ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก



ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
แฟทแมน & ลิตเติ้ลบอย

ฮิโรชิมา และนางาซากิ สองเมืองใหญ่ของญี่ปุ่น เป็นชื่อเมืองที่ติดปากคนทั่วโลก ด้วยเหตุผลที่ว่า ทั้งสองเมืองถูกระเบิดนิวเคลียร์ บี-52 ชื่อ ลิตเติ้ล บอย (Little boy) และแฟต แมน (Fat man) ถล่มเสียยับเยิน ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวบ้านธรรมดาสามัญสูญเสียชีวิตนับแสน

จนวันนี้ ฮิโรชิมา มีสวนสันติภาพ และอนุสรณ์สถานอะตอมมิกส์โดม (Atomic Bomb memorial mound) เปิดรำลึกถึงมหันตภัยแห่งความรุนแรงเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ยังไม่รวมพื้นที่เกือบทั่วเมืองฮิโรชิมา ที่กลายเป็นสุสานฝังคนตายนับร้อยๆ จุด

และยังมีผู้คนที่เหลือรอดชีวิตมาถึงวันนี้ ถูกอดีตกาล หลอกหลอนมาถึงปัจจุบัน วันที่ไม่รู้ตัวเองจะมีผลกระทบจากรังสีนิวเคลียร์ให้เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งส่วนไหนของร่างกาย

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
ราบเป็นหน้ากลอง

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
ภายในตึกโดมหลังถูกบอมบ์

เหตุการณ์ที่เกิด กับประสบการณ์ที่ได้รับ ถูกถ่ายทอดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ณ อุทยานอนุสรณ์สันติภาพของฮิโรชิมา นำเสนอได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าเป็นการสื่อสารผ่านทางภาพถ่ายที่พิมพ์ขยายเต็มผนังขนาดใหญ่ ดูเสมือนจริง ภายในพิพิธภัณฑ์ยังจำลองแบบเมืองก่อนและหลังความเสียหายจากปรมาณู รวมถึงสื่อนิทัศน์อื่นๆ ที่น่าสนใจมากมายด้วยรายละเอียด

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
อนุสรณ์สถานอะตอมมิกส์โดม

ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังจะได้รู้เรื่องราวของสาวน้อยวัย 12 ซาดาโกะ ซาซากิ ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความหวัง อันเป็นที่มาของการพับนกกระเรียนเพื่อสันติภาพ

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เรารู้ว่า "อาวุธนิวเคลียร์" อธิบายไว้ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า เป็นอาวุธที่อาศัยพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ มีอำนาจการทำลายล้างสูง อาวุธนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถทำลายเมืองใหญ่ทั้งเมืองได้ ในอดีตอาวุธนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้ในสงคราม 2 ครั้ง โดยสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ และยังมีการทดสอบอีกหลายร้อยครั้งภายใต้การรับรองจากหลายประเทศ


ประเทศที่ประกาศว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, จีน, อินเดีย และปากีสถาน นอกจากนี้ เชื่อกันว่าอิสราเอล, เกาหลีเหนือ, ยูเครน และอิหร่าน อาจมีหรือกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อยู่

นอกเหนือจากการเป็นอาวุธแล้ว ยังสามารถนำระเบิดนิวเคลียร์มาใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ได้ เช่น เป็นเชื้อเพลิงในยานอวกาศ, ปรับภูมิประเทศเพื่อสร้างช่องเขาและท่าเรือ เป็นต้น


พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน

พลังงานนิวเคลียร์ หมายถึง พลังงานไม่ว่าลักษณะใดๆ ก็ตาม ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสอะตอม โดย

1.พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน

2.พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน

3.พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น

4.พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
รังสีทำลายผิวหนัง
ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
ผลจากฝนสีดำตกลงมา

พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งใช้แทนกันกับคำว่า พลังงานปรมาณู นอกจากนี้ พลังงานนิวเคลียร์ยังครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอ็กซ์ด้วย (พ.ร.บ.พลังงานเพื่อสันติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2508) พลังงานนิวเคลียร์ สามารถปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน รังสีแกมมา อนุภาคเบตา อนุภาคอัลฟา อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่อุบัติขึ้นในปี 2482 และสิ้นสุดลงในปี 2488 ญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างมาก จากการที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้อาวุธแบบใหม่โจมตีญี่ปุ่น โดยทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกลงที่เมืองฮิโรชิมา ซึ่งเป็นฐานบัญชาการกองทัพบกของญี่ปุ่นทางตอนใต้ ผู้คนล้มตาย บาดเจ็บจำนวนมาก ตึกรามบ้านช่องกว่า 60% ถูกทำลายลง ซึ่งรวมทั้งตึกที่ทำการของรัฐบาล ย่านธุรกิจ และย่านที่อยู่อาศัย และในอีกสามวันต่อมา ระเบิดปรมาณูลูกที่สองก็ถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นเมืองท่าชายทะเลมีโรงงาอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก


ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
ขนาดของนิวเคลียร์ที่บอมบ์ฮิโรชิมา

จากความเสียหายอย่างมหันต์ในคราวนั้น ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมเซ็นสัญญาสันติภาพ ซึ่งระบุให้จักรพรรดิและรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ใต้การปกครองของผู้บัญชาการสูงสุดของทหารสัมพันธมิตร

ปี 2496 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศริเริ่มดำเนินโครงการ "ปรมาณูเพื่อสันติ" ขึ้น และอีก 2 ปีต่อมา สหประชาชาติจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเจนีวา มีนักวิทยาศาสตร์กว่า 4,000 คน จาก 73 ชาติ ได้เข้าร่วมประชุมและพิจารณาถึงการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในทางสันติ เพื่อแสดงให้ชาวโลกทราบว่า พลังงานนิวเคลียร์ที่ใครๆ เห็นว่าเป็นมหันตภัยร้ายแรงสำหรับมนุษย์นั้น อยู่ในวิสัยที่อาจจะควบคุม และนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน และโครงการนี้ได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในประเทศของตน เพื่อนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในทางสันติ และช่วยการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ





ซาดาโกะกับนกกระเรียน 1,000 ตัว

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
ซาดาโกะ ซาซากิ ในวัย 12 ขวบ

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
ครอบครัวซาดาโกะ

ซาดาโกะ ซาซากิ (Sadako Sasaki) เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) เมื่อเธออายุได้ 2 ขวบมีการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมา ทำให้ซาดาโกะได้รับผลพวงจากการทิ้งระเบิดครั้งนั้นคือโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ลูคิเมีย)

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
หลับให้สบายนะซาดาโกะ

ซาดาโกะ ซาซากิ เด็กหญิงชาวญี่ปุ่น เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ลูคิเมีย) ขณะอายุได้ 12 ปี เนื่องจากได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจากระเบิดปรมาณูที่สหรัฐฯ ทิ้งถล่มฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนเสียชีวิต ซาดาโกะพยายามพับนกกะเรียนกระดาษด้วยมือที่บวมเป่งและเจ็บปวดมาก ด้วยความเชื่อว่าหากพับนกได้ครบหนึ่งพันตัว เธอจะหายจากโรคภัย แต่เธอก็จบชีวิตลงเมื่อพับนกกะเรียนได้เพียง 644 ตัวเท่านั้น ร่างของซาดาโกะถูกฝั่งพร้อมกับนกกระดาษ 1,000 ตัว ที่เพื่อน ๆ ช่วยกันพับนกกระดาษจนครบ

ระเบิดปรมาณู : ต้นแบบระเบิดล้างโลก
อนุสาวรีย์ซาดาโกะ ถือนกกระเรียนสีทอง

มีการปั้นรูปปั้นของซาดาโกะไว้ที่ Hiroshima Peace Park ในปี ค.ศ. 1958 โดยมีข้อความที่ฐานของรูปปั้นเรียกร้องสันติภาพ ความว่า "This is our cry, This is our prayer, Peace in the world." การต่อสู้ของซาดาโกะเป็นแรงบันดาลใจในการแสวงหาสันติภาพของคนทั่วโลก ไม่กี่ปีหลังจากซาดาโกะเสียชีวิต มีการสร้างอนุสาวรีย์ซาดาโกะขึ้นที่สวนสันติภาพ ณ เมืองฮิโรชิมาเพื่อรำลึกถึงซาดาโกะและเด็กที่เสียชีวิตจากระเบิดปรมาณูเรื่องราวของซาดาโกะเป็นทีมาของบทประพันธ์เรื่อง "ซาดาโกะกับนกกะเรียนพันตัว" (Sadako and the thousand papar cranes)


matichon
ข้อมูลจากwww.artsman.net