หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 14

หัวข้อ: คำอ้าย นวนิยายรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง ประจำปี 2532

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ อิ่มอัมพร
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ทุ่งครุ
    กระทู้
    255

    คำอ้าย นวนิยายรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง ประจำปี 2532

    คำอ้าย


    ไม่รู้สินะ...จำไม่ได้แล้วว่าสมัยเด็ก ๆ เราเล่นซนยังไงบ้าง แต่เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ก็รู้สึกประทับใจความเดียงสาแบบเด็ก ของตัวละครตัวหนึ่งจากนวนิยายแบบอีสานเล่มบาง ๆ ของยงค์ ยโสธร ที่ทำให้เราเห็นถึงชีวิตที่แตกต่างอีกรูปแบบหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ แค่ปลายจมูกนี่เอง

    คำอ้าย นวนิยายรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง ประจำปี 2532

    คำอ้าย นวนิยายรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง ประจำปี 2532
    ผลงานอันละเมียดละไมของยงค์ ยโสธร นามปากกาของประยงค์ มูลสาร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

    คำอ้าย นวนิยายรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง ประจำปี 2532


    ยงค์ ยโสธร เลือกให้คำอ้ายเด็กชายตัวเล็กแกร็น หูกาง เป็นตัวแทนความรื่นรมย์อันมีชีวิตชีวาของเด็กชนบทแห่งที่ราบสูง ชีวิตเล็กๆ ที่ผูกพันอยู่กับท้องไร่ท้องนาและควายถึก นวนิยายเรื่องคำอ้ายอบอวลไปด้วยกลิ่นไอของท้องทุ่ง และวัฒนธรรมธรรมแบบอีสาน การดำเนินเรื่องที่สอดแทรกบรรยากาศของวิถีชีวิตแบบชาวบ้านดั้งเดิม ซึ่งบางอย่างก็หายไปแล้ว บางอย่างก็ยังคงเหลือสืบลูกสืบหลาน แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ก็ยังคงอยู่ ทั้งประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีลงข่วง ผู้สาวเข็นฝ้าย ผู้ชายเป่าแคน


    ยงค์ ยโสธรยังได้ฉายภาพของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเลี้ยงปากท้อง ความแห้งแล้งที่เป็นความโหดร้ายจากธรรมชาติที่เป็นบททดสอบอันยิ่งใหญ่ของชาวบ้าน ซึ่งหลายคนในหมู่บ้านวังเดือนห้าก็พยายามจะอพยพเพื่อหาที่ที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า แต่บางคนก็เลือกที่จะอยู่เพื่อต่อสู้กับชะตากรรมกันเจ็บปวดที่บ้านเกิด การอพยพย้ายถิ่นฐานก่อนที่หน้าแล้งและความอดยากจะมาเยือน บ้างก็เลือกที่จะลงไทลงล่างเพื่อเอาแรงแลกเงินหลังฤดูทำนาเสร็จสิ้น เหมือนอย่างพ่อของคำอ้ายและชายวัยฉกรรจ์อีกหลายคน


    คำอ้ายลูกชายคนโตของครอบครัว ผู้ที่ต้องรับภาระช่วยพ่อแม่ทำงานตั้งแต่ยังเด็ก แต่ด้วยความฉลาด ช่างพูดและเป็นเด็กดีมีน้ำใจ ทำให้หลายคน หลงเสน่ห์ของคำอ้าย รวมทั้ง จันจ้อย เด็กหญิงจันที่อยู่ข้างบ้าน ที่อายุมากกว่าคำอ้าย 2 ปี จันกำพร้าพ่ออยู่กับแม่เพียงสองคน จันเป็นเด็กขยันรอบรู้เรื่องหาอยู่หากิน จนแม่ของคำอ้ายเอามาเปรียบกับคำอ้ายเสมอเวลาที่คำอ้ายขี้เกียจช่วยทำงาน


    ทุ่งนาคือโรงเรียนอันกว้างใหญ่ของเด็กที่นี่ พวกเด็กได้เรียนรู้ที่จะขุดปู จับปลา ยิงกระต่าย ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่สูงสุดของเด็กอย่างคำอ้ายคือการดูแลควายอีหลอย ไม่ให้มันผลัดหาย และไม่ให้มันเกเรลงไปลุยข้าวในนาหรือแอบกินต้นข้าวของชาวบ้าน เพราะหากเผลอเล่นซนมากจนลืมดูควายเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงคำอ้ายจะได้ชิมไม้เรียวรสแซ่บของพ่อที่คำอ้ายเคยลิ้มรสมาแล้วหลายครั้ง



    จนถึงเมื่อเวลาที่เด็กจะต้องเข้าโรงเรียน โลกของคำอ้ายก็ดูจะมีสีสันเข้มข้นมากขึ้น ถึงแม้คำอ้ายจะเป็นคนเรียนเก่งแต่เมื่อยังมีน้องอีกสามคนที่คำอ้ายผู้เป็นพี่คนโตต้องรับผิดชอบกับพ่อแม่จำต้องให้คำอ้ายต้องเรียนแค่ชั้นประถมสี่ แต่ก็ยังดีที่ได้บวชเรียน



    ชะตากรรมที่เกิดจากความยากจนแร้นแค้น ทำให้ผ้าขาวได้รับการแต่งแต้มจากธรรมชาติ ทั้งที่เป็นสีสันสดใสที่เป็นของขวัญจากธรรมชาติที่มอบให้ ท้องนา ผืนป่า และผู้คนในชุมชน และรอยหมองคล้ำ ที่เกิดจากการผลัดพราก ภัยธรรมชาติ และความยากจน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผ้าขาวหมดคุณค่าไป



    ความซุกชนแบบเด็กค่อย ๆ เปลี่ยนไปและเริ่มพัฒนาสู่วัยผู้ใหญ่ ยงค์ ยโสธร สร้างให้พฤติกรรมของตัวดำเนินเรื่องอย่างคำอ้ายและจันจ้อยเริ่มก้าวอย่างสู่วัยหนุ่มสาวอย่างสนุกสนานและกรุ้มกริ่ม


    แม้เรื่องทั้งหมดจะดำเนินขึ้นที่บ้านวังเดือนห้า หมู่บ้านเล็ก ๆ แต่ก็ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตที่ทำให้เราทั้งสะเทือนใจและขบขันไปกับท่วงทำนองแห่งความบริสุทธิ์ แบบเด็ก ๆ จึงอยากให้คนที่ชอบเรื่องราวน่ารักๆแบบนี้ไปหาอ่านกันดูนะคะ แล้วคุณ ๆ จะหลงรักคำอ้ายเด็กชายหูกางอย่างเรา


    ปล.บ้านวังเดือนหน้า ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านโสกน้ำขาว แล้วนะคะ
    รูปภาพหนังสือ สมัยเก่าๆ


    นี่คือด้านหลัง ภาพลุง สมัยยังเป็นบ่าวสำน้อย


    นี่คือด้านในของหนังสือ ท่าทางจะบวมน้ำ
    ด้วยล่ะ



    หมู่บ้านโสกน้ำขาวเป็นบ้านเกิดของ ยงค์ ยโสธร เจ้าของนวนิยายเรื่อง คำอ้าย แห่งหมู่บ้านวังเดือนห้า หลายท่านคงจำภาพของ คำอ้าย ลูกชายคนโตของครอบครัว ที่มีชีวิตผูกพันอยู่กับท้องไร่ท้องนาและควายถึก ตลอดทั้งการสอดแทรกวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวอีสานในยุคต่อจากก ลูกอีสาน ของคุณลุงคำพูน บุญทวีได้เป็นอย่างดี


    ยงค์ ยโสธร หรือชื่อจริงของท่านคือประยงค์ มูลสาร เกิดที่บ้านโสกน้ำขาว ตำบลห้วยแก้ง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร หนึ่งในกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ก่อนเหตุการณ์ 16 ตุลาคม 2516 เคยใช้ชีวิตในเขตป่าตามอุดมการณ์แห่งชีวิต ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เคยเป็นครูประชาบาลในท้องถิ่น ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร


    มีต่อ ภาค 2 นะคะ

  2. #2

    re: คำอ้าย นวนิยายรางวัลวรรณกรรมบัวหลวง ประจำปี 2532

    ขอบคุณเอื้อยสำหรับข้อมูลค่ะ บ่เคยอ่านคำอ้ายเลยค่ะ เคยอ่านลูกอิสาน แต่นานแล้วละค่ะ
    LET IT BE...

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    ที่อยู่
    สวิส....พะนะ
    กระทู้
    563
    อ่าน3รอบแล้วค่ะ ม่วนแล้วกะกินใจหลายขนาดเฒ่าแม่เลาอ่านกะยังบ่ออยากวางเลยค่ะ อิิอิอิ

  4. #4
    Teemunt
    Guest
    คำอ้าย - หนังสือเล่มโปรดของผมเลยนะ รวมถึงอีกหลาย ๆ เรื่องราวเล่าขานตำนานอีสาน - ลูกอีสาน เลือดอีสาน เกิดที่หมู่บ้าน ลูกแม่น้ำโขง ครูบ้านนอก บ้านโรงสี ฯลฯ..........

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ แหลวแดง
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    1,912
    ซื้อมาแล้วคับ แต่ว่ายังบ่ทันได้อ่านอยู่ วรรณกรรมแนวชีวิตอีสานมักหลาย รวมทั้งลูกอีสาน อ่านแล้วกะเศร้านิดๆ ชีวิตคนอีสานสมัยก่อนกะลำบากหลาย ยังเกิดทันเห็นอยู่บางส่วนคือกัน

  6. #6
    บ่าวเมืองยส
    Guest
    อ่านจบไป2รอบแล้วครับ เนื้อหาสนุกดีอ่านแล้วทำให้นึกถึงบรรยากาศเก่าทางภาคอิสานมากแต่จะมีบทซึ้งในช่วงสุดท้ายอ่านแล้วน้ำตาใหลออกมาโดยไม่รู้ตัวหรืออาจจะเป็นเพราะชีวิตจริงเป็นดั่งในนิยายเรื่องคำอ้าย

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ security182
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ประเทศไทย
    กระทู้
    140
    หามานานแล้วครับ อยากอ่านอีกแต่ว่าหาบ่เห็น
    เพิ่งขะได้อ่านอีกก็มื้อนี่ละครับ

  8. #8
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ แหลวแดง
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    1,912
    อ่านจบแล้วคับ อ่านไปนำน้ำตาไหลไปนำคับ ตื้นตัน จุกอยู่ในลำคอ บ่ได้เว้าเกินเลยคับ อ่านแล้วเห็นภาพความลำบาก พร้อมกับความงดงามของคนอีสานบ้านเฮา เว้าได้คำเดียวว่าซึ้งหลายยยยยยยคับผม

  9. #9
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ duidui27
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    43
    มองเห็นชิวิตวัยเด็กเลย เป็นความงดงามของชีวิตคนอีสาน และสังคมที่บ่เอารัดเอาเปรียบ แต่ทุกวันนี้แทบไม่เห็นร่องรอยนั้นแล้ว

  10. #10
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ tidkaam
    วันที่สมัคร
    May 2006
    กระทู้
    10
    กำลังพยายามจะทำเรื่องนี้ให้เป็นละครทีวีครับ ... คงไม่นานเกินรอ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •