กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: การเคารพพระสงฆ์

  1. #1
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    เรื่องฮิตน่าอ่าน การเคารพพระสงฆ์

    การเคารพพระสงฆ์
    ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญยิ่งสำหรับชนในชาติ เพราะคำสอนของศาสดาย่อมเป็นหลักทางใจ และเป็นแนวดำเนินชีวิตให้อยู่ในทำนองคลองธรรม เพื่อความสุขสงบของคนในชาติ คนไทยได้ชื่อว่าเป็นชาติที่มีใจนับถือมั่นอยู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปฏิบัติติศาสนาตลอดปีมิได้ขาด
    ในที่นี้จะได้กล่าวถึงวิธีเคารพสถาบันศาสนา ตามระเบียบประเพณีของไทย ดังต่อไปนี้
    การเคารพพระพุทธศาสนาซึ่งสมมติเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ และการเคารพพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า มีรายละเอียดดังนี้


    1. นั่งคุกเข่ากระหย่งเท้าพนมมือยกขึ้นหว่างคิ้ว ปลายนิ้วจรดไรผม แล้วกราบแบมือลงราบกับพื้นสามครั้ง ให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือที่แบกราบ เมื่อจบแล้วพนมมือขึ้นจบเหนือคิ้วอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า กราบในท่าเบญจางคประดิษฐ์ คือตั้งลงแห่งองค์ 5 ได้แก่ เข่าทั้ง 2 ฝ่ามือทั้ง 2 หน้าผากหนึ่ง ให้เข่าแลศอกทั้งสองตั้งตรงกัน อย่าให้ข้อศอกอยู่ในหว่างเข่าและกางออกไปข้างนอก
    2. การกราบทั้งสามครั้งนี้ มีความหมายดังนี้
    การกราบครั้งที่ 1 กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
    การกราบครั้งที่ 2 กราบพระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    การกราบครั้งที่ 3 กราบพระสงฆ์ซึ่งสละแล้วซึ่งโลกีย์ เป็นสาวกผู้เจริญรอยตามสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    3. ผู้หญิงนั่งพับเพียบ พนมมือระหว่างคิ้ว หมอบกราบแบมือทั้งสองข้างลงกับพื้นสามครั้งก็ได้
    4. ถ้าเห็นพระสงฆ์ในเวลาที่เรายืนอยู่นอกบ้าน จะย่อเข่าลงแล้วไหว้ก็ได้ แต่ให้ปลายนิ้วมือจรดที่ตีนผม เวลาเดินไปตามถนนหนทางเห็นพระสงฆ์เดินผ่านมา ควรหยุดเดินหันหน้าไปทางพระสงฆ์ไม่ต้องไหว้ รอให้พระสงฆ์เดินผ่านไปก่อน ถ้านั่งเก้าอี้อยู่พระสงฆ์เดินผ่านมาในที่ใกล้ ควรลุกขึ้นยืนรับและประนมมือไหว้ ถ้านั่งอยู่กับพื้นไม่ต้องลุกขึ้นยืนและไม่ต้องไหว้
    5. การถวายของพระ
    ชาย ถวายได้โดยตรงต่อมือของท่านเลย คุกเข่ากราบแบมือครั้งเดียว
    หญิง ต้องคอยให้ท่านปูผ้าชิ้นเล็กที่เรียกว่าผ้ากราบ เพื่อรับเสียก่อน จึงวางถวายลงบนผ้านั้น เมื่อถวายแล้วกราบอีกครั้ง โดยหมอบกราบแบบมือเดียว
    6. การตักบาตร
    ถ้าสวมรองเท้าที่ไม่สุภาพเรียบร้อย ควรถอดรองเท้าเสียก่อน (ถ้าใช้เป็นเครื่องแบบ หรือแต่งเป็นสากลไม่ต้องถอด เรื่องรองเท้าถ้าจะเดินเหยียบลานพระเจดีย์ เช่น พระปฐมเจดีย์เป็นต้น หรือในโบสถ์ วิหาร ก็เช่นกัน เว้นแต่แต่งเครื่องยศไม่ต้องถอด) หยิบของวางลงในบาตรพระด้วยความระมัดระวัง ทีละชิ้นโดยใส่ข้าวก่อนเสมอ
    7. ผู้หญิงไปหาพระสงฆ์ ต้องนั่งพับเพียบเรียบร้อยหรือนั่งเก้าอี้ในที่ๆ ท่านจัดไว้ห่างจากท่านพอสมควร ไม่อยู่ตามลำพังกับพระสงฆ์ ต้องมีบุรุษที่สามนั่งอยู่ด้วยจึงจะถูกต้องตามวินัยสงฆ์ เมื่อไปถึงยังไม่มีบุรุษที่สามอยู่ด้วย ควรรอจนกว่าจะมีผู้ชายมาอยู่เป็นเพื่อน
    8. การพูดกับพระสงฆ์ต้องมีสัมมาคารวะ และสำรวมเหมือนกับเฝ้าเจ้านายผู้ใหญ่ หรือญาติผู้ใหญ่ ไม่พูดเล่นพล่อยๆ ซึ่งฟังดูเป็นการขาดความเคารพไป
    9. หญิงห้ามแตะต้องตัวพระ แม้แต่ชายผ้าสบง หรือจีวรที่ท่านนุ่งห่มอยู่ก็ไม่ได้
    10. ไม่หยิบของที่เตรียมไว้จะตักบาตรมารับประทาน
    11. ไม่จำเป็นจะต้องรับประทานอาหารที่นำมาเลี้ยงหน้าศพ ต่อหน้าพระสงฆ์ที่อยู่ในพิธี
    12. กุลสตรีห้ามแต่งตัวไม่สุภาพไปวัด เช่น แต่งราตรี นุ่งกางเกง หรือแต่งตัวชุดสั้นจนตัวเองนั่งไม่สบาย ถือเป็นการไม่รู้จักกาละเทศะ
    13. ไม่สรวลเสเฮฮาในวัด ซึ่งทุกคนต้องการความสงบ และสำรวมอิริยาบถ
    14. ถ้าจะถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์ ควรเขียนจำนวนลงในใบปวารณานาบัตรใส่ซองถวาย ส่วนจำนวนเงินมอบให้ไวยาวัจกรหรือผู้ติดตามของท่าน เพราะพระวินัยห้ามไม่ให้พระสงฆ์รับเงินทอง
    15. พระภิกษุสงฆ์ที่มีราชทินนาม เรียกว่าพระภิกษุสงฆ์สมนศักดิ์ มีดังนี้
    สมเด็จพระมหาสมนเจ้า (ผู้มีกำเนิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนา ถ้าโปรดให้ทรงกรมก็ออกพระนามครบ เช่น พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงวชิรญาณวโรรส ถ้าไม่ได้ทรงกรมก็เป็นสมเด็จ)
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ผู้มีกำเนิดเป็นเชื้อพระวงศ์)
    สมเด็จพระสังฆราช (ผู้กำเนิดเป็นบุคคลธรรมดา)
    สมเด็จพระราชาคณะ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าว่า "สมเด็จ" (สมเด็จพระวันรัต)
    พระราชาคณะ มีลำดับต่อไปนี้
    พระราชาคณะรองสมเด็จ พระภิกษุที่มีคำนำหน้าว่า "พระ" (พระศาสนโสภณ)
    ชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้ ส่วนมากมี ธรรม นำหน้าชื่อ (พระธรรมปาโมกข์)
    ชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้ส่วนมากมี เทพ นำหน้าชื่อ (พระเทพมุนี)
    ชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้ส่วนมากมี ราช นำหน้าชื่อ (พระราชกวี)
    ชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นนี้มีนามว่า พระนำหน้าชื่อ (พระอมรโมลี)
    พระครูเป็นตำแหน่งรองพระราชาคณะลงมา เช่น (พระครูจุลนายก)
    สมเด็จพระสังฆราช คือผู้เป็นราชาแห่งสงฆ์ เป็นใหญ่กว่าสงฆ์อื่นทั่วอาณาจักรไทย ทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก เพราะทรงปกครองสงฆ์ทั้งหมด
    16. พระภิกษุสงฆ์มีคำพูดของท่านโดยเฉพาะ ใช้คำสรรพนามแทนตัวท่านว่า "อาตมาภาพ" หรือ อาตมา (แต่ถ้าเป็นชั้นผู้น้อยท่านมักใช้ว่า "ฉัน" )
    17. คำพูดของบุคคลที่ใช้สำหรับกับพระสังฆราช ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์มาแต่เดิมก็ใช้ราชาศัพท์ตามฐานันดรศักดิ์ ถ้าเป็นคนสามัญธรรมดาๆ เมื่อได้ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วก็ทรงมีฐานันดรศักดิ์เทียบเท่าพระองค์เจ้า
    18. ต้องใช้คำพูดอย่างราชาศัพท์ ใช้สรรพนามกับท่านว่า "ฝ่าพระบาท" ผู้พูดเป็นชายใช้ว่า "เกล้ากระหม่อม" ผู้พูดเป็นหญิงใช้ว่า "หม่อมฉัน" และใช้กิริยาราชาศัพท์ เช่น "สรง" "เสวย"
    ใช้คำแทนชื่อสงฆ์ระดับราชาคณะและฐานานุกรมว่า พระเดชพระคุณ พระคุณเจ้า ใต้เท้า ท่านตามฐานะของพระสงฆ์
    19. วิธีนิมนต์พระให้มาทำพิธีทางบ้าน
    ควรเขียนเป็นฎีกาถวายเพื่อท่านจักได้ยึดถือไว้เป็นหลักฐานกันลืม ส่วนข้อความที่เป็นหลักนั้นต้องแจ้ง สถานที่ วัน เดือน ปี และเวลาพร้อมทั้งชื่อผู้นิมนต์
    ถ้าเกี่ยวด้วยงานศพต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าเป็นศพใคร ใครเป็นผู้จัดทำ พร้อมทั้งบอกชื่อ ยศ บรรดาศักดิ์ของผู้ตาย (ถ้ามี) ด้วย ส่วนข้อความอื่นๆ ตามแต่ผู้นิมนต์จะพึงเขียนตามความต้องการ แต่ต้องบอกความสัมพันธ์ของผู้ตายกับผู้นิมนต์ และประวัติของผู้ตายด้วย (ประวัติถ้าไม่ ใช่นิมนต์เทศน์ เห็นว่าไม่ต้องก็ได้)
    มีข้อที่ควรกำหนดถ้อยคำที่นิมนต์ไว้ ดังนี้
    ถ้านิมนต์เกี่ยวด้วยการมงคลพึงกล่าวว่า "เจริญพระพุทธมนต์" ถ้านิมนต์เกี่ยวด้วยงานศพพึงกล่าวว่า "สวดมนต์" หรือ "สวดพระพุทธมนต์" ถ้านิมนต์พระสงฆ์มาฉันเช้าฉันเพล อย่าใช้ถ้อยคำที่ขัดกับพระวินัยบัญญัติ เช่น "นิมนต์ฉันข้าว" เป็นต้น ควรใช้คำกลางๆ ว่า ฉันภัตตาหาร
    19. ถ้าจะเขียนเป็นจดหมายกราบทูลพระสังฆราชก็ต้องใช้ราชาศัพท์ขึ้นต้นว่า "กราบทูลทรงทราบฝ่าพระบาท" และลงท้ายว่า "ควรมิควรแล้วแต่จะทรงโปรด"
    ถ้านิมนต์มาในวันเกิด ควรใช้คำว่า นิมนต์รับอาหาร บิณฑบาตรเช้า เพล หรือนิมนต์ฉันเช้า ฉันเพล ตามสมควร

    ที่มาจาก : http://www.formumandme.com/phyco/phyco08_4.html
    ขอบพระคุณสมาชิกและทีมงานที่เคารพรักทุกท่าน

  2. #2
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    ขอขอบคุณในนามสมาชิกบ้านมหาที่นำเอาสาระดีๆทางศาสนามาลงไว้ เพราะปัจจุบันพุทธศาสนิกชน ยังบ่ฮู้ถึงระเบียบ ธรรมเนียมการปฏิบัติที่ถูกที่ควรและเหมาะสม
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •