กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ทรัพย์ของพระ... กรรมสิทธิ์เป็นของใคร

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ทรัพย์ของพระ... กรรมสิทธิ์เป็นของใคร

    ทรัพย์ของพระ... กรรมสิทธิ์เป็นของใคร




    ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศโดยมีผู้ที่ทำบุญถวาย หรือได้มาโดยวิธีซื้อ หากผู้ใดจะซื้อกรรมสิทธิ์ต่อจากพระภิกษุ ถามหาผู้รู้กฎหมายได้ดี มิฉะนั้น ท่านอาจเสียเงินต้องทวงคืนที่ผู้ใดยังเป็นปัญหาอยู่

    เรื่องมีอยู่ว่านายปานทิพย์ดื่มด่ำในรสพระธรรม ขณะยังหนุ่มหน้าตาดี มีีอาชีพซื้อขายรถจักรยานยนต์ทั้งเก่าและใหม่ ปานทิพย์ถูกแย่งคนรัก อกหักไม่มีหญิงใดมาช่วยดามหัวใจให้ ตั้งใจบวชอุทิศให้บิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ความเงียบทำให้ใจสงบเกิดความสุขเข้าใจแก่นพุทธศาสนาจึงไม่ยอมสึกเป็นฆราวาส

    พ.ศ.2515 ให้สงสารญาติโยมคนหนึ่งเดือดร้อนเรื่องเงิน พระภิกษุชโยหรืออดีตนายปานทิพย์จึงรับซื้อที่ดินไว้ในราคา 1 ล้านบาท เนื้อที่ 10 ไร่ อยู่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และถึงแก่มรณภาพปลายปี 2529 นางขจีน้องสาวเป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งของศาล ปมปัญหาน่าจะไม่เกิดขึ้นถ้าหากไม่มีการซื้อขายที่ดินแปลงนี้

    พ.ศ.2531 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มเจริญโดยเฉพาะในยุครัฐบาลชาติชาย ชนชั้นกลางกลายเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน ขจีในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินแปลงนั้นราคา 10 ล้านบาท ศุภเกียรติพ่อค้าอาชีพพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ซื้อ ได้วางเงินมัดจำไว้ 3 ล้าน ที่เหลือตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน เพื่อให้ผู้ซื้อมั่นใจขจีจึงได้มอบโฉนดที่ดิน และหนังสือมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อยึดถือไว้เป็นประกัน

    ระหว่างนั้นผู้ซื้อเตรียมจัดสรรขายบ้านและที่ดิน นี่คือปมปัญหาที่ 2 ผู้ใดซื้อที่ดินส่วนใดของแปลงนี้อาจมีปัญหา วันที่ 1 มกราคม 2535 ศุภเกียรติให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้นั้นก็ได้เร่งรัดตั้งแต่ปลายปี 2534 แต่ขจีทำเพิกเฉย

    ศุภเกียรติให้สงสัยและสืบได้หลักฐานว่าขจีแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า โฉนดที่ดินแปลงที่มีการซื้อขายกันนี้ได้สูญหายและขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน หลังจากนั้น ได้โอนขายต่อให้กับนางกัลยาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2535 ศุภเกียรติให้แค้นเคืองเพราะเสียรู้จึงได้ฟ้องศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาตามสัญญาเดิมที่ทำไว้ ศาลจะบังคับตามคำฟ้องหรือไม่ ขอให้ติดตามแค่อึดใจ

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของพระชโยตามสารบัญจดทะเบียน หลังโฉนดที่ดินพิพาทเอกสารที่อ้าง ป.2 โดยนายผดุงได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่พระภิกษุชโยเมื่อปี 2515 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของพระชโยได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจะจำหน่ายจ่ายโอนให้ผู้ใดก็ได้ แม้ว่าจะมีคนแอบนินทาลับหลังก็ตาม แต่เมื่อพระภิกษุชโยถึงแก่มรณภาพดังกล่าว หลักกฎหมายมีว่าให้ทรัพย์สินตกเป็นของวัดตามภูมิลำเนาของพระภิกษุชโยเว้นแต่จะได้ทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่น กรณีนี้ที่ดินที่พิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดและกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติก้าวหน้าไปถึงให้วัดเป็นทายาทโดยธรรม ของพระภิกษุที่ถึงแก่มรณภาพด้วย แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งให้ขจีเป็นผู้จัดการมรดกก็จริงอยู่ต้องถือว่า ขจีนั้นถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้แทนวัด ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยผลแห่งกฎหมาย ที่ดินแปลงนี้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติสงฆ์ว่าที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ

    ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองหมายถึงวัด จำเลยที่ 1 ขจี จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่วัดให้แก่บุคคลใดๆ หามีอำนาจทำได้ไม่ นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยร่วม(คือกัลยา ผู้ซื้อที่ดินพิพาททราบต่อมา) ย่อมเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก โดยศาลไม่จำเป็นต้องเพิกถอน และโจทก์(คือศุภเกียรติ) ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามฟ้องได้ กรณีนี้จึงไม่จำเป็นวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 หรือไม่ ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

    คนที่เจ็บช้ำใจคือศุภเกียรติและกัลยาหาทางแก้ไขติดตามทวงเงินกันเอาเอง




    ข้อมูล : เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 1816/2542
    รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช [ หนังสือพิมพ์มติชน ]






    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้ำยืน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    sathon bangkok
    กระทู้
    236
    บล็อก
    2
    เฮ้อ..ลุ้นปานลุ้นมวย สรุปแล้วทรัพย์สมบัติของพระสงฆ์ต้องเป็นของวัด
    แล้วทรัพย์สมบัติของชี สิเป็นของผู้ได๋น้อ..............

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวนิติกร
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    กระทู้
    149
    ขออนุญาตเพิ่มเติมกรณีทรัพย์ของพระ

    ต้องแบ่งเป็น 2 ประเภท

    1. ทรัพย์ซึ่งมีอยู่ก่อนบวช เช่น อาวต่วง อกหัก รักคุด จึงตัดสินใจบวช ไม่สึก ก่อนบวชมีทรัพย์สิน 20 ล้านบาท หากมรณภาพ ทรัพย์สิน จำนวน 20 ล้านบาท ย่อมเป็นของทายาทผู้สืบมรดก ไม่ตกเป็นของวัด

    2. ทรัพย์ซึ่งได้มาหลังบวช กรณีนี้ หากมิได้ทำพินัยกรรมไว้เป็นอย่างอื่น ย่อมตกเป็นของวัด ตามกระทู้ข้างล่าง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 )

    ส่วนเณร กับชี ไม่เกี่ยว ครับ กฎหมายไม่ได้ว่าไว้ ให้ปฏิบัติเหมือนบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •