:)สมัยผมเป็นเด็กน้อย เพิ่นที่พาเอาบุญข้าวสาก บุญข้าวสากกะคือ ชาวบ้านชาวเมืองเพิ่นสิเ
ฮ็ดกระทงยาวๆ(ข้าวสาก)ประมาณ1 ฟุต ข้างในสิมีข้าวปลาอาหารของอยู่ของกิน หัวและท้ายสิกลัดด้วยไม้ปลายแหลม หลังจากพระสงฆ์ และผู้เฒ่าผู้แก่พาเฮ็ดบุญเฮ็ดทานแล้ว เพิ่นกะสิพากันเอากระทงใบตองกล้วยอันที่ว่าเนี่ยไปห้อยไปแขวนตามตนไม้ ต้นหญ้า เพื่อให้ผีเจ้าผีนา หรือว่าผืปู่ย่าตายายมากินข้าวปลาอาหารในข้าวสากนี้ หลังจากผีปู่ย่าตายายกินแล้ว เพิ่นกะสิลั่นฆ้อง มุ่ยๆๆๆ เป็นสัญญาณให้ลูกหลานผู้ที่นำข้าวสากไปวางไว้นั่น ยาดกัน (แย่งข้าวสาก) พอได้ข้าวสากแล้วกะเอาไปใส่ไว้ท้องนาตรงที่เฮาดำนาไว้แล้ว เพราะมีความเชื่อว่าสิเฮ็ดให้ข้าวกล้าที่ปักดำ เจริญงอกงามดี
ส่วนการยามกัน ถะคือช่วงเทศกาลบุญข้าวสากนี้หละ พี่น้องที่เป็นวงศาคณาญาติ สิพากันไปเยี่ยมไปยามกัน โดยประเพณีสิเอาข้าวสารใส่กระบุงกะต่า(ตระกร้า) ไปยามกัน ถามสารทุกข์สุขดิบ ตอนสิกลับแม่ใหญ่แม่ตา เพิ่นกะสิแต่งของใส่กระบุงกะต่า เช่นข้าวต้มมัด กล้วยอ้อย บักพร้าว บักหุ่ง ผลหมากรากไม้และพืชผลทางเกษตร ให่ลูกหลานที่ไปยาม
ซูมื้อนี้ผมบ่ค่อยได้กลับไปบ้านช่วงบุญข้าวสากบ่แน่ใจว่าทางบ้านผม คะเจ้าพากันรักษาประเพณีอันดีงามนี้ไว้หรือบ่ ไทบ้านได๋ยังคงรักษาไว้ เว้าสู่กันฟังแน่ตี้หละพี่น้อง
หนุ่มสารคามโฮแซว