ดาวบริวารแกนีมีด บริวารของดาวพฤหัส 1


เดาวบริวารแกนีมีด(Ganymede) บริวารของดาวพฤหัส 1



galilean moon


สมัยประถม ทุกคนคงเคยเรียนมาว่า กาลิเลโอเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์
แล้วส่องเจอดาวบริวารทั้งสี่ดวงของดาวพฤหัส ที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกัน
ในชื่อ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคาลิสโต ดาวบริวารทั้งสี่ดวงนี้
รวมเรียกกันว่า「galilean moon」 เนื่องจากกาลิเลโอเป็นผู้ค้นพบนั่นเอง

แรกเริ่มเดิมที กาลิเลโอตั้งชื่อดาวบริวารสี่ดวงนี้ว่า 「medicea sidera 」
แปลว่าดวงดาวแห่งเมดิซี เพื่อเป็นเกียรติให้กับตระกูลเมดิซี (กาลิเลโอ
เป็นอาจารย์ของคอสซิโม เดอ เมดิซี แกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี)

แต่ปรากฏว่า มีนักดาราศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่เขาว่ากันว่า
ค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสได้ในเวลาไล่เลี่ยกับกาลิเลโอ
นักดาราศาสตร์ที่ว่านี้ชื่อซิมอน มาริอุส เสนอให้ตั้งชื่อดาวบริวารสี่ดวงนี้
ว่า venus of jupiter, jupiter of jupiter แต่ไม่มีคนเห็นด้วย

เวลาต่อมาเขาจึงเสนอใหม่ โดยนำชื่อของบรรดาเมียน้อยทั้งหลายของเทพจูปิเตอร์
มาตั้งเป็นชื่อดาวบริวาร

ชื่อดังกล่าวที่มาริอุสเสนอได้รับความเห็นชอบ
และถูกใช้เป็นชื่ออย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน




ดาวบริวารแกนีมีด  บริวารของดาวพฤหัส 1

รูปดาวบริวารแกนีมีด




แกนีมีดทางดาราศาสตร์





ดาวบริวารแกนีมีด  บริวารของดาวพฤหัส 1




ดาวบริวารที่เราจะพูดถึงเป็นดาวบริวารดวงที่สามของดาวพฤหัสซึ่งมีชื่อว่า「แกนีมีด」ซึ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจ คิดว่าชื่อแปลกดีน่ะค่ะ ดาวบริวารดวงอื่นอย่างไอโอ ยูโรปา คาลิสโต เราเคยได้ยินชื่อมาแล้วทั้งนั้น

ด้านดาราศาสตร์แล้ว แกนีมีดถือว่าเป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะเลยทีเดียว (ใหญ่กว่าดาวพุธด้วยซ้ำ แต่มีมวลน้อยกว่า) มีแกนกลางเป็นเหล็กหลอม และเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสนามแม่เหล็กสูง บรรยากาศที่เบาบางมากๆนั้นมีออกซิเจนและโอโซน นอกจานี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พื้นผิวหลายลักษณะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกอย่างซับซ้อนยาวนาน มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ
คือ พื้นที่เก่าแก่เป็นบริเวณมืดคล้ำเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ขรุขระ เป็นแอ่งลึก กับพื้นที่ใหม่เป็นบริเวณที่ราบเรียบ สว่างกว่า มีน้ำแข็งติดกับดินหิน บางพื้นที่เป็นรอยแยกยาวเหยียด

ดาวบริวารอีกสามดวงของดาวพฤหัสก็มีลักษณะใกล้เคียงกับแกนีมีดนะคะ โดยเฉพาะที่ลักษณะที่ว่ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ใต้ดินและถูกปกคลุมด้วยผิวน้ำแข็งด้านบน ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามสำรวจดาวบริวารทั้งสี่นี้เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตที่อาจดำรงชีวิตอยู่ใต้ผิวน้ำแข็ง (แต่ก็ยังไม่เจออะไรเลย)





ดาวบริวารแกนีมีด  บริวารของดาวพฤหัส 1




[fm]http://www.hotlinkfiles.com/files/1972967_bk2rl/_____________________________100406.swf[/fm]