[/COLOR]นักวิทยาศาสตร์อังกฤษวางแผนโครงการวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ ว่าจะสร้างเม็ดเลือดเทียมจากสเต็มเซลล์ของตัวอ่อนได้หรือไม่ งานนี้มาจาก Scottish National Blood Transfusion Service ซึ่งหากโครงการนี้เริ่มทดลองได้ ภายใน 3 ปีจะมีเลือดไม่จำกัดเพื่อใช้ในการถ่ายเลือดฉุกเฉินได้
สร้างเลือดเทียมจากการใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน

ซึ่งเลือดที่ได้ควรปราศจากโรคติดต่อต่าง ๆ นักวิจัยจะทดสอบตัวอ่อนมนุษย์ที่ได้จากการผสมเทียมเพื่อดูว่ามีหนทางในการพัฒนาเพื่อกำหนดให้กลายเป็นเลือดหมู่ O-negative ซึ่งเป็นกลุ่มเลือดที่ให้ได้ทุกหมู่

หมู่เลือด O-negative เป็นหมู่เลือดที่สามารถถ่ายให้ได้ทุกคนโดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีการปฏิเสธเนื้อเยื่อและนี่เป็นหนทางเดียวที่ปลอดภัยที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่ทราบหมู่เลือดหรือต้องการเลือดด่วน ซึ่งหมู่เลือดนี้ที่แล้วมาเป็นที่ขาดแคลนเนื่องจากมีเพียง 7% ของประชากรเท่านั้นที่จะมีหมู่เลือดพิเศษนี้

องค์กร Wellcome Trust ได้เข้าใจถึงความสำคัญของเรื่องนี้และได้สัญญาจะให้ทุนในการสนับสนุน 3 ล้านปอนด์เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อ และยังจะมีเงินทุนอื่น ๆ ตามมาจากบริการถ่ายเลือดจากสก็อตแลนด์ อังกฤษและเวลส์ และเชื่อว่ารัฐบาลไอริชคงจะเข้าร่วมโครงการนี้อย่างแน่นอน งานวิจัยนี้จะมีมหาวิทยาลันเอดินเบิร์กเป็นแกนนำ โดยหัวหน้าโครงการยังเป็นผู้อำนวยการ Scottish National Blood Transfusion Service อีกด้วย

สร้างเลือดเทียมจากการใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน


จากภาพ1.ตัวอ่อนที่ได้จากการผสมเทียมจะถูกทดสอบว่าเป็นกลุ่มเลือด O-negative หลังจากนั้นจะถูกปล่อยให้พัฒนาเป็นเวลาหลายวันจนสามารถคัดสเต็มเซลล์ออกมาได้
2.สเต็มเซลล์จะถูกเลี้ยงในห้องทดลองด้วยอาหารเพื่อกระตุ้นให้สร้างเม็ดเลือดแดง
3.นิวเคลียสจะถูกนำออกไปในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้ได้เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มวัยที่สามารถนำออกซิเจนได้

งานนี้จะเริ่มได้อีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้าหลังจากการรับขั้นสุดท้ายที่ได้รับอนุมัติให้สามารถทดลองในร่างกายมนุษย์ได้ สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของร่างกายที่มีความสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ใด ๆ ก็ตามในร่างกาย นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเอาสเต็มเซลล์ เซลล์เดียวจากตัวอ่อนมนุษย์แรกเริ่มและมากระตุ้นให้เกิดการพัฒนากลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่โตเต็มวัยในห้องทดลอง ทางบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า Advanced Cell Technology ได้คิดจะทำเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธีการเดียวกันเช่นกัน

ความท้าทายดังกล่าวนั้นคือการเพิ่มกำลังการผลิตและย้ายจากการที่ทดลองทางวิทยาศาสตร์มาอยู่กลายเป็นเลือดที่ให้บนเตียงคนไข้ได้ ซึ่งนี้จะใช้เวลาหลายปี นักวิจัยคาดว่าจะสามารถพิสูจน์ทฤษฎีนี้ได้ในไม่กี่ปีข้างหน้าและจะสามารถเป็นจริงเพื่อใช้ในการรักษาได้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

http://www.foosci.com/node/753