กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day

  1. #1
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    บ้านมหาโพสต์ วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day

    วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day
    "... ทหาร มีหน้าที่หลักอยู่ที่การป้องกันประเทศ และการธำรงรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ ไว้ด้วยแสนยานุภาพ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ด้านอื่นอีกซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกัน คือ การบำบัดบรรเทาความทุกข์ยาก และการปฏิบัติพัฒนาให้บังเกิดความเจริญร่มเย็นแก่บ้านเมืองและประชาชน หน้าที่นี้ดูกันอย่างผิวเผินจะเห็นว่าไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าพิจารณาดูให้กระจ่างชัดแล้ว จะเห็นตามความเป็นจริงว่า ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศนั้น นอกจากจะมีกำลังรบและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เข้มแข็งพร้อมมูลแล้ว ยังจำเป็นที่ประชาชนจะต้องมีชีวิตอยู่ ด้วยความร่มเย็นเป็นปรกติสุขปลอดจากภยันตราย และความเดือดร้อนยากเข็ญต่าง ๆ ด้วย เมื่อความสำคัญและจำเป็นมีอยู่ดังนี้ ทหารจะต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมการให้พร้อมทุกเมื่อ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้พร้อมเพรียง คล่องตัว มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าด้านยุทธการ หรือด้านร่วมมือประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ ในการเกื้อกูล สนับสนุน ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน และช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อน ในเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างทันการณ์ ทันเวลา และทันท่วงที จึงขอให้ทหารทั้งหลายได้ตระหนักในหน้าที่ของตน แล้วร่วมมือกันใช้ความรู้ ความสามารถ และสติปัญญา ปฏิบัติภารกิจทั้งปวงอย่างมีเอกภาพ ให้สัมฤทธิ์ผลเป็นคุณประโยชน์ เป็นความวัฒนาถาวรแก่ประเทศชาติและประชาชน ..."

    พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๘

    ความเป็นมา "วันกองทัพไทย"

    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ กระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ ๘ เมษายน ซึ่งเป็นคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหม เป็นวันกองทัพไทย ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ สมัยที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เห็นว่าวันกองทัพไทยควรเป็นวันที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงความกล้าหาญและเสียสละ จึงได้กำหนดเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี

    วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ซึ่งตรงกับวันเดือนปีของจันทรคติ คือวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ทั้งนี้ได้มีผู้คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๑๓๖

    คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๓ กำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา

    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งอดีตท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขและคณะกรรมการที่ปรึกษาอีกหลายหน่วยงาน ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้้อย่างจริงจังในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส ได้พบความคลาดเคลื่อนของวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี และวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบดาภิเษก จึงได้มีหนังสือพร้อมข้อมูลของวันกองทัพไทย เสนอไปสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๙ เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไข วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาติไทยที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ๒ เรื่องคือ
    ๑. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือ “วันกองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ คือวันที่ ๒๕ มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ ๑๘ มกราคม
    ๒. วันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตราธิราชของไทย ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้คือ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ ๒๗ ธันวาคม
    - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องมอบให้คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมี หม่อมเจ้าสุภัทรดิศดิศกุล เป็นประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยมีผลการพิจารณาดังนี้

    “….คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า
    ๑.วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ได้เคยมีการคำนวณไว้ เมื่อประมาณ ๔๐ ปีมาแล้ว โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ว่าตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม และ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ได้คำนวณ และเขียนบทความไว้ว่าตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม เช่นกัน
    ๒.สาเหตุที่ได้กำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง กระทำยุทธหัตถีฯนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณนคร รองประธานกรรมการ ให้ข้อสันนิษฐานว่า ผู้คำนวณสำคัญผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ ๑๕ หรือ๑๖เมษายนมาตลอด แต่แท้จริงวันเถลิงศก เพิ่งมาตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ และเริ่มตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายนบ้าง วันที่ ๑๖ เมษายนบ้าง มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งในปีที่กระทำยุทธหัตถี วันเถลิงศก ตรงกับวันศุกร์ที่ ๙ เมษายน แต่ผู้คำนวณคิดว่า วันเถลิงศกปีนั้น ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๖ เมษายน จึงคำนวณวันผิดไป ๗ วัน
    ๓.การที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า เป็นวันที่ ๒๕ มกราคม มาเป็นวันที่ ๑๘ มกราคม นั้น เป็นเรื่องของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องพิจารณาเอง เพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า วันที่ถูกต้องตามการคำนวณ คือวันที่ ๑๘ มกราคม ก็คงจะเพียงพอแล้ว….”
    (ที่มา หนังสือคณะกรรมการ ชำระประวัติศาสตร์ไทยที่ นร ๐๑๑๓ (ปวศ.) ๒๒๗๔/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐)

    - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ทราบดังนี้

    “….ตามที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขวันสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง คือ
    ๑.วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา หรือวัน “กองทัพไทย” ซึ่งปัจจุบัน กำหนดให้ตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม ที่ถูกต้องคือ วันที่ ๑๘ มกราคม….. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มอบให้ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พิจารณาเรื่องดังกล่าว และกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาให้แจ้งผลการพิจารณา ของคณะกรรมการฯ ให้ท่านทราบ….”
    (ที่มา หนังสือสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร๐๑๑๓/๑๖๖๕๘ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคมพ.ศ.๒๕๔๐)

    - หนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่อ้างถึงนี้ได้แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบด้วย แต่ไม่ทราบผลการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม

    - เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้มีหนังสือเสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอให้เปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย โดยท่านให้ข้อคิดเห็นว่า ท่านได้ศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยใช้หลักวิชาโหราศาสตร์ดวงดาว ทั้งฮินดู และตะวันตกมาคำนวณ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของวันดังกล่าวว่าถูกต้องหรือไม่?

    - จากเอกสารที่เสนอกองบัญชาการทหารสูงสุด กรมยุทธศึกษาทหาร ได้นำเสนอในที่ประชุมกรมเสนาธิการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด มีรายละเอียดดังนี้

    ตามที่ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ นายตำรวจนอกราชการ ได้มีหนังสือนำเรียน ผบ.ทหารสูงสุด เสนอให้พิจารณาเปลี่ยนวันกองทัพไทย จาก ๒๕ ม.ค. เป็น ๑๘ ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา ยศ.ทหาร มีข้อพิจารณาดังนี้
    ๑. การประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ ๑๒/๒๒ เมื่อ ๒๒ ธ.ค.๒๒ ได้มีมติ กำหนดให้วันที่ ๒๕ ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา เป็นวันกองทัพไทย ซึ่ง ครม.ได้ลงมติเห็นชอบและอนุมัติ และเมื่อ ๒๘ มิ.ย.๒๗ ที่ประชุมสภากลาโหม ได้มีมติยืนยันว่าวันที่ ๒๕ ม.ค. ถือเป็นวันกองทัพไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทางราชการแล้ว และหากมีการเปลี่ยนแปลง วันที่กระทำยุทธหัตถี รัฐบาลต้องประกาศเปลี่ยนแปลง
    ๒. สำนักนายกรัฐมนตรีได้ยืนยัน และแจ้งให้ กห.ทราบ เมื่อ ๒๑ ส.ค.๔๑ ว่าวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ที่ถูกต้องคือ วันที่ ๑๘ ม.ค. ประธานให้ใช้วันที่ ๒๕ ม.ค. เป็นวันกองทัพไทยตามเดิม จนกว่าทางรัฐบาล จะมีหนังสือแจ้งว่าวันใด เป็นวันกระทำยุทธหัตถี ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่แน่นอน บก.ทหารสูงสุด จึงจะดำเนินการต่อไป

    (ที่มา: พล.ต. สุริยน เผือกสกนธ E – mail : suriyon@schq.mi.th)


    ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้วันที่ 18 มกราคมของทุกปี เป็นวันยุทธหัตถีและวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดวันกองทัพไทยสอดคล้องกับเหตุผลที่ยึดถืออยู่เดิม

    คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม


    ภารกิจกองทัพไทย

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติไว้ว่า "รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ" เพื่อให้บรรลุภารกิจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

    กระทรวงกลาโหมได้กำหนดวัตถุประสงค์ทางทหาร ดังนี้

    1. เพื่อป้องปราม ป้องกัน และต่อสู้เอาชนะภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ
    2. เพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    3. เพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบภายในประเทศ
    4. เพื่อสนับสนุนและร่วมใจพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทา สาธารณภัย
    5. เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ชาติ
    6. เพื่อร่วมมือกับมิตรประเทศตามนโยบายของรัฐในการรักษาสันติภาพและการป้องกันร่วมกัน

    วิวัฒนาการกองทัพไทย

    กองทัพไทยเป็นสถาบันที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่ครั้งชนชาติไทยมาก่อตั้งรกรากในดินแดนแหลมทองแห่งนี้ กองทัพไทยมีความสัมพันธ์กับสังคมไทยอย่างแนบแน่นมาโดยตลอด โดยมีหน้าที่หลักในการปกป้องคุ้มครองชาติ ผืนแผ่นดิน และประชาชนในชาติให้ได้รับความปลอดภัย ธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย คนไทยทุกคนต่างมีส่วนร่วมในกองทัพไทย โดยเฉพาะผู้ชายที่จะต้องถูกเรียกไปเป็นทหารเมื่อเกิดศึกสงคราม ครั้นเมื่อกองทัพไทยปรับเปลี่ยนไปอย่างประเทศตะวันตก

    สมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ.๑๘๐๐)

    เมื่อครั้งสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช การจัดการทางทหารยังไม่เป็นระเบียบแบบแผนนัก ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหาร ต้องออกรบเมื่อเกิดศึกสงคราม และเตรียมพร้อมในยามปกติเพื่อรับศึกจากศัตรูภายนอก ไม่มีแบ่งแยกระหว่างพลเรือนกับทหาร ทุกคนต่างมีส่วนร่วมในกองทัพ และเมื่อบ้านเมืองสงบก็กลับไปทำไร่ไถนาเหมือนชาวบ้านทั่วไป

    สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐)

    มีการปรับปรุงด้านการทหารให้เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพขึ้น มีการจัดเป็นรูปกองทัพ แยกกิจการทหารออกจากพลเรือน โดยแบ่งทหารออกเป็น ๔ เหล่า คือ พลเดินเท้า พลม้า พลช้าง พลรถ มีการรวบรวมตำราพิชัยสงคราม สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติการรบ ชายไทยทุกคนเมื่ออายุ ๑๘ ปี ต้องถูกเรียกเกณฑ์เป็นทหาร สมัยอยุธยาตอนปลาย ไทยได้เปิดการเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส กองทัพไทยจึงได้รับวิทยาการทหารแบบตะวันตก โดยมีการฝึกหัดทหารแบบยุโรป มีการแบ่งทหารออกเป็นกอง กองละ ๕๐ คน

    สมัยธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๒๕)

    เริ่มมีการแบ่งกำลังออกเป็นกำลังทางบก และกำลังทางเรือ มีการพัฒนากิจการทหารเรืออย่างเห็นได้ชัด มีการสร้างเรือรบเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก สำหรับสนับสนุนการปฏิบัติการของกำลังทางบกในการโจมตีข้าศึกและยกไปตีหัวเมืองต่าง ๆ

    สมัยรัตนโกสินทร์

    มีการพัฒนากิจการทหารทั้งในด้านการเตรียมพล การเกณฑ์พลเรือนเข้าเป็นทหาร การแบ่งเหล่าทหาร การจัดหน่วยทหาร การสั่งซื้ออาวุธจากจีน อินเดีย และชวา กองทัพไทยเริ่มมี วิวัฒนาการไปแบบตะวันตกตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการฝึกทหารตามแบบตะวันตก โดยจ้างทหารต่างชาติเข้ามาเป็นครูฝึก และได้แยกทหารเรือออกจากทหารบก จัดตั้งเป็นทหารเรือวังหน้า กับทหารมะรีน

    สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงกิจการทหารในด้านต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ทั้งทหารบกและทหารเรือ และเมื่อบรรดาพระราชโอรสทรงสำเร็จการศึกษาแล้ว ต่างก็ทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงการทหารของไทย ทั้งด้านการจัด อาวุธยุทโธปกรณ์ และยุทธวิธี มีการจัดตั้งหน่วยงานสำคัญทางทหาร ดังนี้

    * พ.ศ.๒๔๑๓ กรมทหารมหาดเล็ก
    * พ.ศ.๒๔๓๐ กรมยุทธนาธิการ
    * พ.ศ.๒๔๓๐ โรงเรียนนายร้อยทหารบก
    * พ.ศ.๒๔๓๕ กระทรวงกลาโหม
    * พ.ศ.๒๔๔๑ กรมเสนาธิการทหารบก
    * พ.ศ.๒๔๔๒ โรงเรียนนายเรือ

    สำหรับการจัดกำลังรบของทหารบก มีการจัดกำลังรบออกเป็น ๑๐ กองพล ส่วนทหารเรือ มีการจัดตั้งกรมทหารเรือ ขึ้นอยู่ในกรมยุทธนาธิการ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ ทำหน้าที่บังคับบัญชาทหารเรือทั้งหมด ได้เริ่มมีการจัดทำธงประจำกองทหารขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ สำหรับใช้เป็นธงนำทัพในยามออกรบ และได้ตราพระราชบัญญัติธงชัยเฉลิมพลขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔

    สมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งนายทหารช่าง ๓ นาย (พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ, น.อ.พระยาเวหาสยานศิลป์ประสิทธิ์ และ น.อ.พระยาทะยานพิฆาต) ไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วจัดตั้งแผนกการบินขึ้น พ.ศ.๒๔๕๖ มีที่ตั้งอยู่ที่สนามม้าสระปทุม และต่อมา พ.ศ.๒๔๕๗ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกองบินทหารบก พ.ศ.๒๔๖๔ เปลี่ยนชื่อเป็นกรมอากาศยาน พ.ศ.๒๔๗๘ เปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารอากาศ





    สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน กองทัพไทยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นแบบตะวันตก กองทัพไทยมีการจัดกำลังรบเป็น ๓ เหล่าทัพ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ (เปลี่ยนชื่อจากกรมทหารเรือ พ.ศ.๒๔๗๖) และกองทัพอากาศ (ยกฐานะเป็นกองทัพอากาศ ๙ เมษายน ๒๔๘๐) และเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ ภายหลังจากที่ไทยได้รับการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ ได้มีการปรับปรุงหลักนิยม การจัดหน่วยและยุทโธปกรณ์จากแบบยุโรปเป็นแบบสหรัฐอเมริกา ต่อมา ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๕ สถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ ทำให้มีโรงเรียนผลิตนายทหารหลักครบทั้ง ๓ เหล่า

    กำเนิดกองบัญชาการทหารสูงสุด

    กองทัพไทยเคยจัดตั้งกองบัญชาการทหารชั่วคราวเพื่อบัญชาการรบมาแล้ว ๒ ครั้ง คือ กรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส (พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔) และสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.๒๔๘๕-๒๔๘๗) ซึ่งจากการจัดตั้งกองบัญชาการดังกล่าวช่วยให้การบัญชาการรบเป็นไปอย่างมีเอกภาพ กระทรวงกลาโหมจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งกองบัญชาการทหารอย่างถาวร เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ จึงได้แปรสภาพกรมเสนาธิการกลาโหมมาเป็นกองบัญชาการทหารสูงสุด สำหรับเป็นหน่วยบัญชาการรวมของกองทัพไทย มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาและประสานการปฏิบัติของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

    บทบาทกองทัพไทย

    การป้องกันประเทศ

    กองทัพไทยได้จัดทำแผนป้องกันประเทศไว้สำหรับรับสถานการณ์จากภัยคุกคามทุกด้าน และจัดให้มีการฝึกร่วมกองทัพไทยเป็นประจำทุกปี มีการจัดเตรียมกำลังรบพร้อมปฏิบัติตามแผนตั้งแต่ยามปกติ เฝ้าติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงชายแดน โดยดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางชายแดน ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งแก้ปัญหาผู้อพยพ ผู้หลบหนีเข้าเมือง ทั้งนี้กองทัพไทยได้จัดเตรียมกำลังเพื่อรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามแนวชายแดน โดยวางกำลังไว้ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ล่อแหลม เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยจากกองกำลังต่างชาติ นอกจากนี้กองทัพไทยยังได้ร่วมมือกับส่วนราชการอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาตามแนวชายแดน ดำเนินการโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเอง พัฒนาพื้นที่ และอบรมราษฎรในพื้นที่ให้รักถิ่นฐาน ไม่อพยพออกจากพื้นที่ และสามารถป้องกันตนเองจากภัยคุกคามได้

    การรักษาความมั่นคงภายใน

    กองทัพไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ร่วมปลุกจิตสำนึกและอุดมการณ์ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความเข้าใจทางความคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตย ปฏิบัติการด้านการข่าวและการปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากประชาชนในการให้ข่าวสารกับทางราชการ ปราบปรามยาเสพติดโดยสร้างแนวป้องกันชายแดน เพื่อปัญหาการลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่ประเทศไทย

    การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

    ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายสากลนับเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ และภัยต่อความสงบเรียบร้อยในประเทศ พ.ศ.๒๕๔๐ กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วม ๑๐๖ (ศอร.๑๐๖) เพื่อรับผิดชอบโดยตรง ต่อมา พ.ศ.๒๕๔๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.) ทำหน้าที่เป็นองค์กรประสารการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์การก่อการร้ายสากลขึ้น

    การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

    สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมิ่งขวัญที่เหล่าทหารเทิดทูนไว้เหนือเกล้า ฯ พร้อมที่จะถวายชีวิตเป็นราชพลี กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์





    การรักษาผลประโยชน์ของชาติ

    กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า รักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล ขจัดปัญหาความขัดแย้งในการทำประมง ช่วยแหลือผู้ประสบภัย และบรรเทาสาธารณภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ และร่วมแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยการปฏิบัติการฝนหลวงตามโครงการพระราชดำริ

    การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

    กองทัพไทยได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กับภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน รวมทั้งการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของประเทศไว้ ร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เช่น ปลูกป่าชายเลน อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล อนุรักษ์ปะการัง พัฒนาพื้นที่ในกองทัพให้เป็นระเบียบ สวยงาม

    การพัฒนาประเทศ

    ภารกิจในการพัฒนาประเทศของกองทัพไทยนั้นมีทั้งโดยตรงและทางอ้อม ในทางตรงนั้นได้กำหนดไว้ตามแผนการปฏิบัติงานประจำปีของแต่ละหน่วย โดยใช้กำลังพลและงบประมาณของกองทัพในการดำเนินการ สำหรับทางอ้อมนั้นได้สนับสนุนภาครัฐและเอกชนตามโครงการพัฒนาประเทศ และพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง

    กิจกรรมในวันกองทัพไทย

    กิจกรรมที่จะกระทำในวันกองทัพไทยคือ พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่นิยมเรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหารทุกคน และเพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมและเป็นการสักการะดวงวิญญาณนักรบไทย จะมีพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ทางทหาร เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ทหารอาสา อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ฯลฯ

    ที่มาจาก http://www.do.rtaf.mi.th/Library/ArmForceDay.htm
    ขอบพระคุณสมาชิกและทีมงานที่เคารพรักทุกท่าน

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    re: วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day

    ยายยังหลงเข้าใจผิดคิดว่าวันกองทัพไทยตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่พอได้มาอ่านกระทู้นี้ทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระ ขอบคุณมากค่ะ.....วมต.คนดีที่หนึ่งของฉันค่ะ
    และยายขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้เหล่าขุนพลทหารกล้าจงมีแด่ความสุขแค้ลวคลาดปลอดภัยจากภยันตรายด้วยเทอญ
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    re: วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day

    re: วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day
    พลีร่าง กลางสมร
    เพื่อราญรอน อริร้าย..
    ปกป้อง แผ่นดินไทย..
    ไล่อมิตร อุทิศตน..

    เสียงปืน ดังแผดก้อง..
    เลือดไหลนอง เต็มถนน..
    กี่นาย ที่วายชนม์..
    แล้วกี่คน ที่เสียใจ..

    หลับเถิด หทารกล้า..
    ท่านเกิดมา มีความหมาย..
    สมแล้ว ลูกผู้ชาย..
    พลีใจกาย เพื่อแผ่นดิน..

    ขอส่ง กำลังใจ..
    นักรบไทย ในทุกถิ่น..
    ชนะ เหล่าอริน..
    ไล่ทมิฬ พ้นแดนไทย..

    แด่ทหารกล้า ..
    เนื่องในวันกองทัพไทย 18 มกราคม ค่ะ.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    re: วันกองทัพไทย Thai Armed Forces Day

    ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ที่ได้รับนะคะ

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5
    ------ ยายขออนุญาตเติมเต็มเด้อคร้า---------
    วันกองทัพไทย
    วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ใน วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135 (บางตำราว่า ปีพุทธศักราช 2136)

    เดิมกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พุทธศักราช 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันกองทัพไทย และวันสถาปนากระทรวงกลาโหมลง 13 มิถุนายน 2513 ต่อมาในภายหลัง ได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็น วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม (ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย ลง 23 สิงหาคม 2549) ในปัจจุบัน วันที่ 18 จึงถือเป็น "วันยุทธหัตถี" "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" หรือ " วันกองทัพไทย "

    * ประวัติวันกองทัพไทย

    ประวัติวันกองทัพไทย

    ในปี พุทธศักราช 2135 พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมก ไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวง บริเวณหนองสาหร่าย เช้าของวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2135 สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะ งา คือ ช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้ว หรือเคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่า หลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์ และจาตุรงค์บาทเท่านั้น ที่ติดตามไปทัน สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้ กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรง ของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบ ของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกัน ให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราไม่มีอีกแล้ว" พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอ เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพ ชนพลายพัทธกอ เสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

    ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้ปืนระดมยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเลย

    พระแสงของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประหารพระมหาอุปราชาครั้งนั้น ได้นามต่อมาว่า "พระแสงแสนพลพ่าย" และพระมาลาที่ถูกฟันปรากฏนามว่า "พระมาลาเบี่ยง" นับเป็นเครื่องมงคลราชูปโภคมาจนบัดนี้ ส่วนช้างศึกที่ชนะก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"

    ข้อมูลจาก: http://guru.sanook.com/pedia/topic/
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย nuzing; 24-01-2010 at 23:17.
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  6. #6
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย

    ๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย

    ในวันที่ 18 มกราคม 2550 ประกาศเป็นวันกองทัพไทยเป็นปีแรก ซึ่งก่อนหน้านี้คือ“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

    ๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย

    “วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จ พระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ อันตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” (แทน วันที่ ๒๕ มกราคม เนื่องจากนายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับ วันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ที่กำหนดเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

    ยุทธหัตถี หมายถึง การ ต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อย มาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้

    ใน สมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระ อินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์ ครั้งที่สองในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต และครั้งที่สาม ก็คือครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็น ที่เลื่องลือไปไกล

    หลังจากนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใด กล้ายกทัพมารุกรานเรานานถึง ๑๕๐ ปี ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ ๔๑๕ ปีแห่งวันกระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

    สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ ๑๘ แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ทรงมีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์สุโขทัยองค์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระ บิดา และมีพระวิสุทธิกษัตรี ผู้เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และพระสุริโยทัยวีรกษัตรีย์ของไทยเป็นพระมารดา จึงอาจกล่าวได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับพระสายโลหิตความเก่งกล้าสามารถ สืบเนื่องมาจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางพระชนก และเลือดพระสุริโยทัยซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกา(ยาย)ทางพระมารดาทรง มีพระสุพรรณกัลยา เป็นพระพี่นาง และมีพระเอกาทศรถเป็นพระอนุชา เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง และความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา ทำให้ทรงไม่มีพระมเหสีและพระราชโอรสธิดา ดังนั้น เมื่อเสด็จสวรรคต พระเอกาทศรถจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา

    สมเด็จพระนเรศวร มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเชี่ยวชาญการรบยิ่ง ทรงฉลาดในการวางแผนยุทธวิธีและอุบายกระบวนศึกที่ไม่เหมือนผู้ใดในสมัยเดียว กัน ทรงเป็นผู้ริเริ่มการรบแบบกองโจร คือ ใช้คนน้อยแต่สามารถต่อสู้กับคนจำนวนมากได้ พระองค์มีความสามารถในการใช้อาวุธที่ทำการรบแทบทุกชนิดอย่างเชี่ยวชาญยากจะ หาผู้ใดเสมอเหมือนไม่ว่าจะเป็นปืน ดาบ ทวนหรือง้าว เป็นต้น

    ฝีมือ การรบของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเก่งกาจจนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ข้าศึกศัตรู ดังปรากฏในพงศาวดารพม่าพอสรุปได้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงตัดพ้อว่า ไม่มีใครที่จะอาสามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาเลย ทั้งๆที่พระนเรศวรมีรี้พลแค่หยิบมือเดียว แต่ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง พระยาลอ ขุนนางคนหนึ่ง จึงทูลว่า กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญที่พระนเรศวรองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่ม รบพุ่งเข้มแข็งทั้งบังคับบัญชาผู้คนก็สิทธิ์ขาดรี้พลทั้งนายไพร่กลัวพระ นเรศวรยิ่งกว่ากลัวความตาย เจ้าให้รบพุ่งอย่างไรก็ไม่คิดแก่ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น คนน้อยจึงเหมือนคนมาก ข้อความดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้อย่างชัดเจน

    อาจกล่าว ได้ว่าตลอดพระชนมชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่เคยทรงอยู่อย่างสะดวกสบายและต้องทรงกระทำการรบมาโดยตลอด กล่าวคือ เมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษาก็ต้องไปเป็นตัวประกันที่หงสาวดีอยู่ ๖ ปี ครั้นเสด็จ กลับมากรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ปีต่อมาพระบิดาก็ส่งไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด ได้ทรงจัดฝึกทหารแบบใหม่ พอพระชนมายุ ๑๙ พรรษาทรงยกกองทัพไปพร้อมพระบิดาเพื่อช่วยทัพหลวงกรุงหงสาวดีตีเมืองเวียง จันทร์ ครั้นพระชนมายุ ๒๓ พรรษา ได้ลงเรือไล่ติดตามพระยาจีนตุขุนนางจีนเมืองเขมรที่หนีไป โดยใช้พระแสงปืนยิงต่อสู้ด้วยพระองค์เอง อย่างไม่หวาดหวั่นหรือหลบกระสุนที่ยิงโต้กลับมาเลย จนศัตรูยิงถูกรางพระแสงปืนที่ทรงอยู่แตกไป

    แม้จะจับพระยาจีนตุ ไม่ได้แต่ความกล้าหาญของพระองค์ก็เป็นที่เลื่องลือ ครั้นพระชนมายุ ๒๔ พรรษา ก็ทรงเป็นแม่ทัพไล่ตีพระทศราชา ซึ่งคุมกองทัพเขมรมาตีโคราชและหัวเมืองชั้นในจนได้ชัยชนะทั้งๆที่กำลังน้อย กว่ามาก จนเขมรขยาดไม่กล้ามารุกรานอีก พอพระชนมายุได้ ๒๖ พรรษาได้แสดงพระปรีชาสามารถในการวางแผนการรบจนตีเมืองคังได้สำเร็จ ขณะที่อีก ๒ กองทัพของพม่าตีไม่สำเร็จ พอพระชนมายุ ๒๙ พรรษาได้ยกทัพไปช่วยรบเมืองอังวะตามคำสั่งหงสาวดี และได้ทราบกลอุบายว่าทางพม่าจะกำจัดพระองค์ จึงแสร้งเดินทัพช้าๆ และต่อมาก็ได้ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อพ.ศ. ๒๑๒๗ ทำให้กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามา ๑๕ ปี ไม่ต้องขึ้นกับพม่าอีกต่อไป

    ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง)จึงให้สุรกรรมายกทัพมาตามจับพระองค์ๆจึงได้ยิงปืนข้ามแม่น้ำสะ โตงถูกสุรกรรมาตาย ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา พระมหาธรรมราชา พระบิดาสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และได้ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราชา แต่ให้มีพระเกียรติสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินอีกองค์หนึ่ง ครั้นพระชนมายุ ๓๗ พรรษา ก็ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา พระชนมายุ ๔๐ พรรษาเสด็จยกทัพไปตีเมืองเขมร จับพระยาละแวกมาทำพิธีปฐมกรรม (คือตัดศีรษะเอาโลหิตมาล้างพระบาท) และแม้แต่ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ พระองค์ก็ยังอยู่ในระหว่างการยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี)ที่พระพักตร์และเป็นพิษจนเสด็จสวรรคตเสียก่อนในปีพ.ศ. ๒๑๔๘ รวมสิริพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี

    ในหนังสือ ๔๐๐ ปีสมเด็จพระนเรศวร ที่เรียบเรียงโดยนายสมชาย พุ่มสอาด นายสมพงษ์ เกรียงไกรเพชร และนายกมล วิชิตสรศาสตร์ ได้ เขียนไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นกษัตริย์ที่ปรากฏว่าทรงรอบรู้ศิลปศาสตร์ ถึง ๑๘ อย่าง อันเป็นวิทยาการสำคัญสำหรับขัตติยราชในโบราณอย่างยอดเยี่ยม เช่น ทรงรอบรู้ในยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ ทรงรอบรู้หลักและวิธีปฏิบัติเพื่อปกครองใจคน อันเป็นหลักการเดียวกับปัจจุบัน และยังทรงรอบรู้อรรถภาษิต โวหาร รู้แต่งและฟังฉันท์ ทรงรู้ฤกษ์ยาม และวิธีโคจรของดาวหรือดาราศาสตร์ ทรงรู้ทิศและพยากรณ์ อีกทั้งทรงรู้มายาเล่ห์เหลี่ยมและเหตุผลต่างๆ เป็นต้น

    ซึ่งความรู้เหล่านี้ทรงศึกษาจากพราหมณ์ ปุโรหิตบ้าง จากพระบิดาโดยตรงบ้าง แต่ส่วนใหญ่ทรงศึกษาจากประสบการณ์ของพระองค์เอง รวมทั้งประสบการณ์จากเมืองพม่าเมื่อครั้นไปเป็นตัวประกันอยู่หงสาวดี ทรงเป็นบุรุษที่มีคุณสมบัติเป็นชายชาติทหารสมกับเป็นนักปกครองอย่างเต็ม เปี่ยม คือ ทรงมีความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง อีกทั้งยังมีน้ำใจห้าวหาญ เด็ดขาด และมีฝีมือในการต่อสู้ยิ่ง

    จากพระราชประวัติโดยสังเขป ข้างต้น คงจะทำให้เด็กๆเยาวชน และเราได้ซาบซึ้งและภาคภูมิใจในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ของไทยยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อน้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณที่ตลอดพระชนมชีพได้ทรงอุทิศพระองค์เพื่อบ้านเมือง และอาณาประชาราษฎร์มาโดยตลอด จึงขอเชิญชวนให้พวกเราที่เป็นอนุชนรุ่นหลังได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราอย่าง เต็มกำลังความสามารถด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตให้สมกับที่พระองค์ท่านได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อรักษาชาติ รักษาแผ่นดินจนตกมาถึงพวกเราในปัจจุบัน
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  7. #7
    ฝ่ายเทคนิคและโปรแกรม สัญลักษณ์ของ ต่วง
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    1,826
    ขอเป็นกำลังใจให้ หาญหารครับ ที่ปกป้องอาณาประเทศ
    การที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องขึ้นอยู่กับความพยาม ความตั้งใจ สู้ฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่าง

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวหาร
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    ที่อยู่
    ชัยภูมิ
    กระทู้
    158
    ขอบคุณหลาย ๆ ที่ให้ข้อมูลเป็นทหารแท้ ๆ ยังบ่ค่อยฮู้อยู่ครับ แต่มื้ออื่นหยุดครับ...สัสดีกะหยุดนำเขาคือกันเด้อ

  9. #9
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์ การแสดงยุทธหัตถี

    การแสดงยุทธหัตถี งานอนุสรณดอนเจดีย์


    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=aiA47ZwkOFc

    สงครามยุทธหัตถี
    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า "การต่อสู้กันด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นวิธีการรบอย่างกษัตริย์ในสมัยโบราณ เช่น พระนเรศวร ทรงกระทำยุทธหัตถ ีกับพระมหาอุปราชา บนหลังช้างจะมีคนนั่งอยู่สามคน ตัวแม่ทัพจะถือง้าวอยู่ที่คอช้าง คนที่นั่งกลางอยู่บนกูบจะถือหางนกยูงซ้ายขวาโบกเป็นสัญญาณ และคอยส่งอาวุธให้แม่ทัพ (ทราบว่า จะสับเปลี่ยนที่นั่งกันตอนกระทำการรบเท่านั้น) ที่ท้ายช้างจะมีควาญนั่งประจำที่ ตามเท้าช้างทั้งสี่มีพลประจำเรียกว่า จตุรงคบาท คนทั้งหมดจะถืออาวุธ เช่น ปืนปลายขอ หอกซัด ของ้าว ขอเกราะเขน แพน ถ้าเป็นช้างยุทธหัตถีจะมี หอกผูกผ้าสีแดงสองเล่ม ปืนใหญ่หันปากออกข้างขวาหนึ่งกระบอก ข้างซ้ายหนึ่งกระบอก มีนายทหารและพลทหารสวมเกราะ โพกผ้า ช้างที่เข้ากระบวนทัพ จะสวมเกราะใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยทั้งที่สี่เท้าสวมหน้าราห์ มีปลอกเหล็กสวมงาทั้งคู่ และมีเกราะโว่พันงวงช้าง สำหรับพังหอค่าย โดยไม่เจ็บปวด
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •