กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: เห็ดฟาง

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เห็ดฟาง

    เห็ดฟาง

    เห็ดฟาง

    เห็ดฟางเป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดตลอดทั้งปีเดิมคนไทยเรียกเห็ดฟางว่า เห็ดบัว เพราะมีเกิดขึ้นได้เองในกองเปลือกเมล็ดบัวที่กะเทาะเมล็ดภายในออกแล้ว ต่อมาเมื่อมีการส่งเสริมให้ใช้ฟางเพาะจึงนิยม เรียกว่า เห็ดฟาง


    ชื่อสามัญ Straw Mushroom
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
    ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง
    ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน


    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด
    ฤดูกาล ตลอดปี


    แหล่งปลูก สระบุรี นครนายก อยุธยา อ่างทอง สงขลา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช การกิน เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น


    สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปํญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
    คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม


    เห็ดฟาง


    ลักษณะทั่วไปของเห็ดฟาง


    สัณฐานวิทยา

    เป็นเห็ดที่มีลักษณะดอกโตปานกลาง สีของเปลือกหุ้มรวมทั้งหมวกดอก มีสีขาวเทาอ่อนไปจนถึงดำขึ้นอยู่ กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อม เส้นผ่าศูนย์ กลางของหมวกเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 4-12 ซม. หลังจากดอกเห็ดพัฒนาจากเส้นใยชั้น 2 มารวมกัน



    รูปร่างทางสัณฐานวิทยาของเห็ดฟาง

    ระยะที่ 1 ระยะเริ่มแรกจากการเกิดดอก หรือระยะเข็มหมุด (pinhead stage) หลังการโรยเชื้อเห็ดแล้ว 5-7 วัน เส้นใยจะมารวมตัวกันเป็นจุดสีขาว มีขนาดเล็ก (ที่อุณหภูมิประมาณ(28?-32?ซ)

    ระยะที่ 2 ระยะดอกเห็ดเป็นกระดุมเล็ก (tiny button stage) หลังจากระยะแรก 15-30 ชม. หรือ1 วัน ดอกเห็ดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นรูปดอกเห็ดลักษณะกลมยกตัวขึ้นจากวัสดุเพาะ

    ระยะที่ 3 ระยะกระดุม (button stage) หลังจากระยะ 2 ประมาณ 12-20 ชม. หรือ1 วันทางด้านฐานโตกว่าส่วนปลายแต่ยังมีลักษณะกลมรีอยู่ภายในมีการแบ่งตัวเป็น ก้านดอกและครีบดอก

    ระยะที่ 4 ระยะรูปไข่ หรือระยะดอกตูม (egg stage) เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะที่ 3 หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 32 ?ซ จะใช้เวลาเพียง 8-12 ชม. ดอกเห็ดเริ่มมีการเจริญเติบโตทางความยาวของก้านดอกและความกว้างของหมวกดอก เปลือกหุ้มดอกบางลง และเรียวยาวขึ้นคล้ายรูปไข่ ส่วนมากจะมีการเก็บเกี่ยวในระยะนี้ เพราะเป็นระยะที่ให้น้ำหนักสูงสุด และเป็นลักษณะที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานมากที่สุด รวมทั้งเป็นขนาดที่โรงงานแปรรูป (บรรจุกระป๋อง) ต้องการ

    ระยะที่ 5 ระยะยืดตัว (elongation stage) หลังระยะที่ 4 เพียง 3-4 ชม. การเจริญเติบโตของก้านและหมวกดอกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนบนสุดของเปลือกหุ้มดอกแตกออกอย่างไม่ เป็นระเบียบ (irregular) สีของผิวหมวกดอกมีสีเข้มขึ้น แต่ก้านและครีบจะเป็นสีขาวหลังระยะนี้เป็น

    ระยะที่ 6 หรือระยะแก่ (mature stage) ดอกจะบานเต็มที่ มีสปอร์ ที่ครีบเป็นจำนวนมาก



    เห็ดฟาง



    รูปร่างของเห็ดฟาง (Structure of straw mushroom)

    เห็ดฟางประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

    1. หมวกดอก (cap หรือ pileus) มีลักษณะคล้ายร่มสีเทาค่อนข้างดํา โดยเฉพาะตรงกลางหมวกดอกจะมีสีเข้มกว่าบริเวณขอบหมวก ผิวเรียบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 4-12 ซม. ขึ้นอยู่กับอาหารและสภาพแวดล้อม

    2. ครีบ (gill) คือส่วนที่อยู่ใต้หมวกดอกเป็นแผ่นเล็กๆวางเรียงเป็นรัศมีรอบก้านดอก ดอกเห็ดที่โตเต็มที่จะมีครีบประมาณ300-400 ครีบ ห่างกัน 1 มม. หลังการปริแตกของดอกแล้ว 3-6 ชม. สีของครีบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเข้มในที่สุด

    3. สปอร์ (basidiospore) คือส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายเมล็ดพันธุ์ สปอร์ ของเห็ดฟางมีลักษณะเป็นรูปไข่ (egg shape) มีขนาดเล็กมาก คือมีความยาวประมาณ 7-8 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ไมครอน

    4. ก้านดอก (stalk หรือ stipe) คือส่วนชูหมวกดอก เป็นตัวเชื่อมหมวกดอกกับส่วนโคนดอก และอยู่ตรงกลางหมวกดอกเห็ด มีการเรียงตัวของเส้นใยขนานไปกับลักษณะของก้านดอกที่เรียวตรงโดยส่วนฐานจะโตกว่าเล็กน้อย มีสีขาวรียบ ไม่มีวงแหวนหุ้ม ก้านดอกยาวประมาณ 4-14 ซม. และเสนผ่าศูนย์ กลางประมาณ 0.5-2 ซม.

    5. เปลือกหุ้มโคน (volva) คือ ส่วนของเนื้อเยื่อนอกสุดของดอกเห็ดมีหน้าที่หุ้มดอกเห็ดไว้ทั้งหมด ในขณะที่การเจริญของหมวกและก้านดอกเห็ดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนเปลือกหุ้มเจริญช้าลง ทําให้ส่วนบนสุดปริแตกออก เมื่อดอกเห็ดดันเยื่อหุ้มออกมา เนื้อเยื่อจะเหลือติดที่โคนดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายถ้วยรองรับโคน


    เห็ดฟาง


    ประโยชน์ของเห็ดฟาง

    ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด เชื่อว่าหากรับประทานประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลดการติดเชื้อต่างๆ แต่ก็ไม่ควรรับประทานสด ๆ เพราะมีสารที่คอยยับยั้งการดูดซึมอาหาร ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการผื่นคันต่างๆ



    คุณค่าทางอาหารของเห็ดฟาง วิเคราะห์โดยกรมวิชาการเกษตร

    คุณค่าทางอาหารคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
    ความชื้น (initial moisture) 88.4
    โปรตีน (crude protein) 33.1 (ของน้ำหนักแห้ง)
    ไขมัน (fat) 6.4 (ของน้ำหนักแห้ง)
    คาร์โบไฮเดรต (total carbohydrate) 60.0 (ของน้ำหนักแห้ง)
    เยื่อใยหรือกาก (fiber) 11.9 (ของน้ำหนักแห้ง)
    เถ้า (ash) 12.6 (ของน้ำหนักแห้ง)
    พลังงาน (energy value) 338 กิโลแคลลอรี



    เห็ดฟาง



    การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง

    เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้ มีราคาดี ตลอดปี จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย มีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูง ซึ่งเป็นการประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่นอน



    เห็ดฟาง




    ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง

    1. เตรียมดินไว้ให้เรียบพลิกดินตากแดด ไว้ ๒-๓ วันจากนั้นวันที่จะทำการเพาะ รดน้ำลงดินเพื่อให้ดินชุ่ม หรือประมาณ ๒-๔ ชั่วโมง ก่อนจะเพาะเวลาปฏิบัติให้แยกกันไม่นำมาแช่รวมกัน

    2. วางแบบไม้หรือพิมพ์ลงบนพื้นที่เตรียมไว้

    3. นำฟางที่แช่น้ำมาวางในพิมพ์เกลี่ยฟาง ให้หนาเท่าๆ กัน คือ ประมาณ ๓-๔ นิ้ว ถ้าใช้ตอซังให้วางโคนจรดกับหัวท้ายของแบบพิมพ์ และใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร

    4. นำอาหารเสริมที่แช่น้ำเตรียมไว้ แล้วโรยเห็ดแถบกว้างประมาณ ๒ นิ้วทั้งสี่ด้าน

    5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางออกเป็น ๓-๔ ส่วน เท่าๆ กัน ถ้าทำสามชั้นแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ๔ ชั้น แบ่งเป็น ๔ ส่วน และโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่ว และชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้าน

    6. ทำชั้นที่ ๒ และ ๓ หรือ ๔ ต่อไป วิธีการเช่นเดียวชั้นที่ ๑ ทุกอย่าง

    7. เมือทำถึงชั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริม และเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลงนำฟางแห้งที่แช่น้ำมาปิดทับ หนา ๑-๒ นิ้ว




    เห็ดฟาง




    อ้างอิง

    - ฟาร์มเห็ด อรัญญิก 3 หมู่ 8 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระท่อมล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 4419263
    - กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพ โทร 5798558, 5614673
    - กลุ่มพืชผัก กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร กทม.19000 โทร 02-5614878
    - ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน สำนักพิมพ์แสงแดด ธันวาคม 2548




    [/SIZE]
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ไผ่หวาน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    PATTAYA CITY
    กระทู้
    729
    บล็อก
    14
    ป้าด มีประโยชน์หลายเนาะ บ่เสียแรง ที่มักกินเจ้า มาแต่โดน เจ้าเห็ดฟาง

  3. #3
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872
    คิดพ้อแต่สมัยก่อนนี้บ่าวจัยเคยปลูกเห็ดฟางเนาะเอื้อย บ่ได้เอาไปขายเลยเขามาเอาฮอดบ้านเลยสบายคัก
    ที่เลิกเพราะว่าต้นทุนสูงขึ้นเรือยๆเห็ดกะเกิดยากหัวเชื้อมันบ่ดีคือเก่าก่อน
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา
    Mr.Reception
    สัญลักษณ์ของ คนตระการ...
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    4,209
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ บ่าวจัย
    คิดพ้อแต่สมัยก่อนนี้บ่าวจัยเคยปลูกเห็ดฟางเนาะเอื้อย บ่ได้เอาไปขายเลยเขามาเอาฮอดบ้านเลยสบายคัก
    ที่เลิกเพราะว่าต้นทุนสูงขึ้นเรือยๆเห็ดกะเกิดยากหัวเชื้อมันบ่ดีคือเก่าก่อน

    สำพอดอก มื่อก่อนชวนกินแกงเห็ดเฟือง เพิ่นว่า จั่งแม่นข่อยเปิดหน่ายมันหลายอ้าย..เฮาล่ะว่าโตกินดู๋บ้อคือได้เปิดหน่าย..ที่แท้กะแบบนี่ ฮ่าๆๆๆ

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ บ่าวจัย
    คิดพ้อแต่สมัยก่อนนี้บ่าวจัยเคยปลูกเห็ดฟางเนาะเอื้อย บ่ได้เอาไปขายเลยเขามาเอาฮอดบ้านเลยสบายคัก
    ที่เลิกเพราะว่าต้นทุนสูงขึ้นเรือยๆเห็ดกะเกิดยากหัวเชื้อมันบ่ดีคือเก่าก่อน


    เอื้อยว่าน่าจะเพาะเห็ดฟางตะกร้าดูน้อ ฟางก็ใช้น้อย
    เดี๋ยวนี้เคยเห็นเขาใช้เพราะกับเปลือกถั่วเขียวซึ่งได้ผลดีเหมือนกัน

    เดี๋ยวสิไปหลอยฟางในกองที่เก็บไว้ให้วัวกินดอก
    ลองเอามาแช่น้ำดูน้อ แต่เชื้อนี่สิ อยู่ไกลคักหาซื้อยากด้วย

    ทดลองเลี้ยงเชื้อเอง กะเคยทำแต่หน้าฝนเชื้อรามีเยอะมากอีกอย่างเราไม่มีห้องแลบ
    เชื้อราเลยขึ้น ทำให้เห็ดตายหมดเลย

    ว่าแล้วก็น่าจะเป็นอาชีพที่ดีอาชีพหนึ่งนะคะ ไม่ยุ่งยากด้วย ซื้อแต่ตะกร้า มาเพาะเห็ด
    ไม่เปลืองแรงมากด้วย





    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 10-06-2009 at 12:30.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #6
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ท้าวมนตรี
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    266
    ขอบคุณหลายๆสำหรับความรู้ดีๆ มีประโยชน์ ผมก่าอยากซิเฮ็ดอยู่ดอก แต่ว่าซู่มื่อนี่หาความรู่ใส่โตก่อน......:1-:1-:1-:1-

  7. #7
    ศิลปิน นักแต่งเพลง สัญลักษณ์ของ thedon
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    1,421
    บล็อก
    1
    ขอบคุณครับ เป็นเห็ดที่เพาะง่าย หาง่าย มีกินตลอดปี

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •