ตำราพิชัยสงคราม แบบฉบับย่อของซุนวู (การวางกำลัง)



ตำราพิชัยสงคราม  แบบฉบับย่อของซุนวู  (การวางกำลัง)



การวางกำลัง
จงเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของการรบที่ประสบความสำเร็จ
สิ่งแรก คือ ต้องหาทางไม่ให้ข้าศึกได้รับชัยชนะ
ต้องใสใจในข้าศึกเพื่อหาหนทางเอาชนะข้าศึก
มีแต่เราเท่านั้นที่จะสามารถป้องกันไม่ให้ข้าศึกได้รับชัยชนะ
และมีแต่ข้าศึกเท่านั้นที่จะยอมให้เราชนะได้
เราจะไม่สามารถได้รับชัยชนะ นอกจากข้าศึกจะอำนวยให้ชนะ
ชัยชนะย่อมตกเป็นของผู้ที่ชนะอย่างง่ายดาย
สงครามที่ดี คือ สงครามที่ชนะได้อย่างชัดแจ้ง
การได้มาซึ่งชื่อเสียง ไม่จำเป็นต้องใช้ความหลักแหลม
การได้มาซึ่งความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องใช้ความหาญกล้า

การตั้งรับ
บางครั้งเราไม่สามารถชนะ จึงต้องตั้งรับ
แต่ในที่สุดจะสามารถชนะได้ เมื่อถึงเวลาแล้วให้โจมตี
ตั้งรับเมื่อมีกำลังไม่พอ โจมตีเมื่อกำลังเกินพอ
พึงตั้งรับให้ดี รักษากองทัพไว้ด้วยการขุดหลุมตั้งค่าย
ต้องโจมตีให้ดี

เคลื่อนกำลังเมื่อแน่ใจว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ
พึงป้องกันตนเองให้ดีจนกว่าจะได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์
บางคนอาจเห็นว่า จะชนะได้อย่างไร
การป้องกันความพ่ายแพ้ ย่อมนำมาซึ่งชัยชนะ
-
พึงชนะให้ง่ายดายดุจการหยิบปอยผม อย่าใช้กำลังทั้งหมด
มองหาช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนทัพ
อย่าได้มองหนทางที่ปราดเปรื่อง
ฟังเสียงฟ้าร้องคำราม อย่าได้เงี่ยหูฟังอะไรที่บางเบากว่านั้น
เข้าโรมรันเมื่อแน่ใจว่าจะชนะสงคราม
อยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีทางพ่ายแพ้
อย่าได้ปล่อยโอกาสที่จะเอาชนะให้หลุดลอย
จงมันใจว่าจะชนะสงคราม
จากนั้นค่อยแสวงหาการรบ
เอาชนะด้วยสติปัญญาเสียก่อนเริ่มทำสงคราม
จากนั้นเข้าสัพยุทร์เพื่อชัยชนะ
ทำสงครามให้เกิดผล
ด้วยความรู้ทางการทหาร และกลวิธีในการตั้งรับ
จะสามารถควบคุมชัยชนะ และความพ่ายแพ้

หลักการทำสงครามมี
1. ระยะทาง
2. จำนวน
3. การพิจารณา
4. การตัดสินใจ
5. ชัยชนะ

การคำนวน
พื้นที่กำหนดระยะทาง ระยะทางกำหนดจำนวน
จำนวนกำหนดการพิจารณา การพิจารณากำหนดการตัดสินใจ
การตัดสินใจกำหนดชัยชนะ

การรบให้ชนะเป็นเรื่องของการใช้คน
เราต้องเทคนเข้าไปในสมรภูมิ ให้เหมือนกระแสน้ำ
ที่ถั่งโถมเข้าท่วมท้นช่องเขา
มันเป็นเรื่องของการวางกำลัง




http://genocide.exteen.com/20060823/entry