ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี

กรุงธนบุรี เป็นราชธานีไทย ในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕ มีที่ตั้ง

ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เมืองธนบุรีเดิม


หลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น

พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก

ตรงกับพ.ศ. ๒๓๑๐ จวบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง ๑๕ ปีเท่านั้น

ขณะที่กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าอยู่นั้น พระยาตากได้เห็นความอ่อนแอของ

สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้ จึงไม่อยากอยู่

ร่วมปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปบังเกิดขึ้นหลายครั้ง ดังนี้


พระยาตากคุมทหารออกไปรบนอกเมือง และสามารถรบชนะข้าศึกได้

แต่ทางการไม่ส่งทหารมาเพิ่ม จึงต้องเสียค่ายนั้นไปอีก


พระยาตากได้รับบัญชาให้ยกกองทัพเรือออกไปรบพร้อมกับ

พระยาเพชรบุรี แต่พระยาตากเห็นว่าพม่ามีพลที่มากกว่า จึงห้ามไม่ให้

พระยาเพชรบุรีไปออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื้อฟัง จึงออกไปรบ และเสียชีวิตในสนามรบ

ทำให้พระยาตากถูกกล่าวหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย


๓ เดือนก่อนกรุงแตก พม่ายกกองมาปล้นทางเหนือของพระนคร พระเจ้าตาก

เห็นการ จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากกรุงให้ใช่ปืนใหญ่ แต่ทางกรุงไม่อนุญาต

พระยาตากจึงคิดว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้ กรุงศรีอยุธยาจะต้องแตก พระยาตากจึง

ตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไป พร้อมกับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ตีฝ่าวงล้อม

พม่า โดยนายทหารและขุนนางผู้ใหญ่มี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัย

ราชา หลวงราชเสนา ขุนอภัยภักดี และหมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งค่ายที่ วัดพิชัย

เมื่อเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคม

พ.ศ. ๒๓๑๐ พอไปถึงบ้านสำบัณฑิตเวลาเที่ยงคืนเศษ ก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้

จากพระนคร


เจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองที่ใหญ่ และยังอุดม

สมบูรณ์ บ้านเรือนเป็นปกติสุขอยู่ เจ้าตากจึงทรงเกลี้ยกล่อมเมืองจันทบุรี

ให้มาช่วยกู้เอกราช


พระยาจันทบุรีรับคำไมตรีในช่วงแรก แต่แล้ว พระยาจันทบุรีกลับไป

ร่วมมือกับขุนรามหมื่นส้อง วางแผนลวงให้เจ้าตากยกกองทัพเข้าไปตีเมืองจันทบุรี

แล้วค่อยกำจัดเสียในภายหลัง แต่พระยาตากทรงรู้ทัน จึงทรงหยุดยั้งอยู่หน้าเมือง


เมื่อเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่าพระยาจันทบุรีหลงเชื่อคำของ

ขุนรามหมื่นส้อง ไม่ยอมอ่อนน้อมให้แล้ว จึงตรัสให้ทหารทั้งปวง เทอาหารทิ้ง

ทุบหม้อทุบต่อยหม้อแกงจนแหลกหมด แล้วจึงตรัสว่า วันนี้เราจะเอาเมืองจันทบุรีให้ได้

ไปหาข้าวของกินกันในเมือง หากไม่ได้ก็จงตายเสียให้สิ้นด้วยกันเถิด ครั้นตกดึกประมาณ

๓ นาฬิกา เจ้าตากก็สามารถบุกเข้าเมืองได้ ตรงกับวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐

เจ้าตากจึงสามารถรวบรวมหัวเมืองตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ

ตราดได้


เมื่อพระเจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คน

ทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่าย

ที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยา

มาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี

พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นมาถวายพระเพลิงตาม

ราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้

กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาจของเมือง ก็ทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี

เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร



(( ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.baanmaha.com/community/ne...ewthread&f=231 ))