กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช 2475
    และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
    โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
    เป็นผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ
    และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69 ตอนที่ 15
    วันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2495




    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475


    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475


    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475



    โดยได้แบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ รวม 9 หมวดด้วยกัน ดังนี้

    บททั่วไป
    หมวด 1 พระมหากษัตริย์
    หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทย
    หมวด 3 แนวนโยบายแห่งรัฐ
    หมวด 4 สภาผู้แทนราษฎร
    หมวด 5 คณะรัฐมนตรี
    หมวด 6 ศาล
    หมวด 7 ตุลาการรัฐธรรมนูญ
    หมวด 8 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    หมวด 9 บทสุดท้าย
    บทเฉพาะกาล



    หมวดที่สำคัญมากหมวดหนึ่ง มาเป็นตัวอย่าง

    หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทย

    มาตรา 24 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมเสมอกันใน
    กฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่
    กระทำให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย

    มาตรา 25 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือ
    ลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวในวรรคก่อน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำ การใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิ หรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น

    มาตรา 26 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์
    การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณ การตั้งสมาคม การตั้งพรรคการเมือง
    ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งบทกฎหมาย

    มาตรา 27 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย การจับกุม คุมขัง หรือตรวจค้นตัวบุคคลไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

    มาตรา 28 การเกณฑ์แรงงานจะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
    แห่งกฎหมาย

    มาตรา 29 รัฐย่อมเคารพต่อกรรมสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน การโอนกรรมสิทธิ์
    ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐจะกระทำมิได้ เว้นแต่จำเป็นเพื่อการสาธารณูปโภค
    หรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศโดยตรง หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ
    หรือประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนอันเป็นธรรมให้แก่เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการโอนกรรมสิทธิ์นั้น

    มาตรา 30 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดย ปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองก็ดี การตรวจ ค้นเคหสถานก็ดี จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

    มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร
    และในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งบทกฎหมาย การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร จะกระทำมิได้

    มาตรา 32 บุคคลคนเดียว หรือหลายคนร่วมกัน ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์
    ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

    มาตรา 33 สิทธิของบุคคลในครอบครัวย่อมได้รับความคุ้มครอง

    มาตรา 34 สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการซึ่งเป็นนิติบุคคลให้รับผิดเพื่อการ
    กระทำของเจ้าพนักงาน ในฐานะเสมือนเป็นตัวการหรือนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครอง

    มาตรา 35 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนี้ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ
    ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญมิได้

    มาตรา 36 บุคคลซึ่งเป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการประจำอื่น และพนักงานเทศบาล
    ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประชาชนพลเมือง เว้นแต่ที่จำกัดใน
    กฎหมาย หรือกฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพหรือวินัย

    มาตรา 37 บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา
    กษัตริย์เป็นประมุข และมีหน้าที่เคารพต่อกฎหมายป้องกันประเทศ ช่วยเหลือราชการโดยทางเสียภาษี และอื่น ๆ ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ


    ...................................................................

    หนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช 2475 และ
    ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
    ปกแข็ง หนา 32 หน้า
    กรมพระธรรมนูญ จัดพิมพ์ เนื่องในโอกาสงานพระราชทานเพลิงศพ
    พลตรี เจียม ขจรเนติยุทธ 27 พฤษภาคม 2495
    พิมพ์ที่ โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก พระนคร พ.ศ. 2495


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 25-05-2009 at 20:21.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •