กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: ประวัติพระธาตุพนม

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ TOONSANDEE
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    นครพนม
    กระทู้
    29

    กระพริบตา ประวัติพระธาตุพนม

    ประวัติพระธาตุพนม

    พระธาตุพนม ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จ.นครพนม
    ประวัติ เป็นเจดีย์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ในภาคอีสาน มีทำเลที่ตั้งเป็นโคกสูงกว่าบริเวณอื่น จึงเรียกว่า ภูกำพร้า ตามตำนานอุรังคธาตุ( คือ พระธาตุหัวอก) เล่าไว้ว่า พระธาตุพนมสร้างอยู่ในบริเวณภูกำพร้า ในผืนแผ่นดินของอาณาจักรโคตรบูร พระพุทธเจ้าเสด็จมาทางด้านทิศตะวันออกโดยอากาศ มาประทับที่ภูกำพร้านี้เป็นที่เกิดความสงสัยของทุกคน พระอินทร์จึงถามพระองค์ว่า เหตุใดจึงเลือกประทับที่ภูกำพร้านี่ ท่านตอบว่า เป็นประเพณีของพระพุทธ เจ้า ๓ พระองค์ในภัททกัลป์ (กกุสันธะ, โกนาคมนะ, กัสสปะ) เมื่อท่านนิพพานแล้ว สาวกจะนำพระธาตุมาประดิษฐานที่ภูกำพร้าแห่งนี้ เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระมหากัสปะสาวกของพระองค์ จึงนำพระธาตุหัวอกพร้อมพระอรหันต์ ๕00 องค์เดินทางมาที่นี่โดยทางอากาศ มีท้าวพญาทั้ง ๕ เป็นประธานในการก่อสร้าง ท้าวพญาทั้ง ๕ นี้ เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
    ๑. พญาจุลณีพรหมฑัต ครองแคว้นจุลณี เป็นผู้ก่อด้านตะวันออก
    ๒. พญาอินทปัตนคร ครองเมืองอินทปัตนคร หรือแคว้นกัมพูชาโบราณ เป็นผู้ก่อด้านใต้
    ๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอหนองหาน อุดรธานี ก่อด้านตะวันตก
    ๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร เป็นผู้ก่อด้านเหนือ
    ๕. พญาสุวรรณพิงคาร ผู้ครองเมืองหนองหานหลวง คือ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน เป็นผู้ก่อรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
    ลักษณะพระธาตุองค์เดิม ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละ ๒ วา สูง ๒ วา ข้างในเป็นโพรงมีประตูปิดทั้ง ๔ ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้อัญเชิญ พระอุรังคธาตุ โดยยังไม่ปิดประตูองค์พระธาตุให้ปิดสนิท มาฐาปนาให้สมบูรณ์ปิดประตูกันเมื่อภายหลัง พ.ศ. ๕00 อายุของพระธาตุพนม ที่สันนิษฐานกันไว้คือ ถูกสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือ ๑๒ สมัยทวารวดี
    ประวัติการบูรณะ ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมทำกันหลายครั้ง สรุปได้ดังนี้
    ครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ.๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตรธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นพระประธานในการบูรณะ เติมยอดพระธาตุองค์เดิมขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุจากที่บรรจุไว้ในอุดมงค์เดิม ที่บรรจุไว้ตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปะเถระนำไปประดิษฐานใหม่ที่ใจกลางพระธาตุ ชั้นที่ ๒ ซึ่งครั้งนี้ได้มีการปิดประตูองค์พระธาตุอย่างมิดชิด ถือว่าได้ฐานปนาโดยสมบูรณ์
    การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี หลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้า ได้สร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
    มีฐานกว้างด้านละ ๑๖ เมตร สูงจากพื้นดินถึงบัวล่าง ๘ เมตร ตอนที่ ๑ และ ๒ คงรูปแบบเดิม คือ เป็นรูปปรางค์แบบมีซุ้มประตูโบราณ อยู่ ๔ ด้าน เป็นของเก่าโบราณแต่ดั้งเดิม ประดับด้วยแผ่นอิฐสีแดง จำหลักลายวิจิตรงดงามทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปของกษัตริย์โบราณเกี่ยวพันด้วยรูปสัตว์ และกนกลายก้านขดลายในผักกูดตรงกลาง ตัวระฆังเรียงรัดเป็นลักษณะขวดแก้ว ๔ เหลี่ยม และได้ยกฐานะของวัดพระธาตุพนม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
    การพังทลายของพระธาตุพนมเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ได้เกิดฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ตกหนัก และมีลมแรงพัดกรรโชกด้วย จึงเป็นผลให้องค์พระธาตุพนมที่เก่าแก่ และผุพังอยู่บ้างแล้ว ได้พังทลายลงมาทั้งองค์เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ ของวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ทับวัสดุก่อสร้างบริเวณนั้นลงอย่างยับเยินเลยทีเดียว แม้จะมีการบูรณะอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้สร้างฐานดั้งเดิมเสียใหม่ คือ ไม่ได้สร้างฐานชั้นที่ ๑ ใหม่ ทำให้เมื่อฝนตกหนักน้ำซึมเข้าไป ฐานไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงพังทลายลงมา
    การพังทลายลงมานั้น ในสมัยรัฐบาลที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และ ได้สั่งการให้มีการบูรณะขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว สร้างใหม่ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์มีการสมโภชในปี พ.ศ.๒๕๒๒ สมัยที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั้งองค์ โดยรักษาโครงสร้างขนาดรูปแบบ และลวดลายจำหลักต่าง ๆ ให้เหมือนองค์เดิม สร้างในที่เดิม สูงเท่าองค์เดิม คือ ๕๗ เมตร แต่ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย
    พระธาตุพนมองค์ใหม่ สร้างครอบฐานพระธาตุองค์เดิม ซึ่งยังเหลืออยู่ประมาณ ๖ เมตรเศษ คราวนี้สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้างในกลวงเป็นโพรงมีคานยึด ๕ แห่ง มีกรุสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุ ๑ กรุ และมีกรุสำหรับบรรจุสิ่งของที่พบเมื่อพระธาตุพังทลายลงมา ๘ กรุ
    มีพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ โดยมีพิธีดังนี้ วันแรก ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ วันที่สอง สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานในการยกฉัตรพระธาตุ วันที่สาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
    งานนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน จะจัดในวันเพ็ญ เดือน ๓ ของทุกปี โดยถือเอาวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันแรกของงาน และไปสิ้นสุดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓
    โบราณวัตถุ คือ มรดกทางวัฒนธรรม ที่วัดธาตุพนม มีที่สำคัญ คือ เสาอินทขีล ทำจากศิลาทราย ในตำนานกล่าวไว้ว่า ท้าวพญาทั้ง ๕ ที่ริเริ่มสร้างองค์พระธาตุพนมนั้น ได้ให้คนไปนำมาจากที่ต่าง ๆ รวมกัน ๔ ต้น แล้วฝังไว้ในบริเวณรอบ ๆ พระธาตุทั้ง ๔ มุม ดังนี้
    ต้นที่ ๑ นำมาจากเมืองกุสินารา ฝังไว้ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือ และสร้างรูปอัจจมุขี ไว้ที่โคนเสา ๑ ตัว
    ต้นที่ ๒ นำมาจากเมืองพาราณสี ฝังไว้ที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างรูปอัจจมุขี ไว้ที่โคนเสา ๑ ตัว
    ต้นที่ ๓ นำมาจากเมืองลังกา ฝังไว้ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ ต้นที่ ๔ นำมาจากเมืองตักศิลา ฝังไว้ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือ
    ประติมากรรมรูปม้า ตามตำนานกล่าวาถึงม้าพลาหกและม้าอาชาไนย ที่สลักจากศิลา พบที่วัดพระธาตุพนม เวลานี้อยู่ข้างบันไดทางขึ้นวิหารหอพระแก้ว ประติมากรรมรูปสิงห์ หรืออัจจมุขี พบที่วัดธาตุพนม ที่โคนเสาอินทขีล เป็นศิลปกรรมเฉพาะถิ่น ไม่เคยพบในชุมชนโบราณแห่งอื่น ๆ
    พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641

    Re: ประวัติพระธาตุพนม

    ผมเคยไปประจำครับธาตุพนม งานธาตุไปสุปี มีญาติอยุนครพนม...กิกิRe: ประวัติพระธาตุพนมRe: ประวัติพระธาตุพนมRe: ประวัติพระธาตุพนมRe: ประวัติพระธาตุพนม

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ TOONSANDEE
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    นครพนม
    กระทู้
    29

    Re: ประวัติพระธาตุพนม

    พากันไปเที่ยวหลายๆเด้อครับ งานนมัสการพระธาตุพนม วันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปีครับ งานประเพณีไหลเฮือไฟ วันเพ็ญ เดือน 11 ของทุกปีครับ

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    Re: ประวัติพระธาตุพนม

    บ่ เคยได้ไปเลยค่ะ ว่าจะไปอยู่ถ้าเขาจัดปีนี้จ้า
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209

    Re: ัติพะธาตุพ

    Re: ัติพะธาตุพ

  6. #6
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179

    Re: ประวัติพระธาตุพนม

    สาธุ ผู้ข้ากะบ่ทันเคยไปนมัสการจักเทื่อดอก มีโอกาสดีๆว่าสิไปนำเพิ่นอยู่ อ่านแต่ตำนานประวัติเพิ่นสร้าง ในหนังสืออุรงฺคนิทาน กับหนังสือมหาธาตุพนมบรมเจดีย์
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ทิดยุทธ ลูกพญาแล
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    117
    เคยไปตอนเป็นเด็กน้อยยังบ่เข้าโรงเรียน จำได้คร่าวๆ ว่ากำลังก่อสร้างใหม่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ประมาณ 2520 จากนั่นกะบ่ได้ไปอีกเลยครับ

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้
    วันที่สมัคร
    Jun 2010
    กระทู้
    3

    ฟ้าสางริมฝั่งโขง ไทธาตุพนม

    ลูกพระธาตุคืนกันครับ ว่างๆเจอกันเด้อ
    http://a.google.co.th/img834/292/p8150115.jpg
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย amm25250; 28-08-2010 at 15:26.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •