"นักเรียนเคารพ " เสีงของหัวหน้าห้อง "สวัสดีครับ (ค่ะ) คุณครู"
เมื่อครูกำธรเดินเข้าห้องประจำโต๊ะครูด้านหน้าห้องเรียน

"ไหนนักเรียน หยิบหนังสือนิทานร้อยบรรทัด ขึ้นมาสิครับ เห็นครูนิภาแจ้งครูไว้ว่าได้สอนพวกเราไปบ้างแล้ว"

มองไปโดยรอบแล้ว จะเห็นว่านักเรียนทั้งห้องนี้ มีอยู่แค่ 12 คนเอง และดูนักเรียนซึ่ง ถวายความเคารพแล้ว
ต่างคน ต่างจ้องมองมาที่ครูคนใหม่ และแสดงรอยยิ้มด้วยความเป็นมิตร รวมถึงครูกำธรเองด้วย

...ความรักของครูบ้านนอก ตอน 2...
ครูหยิบหนังสือขึ้นมาเปิดดูหน้าแรก

...ความรักของครูบ้านนอก ตอน 2...
และในอีกหน้าถัดไป

จนได้เวลา 11:30 เมื่อเสียงระฆังดังขึ้นอีกรอบ นั่นก็ได้เวลาพักกลางวัน พอดี ซึ่งนักเรียนที่นี่ พอพักเที่ยงต่างคน
ต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน ไปทานข้าวบ้านใครบ้านมัน จะกลับมาอีกครั้งก็คงประมาณ เที่ยงครึ่งกว่า ๆ หรือเกือบบ่ายโมง
"เป็นไงครับครู ป่ะไปทานข้าวเทียงด้วยกัน" เสียงครูใหญ่ดังขึ้น จากหน้าประตู

ถึงห้องกลาง ครูกำธรเห็นว่า ห้องนี้คงเป็นทุกอย่าง ทั้งห้องประชุม ห้องทานข้าวกลางวัน และกิจกรรมการพูดคุย
"เชิญทานข้าวด้วยกันครับครู เราช่วยกันเตรียมข้าว และกับข้าวมาเผื่อครูด้วยแล้ว"

ครูใหญ่และครูนิภา คือคนในหมู่บ้านนี้อยู่แล้ว และอีก สามท่าน คือภารโรงหนึ่ง และครูอีกสอง จะเป็นคนต่างหมู่บ้าน
ซึ่งจะเป็นรุ่นป้า และ รุ่นลุงขี่จักรยานข้ามหมู่บ้านเข้ามาช่วยสอนหนังสือ

ชีวิตของครูกำธรในโรงเรียนบ้านโพนสิมช่วงแรก เป็นเพียงครูประชาชนธรรมดา และด้วยความที่ขยันขันแข็ง
และเป็นคนช่างคิด ช่างแนะนำ และอีกอย่างดูจะเป็นคนพยายามรับฟังข้อมูลข่าวสาร (จากวิทยุธานินทร์)

ซึ่งเป็นของฝาก จากคนที่คิดว่ารู้ใจที่สุดในช่วงที่ไปเป็นครูฝึกสอนด้วยกัน สมัยที่ยังเรียนไม่จบ
และหลังจากที่เรียนจบต่างคนก็ต่างได้แยกย้ายกันไปทำหน้าที่เป็น แม่พิมพ์ของชาติ เธอชื่อ ครูเพียงใจ
โดยเธอได้รับหน้าที่ครูที่โรงเรียน นารีนุกูล เป็นโรงเรียนดังประจำจังหวัดอุบลฯ

ด้วยความเป็นคนที่ค่อนข้างรอบรู้มากและเป็นคนหนุ่มที่มีอัธยาศัยไมตรีเป็นอย่างดี ทางคุณครูใหญ่จึงได้หารือกัน
จากนั้นได้แต่งตั้งให้ครูกำธร ได้ขยับขึ้นมาเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ในเวลาต่อมา ส่วนหนึ่งครูเองก็ได้กลายเป็นที่รักใครของบรรดา
ครูอาจารย์ด้วยกัน ตลอดจนนักเรียนทุกระดับชั้น

การมาของครูกำธรได้ทำให้โรงเรียนบ้านโพนสิมได้รู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นมามากทีเดียว การทำคุณงามความดีในโรงเรียน
ทำให้เป็นที่กล่าวขานถึงกันออกไป เด็ก ๆ บอกกล่าวเล่าถึง ครูกำธรในแง่ดีให้กับผู้ปรกครองฟัง

"ดีแล้วหล่ะ มีครูดีเข้ามาสอนในโรงเรียนบ้านเราก็เบาใจ" ผู้ปรกครองคุยกับลูกหลาน

ซึ่งด้วยการที่มาอยู่ที่นี่ได้ไม่นาน ครูกำธรในฐานะผู้ช่วยครูใหญ่ ก็ถูกเชิญออกงานสัมคมในหมู่บ้านมากขึ้น
ทั้งงานแต่งงาน งานบวช งานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ ในหมุ่บ้าน ไม่เว้นงานศพ คนเจ็บป่วย และคนออกลูก ทุกคน
ให้การต้อนรับครูกำธรกันทั้งนั้น เรียกได้ว่าในช่วงเวลานั้น ครูกำธรจึงเปรียบเสมือนหัวเรี่ยวหัวแรงของคนในหมู่บ้านทีเดียว

"ครูขยันเข้าสังคมในหมู่บ้านก็ดีนะครับ เวลาเราต้องการขอความช่วยเหลืออะไรจากผู้ปกครอง ทุกคนจะได้ให้ความช่วยเหลือเราด้วย"
ครูใหญ่คุยกับครูกำธรในเช้าวันหนึ่ง

"ชาวบ้านที่นี่เอ็นดูผมเหมือนลูกเหมือนหลานครับครับครู" ครูกำธรตอบ

"คนบ้านนอกก็เป็นแบบนี้แหละครับครูถ้ารักใครแล้วเค้ารักจริง"
ครูใหญ่มองครูหนุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา ดูเป็นมิตร และให้ความจริงใจตอบ

"ถ้าครูตั้งใจทำงานขนาดนี้ และเข้าถึงชาวบ้านแบบนี้เรื่อย ๆ ทุกคนก็คงมีความสุขครับ"

"ครับครูใหญ่"

ครูกำธรกับครูใหญ่จะคุยและปรึกษางานกันเสมอ และยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของครูกำธรกับครูใหญ่แนบแน่น เข้าอกเข้าใจ
เหมือนพ่อกับลูก การเข้ามาเป็นครูที่โรงเรียนบ้านโพนสิมนั้น ไม่ได้ทำให้ครูกำธรรู้สึกอึดอัดแต่อย่างได แม้จะเป็นคน

ที่มาจากความเจริญในตัวจังหวัดก็ตาม เช้ามาสอน เย็นกลับบ้านพัก และไปงานสังคมตามที่ชาวบ้านจะมาเรียนเชิญ
ครูกำธรใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และมีความสุขเรื่อยมา แต่ครูหนุ่มในวัยยี่สิบห้านั้น หารู้ไม่ว่า บุคคลิกเป็นคนออ่นโยน
และความน่าเคารพของครูนั้นเป็นที่หมายตา และเป็นที่หมายปองของสาวน้อย สาวใหญ่ ในหมู่บ้านมากมายอยู่เช่นกัน

ตะวันคล้อยบ่าย เกือบค่ำย่ำเย็น ในสมัยนั้น หญิงสาวในหมู่บ้านจะออกไปหาบน้ำที่บ่อน้ำ (น้ำสร้างแซ่ง) รวมถึงพระและ
เณรยังต้องเข็นรถไปบรรทุกน้ำเช่นกัน บ่น้ำเกือบคล้อยไปทางท้ายหมู่บ้าน เป็นบ่น้ำสาธารณะประโยชน์ ที่ชาวบ้านโพนสิม

ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และได้ใช้สอยบ่อน้ำแห่งนี้มาหลายรุ่นคนแล้ว อุปกรณ์หาบน้ำของชาวบ้านก็มีเพียง คุสังกะสี
หรือกระป๋องสีเก่า ๆ และ ไม้คานหาบน้ำ รวยหน่อยก็มีรถไม้คันเก่า ๆ ลากขนถึงน้ำ หรือ ใช้บรรทุกตุ่มน้ำไปใช้บรรจุน้ำ
นี่เป็นภาพที่ปกติชินตาของสังคมที่ บ้านโพนสิมเมื่อหลายสิบปีก่อน

เมื่อสอนเสร็จ ครูหนุ่มก็ขี่รถจักรยานคันใหม่ที่ พ่อและแม่ซื้อให้สำหรับไว้ใช้ในชีวิตชนบท คาดว่าในราคา 700 - 800 บาท
ในสมัยนั้น การได้ใช้จักรยานสักคัน ก็แสดงสถานะความโก้หรูได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าจะเทียบกับสมัยนี้ ก็ประหนึ่งว่า
ขับรถปิคอัพคันงาม หรือไม่ก็เก๋งเท่ห์ ๆ สักคันหล่ะ

ครูกำธรที่ได้รับความนิยมชมชอบในหมู่สตรีขณะนั้น เมื่อได้จักรยานปั่นยิ่งเพิ่มนิยมชมชอบในหมู่สตรีขณะนั้นเป็นอย่างมาก
ทางลูกรังเล็ก ๆ ที่ทอดยาวไปยังบ่อน้ำ ซึ่งเป็นทางผ่านกลับบ้านพักครู มีฝุ่นคลุ้งกระจายตามระยะที่ผู้คนสัญจรกันไป

ชาวบ้านหลายคนเดินไปตักน้ำ ชวนกันคุยเป็นกลุ่ม ทั้งที่ยังหาบน้ำมาจากบ่อ และยังมีชาวบ้านบางคนที่เพิ่งเสร็จธุระจากทุ่งนา
หรือจากไร่นาบ้าง

เวลานั้น ประมาณสี่โมงครึ่ง หรือ ห้าโมงเย็น ครูหนุ่มปั่นจักรยานคู่ใจ ผ่านชาวบ้านระยะทางที่ผ่านไปก็มักจะได้ยินเสียงทักทาย
เป็นระยะที่ครูหนุ่มขี่จักรยานผ่าน


-------- คอยติดตามตอนต่อไปครับ--------