พระถังซัมจั๋ง
พระถังซัมจั๋ง

ไซอิ๋ว เป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง
(Ming Dynasty, B.E.1368 – 1644) โดย อู่ เฉิง เอิน (Wu Cheng-en, B.E.1500 – 1582)

พระถังซัมจั๋ง มีชีวิตอยู่ในสมัยจักรพรรดิ ไท่จง ด้วยความศรัทธาของพระถังซัมจั๋ง และการเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของจักรพรรดิไท่จง พระถังซัมจั๋งจึงได้เดินทางไปยัง “ชมพูทวีป” เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก และนำพระไตรปิฎกกลับมายังจีนเพื่อทำการแปล พระถังซัมจั๋งเขียนบันทึก บอกเล่าเรื่องราว ที่ได้ไปพบเห็นมาระหว่างช่วงเวลานั้นมีชื่อว่า “ต้าถัง ซี-ยวี่-จี้” (Da Tang-xi-yu-ji) หรือ “จดหมายเหตุดินแดนตะวันตกแห่งมหาราชวงศ์ถัง”

“ไซอิ๋ว” เป็นวรรณกรรมจีนที่คนไทยรู้จักดีพอๆ กับเรื่อง “สามก๊ก” แต่ที่เป็นข้อพิเศษแตกต่างกันไปจาก “สามก๊ก” ก็คือ “ไซอิ๋ว” เป็นวรรณกรรมที่มีมิติของเนื้อหาอยู่ ๒ มิติ คือ

มิติแรก เป็นวรรณกรรมที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลินเหมือนกับวรรณกรรมทั่วๆไป ในมิตินี้ เราจะพบกับการผจญภัยของพระถังซัมจั๋ง เห้งเจีย โป้ยก่าย และซัวเจ๋ง เป็นต้น

มิติที่สอง เป็นวรรณกรรมศาสนา ที่แต่ละตัวละคร ต่างเป็นสัญลักษณ์ทางธรรม ของพระพุทธศาสนา เช่น เห้งเจีย เป็นสัญลักษณ์ของ ปัญญา โป้ยก่าย เป็นสัญลักษณ์ของ ศีล และ ซัวเจ๋ง เป็นสัญลักษณ์ของ สมาธิ เป็นต้น
โดยทั้ง ปัญญา ศีล และสมาธิ นี้ยังไม่สมบูรณ์เพราะยังมี ราคะ โทสะ และโลภะ ดำรงอยู่ ยังต้องผ่านการทดสอบในโลกียะจนกว่าจะบรรลุถึง สัจธรรม
และสิ่งที่มาทดสอบนั้นก็มิอะไรอื่น หากคือบรรดาปีศาจต่างๆ ที่ตัวละครเหล่านี้ต้องผจญภัย นอกจากนี้ ในหลายกรณีที่บรรดาสิงสาราสัตว์ แม่น้ำลำธาร ขุนเขา ป่าไม้ อาวุธยุทโธปกรณ์ ฯลฯ ก็เป็นสัญลักษณ์อยู่ด้วย

จะเห็นได้ว่า ในมิติที่สองนี้ มีความลึกล้ำซับซ้อน ต่อการทำความเข้าใจไม่น้อย และเป็นวิธีที่เข้าสู่สัจธรรมในแบบ มหายาน อันเป็นนิกายพื้นฐานของศาสนาพุทธในจีน


ผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นผู้มีเจตนาดีต่อพระพุทธศาสนา ทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะแต่งให้พระถังซัมจั๋ง ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากประเทศอินเดีย


พระถังซัมจั๋ง คือตัวแทนของ ศรัทธา
หงอคง คือ ปัญญา
ที่รัดหัว คือ สติ
โป๊ยก่าย คือ ศีล
ซัวเจ๋ง คือ สมาธิ
ม้าขาว คือ วิริยะ


พระถังซัมจั๋ง