นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย




ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยปีพ.ศ.2475 วันที่ 24 มิถุนายน 2552
ก็จะครบ 77 ปี ช่วงเวลานี้แม้จะไม่นานเมื่อเทียบประเทศอื่น แต่คนไทยก็ผ่านประสบการณืสารพัดรูปแบบ
มีการจลาจลใหญ่ๆ 3 ครั้ง และมีนายกฯ 27 คน


นายกฯแต่ละคนมีจุดเด่นจุดด้อยไปคนละอย่างเช่น จอมพลป.พิบูลสงคราม
เก่งด้านรัฐประศาสนศาสตร์และการทหาร แต่อยู่นานเกินไปจึงถูกปฏิบัติต้องหนีไปลี้ภัยที่ญี่ปุ่น หรือ
นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรกที่เป็นนายกฯได้แค่ช่วงสั้นๆ เพราะพูดหาเสียงเก่ง แต่บริหารงานไม่เก่ง


เมื่ออ่านเรื่องของนายกฯแต่ละท่านแล้ว ได้ข้อสรุปว่า การได้เป็นนายกฯในแต่ละยุคสมัย
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นเกิดปัญหาอะไร และประชาชนอยากให้คนประเภทไหนเป็นนายกฯ

เช่นถ้าคนระดับบนแตกแยกกัน มีการแย่งชิงอำนาจรุนแรง จนทำให้สังคมเสื่อมทรุด
ประชาชนหวั่นวิตกกลัวบ้านเมืองพังชีวิตพวกตนเดือดร้อนทุกข์ยาก
ยุคนั้นก็อยากได้คนเข้มแข็งเด็ดขาดเป็นนายกฯ

ยุคไหนเศรษฐกิจแย่เกิดสภาพข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีชีวิตลำเค็ญ
ก็อยากได้นายกฯที่เก่งด้านเศรษฐกิจและการค้า
อย่างไรก็ตามในช่วง 77 ปี ที่ผ่านมาสามารถแบ่งเป็นยุคต่างๆได้ดังนี้



ยุคที่ 1 ( พ.ศ.2475-2516) นาน 41 ปี
กลุ่มทหารใช้อำนาจเผด็จการภายใต้เสื้อคลุกประชาธิปไตย กุมอำนาจการเมืองการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มีการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏบ่อยครั้ง


ยุคที่ 2 ( พ.ศ.2516-2519 ) ประชาธิปไตยเบ่งบาน
หลังจากนิสัตินักศึกษาเดินขบวนโค่นล้มระบบเผด็จการ แต่ก็บานได้แค่ 3 ปี
เนื่องจากถูกกลุ่มเผด็จการทำปฏิวัติยึดอำนาจกลับคืนไป

ยุคที่ 3 (พ.ศ.2519-2531) นาน 12 ปี เป็นยุคผสมผสานประชาธิปไตยกับเผด็จการ
จึงถูกเรียกว่ายุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯนาน 8 ปีครึ่ง


ยุคที่ 4 ( พ.ศ.2531-2535) นาน 4 ปี โดยกลุ่มเผด็จการ(รสช.) ปฏิวัติแล้วตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯ มีการเลือกตั้ง แต่มีปัญหาเรื่องจะเอาใครเป็นนายกฯ จนสุดท้าย พล.อ.สุจินดา คราประยูร หัวหน้า รสช.กระโดดลมาเป็นเอง ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงมีการจลาจลเดือนพฤษภาคม 2535


ยุคที่ 5 (พ.ศ.2535-2549) นาน 15 ปี เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ
ทหารกลับเข้ากรมกองปล่อยให้นักการเมืองต่อสู้กันตามกติกาเหมือนสากลประเทศ พรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลที่สามารถอยู่ครบเทอม 4 ปี เป็นชุดแรก มีการพัฒนาการเมืองไปสู่ภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง


ยุคที่ 6 ( พ.ศ.2549-2552) เริ่มจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ปฏิวัติโค่นรัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้วนำรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2550 มาใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติให้ยุบพรรคการเมืองได้ง่าย และพรรคไทยรักไทยกับพรรคพลังประชาชนที่สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ถูกยุบไป ทำให้นักการเมืองในกลุ่มนี้ต้องมาสังกัดพรรคเพื่อไทยและกลายเป็นฝ่ายค้าน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็มีโอกาสได้จัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ


ทั้งหมดนั้นเป็นเส้นทางประชาธิปไตยของไทย และขณะนี้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังเผชิญมรสุมหนักเนื่องจากต้องพึ่งพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นเสาค้ำจุนเสถียรภาพรัฐบาลถ้าพรรคเหล่านี้แตกออกไปเมื่อไหร่ รัฐบาลก็ล้ม