาลตลอดจนนักข่าวจากนิตยสารต่างๆ ได้ร่วมปรึกษาหารือกันอย่างไม่เป็นทางการถึงการเลี้ยงโคบราห์มันในประเทศไทยทั้งในอดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ โดยมีการปรับปรุงพันธุ์กันขึ้นมาตามลำดับและได้มีผู้เลี้ยงโครายใหม่ลงทุนซื้อโคบราห์มันพันธุ์แท้มาจากอเมริกาหลายร้อยตัว นอกจากนี้ยังมีโคบราห์มันพันธุ์แท้มาจากอเมริกาหลายร้อยตัว นอกจากนี้ยังมีโคบารห์มันในโครงการอีสานเขียว เข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย หลายพันตัวแต่ทว่าในประเทศของเรายังไม่มีองค์กรที่ทำงานในลักษณะสมาคมเพื่อรองรับการเติบโตของกิจการเลี้ยงโคบราห์มันอาทิ เช่น การจดทะเบียนพันธุ์ประวัติ การสนับสนุนด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งๆที่เราได้มีการเลี้ยงและส่งเสริมกิจการโคบราห์มันกันมาหลายสิบปีแล้ว กลุ่มบุคคลเหล่านี้เล็งเห็นพ้องต้องกันว่าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป การเลี้ยงโคบราห์มันจะไม่เป็นปึกแผ่น ไม่มีมาตรฐานทัดเทียมกับประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านนี้โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ ดังนั้นจึงได้มีการนัดประชุมเพื่อก่อตั้ง สมาคมขึ้นมา เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 ตุลาคม 2534 ณ.ห้องอาหารจิตรโภชนา ดอนเมือง มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 16 คน โดยประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อริเริ่มตั้งสมาคมโดยลงมติใช้ชื่อว่า "สมาคมบราห์มันแห่งประเทศไทย" ซึ่งการทำงานระยะแรกจะใช้ชื่อเป็น "ชมรมบราห์มันแห่งประเทศไทย" เพื่อดำเนินงานจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามกฏหมายในอนาคตที่ประชุมลงมติให้ นายชนะชัย สมบูรณ์กุลวุฒิ เป็นประธานชมรม หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานก้าวหน้ามาเป็นลำดับ มีสมาชิกเพิ่มจำนวนขึ้นหลายราย จากการประชุม เมื่อวันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535 ณ. ห้องอาหารจิตรโภชนา ลาดพร้าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 11 คน และได้ลงมติเห็นสมควรจัดตั้งสมาคมได้แล้ว และได้เปลี่ยนชื่อจากที่ได้ตั้งไว้เดิมเป็น "สมาคมผู้เลี้ยงโคบราห์มัน (ส ผ บ) " มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Brahman Breeders Association (BBA)" ...
>> ความรู้เรื่องวัว (งัว) เผื่อมี่คอเดียวกัน <<.