กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: อิเหนา

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    อิเหนา

    อิเหนา


    [yflash]http://www.youtube.com/v/CTtS912VxEE&hl=en&fs=1[/yflash]




    เรื่องย่อ อิเหนา


    มีกษัตริย์วงศ์เทวาสี่พระนคร เป็นพี่น้องกัน ครองเมืองสำคัญตามลำดับ
    คือ กุเรปัน ดาหา กาหลังสิงหัดส่าหรี มเหสีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหา
    เป็นพี่น้องกันด้วย ท้าวกุเรปันมีโอรสชื่อ อิเหนา ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง
    เป็นชายหนุ่มรูปงามมีความสามารถเชี่ยวชาญในการรบ และเป็นชาย
    ที่มีเสน่ห์ เป็นที่ชื่นชอบของเพศตรงข้าม ส่วนท้าวดาหามีธิดา ชื่อ บุษบา
    ซึ่งรูปงามมาก เป็นนางเอกของเรื่อง


    ]อิเหนา


    ท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ได้หมั้นหมายอิเหนาและบุษบาไว้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย
    เพื่อจะได้อภิเษกเป็นคู่ครองกันสมตามศักดิ์ศรีของวงศ์เทวา โดยที่
    ทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน ต่อมาอิเหนาเป็นผู้แทนท้าวกุเรปัน
    ไปในงานศพท้าวหมันยา ซึ่งมเหสีท้าวหมันหยาเป็นญาติ อิเหนาได้พบ
    นางจินตะหราวาตี ธิดาท้าวหมันหยา ได้นางจินตะหราซึ่งต่ำศักดิ์กว่าเป็นชายา
    เมื่อถึงเวลาจะต้องแต่งงานกับบุษบา อิเหนาซึ่งหลงนางจินตะหราอยู่ที่
    เมืองหมันหยาได้ปฏิเสธไม่กลับไปแต่งงานกับบุษบา


    อิเหนา


    ท้าวดาหาพระบิดาของบุษบากริ้วโกรธมาก จึงประชดยกนางบุษบาให้จรกา
    แห่งเมืองล่าสำ ซึ่งรูปชั่วตัวดำ ต่อมา วิหยาสะกำ โอรสท้าวกะหมังกุหนิง
    ได้รูปวาดนางบุษบาที่จรกาให้ช่างลอบไปวาด แล้วเทวดามาบันดาล
    ให้รูปวาดบุษบาหายไป ๑ รูป ไปตกอยู่ในมือวิหยาสะกำ เมื่อได้เห็นรูป
    ก็หลงรัก ส่งทูตไปสู่ขอ แต่ท้าวดาหายกนางบุษบาให้จรกาแล้ว
    วิหยาสะกำแห่งเมืองกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาชิงนางบุษบา
    ท้าวกุเรปันและมเหสีส่งสารไปให้อิเหนายกทัพไปช่วยเมืองดาหา อิเหนา
    ก็โอ้เอ้อยู่ จนต้องมีสารไปตัดเป็นตัดตายว่า


    อิเหนา


    “ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว
    แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่
    อันองค์ท้าวดาหาธิบดี
    นั้นมิใช่อาฤาว่าไร
    แม้นมิยกพลไกรไปช่วย
    ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
    อย่าดูทั้งเปลวอัคคี
    แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย”



    อิเหนา


    เมื่ออิเหนาได้เห็นบุษบาเพียงครั้งแรกก็หลงรักและคลั่งไคล้อย่างหนัก
    จึงทำอุบายลักพานางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำและได้อยู่ร่วมกันมีความสุข
    แต่เทพยดา ปะตาระกาหลง ซึ่งเป็นอัยกา (ปู่)ไม่พอใจที่อิเหนาประพฤติตน
    ไม่ดี จึงลงโทษบันดาลให้ลมพายุหอบนางบุษบา ซึ่งออกมาชมสวนไป
    และมีบันดาลให้นางกลายร่างเป็นชาย ชื่อ อุนากรรณ สาปไว้ด้วยว่า
    ต่อเมื่อพี่น้องสี่นครมาพบกันพร้อมหน้าเมื่อใด อุนากรรณจึงจะกลายร่าง
    จากชายเป็นบุษบาได้ หากไม่ถึงเวลานั้น แม้อิเหนาพบบุษบา ก็ไม่สามารถจะ
    ทราบว่านางคือบุษบา ปะตาระกาหลาประทานกฤชให้อุนากรรณ
    ต่อจากนั้นอุนากรรณก็เที่ยวร่อนเร่พเนจรไปตามเมืองต่างๆ รบชนะ
    ได้ธิดาของเมืองต่างๆ มาร่วมเดินทาง
    อิเหนา
    ฝ่ายอิเหนาเมื่อทราบว่าบุษบาหายไป ก็ออกติดตามหา ระหว่างทางรบชนะ
    ได้เมืองต่างๆ ได้พบอุนากรรณ แม้สงสัยว่าเป็นบุษบา แต่สืบอย่างไรก็
    พบว่าอุนากรรณเป็นชาย ต่อมาอิเหนาปลอมตัวเป็น ปันหยี (โจรป่า)
    ออกตามหานางบุษบาไปทุกหนทุกแห่งด้วยความทุกข์ทรมานใจ
    จนในที่สุดได้พบนางบุษบาบวชเป็นแอหนัง (ชี)อยู่ที่เขาตะหลากัน
    และตั้งใจว่าจะฆ่าตัวตาย ปันหยีปลอมเป็นเทวดาไปลวงนางแอหนังว่า
    จะพาไปสวรรค์ แล้วพานางมายังเมืองกาหลัง ทำอุบายให้ประสับตา
    พี่เลี้ยงเล่นหนังพรรณนาเรื่องของอิเหนาและบุษบาให้นางแอหนังดู
    ในที่สุดปันหยีก็รู้ว่าแอหนังคือบุษบา ประจวบกับมีเหตุให้ระเด่นพี่น้อง
    ทั้งสี่เมืองมาครบ อิเหนาจึงสึกชี แอหนังเป็นบุษบา ภายหลังได้อภิเษกกัน


    อิเหนาเป็นบทระพราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้บทละคร
    เรื่องอิเหนามีคุณค่าสูง ทั้งในเชิงวรรณศิลป์ และนาฏศิลป์ คีตศิลป์
    เมื่อทรงพระราชนิพนธ์แต่ละตอนเสร็จแล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้
    กรมขุนพิทักษ์เทเวศร์ นำไปทดลองขับร้องประกอบดนตรี จัดท่ารำ
    แก้ไขปรับปรุงให้รัดกุม กระชับ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทุกตอน
    ด้วยเหตุนี้ บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใน
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีความไพเราะ งดงาม
    เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์ ในเชิงนาฏศิลป์
    ก็เป็นบทละครที่มีลีลางดงาม พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาจึงเป็นที่ประทับใจ
    ผู้คนทุกยุคทุกสมัยตลอดมา มีผู้นำไปแสดงละคร ใช้เป็นบทขับร้อง
    และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นวรรณคดีอันอมตะของชาติ และ
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีสโมสร
    ได้ตัดสินให้ อิเหนาเป็นยอดแห่งกลอนบทละคร


    พระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานี้ นอกจากมีคุณค่าสูงเชิงวรรณศิลป์และ
    นาฏศิลป์ คีตศิลป์ (ขับร้องและดนตรี) แล้ว ยังมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
    สังคมศาสตร์ ด้วย เช่น สะท้อนภาพบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์


    นอกจากนั้น ยังกล่าวถึง ขนบประเพณีสำคัญทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน
    การดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจการค้าอาชีพ การแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ
    รวมทั้งศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยในอดีต ซึ่งบางอย่างยังเป็นแบบแผน
    ประเพณีตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่
    ประเพณีการพระเมรุ ซึ่งยังคงเป็นแนวปฏิบัติอยู่ในราชสำนักของไทย และ
    ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีอื่นๆ เช่น แห่สระสนานใหญ่ ประเพณีโสกันต์
    ซึ่งนักปราชญ์ทางวรรณคดีและสังคมศาสตร์กล่าวว่า
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์
    ไว้ตรงตามตำราราชประเพณีโบราณ เพียงแต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้อง
    กับเนื้อเรื่อง ดังนั้น คนไทยสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนิยมยกย่องและศึกษา
    สืบทอดเรื่องอิเหนาตลอดมา ซึ่งนอกจากได้รับความเพลิดเพลิน
    ได้รับอรรถรสอันเปี่ยมด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์แล้ว ยังได้รับประโยชน์
    ด้านความรู้อันเป็นแบบแผนแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างดี เช่น
    คติในข้อที่บุตรธิดาไม่เชื่อฟังอยู่ในโอวาทบิดามารดา คือ อิเหนา
    ซึ่งต้องประสบเคราะห์กรรม พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก
    ต้องได้รับความทุกข์ทรมานยากลำบากสาหัสในการร่อนเร่ติดตาม
    หานางบุษบาเป็นเวลาช้านานกว่าจะพ้นปัญหา ความรักหลงในอิสตรี
    อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนถึงชีวิต เช่น วิหยาสะกำ และความรักลูกตามใจ
    จนเกิดภัยแก่ชีวิตทั้งของตนและลูก เช่น ท้าวกะหมังกุหนิง พระบิดาของวิหยาสะกำ
    เป็นต้น
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23

    Re: อิเหนา

    อิเหนาถือเป็นละครลำที่มีบทประพันธ์ไพเราะที่สุด โด่งดังมาตั้งแต่สมัยจากยุคอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าฟ้าหญิงสองพระองค์ (จำชื่อไม่ได้แล้ว) ได้เก็บเรียบเรียงจากเดิมใหม่สองฉบับ เป็นเรื่องเดียวกันแต่เนื้อหาแตกต่างกันเล็กน้อย..ภายหลังในยุครัตนโกสินทร์ ช่วงสมัยของร. ๒ และสุนทรภู่ได้ช่วยกันรวบรวมและประพันธ์ขึ้นมาอีกครั้งเป็นฉบับเดียวกัน คำประพันธ์จึงไพเราะมาก เป็นวรรณคดีที่โด่งดัง ในยุคทองของวรรณคดี(ช่วง ร.๒ และสุนทรภู่)ช่วงนั้นทีเดียว(ดั่งที่เราท่านอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง ยกตัวอย่างเช่น

    โอ้ว่าอนิจจาความรัก เพิ่งประจักษ์ดั่งสายนําไหล
    มีแต่กะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ไฉนเลยจะย้อนคืนมา (อาจผิดพลาดบางคำ ขออภัยนะคะ อิอิ)

    มีสองเรื่องที่โด่งดังคือ รามเกียรติ และ อิเหนาค่ะ ไม่เฉพาะบทประพันธ์ที่ไพเราะ เครื่องแต่งกาย และท่ารำก็ประณีต งดงามยิ่งนัก เพราะเป็นการแสดงที่ใช้สำหรับในวังเท่านั้นในสมัยนั้นค่ะ
    มองต่าง..อย่างปลง

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ ต่าย
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    ที่อยู่
    เชียงใหม่
    กระทู้
    1,229
    บล็อก
    5
    วรรณคดีเรื่อง อิเหนา ประทับใจต่ายเป็นที่สุด..
    เป็นวรรณคดีไทยเรื่องเดียวที่ตราตรึงใจที่สุดกะว่าได้....
    อาจสิเพราะความ ไพเราะในบทกลอนคือว่า...
    อีกทั้ง...อิเหนาและบุษบา กะเป็นตัวพระนางที่ต่ายชอบที่สุดเช่นกัน
    และคึดว่า รูปโฉมคงสิงามที่สุดในบรรดา พระนางในวรรณคดีทั้งหมดของไทย..
    เป็นจินตนาการของต่ายมาตลอดตั้งแต่น้อยจนใหญ่....
    คงเป็นเพราะบทกลอนบรรยายความงามความหล่อของโตพระนางได้อย่างไพเราะเพราะพริ้งนั่นเอง......
    และมีส่วนทำให้ต่ายชอบแต่งกลอน แต่นั้นมา...อิ อิ


    ชอบ...อิเหนา..จังเลยจ้า..ไผ๋หาบทชมโฉมมาได้ เอามาโพสให้อ่านแน่เด้อจ้า

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ภาพประกอบเรื่องอิเหนา



    [music]http://dc107.google.co.th/img/73019478/6c2c41e2/dlink__2Fdownload_2F73019478_2F6c2c41e2_3Ftsid_3D20090607-064221-7848137/preview.mp3[/music]














    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 07-06-2009 at 17:40.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    ละไมฝน
    Guest
    อิเหนาตอน จรกาหลงรูปนางบุษบา...

    เมื่อนั้น
    ระตูจรกาเกษมสานต์
    คลี่กระดาษดูรูปเยาวมาลย์
    เฉิดโฉมประโลมลานอาลัยนัก
    พิศทรงสอดสมคมขำ
    งามล้ำนางในไตรจักร
    สารพัดโสภาน่ารัก
    เหมือนจะเยื้อนเบือนพักตร์มาพาที
    จะไว้เปรียบกับอย่างนางดาหา
    เลือกโฉมกัลยาทั้งสองศรี
    ใครเลิศลักษณ์จักเทวี
    ภูมีเปรมปริ่มกระหยิ่มใจ
    แต่เวียนพิศรูปทรงนงคราญ
    จะว่าขานการเมืองก็หาไม่
    ม้วนกระดาษวาดรูปนั้นถือไว้
    แล้วเสด็จเข้าในที่ไสยา...

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17
    ธุจ้า:heart:ขอขอบคุณสำหรับความรู้คับ:l-

  7. #7
    Moderators สัญลักษณ์ของ ต่าย
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    ที่อยู่
    เชียงใหม่
    กระทู้
    1,229
    บล็อก
    5

    รอบยิ้มพิมใจ

    ขอบคุณทุกข้อมูล และบทกลอนที่ไพเราะจ้า...
    ....:heart:....:heart:
    บุษบา..ยาใจพี่ ดลฤดีให้โหยหา
    พิศพักตร์..ดั่งทองทา..ฤามาดแม้น จากแดนสรวง
    เพียงพบ..ประสบนาง ก็พ่ายแพ้ทุกแดดวง
    ดวงจิต คิดห่วงหวง ดั่งระเด่นละออตา

    พิศเจ้า จากบทกลอน ชวนออดอ้อน เสียหนักหนา
    เพียงเพราะภาพบุษบา จรกาแทบแดโดย
    ลืมสิ้น ถวิลแต่นาง ธ อ้างว้าง ฤดีโหย
    อิเหนา เค้าลาโรย บ่เห็นค่า อุรานาง


    :heart:..:heart:..:heart:

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นา ดอกจาน
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    FL,USA
    กระทู้
    229

    อิเหนา

    ขอบคุณมากค่ะ ชอบเพลงอิเหนารำพึง ด้วยค่ะ เสียงหยาด นภาลัย หวานสุดๆเลย อิเหนา:heart:

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •