โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว


โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว


โลหะหนัก ภัยใกล้ตัว


หลายคนคิดว่า สารโลหะหนักจำพวก สารปรอท และสารตะกั่ว เป็นเรื่องไกลตัว จึงมองข้ามพิษภัยที่อาจจะเกิดขึ้น สารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยที่เราไม่รู้ตัว จากสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอาง หรือจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เราจึงควรเรียนรู้ และป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายเหล่านี้ เช่น



สารปรอท
สารปรอทมักพบปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำและดินเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ขยะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารปรอทเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน


นอกจากนี้ พบสารปรอทในเครื่องสำอางและอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล พบมากในสัตว์ทะเลตัวใหญ่ เช่น ฉลาม ทูน่า โลมา วาฬ เนื่องจากมีช่วงชีวิตที่ยืนยาวและกินปลาเล็กเป็นอาหาร จึงมีโอกาสที่สารปรอทสะสมอยู่ในตัวค่อนข้างมาก ความเชื่อที่ว่าหูฉลามเป็นอาหารมีคุณค่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ซึ่งการปนเปื้อนของสารปรอทจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีสาเหตุมากจากโรงงานอุตสาหกรรมมักปล่อยสารปรอทออกมากับน้ำทิ้งของโรงงานนั่นเอง

สารปรอทเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรงจากการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง การกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอท สารปรอทที่อยู่ในรูปของเหลวสามารถระเหยเป็นไอได้ในภาวะปกติ ส่วนใหญ่พบในเทอร์โมมิเตอร์ ถ้าเทอร์โมมิเตอร์แตก สารปรอทจะกลายเป็นไอ ทำให้เกิดอันตรายกับทางเดินหายใจ


ข้อควรปฏิบัติเมื่อเทอร์โมมิเตอร์แตก ดังนี้

- ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
- ห้ามใช้ไม้กวาด กวาดสารปรอทที่ไหลออกมาเป็นเม็ดเล้ก กระจายไปทั่วปริเวณ
- ห้ามใช้เครื่องดูดฝุ่น ดูดสารปรอท เพราะทำให้สารปรอทตกค้างในเครื่องดูดฝุ่น ทำให้สารปรอทระเหยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
- ควรสวมเครื่องป้องกัน (เช่น ผ้าปิดปากปิดจมูก) แล้วใช้กระดาษแข็งกวาดสารปรอทมารวมกัน หรือใช้ผงกำมะถันโรยทับสารปรอทและตักใส่ภาชนะที่มีฝามิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะ (ถังขยะอันตราย)
- หากเทอร์โมมิเตอร์แตกขณะวัดไข้ในปาก ให้รีบบ้านปากออก แล้วไปพบแพทย์ทันที



ไอปรอทเป็นพิษต่อร่างกายมกา ถ้าหายใจเข้าไปจะดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดทันที กระจายไปยังสมอง และส่วนอื่นของร่างกายได้รวดเร็วมาก แต่ขับออกมาในรูปของเสียได้น้อยมาก ปรอทจะจับยึดกับเม็ดเลือดแดงและกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย แล้วสามารถทำลายเนื้อเยื่อสมองส่วนที่ควบคุมการมองเห็นและความรู้สึกนึกคิด สารปรอทสามารถผ่านทางรกไปยังทารกในครรภ์ได้



สารตะกั่ว
แต่ละวันคนเรามีโอกาสได้รับสารตะกั่ว โดยตรงจากการกินอาหาร น้ำดื่ม หรือหายใจเอาสารตะกั่วเจือปนเข้าไป

กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่ คนงานที่ทำเหมืองตะกั่ว โรงงานผลิตแบตเตอรี่ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตสี โรงงานผลิตสารพิษกำจัดศัตรูพืช และคนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่วหรือใกล้โรงงานที่มีการใช้สารตะกั่วเป็นวัตถุดิบ ตำรวจจราจร และคนที่อยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นเวลานาน

เด็กอาจได้รับสารตะกั่วจากการหยิบสิ่งที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าปาก หรือรับจากน้ำนมแม่ที่มีสารตะกั่ว แม้แต่ทารกในครรภ์ ก็สามารถรับสารตะกั่วได้ทางสายสะดือ

สารตะกั่วมีพิษมากโดยเฉพาะเด็ก ซึ่งอาจมีผลทำให้สมองพิการ ส่วนผู้ใหญ่อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท สำหรับอันตรายโดยทั่วไปนั้นทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น ทำให้เป็นโรคเลือดจาง และเป็นอันตรายต่อระบบประสาท ไต ทางเดินอาหาร ตับ และหัวใจ

อาการโรคพิษตะกั่วเกิดได้กับหลายระบบของร่างกาย คือ

๑. ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง อาการสำคัญที่พบ คือ สมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ มีอาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย ซึม เวียนศีรษะ รายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการสั่นเวลาเคลื่อนไหว ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้

๒. ระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ พบมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ กล้ามเนื้อที่ใช้บ่อยมีอาการอ่อนแรง หรืออัมพาต

๓. ระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน โดยเริ่มแรกมักมีอาการท้องผูก แต่บางรายอาจมีอาการท้องเดิน น้ำหนักลด กล้ามเนื้อหน้าท้องบีบเกร็งและกดเจ็บ ทำให้มีอาการปวดท้องมาก

๔. ระบบเลือด มักพบมีอาการซีด ทำให้เป็นโรคเลือดจาง

๕. ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะไตวาย เรื้อรัง

๖. ระบบโครงสร้าง ตะกั่วจะไปสะสมที่กระดูกโดยเฉพาะส่วนปลายกระดูกยาว

๗. ระบบสืบพันธ์ ผู้ที่ได้รับตะกั่วติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเป็นหมันได้ทั้งชายท้องหญิง

๘. ระบบอื่น ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการผิดปกติของดีเอ็น




[fm]http://www.hotlinkfiles.com/files/1968893_je58p/unvunmaimeetherMaiPhisitpong.swf[/fm]