กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: สังข์ศิลป์ชัย

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    กระทู้
    641

    สังข์ศิลป์ชัย

    :)

    สังข์ศิลป์ชัย หรือ เขียนตามฉบับภาษาลาวว่า สังสินไซย ซึ่งในอดีต เป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในภูมิภาคอีสานและลาว

    คณะหมอลำที่ลำเรื่องสังสินไซย มีไม่กี่คณะ ลำเรื่องสังสินไซย ก็มีทำนองแตกต่างจากลำเรื่องต่อกลอนทั่วไป ช่วงเดินกลอนทำนองหนึ่งที่พวกเราคุ้นเคยกันดี คือ ทำนองของลายสังข์ศิลป์ชัย นั่นเอง... นักแสดงโอรสทั้งเจ็ด(รวมทั้งสังสินไซย) ก็นิยมใช้ผู้หญิงแสดงแทนชาย เหตุผลอาจเนื่องจากว่า มีฉากพลอดรักของสังสินไซยบางฉากที่ต้องการแสดงให้สมจริง หัวหน้าคณะจึงเลือกหญิงเล่นคู่กับหญิง จะได้ไม่เสียหายกับวัฒนธรรมประเพณีและนักแสดง

    นอกจากนี้ ก็มีคณะขับร้องสรภัญญะซึ่งเป็นหญิงล้วน คณะที่ร้องสรภัญญะเรื่องสังสินไซย ก็มีน้อยเช่นกัน... ปัจจุบัน คงไม่มีแล้ว
    (ข้าพเจ้า จำได้เพียงวรรคเดียว คือ “สินไซยไปเอาอา สินไซยไปเอาอา…” ทำนองนี้ ยังไม่มีในบทร้องสรภัญอีสานจุฬาฯ๗ทำนอง)

    --------------------------------

    ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี…
    หนังสือสังข์ศิลป์ชัยถือว่าเป็นวรรณคดีขั้นสุดยอดของลาวอีกเล่มหนึ่ง มหาสิลา วีระวงส์ ซึ่งเป็นผู้รวบรวมแก้ไขได้ให้ความเห็นว่า หนังสือเรื่องนี้แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนของคำกลอนลาวอย่างแท้ ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ แม้ในบทที่แสดงความโกรธแค้นก็ใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบคาย และผู้รจนาหนังสือเล่นนี้ยังเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแตกฉานในภาษาบาลี มีความรู้ภาษาสันสกฤตและราชประเพณีเป็นอย่างดี

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่งของลาว มีคนรู้จักกันแพร่หลาย เรื่องสังข์ศิลป์ชัยนี้ ของเดิมเป็นหนังสือเทศน์ลำ เรียกว่า ลำสังข์ศิลป์ชัย หรือ ศิลป์ชัยชาดก เป็นใบลานจารึกด้วยอักษรธรรม มีอยู่ทั้งสิ้น 21 ผูก

    ของเดิมเป็นการเขียนแบบร้อยแก้ว ผู้แต่งหนังสือสังข์ศิลป์ชัยเป็นคำกลอน คือ ท้าวปางคำ ใช้สำหรับอ่านฟังในเวลาโศกเศร้า เช่น ในงานศพ (ลาวเรียกว่า งานเฮือนดี) ท้าวปางคำผู้นี้ มหาสิลาฯ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ไปครองเมืองหนองบัวลำภู

    ท้าวปางคำแต่งหนังสือเรื่องสังข์ศิลป์ชัยในราว พ.ศ. 2192 หนังสือเรื่องนี้มีผู้คัดลอกเขียนใส่ใบลานต่อ ๆ มา มีการพิมพ์ทั้งภาษาลาวและภาษาไทยอย่างกว้างขวาง และปรากฏว่ามีบางตอนไม่ตรงกัน ท่านมหาสิลาฯ ได้พยายามอ่านอยู่หลายฉบับ และนำมาเทียบเคียงกัน เห็นว่าฉบับที่คัดลอกมาจาก จังหวัดอ่างทองของไทย และฉบับของท่านหยุย อภัย จากเมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดกันมามีข้อความตรงกัน จึงได้ถือเอาต้นฉบับเมืองโขง มาแก้ไขเรียบเรียงและพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศลาวเมื่อปี พ.ศ. 2492 หนังสือเล่นนี้ได้มีการพิมพ์ต่อมาอีกหลายครั้งจนถึงทุกวันนี้


    อ้างอิงที่มา

    อ้างอิงกระทู้มาจากเว็บไซต์อีสานจุฬาฯ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าวนาตาลเขย่าโลก; 02-08-2009 at 00:41.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •