การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
ภาค ภูมิภาค เขต (region ,area) หมายถึง บริเวณหน่วยใดหน่วยหนึ่งของพื้นแผ่นดินในโลกที่มีลักษณะทางใดทางหนึ่งหรือหลายๆอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ในทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง หรือมีลักษณะสำคัญที่เด่นชัดเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่งจนรวมเป็นภาคเดียว บริเวณเดียวกัน และในขณะเดียวกันก็มีลักษณะแตกต่างออกไป จากบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ

การแบ่งเขตลักษณะต่างๆ ล้วนมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งซอยพื้นที่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการเรียกชื่อการปกครอง ในการศึกษาสภาพพื้นที่นั้นๆในด้านใดด้านหนึ่ง

ความมุ่งหมายในการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ (Geographic region)
คือ เพื่อให้สามารถในการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขนาดต่างๆที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นเฉพาะตนเองแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆและสามารถเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่นั้นๆได้ชัดเจนและสะดวกยิ่งขึ้น

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศจะได้จำนวนภาคที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดและความแตกต่างทางด้านกายภาพของพื้นที่ภายในของ
ประเทศนั้น

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยแบ่งภาคภูมิศาสตร์ออกเป็น 6 ภาค โดย
คณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ในปีพ.ศ.2520

หลักเกณฑ์การแบ่งภาค

1. การเรียกชื่อภาค ใช้ทิศเป็นหลัก

2. การกำหนดขอบเขตอาณาบริเวณของแต่ละภาค พิจารณาจากองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เช่น ความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อเป็นต้น

3. การแบ่งขอบเขตของภาคให้ยึดแนวการแบ่งของจังหวัดเป็นสำคัญโดยกำ
หนดว่า จังหวัดใดอยู่ภาคใด ก็ให้ทั้งจังหวัดอยู่ในภาคนั้น ถึงแม้จะมีความแตกต่างด้านสิ่งแวดล้อมภายในจังหวัด


ภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย 6 ภาค ได้แก่

1. ภาคเหนือ ประกอบด้วย 9 จังหวัด ดังนี้
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา น่าน อุตรดิตถ์
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 2 คือ 93,691 ตร.กม.

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ 20 จังหวัด ดังนี้
เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ
สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และจังหวัดบึงกาฬ
มีเนื้อที่มากเป็นอันดับ 1 คือ 168,854 ตร.กม.และมีประชากรมากเป็นอันดับ 1

3. ภาคกลาง มี 22 จังหวัด ดังนี้
สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพฯ นครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง ปทุมธานี นครนายก
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 3 คือ 91,795 ตร.กม. มีประชากรมากเป็นอันดับ 2


4. ภาคตะวันออก ประกอบ 7 จังหวัด ดังนี้
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับสุดท้าย คือ 34,381 ตร.กม.


5. ภาคตะวันตก ประกอบ 5 จังหวัด ดังนี้
ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 5 คือ 53,679 ตร.กม. มีประชากรน้อยที่สุด

6. ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ดังนี้
ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี
มีเนื้อที่ภาคเป็นอันดับ 4 คือ 70,715 ตร.กม. มีประชากรมากเป็นอันดับ 3


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ภูมิภาค