หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 18

หัวข้อ: จังหวัดสุรินทร์

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    จังหวัดสุรินทร์

    จังหวัดสุรินทร์



    ตราประจำจังหวัดสุรินทร์


    จังหวัดสุรินทร์

    รูปพระอินทร์ทรงช้าง
    ชื่อของจังหวัด เป็นคำสนธิของคำสองคำ คือ สุระ กับ อินทร์
    หมายถึง พระอินทร์ผู้เก่งกล้าสามารถ
    ตราจังหวัด กำหนดสัญญลักษณ์ประกอบด้วย พระอินทร์ ประทับขัดสมาธิบนหลังช้าง หัตถ์ขวาทรงตรี หัตถ์ซ้ายทรงพระแสงขอช้าง มีภาพปราสาทสลักปรักหักพังเป็นฉากเบื้องหลัง



    ธงประจำจังหวัดสุรินทร์

    จังหวัดสุรินทร์



    ดอกไม้ประจำจังหวัด

    ชื่อดอกไม้ ดอกกันเกรา

    จังหวัดสุรินทร์

    ต้นไม้ประจำจังหวัด

    ชื่อพรรณไม้ ดอกกันเกรา
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.

    จังหวัดสุรินทร์



    สภาพทั่วไป
    จังหวัดสุรินทร์ได้รับการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร ์ว่าพื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์มีชุมชนอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นานจนกระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธย ตอนปลาย พ.ศ. 2260 ชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าส่วยหรือกูยซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ซึ่งขณะนั้นเป็น ดินแดนของไทย และเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการจับช้างป่า มาเลี้ยงไว้ใช้งานเป็นอย่างมากได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขง มาสู่ฝั่งขวาโดย ได้แยกย้ายกันไปตั้งชุมชนที่เมืองลีง (อำเภอจอมพระ) บ้านโคกลำดวน(อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ) บ้านอัจจะปะนึ่ง(อำเภอสังขะ) และบ้าน กุดปะไท (อำเภอศีขรภูมิ) แต่ละ บ้านจะมี หัวหน้าควบคุมอยู่
    ในปีพ.ศ. 2306 หลวงสุรินทรภักดีหรือเชียงปุมหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทายบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2ชั้นมีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปรานพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทาย เป็นเมืองประทายสมันต์และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดีเป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง
    ในปีพ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองเมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายกันมารวม 11 คน จนถึงป ีพ.ศ.2451 ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาลส่วนกลางจึงได้แต่งตั้งพระกรุงศรีบุรีรักษ์(สุม สุมานนท์)มาดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนแรก
    ที่ตั้งและอาณาเขต
    จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
    ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
    ทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
    ลักษณะภูมิประเทศ
    จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
    จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
    จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่
    อำเภอต่างๆ และจำนวนประชากรของจังหวัดสุรินทร์
    จังหวัดสุรินทร์

    สถานที่ท่องเที่ยว มีมากมาย ขอยกตัวอย่างเช่น
    ปราสาทเมืองที ปราสาทยายเหงา ปราสาทภูมิโปน ปราสาทหินบ้านพลวง
    ปราสาทศีขรภูมิ กลุ่มปราสาทตาเมือน หมู่บ้านทำเครื่องเงิน หมู่บ้านทอผ้าไหม
    หมู่บ้านช้างตากลาง วนอุทยานพนมสวาย เขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ฯลฯ




    อ้างอิง : http://www.gov.surinpoc.com/surinnew/index_symbol.php


    [fm]http://www.hotlinkfiles.com/files/1411142_pzwyc/pakasatouw.swf[/fm]

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราสาทเมืองที

    ปราสาทเมืองที





    ปราสาทเมืองที ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองทางทิศตะวันออกประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายสุรินทร์-ศีขรภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 226) จนถึงบ้านโคกลำดวน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทตั้งอยู่ภายในวัดทางด้านซ้ายมือ
    ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมรแห่งหนึ่งที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง เช่นเดียวกับราสาทศรีขรภูมิ อ.ศรีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่ คือ หลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีกสี่หลังอยู่ที่มุมทั้งสี่ ตั้งอยู่บนฐานอิฐอันเดียวกัน ปัจจุบันหักพังเหลือเพียง 3 หลัง คือ หลังกลาง หลังที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปรางค์ทั้งสามมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด ตั้งอยู่บนฐานสูง และมีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน แต่ตัวเรือนธาตุตันทึบ ไม่มีประตูเนื่องจากการดัดแปลงในชั้นหลัง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี 3 ชั้น เลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย
    ปรางค์บริวารที่เหลือ 2 องค์นั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ทรงสอบมี 3 ชั้น ตัวเรือนธาตุแต่เดิมมีประตู มาก่อทึบในสมัยหลังเช่นเดียวกับปรางค์หลังกลาง จากแผนผังและลักษณะของสถาปัตยกรรม ปราสาทเมืองทีนับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมค มีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาหราหมณ์ แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่อาจบอกได้ ด้วยไม่พบจารึกหรือลวดลายทางศิลปะที่สามารถเปรียบได้




    ปราสาทเมืองที

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราสาทยายเหงา

    ปราสาทยายเหงา


    ปราสาทยายเหงา ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมถนนสายโชคชัยเดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 189 - 190 จะมีป้ายบอกทางจากถนนใหญ่เข้าไปเป็นทางลูกรังปนทราย ประมาณ 800 เมตร

    ปราสาทยายเหงาเป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ - ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบันเป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาค 5 เศียร

    จากลักษณะแผนผังของอาคารปราสาทยายเหงา น่าจะประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์เท่านั้น ภายในบริเวณปราสาท พบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับขอบประตู ฯลฯ แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้อย่างเป็นระเบียบบริเวณด้านหน้าปราสาท



    ปราสาทยายเหงา

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราสาทภูมิโปน

    ปราสาทภูมิโปน


    ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ-บัวเชด) ตรงต่อไปจนถึงชุมชนบ้านภูมิโปน ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทตั้งอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

    ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรทีมีอายุเก่าที่สุดในประเทศไทยคือราวพุทธศตวรรษที 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาททีมีฐานศิลาแลงด้านทิศใต้นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลัง

    ปราสาทภูมิโปนคงจะสร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ไศวนิกายเช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในองค์ปรางค์แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมีท่อโสมสูตร คือท่อน้ำมนต์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเคารพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง



    ปราสาทภูมิโปน

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ประสาทหินบ้านพลวง

    ประสาทหินบ้านพลวง



    ปราสาทหินบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร ตามถนนสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม (ทางหลวงหมายเลข 214) มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 900 เมตร ตรงกิโลเมตรที่ 34 – 35
    ปราสาทหินบ้านพลวงได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2515 โดยวิธีอนัสติโลซิส คือ การรื้อตัวปราสาทลงเสริมความมั่นคง และประกอบขึ้นใหม่ดังเดิม ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว ส่วนด้านอื่นอีก 3 ด้านทำเป็นประตูหลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราบ และมีอิฐเนวัสดุร่วมก่อสร้างในส่วนบนของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม จำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดินเดิมคงเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนมาก่อน บริเวณรอบองค์ปราสาทได้รับการตกแต่งไว้อย่างสวยงาม



    ประสาทหินบ้านพลวง

  6. #6
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราสาทศีขรภูมิ

    ปราสาทศีขรภูมิ



    ปราสาทศีขรภูมิ (หรือปราสาทระแงง) ตั้งอยู่ทีตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ ห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศีขรภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 226) ห่างจากที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิไปอีกประมาณ 1 กม.
    ปราสาทศีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ทีมุมทั้งสี่สร้างบนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือ ด้านทิศตะวันออกเช่นกัน



    ปราสาทศีขรภูมิ



    ปราสาทศีขรภูมิ



    ปราสาทศีขรภูมิ



    ปราสาทศีขรภูมิ

  7. #7
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ปราสาทตาเมือน

    ปราสาทตาเมือน




    โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นโบราณสถานสถานแบบขอม 3 หลัง ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปทางอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าบ้านตาเมียง เป็นถนนราดยางเข้าไปประมาณ 12 กิโลเมตร
    ปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก ปราสาทตาเมือนเป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราช องค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนคร โปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ไปยังเมืองพิมาย
    ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลง เช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์เดียวมีห้องยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้าผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น

    ปราสาทตาเมือนโต๊ด ตั้งอยู่ที่ ต.ตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดังรัก ปราสาทตาเมือนโต๊ดเป็นอโรคยศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อโรคยศาลแห่งนี้ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยืนทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ทางด้านหน้าคือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ทางนอกกำแพงด้านหน้าของปราสาทมีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยศาลแห่งอื่นๆ
    ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยศาลแห่งอื่นๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่างๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาลเป็นต้น ปัจจุบันหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี

    ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่บนแนวเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
    ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ โดยมีปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ทีสุดตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและด้านซ้ายของปรางค์ประธาน ปรางค์ทั้ง 3 องค์ สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักงดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลาก็ตาม
    ทางด้านตะวันออกและตะวันตกมีวิหาร 2 หลัง สร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดนี้มีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้ง 4 ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันใดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำ และที่ลานริมระเบียงคดทางมุขทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่างๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้ คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีก 2 แห่งในกลุ่มปราสาท





    ปราสาทตาเมือนธม


    ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน

  8. #8
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์ Re: จังหวัดสุรินทร์

    แวะมาทำความฮู้จักบ้านเจ้าของครับ เอื้อย..
    ได้ฮู้จักบ้านเมืองเจ้าของอีกหลายครับ แต่ก่อนกะจั่งแม่นสักแต่ว่าเกิดเป็นคนสุรินทร์ อิ อิ
    ::):g:g:g:g

  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเหงาคนไกลบ้าน
    วันที่สมัคร
    May 2008
    กระทู้
    2,307

    Re: จังหวัดสุรินทร์

    เมืองสุรินทร์กะเป็นเมื่องที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายคือกันเนาะครับ

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ หลานพระรถ
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    ที่อยู่
    เมืองพระรถธานี, ชลบุรี
    กระทู้
    343

    Re: จังหวัดสุรินทร์

    ขอบคุณคะสำหรับสาระและแหล่งท่องเที่ยวที่นำมาบอกเล่าสู่กัน
    เคยแต่ขับรถผ่าน คราเมื่อไปเที่ยวและยามญาติที่วารินทร์ฯ
    หากมีโอกาสไปอีกสิแวะเที่ยวเล่นนำเอื้อยคนเก่งเด้อค๊า... :)

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •