กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: สะละ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    สะละ

    สะละ



    สะละ




    แหล่งที่ปลูก


    สภาพพื้นที่
    สะละสามารถปลูกได้ในเกือบทุกสภาพพื้นที่ แต่พื้นที่ที่เหมาะสมควร
    มีความลาดเอียง ไม่เกิน 15% ไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะดินร่วนปนทราย
    หรือดินร่วนปนเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
    มีชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า50 เซนติเมตร
    มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 อุณหภูมิเฉลี่ย
    ประมาณ 20-40 องศาเซลเซียส การกระจายตัวของฝนดีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย
    อยู่ระหว่าง 60-70% มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง น้ำควรสะอาด
    ไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน

    ลักษณะดิน
    - ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนเหนียว
    ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
    - ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
    - ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร
    - มีค่าความเป็น กรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-6.5

    สภาพภูมิอากาศ
    - อุณหภูมิ 20-40 องศาเซลเซียส
    - ปริมาณน้ำฝน ไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
    การกระจายตัวของฝนดี
    - ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ย 60-70%

    แหล่งน้ำ
    - ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง
    - น้ำสะอาดไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน

    การเลือกพันธุ์
    - เลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับแหล่งปลูก และตรงตามที่ตลาดต้องการ

    - ตรงตามพันธุ์ ซึ่งต้องเป็นต้นพันธุ์ที่ได้จากการขยายพันธุ์โดย
    การตัดชำลำต้นแก่หรือแยกหน่อจากต้นเพศเมียเท่านั้น
    และต้องไม่ใช่หน่อที่พัฒนามาจากไหลหรือจากการเพาะเลี้ยง
    เนื้อเยื่อในขณะที่ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังอาจกลายพันธุ์ได้

    -มีความสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรค-แมลง




    พันธุ์ที่นิยมปลูก



    สะละ



    พันธุ์เนินวง เป็นพันธุ์สะละที่นิยมปลูกมากที่สุด ขนาดตะโพกหรือ
    ลำต้นเล็กกว่าระกำ บริเวณ กาบใบมีสีน้ำตาลทอง ปลายใบยาว
    หนามของยอดที่ยัง ไม่คลี่มีสีขาว ผลมีรูปร่างยาวหัวท้ายเรียวคล้ายกระสวย
    หนามผลยาว อ่อนนิ่ม ปลายหนามงอนไปทางท้ายผล
    เนื้อมีสีเหลืองนวลคล้ายน้ำผึ้ง หนานุ่ม รสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว
    รับประทานแล้วรู้สึกชุ่มคอ กลิ่นหอม เมล็ดเล็ก

    พันธุ์หม้อ ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็ก และใบมีสีเข้มกว่าพันธุ์เนินวง
    ข้อทางใบถี่สั้น หนามยาวเล็กและอ่อนกว่าพันธุ์เนินวง ช่อดอกยาว
    ติดผลง่ายกว่าพันธุ์เนินวง ผลคล้ายระกำ เปลือกผลสีแดงเข้ม
    เนื้อสีน้ำตาลมีลาย เนื้อหนาแต่ไม่แน่น รสชาติหวาน มีกลิ่นเฉพาะ
    เมล็ดเล็ก ทนต่อสภาพแสงแดดจัด ได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง

    พันธุ์สุมาลี เป็นพันธุ์ใหม่ ลักษณะลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาว
    มีสีเขียวอมเหลือง ใบใหญ่กว้างและปลายใบสั้นกว่าพันธุ์เนินวง
    หนามของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อน คานดอกยาว
    ช่อดอกใหญ่ ติดผลง่าย ผลมีรูปร่างป้อมสั้น สีเนื้อคล้ายระกำ
    เนื้อหนากว่าระกำ แต่บางกว่าพันธุ์เนินวง รสชาติหวานมีกลิ่นเฉพาะ
    เจริญเติบโตเร็วและทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง



    การปลูก


    สะละ



    การเตรียมพื้นที่
    พื้นที่ดอน ที่ปลูกไม้ยืนต้นไว้แล้ว สามารถปลูกสะละร่วมกับ
    ไม้ยืนต้นเหล่านั้นได้เลยโดยอาศัยไม้ยืนต้นที่ปลูก
    ไว้แล้วเป็นร่มเงาพรางแสง


    พื้นที่ดอนที่ไม่มีไม้ยืนต้น

    - ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และขุดร่อง ระบายน้ำ หากมีปัญหาน้ำท่วมขัง
    - ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็ว เพื่อเตรียมไว้เป็นร่มเงาของสะละ

    พื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน

    - ขุดยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
    ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร มีระบบระบายน้ำ เข้า-ออก เป็นอย่างดี

    - ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็วเป็นไม้ร่มเงาริมขอบแปลงทั้ง 2 ด้าน
    เพื่อช่วยยึดป้องกันการพังทลายของแปลงปลูกด้วย




    วิธีการปลูก


    สะละ


    ระยะปลูก
    สัมพันธ์กับจำนวนต้นต่อพื้นที่ โดยจำนวนต้นที่เหมาะสม
    เท่ากับ 100 ต้น ต่อไร่ เช่น หากปลูกสะละแบบต้นเดี่ยวควรปลูก
    ในระยะ 4x4 เมตร หรือปลูกแบบกอไว้กอละ 3 ต้น ควรปลูก
    ในระยะ 6x8 เมตร เป็นต้น หรือสะละ 1 ต้น ใช้พื้นที่ 14-20 ตารางเมตร

    การปลูก
    ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร
    รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 500 กรัม ต่อหลุม วางต้นพันธุ์แล้ว
    กลบดินจนอยู่ในระดับเดียวกับผิวดิน ควรเอาดินกลบโคนปีละ 1 ครั้ง

    การพรางแสง
    สะละต้องมีร่มเงาพรางแสง ประมาณ 50% ของแสงปกติ
    วิธีการพรางแสงทำได้โดย
    - กรณีปลูกในสวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทุเรียน ขนุน ฯลฯ
    ควรตัดแต่งกิ่งของไม้ยืนต้นให้ได้แสงที่พอเหมาะ

    - กรณีปลูกใหม่ไม่มีไม้ร่มเงา ต้องปลูกไม้โตเร็วเป็นไม้ร่มเงาถาวร
    เช่น กระถินเทพา เพกา เหลียง ฯลฯ หรือไม้ยืนต้นอื่นที่เหมาะสมและ
    ควรปลูกมากกว่า 1 ชนิด

    - ใช้ตาข่ายพลาสติกพรางแสงขึงคลุมให้ได้แสงประมาณ 50%


    การป้องกันลม
    สวนสะละต้องมีการป้องกันลม โดยทำฉากป้องกันลม
    หรือปลูกไม้บังลมรอบแปลง



    การดูแลรักษา


    สะละในระยะก่อนให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)
    การใส่ปุ๋ย
    - ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2-5 กิโลกรัม
    ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ 2-4 ครั้ง ต่อปี

    - ปุ๋ยคอก อัตรา 10-20 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต่อปี

    การให้น้ำ
    ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอประมาณ 0.7 เท่า ของอัตราการระเหยน้ำ
    จากถาดระเหยน้ำ ชนิด A (Class A cvaportion pan) หรือ
    เท่ากับ 2.8-3.2 มิลลิเมตร ต่อวัน หรือคิดเป็น 100-118 ลิตร ต่อกอ ต่อวัน
    สำหรับระยะปลูก 6x6 เมตร ในเขตจังหวัดจันทบุรีมีอัตราการระเหยน้ำ
    จากถาดระเหยน้ำ ประมาณ 4.0-4.5 มิลลิเมตร ต่อวัน
    ในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม

    การตัดแต่งทางใบ
    ไม่ควรตัดแต่งทางใบมากนัก นอกจากทางใบที่แก่หมดสภาพแล้วเท่านั้น
    หากทางใบโน้มกีดขวางการทำงานควรใช้เชือกไนลอนผูกรวบไว้
    ทางใบที่ตัดแล้วควรนำไปปูคลุมรอบโคนต้นโดยคว่ำด้านหนามลงดิน
    หรือบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป

    การตัดแต่งหน่อและการไว้กอ
    สะละอายุได้ประมาณ 1 ปี จะแตกหน่อออกมาจำนวนมาก หากปลูก
    แบบกอควรเลี้ยงหน่อไว้เพียงหน่อเดียว (2 ต้น ต่อกอรวมทั้งต้นแม่)
    จะทำให้สะละตกผลเร็ว หลังจากนั้น ค่อยเลี้ยงหน่อเพิ่มขึ้นให้ได้
    จำนวนต้นตามต้องการ คอยหมั่นตัดแต่งหน่อที่ไม่ต้องการออก

    สะละในระยะให้ผลผลิต (อายุ 3 ปี ขึ้นไป)
    การใส่ปุ๋ย
    - ควรเก็บตัวอย่างดินและใบสะละไปวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อประเมิน
    ความต้องการธาตุอาหารของสะละ สำหรับใช้เป็นแนวทาง
    การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง

    - ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ

    - ปุ๋ยคอก อัตรา 30-40 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง

    - ปุ๋ยเคมีที่มีเรโซเท่ากับ 1:1:1 sinv 2:1:2 หรือใกล้เคียง
    อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อเดือน ใส่ทุกเดือน เดือนละ 1-2 ครั้ง
    โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของต้นและ ปริมาณผลผลิตประกอบด้วย

    การให้น้ำ
    ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 0.7 เท่า ของอัตราการระเหยน้ำจาก
    ถาดระเหยน้ำ ชนิด A (Class A cvaportion pan) หรือเ
    ท่ากับ 2.8-3.2 มิลลิเมตร ต่อวัน หรือคิดเป็น 100-118 ลิตร ต่อกอ ต่อวัน
    สำหรับระยะปลูก 6x6 เมตร

    การตัดแต่งทางใบ
    - สะละที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรไว้ทางใบ 15-20 ทางใบ
    - ไม่ควรตัดแต่งทางใบที่รองรับทะลายผล จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
    - ทางใบช่วงที่มีใบตัดแล้วนำมาปูคลุมโคนโดยคว่ำหนามลงดิน
    ส่วนช่วงโคนที่ไม่มีใบนำไปบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป
    การตัดแต่งหน่อและไว้กอ
    - หลังจากเลี้ยงหน่อได้จำนวนต้นที่ต้องการแล้วคอยหมั่นตัดหน่อที่ไม่ต้องการออก ทั้งหน่อข้างต้น (หน่อต๊อก) และหน่อดิน
    - เมื่อสะละมีอายุได้ประมาณ 7-8 ปี หรือเมื่อต้นมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร อาจตัดต้นแม่ออกนำไปขยายพันธุ์ เพื่อให้มีช่องว่างตรงกลางกอ จะทำให้ปฏิบัติการดูแลรักษาสะดวกยิ่งขึ้น
    การตัดแต่งดอก
    - คานดอกที่ออกมาในระยะก่อน 2 ปี ควรตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ได้ ในระยะนี้จะไม่มีคุณภาพ
    - ตัดแต่งช่อดอกในแต่ละคานให้เหลือปริมาณพอเหมาะกับความสมบูรณ์ต้น
    โดยสังเกตจากช่อดอกหากสมบูรณ์จะอวบยาว สีแดงเข้ม กาบหุ้มมีสีดำ หรือสีน้ำตาล

    การผสมเกสร
    - สะละต้องช่วยผสมเกสร
    - ผสมเกสรโดยตัดช่อดอกตัวผู้ของระกำ สะกำ หรือสะละที่ บานแล้ว
    มาเคาะใส่ช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว ประมาณ 50% ของช่อดอกขึ้นไป
    ให้ละอองเกสรตกลงไปผสมกับเกสรตัวเมีย
    - ผสมเกสร โดยใช้เกสรสำเร็จรูปที่เก็บรวบรวมไว้ ผสมกับแป้งทาลคัม
    อัตรา 1:10 พ่นบนช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว 80% ก่อนนำเกสรสำเร็จรูปไป
    ใช้ควรทดสอบเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตของละอองเกสรก่อน
    - การผสมเกสรสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน แต่ในฤดูฝนเมื่อ ผสมแล้ว
    ต้องคลุมดอกไว้อย่างน้อย 2 วัน

    การโยงผล
    - โยงผลตามความเหมาะสมโดยเฉพาะใน ต้นเล็กที่กระปุกผลอยู่ใกล้พื้นดิน



    ศัตรูและการป้องกันกำจัด


    สะละ



    โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

    โรคใบจุด
    สาเหตุ ปัจจุบันพบเชื้อราสาเหตุ 2 ชนิด คือ Helminthosporium sp.
    และ Bipolaris sp.
    ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีเหลืองอ่อน ขนาดหัวเข็มหมุด
    ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลขยายออก
    มีลักษณะค่อนข้างกลม มักเกิดกับต้น สะละที่ปลูกในสภาพแจ้งไม่มีร่มเงา
    การป้องกันกำจัด
    - สร้างร่มเงาที่เหมาะสมให้แก่ต้นสะละ

    โรคผลเน่า
    สาเหตุ เกิดจากการเข้าทำลายของเส้นใยเห็ดรา
    ชนิด Marasmius palmivorus Sharples
    ลักษณะอาการ เปลือกของผลสะละจะมีสีน้ำตาล มีเส้นใยสีขาวหรือ
    ขาวอมชมพูเกิดขึ้น เส้นใยจะแทงทะลุเปลือกเข้าไปในผล ทำให้
    เปลือกเปราะแตก เนื้อในเน่า ผลร่วงหล่น เมื่อเส้นใยเจริญเต็มที่
    จะสร้างดอกเห็ดสีขาว เมื่อดอกบานจะปลดปล่อยสปอร์กระจาย
    และระบาดไปสู่ทะลายผลอื่น ๆ ได้


    การป้องกันกำจัดศัตรู

    - ปรับสภาพสวนให้มีการระบายอากาศดี ควบคุมไม้ร่มเงาให้ได้แสง
    กับสะละ ประมาณ 50%
    - ผลที่แสดงอาการเน่าควรปลิดทิ้ง พร้อมกับเก็บผล ที่ร่วงหล่น
    เผาทำลายก่อนที่จะสร้างดอกเห็ด

    - การป้องกันโดยการใช้จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อ สาเหตุก่อนการระบาด
    เช่น บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis)

    - การป้องกันโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำ จัดเชื้อรา
    กลุ่มคาร์บ๊อกซิม (carboxin) เช่น ไวตาแว็กซ์ 75% WP อัตรา 50 กรัม
    ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไธเบนดาโซล (thiabendazol) เช่น
    ท็อปซิม-เอ็ม + ฟอสฟอรัส แอซิค ฉีดพ่นก่อนการระบาดของเชื้อ
    สาเหตุหรือก่อนฤดูฝน และหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน



    แมลงที่สำคัญและการป้องกันกำจัด


    สะละ



    ด้วงแรด (Rhinoceros beetle)
    ลักษณะและการทำลาย
    ด้วงแรด เป็นศัตรูของพืชตระกูลปาล์มหลายชนิด เช่น มะพร้าว
    ปาล์มน้ำมัน ในสะละพบการทำลายของด้วงแรด 2 ชนิด
    คือด้วงแรดเล็ก (Oryctes rhinoceros Linnacus) และ
    ด้วงแรดใหญ่ (Oryctes gnu Mohner) กัดกินยอดสะละเป็นอาหาร
    ทำให้ทางใบหักง่าย ด้วงงวงและเชื้อโรคเข้าทำลายซ้ำ
    ทำให้ยอดเน่าและต้นตายได้
    การป้องกันกำจัด
    - ทำความสะอาดบริเวณสวนไม่ให้มีแหล่งขยายพันธุ์ โดยเฉพาะซาก
    กองปุ๋ยหมักจะต้องไม่กองทิ้งเกิน 3 เดือน เมื่อเกิน 3 เดือน
    ควรเกลี่ยให้กระจาย
    - ใช้เชื้อราเขียว (Meterhizium anisopliac (Metsch) Sorok.)
    ไส่ไว้ตามแหล่งที่ตัวหนอนอาศัยอยู่ เชื้อราจะแพร่กระจายและ
    สามารถทำลายด้วง แรดได้ทุกระยะการเจริญเติบโต
    - ใส่ลูกเหม็นบริเวณกาบรอบ ๆ ยอดอ่อน ต้นละ 6-8 ลูก
    เพื่อขับไล่ไม่ได้ด้วงแรดเข้าทำลาย
    - ใส่ทรายในซอกกาบเช่นเดียวกับการ ป้องกันกำจัดด้วงแรดในมะพร้าว

    ด้วงงวง (Asiatic palm weevil)
    ลักษณะและการทำลาย
    ด้วงงวง ที่เป็นศัตรูของพืชตระกูลปาล์มมี 2 ชนิด คือด้วงงวงมะพร้าว
    ชนิดเล็ก (Rhynchophorus ferrugineus Oliver) และ
    ด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ (Rhynchophorus vulneratus Panzer)
    แต่ที่พบการทำลายสะละมักเป็นชนิดเล็ก* โดยตัวด้วงเจาะเข้าทำลายคาน
    ทำให้ผลร่วงหมดทั้งคน หรือเจาะกาบทำให้ทางใบแห้ง หรือเข้าทำลาย
    ทางบาดแผลหลังจากตัดแต่งหน่อต๊อกแล้ว ตัวแก่วางไข่ภายในกาบ
    และเกิดเป็นตัวหนอนกัดกินทำลายครบวงจร
    การป้องกันกำจัด
    - ใช้สารฆ่าแมลงประเภท คลอร์ไพริฟอส เช่น ลอร์สแบน 40% E.C.
    อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน
    และหยุดการใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน
    *ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลอนุกรมวิธาน ว่าเป็นแมลงชนิดเดียวกันหรือไม่

    ด้วงงวงจิ๋ว (Coconut small weevil)
    ลักษณะและการทำลาย
    ด้วงงวงจิ๋ว (Diocalandra frumenti Fabricius) คล้ายมอดข้าวสาร
    กัดกินเกสรของสะละทั้งตัวผู้และตัวเมียทำให้ไม่ติดผล และเป็น
    พาหะสำคัญนำโรคต่าง ๆ ด้วย ตัวแก่วางไข่บนช่อดอก เมื่อหนอนฟัก
    จากไข่จะเจาะชอนไชไปตามส่วนต่าง ๆ ของดอกทำให้เกิดแผลเน่า
    การป้องกันกำจัด
    - เช่นเดียวกับด้วงงวง
    สัตว์ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

    สัตว์ฟันแทะกัดกินผล เช่น
    กระถิก หนู กระแต กระจ้อน และกระรอก เป็นต้น

    การป้องกันกำจัด
    - ทำความสะอาดบริเวณแปลง
    - อนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งูสิง เหยี่ยว นกเค้าแมว ฯลฯ

    หอยทาก กัดกินดอกและผล
    การป้องกันกำจัด
    - เก็บทำลายหรือนำไปบดทำปุ๋ยหมัก
    - ใช้เหยื่อพิษล่อ

    วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
    วัชพืชที่พบในสวนสะละ แบ่งออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
    - วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก เป็นต้น
    - วัชพืชใบกว้าง เช่น สาบเสือ ผักโขม เป็นต้น
    การป้องกันกำจัด
    - ใช้แรงงานหรือเครื่องจักรตัดวัชพืชเหนือระดับผิวดิน
    -ใช้วัสดุคลุมดินได้แก่เศษซากวัชพืชทางใบสะละจะช่วยลดการงอกของเมล็ดวัชพืช
    -การใช้สารเคมีเป็นวิธีที่สะดวกมีประสิทธิภาพสูงแต่ต้องระมัดระวังผลกระทบจากการใช้ด้วย


    การเก็บเกี่ยว

    สะละ


    ดัชนีการเก็บเกี่ยว
    - นับอายุผล ควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลสะละมีอายุประมาณ 37 สัปดาห์
    หลังดอกบาน (ประมาณ 9 เดือน) จะได้ผลสะละที่มีรสหวานอมเปรี้ยว

    - สังเกตสีเปลือก จะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลไหม้เป็นสีน้ำตาลแดง
    ผิวเปลือกแตกเป็นลายคล้ายเกล็ดงูชัดเจน
    - บีบผลแล้วรู้สึกว่านิ่ม เนื่องจากมีความแน่นเนื้อน้อยลง เมื่อทดสอบปลิดผล
    จะหลุดออกจากขั้วได้ง่าย
    - ทดสอบรสชาติโดยการชิม เป็นวิธีที่แน่นอนที่สุด โดยควรชิม
    ในแต่ละกระปุกก่อนเก็บเกี่ยวเพราะในแต่ละกระปุกจะสุกแก่ไม่พร้อมกัน

    วิธีการเก็บเกี่ยว
    - ใช้กรรไกรหรือมีดมีคมตัดกระปุกสะละทีละกระปุกวางในเข่งหรือ
    ตะกร้าพลาสติก ระมัดระวังอย่าให้ผลหลุดร่วง
    - ขนถ่ายจากแปลงไปยังโรงเรือนคัดบรรจุ (Packing House)
    ด้วยความระมัดระวัง
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    อยากกิน แต่ว่าแกะลำบากจ้า อิอิอิ

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ทำงานที่อำเภอพรเจริญ จ.หนองคาย
    กระทู้
    107
    อยู่ไฮ่ปลูกไว้ ๒ ต้น
    อายุปีกว่า
    อีก ปีกว่าจะถ่ายรูปมาฝากเด้อครับ

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641
    รสชาติมันเป็นแนวได๋น้อคับ

  5. #5
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    อีสานบ้านเฮาสิออกเสียงว่า "บักสะหละ" ส่วนหลายผมสิเห็นมาจากภาคใต้ครับ

    รสชาติส้ม ๆ กลิ่นคือกลิ่นน้ำสละนั่นล่ะครับ มีคนขูดผิวมาตำใส่น้ำพริกกะปิ แซบคัก

    แต่ พล พระยาแล บ่มักครับ หนามมันแทงแมะ แนวมีหนามกะมักแต่ดอกกุหลาบล่ะครับ

    อัน ๆ บักงิ้วหนามบ่มักเด้อ สิบอกไห่ ฮ่า ๆ ๆ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •