ตอนที่ 1

ถ้าจะมองกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2522
ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีระยะทางยาวไกล จากจังหวัดอุบลราชธานี อยู่สัก 55 กิโลเมตร เห็นจะได้
มีโรงเรียนหลังเล็ก ๆ 1 อาคารเรียน และอีกหนึ่งหลังเป็นโรงประชุม ซึ่งมีลักษณะที่หลังคามุงสังกะสี (ทันสมัยที่สุดในช่วงเวลานั้น)

ด้านหน้าเป็นเวทียกสูง ทำเป็นส่วนของเวที ซึ่งถัดจากหน้าเวทียาวถึงด้านหลังจะเป็นสนามบาสเก็ตบอล หรือ เป็นสนามเด็กเล่น
สำหรับหน้าฝน หรือหลบลมหนาวในหน้าหนาว โรงเรียนบ้านโพนสิม ต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นโรงเรียนบ้านนอก จะบอกว่าเป็นโรงเรียนบ้านป่าที่จะหาใครสนใจอยากจะมาสอนก็แทบไม่มี

มีครูเพียง 5 คน รวมภารโรง พร้อมนักเรียนยากจนในหมู่บ้านชนบทแสนกันดาร อีกไม่เกิน 30 คน อาศัยอาคารเรียน
เป็นเพิงเพียงชั้นเดียว ซึ่งใช้สำหรับสอนนักเรียนระดับประถม จากชั้น ป.1 - ป.7 ที่กั้นผนังห้องด้วยฟาก และไม้ไผ่ขัดสาน
สำหรับเป็นผนังห้อง มุงด้วยหลังคาหญ้าแผก (อาคารเรียนเก่ากว่าโรงประชุมเพราะสร้างก่อน) ซึ่งในยามหน้าร้อนก็ไม่ถือว่าร้อนมาก

แต่เวลาฝนต้องย้ายไปเรียนรวมกันที่โรงประชุม ถ้าฝนตกธรรมดาไม่สาด (เพราะโรงประชุมไม่ได้กั้นอะไร เป็นที่เปิดโล่งทั้ง 3 ด้าน
ยกเว้นด้านหน้าที่เป็นเวที จะมีฝากั้นด้านหลังเวที)ด้านรอบ ๆ โรงเรียนเต็มไปด้วย ต้นมะม่วงหิมพาน และต้นมะม่วงโดยรอบ สำหรับน้ำดื่มของ
นักเรียน จะเป็นตุ่มน้ำตั้งเรียงราย ไว้ด้านข้างโรงประชุม ทั้ง 4 ด้านเพื่อกักตุนน้ำฝนเอาไว้ใช้ดื่มกิน

โรงเรียนแห่งนี้ ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุด เห็นจะเป็นระฆังที่ใช้ตีเรียกนักเรียน สำหรับเรียกเข้าแถวในยามเช้า และพักเที่ยง หรือตีบอกเวลา
สำหรับเลิกเรียนเพื่อแจ้งว่าถึงเวลากลับบ้านแล้ว เพราะระฆังนี้เผิ่งได้รับการจัดสรรจากทางอำเภอ เมื่อเดือนก่อนที่ผมจะได้รับเกียรติให้มาเริ่ม
อาชีพครูที่หมู่บ้านแห่งนี้

เสียงแป๊ง แป๊ง แป๊ง ของระฆังอันใหม่ล่าสุด ที่ห้อยอยู่หน้าโรงเรียน มันเป็นสัญญาณที่ให้ทุกคนหยุดนิ่งเพื่อรับข่าวสาร สมัยนั้นมันเป็นความยาก
ลำบากของชีวิตจริง ๆ สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกยากลำบากของชีวิตจริง ๆ หลาย ๆ อย่างจะให้ดีพร้อมเหมือนสมัยนี้คงต้องได้แค่เพียงฝัน
และในวันนี้ สัญญาณระฆังก็ถูกตีเหมือนกับทุกวันที่ผ่านมา จากฝีมือของครูใหญ่

"แป๊ง แป๊ง แป๊ง" เสียงระฆังดังขึ้นในเวลา 8 โมงเช้า
เด็ก ๆ แต่ละคนต่างหยุดเสียง จอแจ จุ๊กจิ๊ก ปานเสียงนก เสียงกานั้นได้หยุดนิ่ง แล้วครูใหญ่ก็เดินเข้ามาที่ด้านข้างเสาธง
มาพร้อมกับครูผู้ชายตัวสูง สักประมาณ 173 หน้าตาคมคายและดูสะอาด สะอ้าน ในแววตาและท่าทางเป็นคนใจดีน่าดู
และในวันนั้นเอง โรงเรียนบ้านโพนสิม ก็ได้ต้อนรับครูหนุ่มมาใหม่ จากต่างอำเภอ

"สวัสดีครับ นักเรียนโรงเรียนบ้านโพนสิมทุกคน ครูชื่อ ครูกำธร แสวงศรี เพิ่งย้ายมาประจำที่นี่เป็นวันแรก และครู
คิดว่าคงได้รู้จักกับ พวกเราทุกคนในเร็ววัน ถ้าสะดวกในแต่ละวัน ตอนพักกลางวันของแต่ละวัน ครูจะเล่านิทานให้พวกเรา
ฟังที่ใต้ต้นมะม่วงด้าน ข้างสนามฟุตบอลนะครับ ขอบคุณท่านอาจารย์ใหญ่ และ ขอบใจพวกเราทุกคนครับ"

ครูหนุ่มได้แนะนำชื่อให้นักเรียนทุกคนทราบ หลังจากเข้าแถวหน้าเสาธง ร้องเพลงชาติพาธงขึ้นสู่ยอดเสา และสวดมนต์เช้า
ซึ่งเป็นประจำของโรงเรียนแห่งนี้ การเข้ามาเป็นครูประจำในคณะของครูบ้านนอกของโรงเรียนบ้านโพนสิม ในสมัยนั้นครูดี ๆ
ส่วนใหญ่ก็จะขอย้ายเข้าไปสอนในอำเภอ หรือในตัวจังหวัดกันซะหมด แต่ทำไมครูกำธร จึงต้องมาสอนที่โรงเรียนแห่งนี้

นั้นเป็นเพราะในสมัยที่ครูกำธร เป็นครูฝึกสอนหลังจากเรียนจบ ปกศ. กว่าจะได้ใบประกอบวิชาชีพครู ครูได้ไปฝึกสอนใน
โรงเรียนอำเภอทั้งหมด เพราะคุณพ่อของคุณครู ก็รับราชการครูในตัวจังหวัด ซึ่งจะมองว่าเป็นเส้นสาย หรือความเกรงใจ
ผู้เป็นพ่อก็เป็นได้ และหลังจากที่เรียนจบ ครูกำธร เลยขออาสาไปเป็นครูในโรงเรียนที่ด้อยพัฒนา ที่มีการขอตำแหน่งครู
จากโรงเรียนในพื้นที่ค่อยข้างกันดาร

- - - รออ่านต่อในตอนถัดไป ขอเวลาคิดพล๊อตเรื่องหน่อยครับ ฮ่า ๆ ๆ - - -