---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
---->18 อรหันต์<----
คำว่า อรหันต์มีบางคนหลงออกเสียงผิด แบบหนึ่งอ่านว่า ออ-ระ-หัน จะสะกดว่า อรหัน เป็นชื่อสัตว์ในหิมพานต์มี 2 เท้า มีปีกและหัวเป็นคนกับอีกความหมายคือ ผู้วิเศษ อีกแบบหนึ่งอ่านว่า อะ-ระ-หัน สะกดว่า อรหันต์ คำจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า หล่อ-หั่ง

เรื่องราวของ 16 อรหันต์กลายเป็น 18 อรหันต์ มีเล่าไว้ในหนังสือพระพุทธ-พระโพธิสัตว์-สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจีน พิมพ์ครั้งที่ 4 พร้อมชื่อและรายละเอียดเล็กน้อย
ส่วนกรณีของ 500 อรหันต์ ยังไม่พบตำนานที่มานอกจากการปั้นจำนวนองค์ปฏิมาถึง 500 เพื่อแสดงถึงปริมาณที่มาก โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า องค์ปฏิมาของพระอรหันต์มักถูกจัดวางในสถานบูชาอย่างเป็นพระอันดับหรือพระรองๆ จะไม่ใช่พระประธานหรือเทพเจ้าหลักของศาลเจ้าหรือวัดแห่งใด และชื่อของแต่ละอรหันต์ในแต่ละวัดหรือสถานที่จะมีทั้งที่ตรงกันและไม่ตรงกัน
แต่ผู้เขียน ซึ่งมีหนังสือเกี่ยวกับพระและเทพเจ้าของจีนมากมาย พบว่ามีบางเล่มที่ภาพของพระอรหันต์มีความน่าสนใจที่รูปลักษณ์บางประการคือ
1. หลายองค์มีหน้าผากที่นูนโหนกแบบเดียวกับเทพซิ่ว ซึ่งตามตำราจะบอกว่า นี่คือฮกขี่หรือบุญวาสนาที่มีมากจนปูดล้นออกมา
2. หลายองค์มีจุดกลางหน้าผากในลักษณะแบบเดียวกับที่ศิลป์พระพุทธมี แป๊ะ-เฮ้า หรือแต้มแสงสีขาว
3. เครื่องทรงของพระอรหันต์มีทั้งแบบที่เป็นจีวร, แบบชุดงิ้ว
4. บางองค์ทรงหมวกผ้า, ที่ทรงมาลาพระพุทธก็มี
5. บางองค์มีหนวดเครา
6. บางองค์มีสัตว์ดุเช่น เสืออยู่เคียง เพราะนามของท่านคือฮงกันซินซือ ฉายาผู้ปราบเสือให้เชื่อง
7. บางองค์สวมรองเท้า, บางองค์สวมรองเท้าแตะและบางองค์เท้าเปล่า
8. มีองค์หนึ่งที่รูปร่างเล็กเหมือนเด็กคือ สูงแค่เอวของพระอรหันต์อีกองค์หนึ่ง
9. ทุกองค์มีกรรณหรือหูที่ใหญ่หนาและติ่งหูเป็นแป้นใหญ่ยาว
10. มีองค์หนึ่งขนคิ้วยาวกว่าตัว นามจีนแต้จิ๋วของท่านคือ เกียลี่เกีย
11. องค์หนึ่งขนดกดำทั่วตัว ประมาณว่าเป็นภิกษุอินเดีย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชุดภาพ 18 อรหันต์ในขุมหนังเสือที่ผู้เขียนมีค่อนข้างจะเป็น 2 ชุด ชื่อที่แตกต่างกัน แต่ภาพลักษณ์จะหลากหลาย แบบ ภาพที่นำมาให้ชมจึงมีความต่างกันที่ไม่ อาจจัดเป็นชุดอรหันต์ชุดเดียวได้ จึงเลือกคัดภาพที่น่าสนใจมานำให้ชม
เนื่องจากมีแฟนหนังสือได้เจอผู้เขียนแล้วแจ้งว่าไม่รู้จักพระโพธิสัตว์ที่นำมาลง แสดงว่าไม่ใช่แฟนดั้งเดิม จึงยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มพระพุทธ พระโพธิสัตว์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจีน พิมพ์ครั้งที่ 4 ตอนอรหันต์ศิลป์ที่เขียนถึง 18 อรหันต์นี้ จึงขอนำประวัติมาลงให้ หวังว่าแฟนหนังสือที่เคยอ่านแล้วจะไม่ว่ากัน
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนพบว่า ในปีพ.ศ. 1423 ได้มีช่างเขียนจีนชื่อ กวนฮิว เป็นผู้ศรัทธาเลื่อมใส ได้วาดรูปพระอรหันต์ทั้งสิบหกองค์ถวายไว้ที่วัดแห่งหนึ่ง ในมณฑลตี้เกียง ต่อมาได้มีขุนนางแห่งราชวงศ์เช็ง ในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง ได้ไปพบภาพอรหันต์ทั้งสิบหกที่วัดนี้ ระหว่างทางไปราชการจึงให้ช่างเขียนผู้ชำนาญจำลองรูปกลับมาถวายพระเจ้าเฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงเห็นเข้าก็โปรด จึงทรงให้จำลองภาพเพิ่ม แล้วพิมพ์พระราชทานไปไว้ยังที่ต่างๆ แต่ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป ชื่อและภาพของพระอรหันต์ก็สับสนไป ไม่ตรงกันในแต่ละที่
อรหันต์ทั้ง 18 องค์ มีดังนี้
1. เจียวเช้าซินซือ ฉายา ภิกษุในรังนก
2. จื้อไจ๊ซินซือ เป็นภิกษุอินเดีย ชื่ออิศวร
3. เค้าทงซินซือ อยู่ที่เขาหยกมอง
4. ฮงกันซินซือ ฉายาผู้ปราบเสือให้เชื่อง
5. ฮุยเอี๊ยงซินซือ
6. ซิบติดจื๋อ ฉายาผู้เก็บตก
7. ฮั้นซัวจื๋อ ฉายาอยู่ในถ้ำ
8. ฮุยซางซินซือ
9. กูตี๋ฮั่วเสียง เป็นภิกษุอินเดีย ชื่อคณมติ
10. เต้าง้วยซินซือ อยู่เกาะทอง
11. ซีจือปักคูจุนเจี่ย เป็นภิกษุอินเดีย ชื่อสิงหลบุตร
12. ซ่งซัวะซินซือ
13. ส่อฮูลอต้นจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ ราหุล
14. เซ่งจันซินซือ
15. จี้โมโลจั๊บ นามเป็นบาลี คือ กุมารชีพ
16. โมโหเกียเหยจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ มหากัสสป
17. ม้าเม้งจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ อัศวโฆษ
18. ปโต้ฮั่วเสียง ฉายาพระท้องพลุ้ย

พระอรหันต์องค์ที่ 18 หรือพระท้องพลุ้ย จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่ทรงเป็น "พระศรีอารยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์ หรือหมีเล็กผ่อสัก" นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เกร็ดความรู้เรื่อง 18 อรหันต์ทองคำ มีกล่าวถึงในหลายพระคัมภีร์ของพุทธศาสนา ทำให้มีความแตกต่างกันไป
จากคัมภีร์ "ฮวบจูกี่" ที่หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง ได้แปลเป็นภาษาจีนได้กล่าวถึง 16 อรหันต์ว่า ทั้ง 16 องค์ ชอบแปลงตนเป็นคนธรรมดาและมักน้อย เมื่อมีการทำบุญใด ก็จะเข้าไปรับเครื่องไทยทานอย่างเงียบๆ ไม่ให้ผู้ใดรู้ว่าเป็นใคร เพื่อให้ผู้ทำบุญได้กุศลอย่างเต็มที่ โดยคัมภีร์ฮวบจูกี่ ได้กล่าวถึงชื่อและรายละเอียดของอรหันต์ 16 องค์ ไว้ดังนี้
1. ปิณโฑลภารัทวาช อยู่ทางทิศตะวันตก มีพระอรหันต์ 1,000 องค์ เป็นบริวาร
2. กนกวัจฉ อยู่ทางทิศเหนือ มีพระอรหันต์ 500 องค์ เป็นบริวาร
3. กนกการัทวาช อยู่ทางทิศตะวันออก มีพระอรหันต์ 600 องค์ เป็นบริวาร
4. สุปิณฑ อยู่ทางทิศเหนือ มีพระอรหันต์ 700 องค์ เป็นบริวาร
5. นกุล อยู่ทางทิศใต้ มีพระอรหันต์ 800 องค์ เป็นบริวาร
6. ภัทร อยู่ที่ "ตามระทวีป" มีพระอรหันต์ 900 องค์ เป็นบริวาร
7. กาลิก อยู่ที่ "สังฆาฏทวีป" มีพระอรหันต์ 1,000 องค์ เป็นบริวาร
8. วัชรบุตร อยู่ที่ "บรรณทวีป"มีพระอรหันต์ 1,000 องค์ เป็นบริวาร
9. ลุปาก อยู่ที่กลางเขาคันธมาทนี ภาษาจีนเรียกว่า "เฮียงจุ๊ยซัวตง" มีพระอรหันต์ 900 องค์ เป็นบริวาร
10. ปันถก อยู่บนสวรรค์ตรัยตรึงค์ มีพระอรหันต์ 3,000 องค์ เป็นบริวาร
11. ราหุล อยู่ที่ "ปริยังคุทวีป"มีพระอรหันต์ 1,100 องค์ เป็นบริวาร
12. นาคเสน อยู่ที่เขาปาณฑพในแคว้นมคธ มีพระอรหันต์ 1,200 องค์ เป็นบริวาร
13. อิงคท อยู่ที่กลางเขาไวบูลย์บาร์ศว์ มีพระอรหันต์ 1,300 องค์ เป็นบริวาร
14. วันวาลี อยู่ที่กลางเขาวัดสะ มีพระอรหันต์ 1,400 องค์ เป็นบริวาร
15. อชิต อยู่ที่กลางเขาคิชฌกูฏ มีพระอรหันต์ 1,500 องค์ เป็นบริวาร
16. จุฑะปันถา อยู่ที่กลางเขาอิสินธร มีพระอรหันต์ 1,600 องค์ เป็นบริวาร

อรหันต์ทั้ง 16 องค์นี้มี "ปิณโฑอรหันต์" เป็นหัวหน้า ซึ่งพระปันถกนี้คือพระเมตไตรย และ 16 อรหันต์ชุดนี้จะตรงกับที่พระราชวังปักกิ่ง

------------ ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์--------