กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: บางระจัน

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    บางระจัน

    บางระจัน
    พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๘๑
    สำนักพิมพ์เหม เวชกร
    ไม้ เมืองเดิม
    (พ.ศ.๒๔๔๘ - ๒๔๘๕)




    บางระจัน




    บางระจัน

    นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสมบูรณ์พร้อมนับตั้งแต่หัวใจของเรื่อง (Theme) ซึ่งได้แก่ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ในการสู้พม่าข้าศึกจนตายหมดทุกคน ท่ามกลางความขลาดเขลาและเห็นแก่ตัวของชนชั้นปกครอง ส่วนเนื้อหาของเรื่อง สามารถสร้างวีรบุรุษของชาวบ้านบางระจันให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก รูปแบบนั้นนับว่าหมดจดงดงาม ทั้งในแง่ของความสมจริง และในแง่ของวรรณศิลป์ โดยเฉพาะฉากสุดท้ายที่ชาวบ้านบางระจันสู้ตายหมดทุกคน แต่ละชีวิตที่ล้มลงด้วยดาบพม่าคนแล้วคนเล่า

    ตั้งต้นเรื่องบางระจัน โดยแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างทัพบุตรชายนายทหารยอดฝีมือที่ถูกสังข์กลั่นแกล้ง เพราะรักผู้หญิงคนเดียวกัน ทัพตกเป็นเป้าหมายของสังข์ที่อาศัยอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในฐานะทหาร คุมพลออกมาไล่ล่าจับตัวทัพ ความจำเป็นบังคับให้ทัพต้องคุมสมัครพรรคพวกออกไปเป็นโจรแบบโรบินฮู้ด แต่เนื่องจากเป็นช่วงจังหวะที่พม่ารุกรานไทย ส่งทหารออกปล้นสะดมและทำร้ายชาวบ้านอย่างโหดร้าย ทัพจึงหันดาใส่พม่า ยังผลให้คู่แค้นคู่ฆ่ากลายมาเป็นเพื่อนรัก ที่ต่างฝ่ายต่างก็ยอมสละความอาฆาตบาดหมางด้วยเรื่องส่วนตัวกอดคอกันสู้ศัตรูของแผ่นดินทัพเกิดความสำนึกผิดจากกาที่ต้องสู้รบกับทหารหลวง จนคนของตนต้องเสียชีวิตไปด้วย

    ฉากนี้ ไม้ เมืองเดิม บรรยายได้อย่างสมจริงและก็มีชีวิตชีวา สะท้อนถึงความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยสมัยก่อน

    "ทัพยืนดูสีแดงเพื่อจะหมาดของเลือกที่เช็ด แล้วก็หวนนึกสงสารซากศพที่นอนดิน ๗-๘ คน และเจ็บอีกมาก แล้วเรียกพลให้มายืนอยู่โคนไม้นั้น

    "น้องกู มึงเป็นพยานด้วยกันทุกๆ คนเถอะ กูทำผิดเพราะรักชีวิต พวกราเหล่านี้เท่านั้น แต่..." มันชี้มือไปที่รอยไม้ "นั่นมันเป็นเลือดข้าแผ่นดินเลือดทหารที่กูไม่ยอมให้เปื้อนมืออ้ายโจรอย่างกู ก็ไม่รู้จะแก้ตัวขอขมาโทษ จะใคร กูต้องพึ่งต้นไม้นี้ กูขอเชิญผีเจ้าของเลือดมันมาเป็นเทวดาอยู่นี่ กูจะคุกเข่ากราบขอขมาไปถึงผีที่นอนดินอยู่บ้านคำหยาดโน่น และขอให้น้องกูสามคนที่นอนตายกลางรบนั่นขึ้นสวรรค์เถิด"

    สิ้นคำมันจึงคุกเข่าลง พลทั้งหมดก็ทำตามมัน คำอธิษฐานนิ่งนาน หัวใจเงียบสนิทหวนไปบ้านคำหยาด หวนไปยังศพที่มันกำลังรำลึกขอขมาโทษ เพราะอ้ายสังข์และอ้ายขาบแท้ที่เห็นแก่สุขข้างเดียวตัวคนเดียว จึงพลอยให้ข้าแผ่นดินต้องมายับเพราะหันสู้กันเอง ทหารและน้องกูมึงจังชื่อ เรียงเสียงไรก็แล้วแต่ ชีวิตมึงดับไปแล้วอยู่หนไหน แต่เลือดมึงจะติดไม้กร่างนี่อยู่ให้คนบูชาตลอดชีวิตไม้ แล้วมันลุกโซเซหักกิ่งไม้ปักโคนต้นเป็นการคำนับ และก็ได้ผ้าห่มอีแฟงมันอุทิศให้เป็นผ้าห่มไม้กร่างเทพารักษ์นั้นต่อไป"

    บางระจันถ่ายทอดจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ และวีรชนของประชาชนชาวไทยก็มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง วีรชนเหล่านี้สู้ตายกับค่ายบางระจัน กว่าคนรุ่นหลังจะสร้างอนุสาวรีย์ให้เวลาก็ล่วงไปถึงร่วมสองศตวรรษ

    "ใช่ว่าเมืองไทยจะสิ้นคนดีก็หาไม่ ชายชาติทหารของไทยยังจะพอมีพอหานายแท่นชาวบ้านศรีบัวทองแขวงเมืองสิงห์ ซึ่งหลบตัวซุ่มอยู่พร้อมด้วยพวกพ้องเพื่อนฝูงอีกสามคนล้วนแต่มีฝีมือเป็นหัวหน้า และชาวพื้นบ้านศรีบัวทอง ด้วยกันคือ นายโชติ นายอิน นายเมือง ส่วนพวกชาวบ้านพื้นวิเศษชัยชาญ ต่างก็บอกเล่าถึงข้อปรึกษาตกลงกับผู้เป็นหัวหน้ามีฝีมือพวกบ้านเดียว คือ นายทองแก้วบ้านโพธิ์ทะเลกับนายดอกไม้ ชาวบ้านกรับ เมื่อต่างรู้และหัวใจตรงกันว่า จะขอกอดคอสู้ตายทุกยิบตา ตายไหนตายกัน แล้วพวกชายใจทหารทั้งหกก็ประชุมปรึกษาถึงอุบายที่จะทำกันในวันรุ่งขึ้น..."

    ภาพของการร่วมแรงร่วมใจอย่างที่หาได้ยากในคนไทยปัจจุบันนี้ ไม้ เมืองเดิม พรรณนาออกมาแจ่มชัดด้วยความรู้สึก

    "เสียงตะโกนกู่ก้องยังอึงคนึงไปอีกนาน กอดคอกันสะอื้น...รักบ้านเกิดเมืองนอน แขนเลือดไหลย้อยเพราะปลายมีดจ้ำ ดาบเฉือนเนื้อให้เลือดมันไหล ร้อยแผลนี่ยังไม่เจ็บเหมือนแผลใจที่ถูกข่มเหง ปากก็พร่ำสาบานไม่ขาด บ้างคุกเข่าหันหน้าสู่ทิศกรุง...แล้วกราบลงบนผืนนาบ้านระจัน ทั้งดาบ มีดชูร่อน มือประนมอธิษฐานพลีชีวิตให้แก่ชาติ...สองแขนจะขอทำศึกให้ถวายแผ่นดิน...สองมือจะกำดาบกันประเทศ สองแขนทั้งสี่ร้อยคนของบ้านบางระจันและชาวแขวงอื่นจักเป็นกำแพงเหล็กล้อมชีวิตเด็กชีวิตหญิงและปู่ย่าตาทวด แล้วก็เสียงกึกก้องดังไปอีก ตะโกนไปอีกว่า ตั้งค่าย...ตั้งค่าย รบกันมัน...เมื่อเสียค่ายก็จะขอเอาค่ายเป็นหลุมฝี เอาบ้านระจันนี่แหละเป็นป่าช้าฝังอ้ายนักรบบ้านระจันโดยไม่ยอมถอยหรือทิ้งค่ายโดยเด็ดขาด"

    พม่ายกกำลังเข้าปราบถึงเจ็ดครั้ง ค่ายบางระจันสามารถต่อต้านอย่างกล้าหาญจนแตกพ่ายไปทุกครั้ง หากแต่ครั้งสุดท้าย พม่าได้แม่ทัพคือ สุกี้พระนายกองที่เคยอยู่เมืองไทยมาก่อน และก็ใช้ปืนใหญ่ยิงกระหน่ำเข้าใส่ ไม่รุกฮวบฮาบโดยที่บางระจันเป็นรองอยู่แล้วตรงที่ไม่มีปืนใหญ่ สุกี้พระนายกองจึงใช้จุดเด่นของตนทำลายจุดด้อยของบางระจัน เมื่อบางระจันไปขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงก็ไม่ยอมให้ด้วยเหตุผลที่ไม่มีสาระ

    เหตุผลที่ไร้สาระนั้น นำมาใช้กับการที่กรุงศรีอยุธยาไม่ยอมให้ปืนใหญ่แก่ ชาวบ้านบางระจัน ไม่ใช่เพราะเกรงว่าจะตกไปอยู่กับพม่า หากแต่เกรงว่า ชาวบางระจันจะมีอาวุธเข้มแข็ง ถ้าสามารถต่อต้านพม่าได้แล้ว ทางกรุงศรีอยุธยาเองจะไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไปเหตุผลสำคัญก็คือ กรุงศรีอยุธยาพินาศได้เอกราชของชาติก็สูญเสียได้ แต่ฐานะของชนชั้นปกครองต้องคงอยู่อย่างเดิม ถ้าสถานะเดิมต้องเปลี่ยนไป กรุงศรีอยุธยาพินาศเสียดีกว่า

    ฉากสุดท้ายซึ่งเป็นอวสานของชาวบ้านบางระจัน เป็นฉากที่สามารถเรียกน้ำตาจากผู้อ่านได้ ขณะชาวบางระจันตายลงไปเกือนหมดนั้น

    บุตรชายนายทหารอาทมาตเมื่อปลงชีวิต ถวายเป็นที่ระลึกบูชาชาติ เสร็จก็ร่ำลาและให้สติคนอื่น

    "สังข์ เราจะตายพร้อมกันหมด เราไม่รอดแล้ว บ้านระจันก็ล่มแล้ว เราจะอยู่ดูหน้าใครอีก"

    น้องเขยทหารกล้ามองมันเศร้าใจ รอบค่ายก็ล้วนแต่หน้าศึกพรั่งพร้อม แต่ไทยนั้นนอนสนิทหน้าแนบแผ่นดินไปแล้วทั้งสิ้น

    "ฉันจะตามไปตายร่วมทุกแห่ง แต่หญ้าหย่อมไหนเล่าจะยอมตาย"

    "หย่อมศึกมากข้างหน้านี่แหละ แฟงเอ๋ย ขึ้นมาเคียงพี่เถิด มาตายเคียงพี่ ใกล้ผัวใกล้เมีย" มันกวักมือแฟงเมื่อเจ้าประชิดมาแล้ว และจวงก็ขึ้นคู่นายสงข์ ยืนหยัดรับศึกเป็นสองคู่ ทัพก็กล่าวไปอีก "เราจักยืนตายตรงนี้ ก้าวเดียวก็จะไม่ยอมถอย และไม่รุกล้ำหน้า เพราะให้แยกกันตาย..."


    และต่อไปนี้เป็นบางส่วนของประวัติศาสตร์

    เริ่มที่ ขุนรองปลัดชู วีรบุรุษอ่าวหว้าขาว
    นามของขุนรองปลัดชู กับ กองอาสาอาทมาท ดูเหมือนจะเลือนลางในความทรงจำของคนไทย ทั้งๆ ที่วีรกรรมในการรุกรบกับพม่า นั้นมีมาก่อน ชาวบ้านบางระจัน อาจกล่าวได้ว่า ถ้าไร้ศึกที่อ่าวหว้าขาว ก็อาจไม่มีศึกบางระจันใน พ.ศ. ๒๒๙๔ พระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองพม่า แล้วก็แผ่พระราชอำนาจ รวบหัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งมอญ ไว้ได้หมดสิ้น

    ครองราชย์ 8 ปี ก็ เป็นเวลาที่ กรุงศรีอยุธยา ผลัดแผ่นดิน เป็นพระเจ้าเอกทัศน์ พม่าเห็นว่าไทย อยู่ในช่วงรอยต่อ มีความวุ่นวาย รวมทั้ง ต้องการลองกำลังหยั่งเชิง ซึ่งพอดีมีเหตุ เรือบรรทุกสินค้าของฝรั่ง ที่ค้าขายในเมืองอังวะ ถูกพายุซัดมาทางตะวันออก แวะมาซ่อมเรือที่มะริด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของตะนาวศรี พม่าก็ขอให้เจ้าเมืองตะนาวศรี ส่งฝรั่ง และ มอญ ที่เป็นกบฎ หนีมา จับตัวส่งไป ทั้งคน และ เรือไทยตอบว่า ฝรั่งมาซ่อมเรือ ส่วนจะมีกบฎมอญมาหรือไม่นั้น หาทราบไม่

    พม่าก็ถือเป็นโอกาส หาเหตุ ส่ง มังระ ราชบุตรองค์ที่สอง กับ มังฆ้องนรธา คุมกำลัง แปดพันคน มาตีทวาย ซึ่งตอนนั้นกำลังแข็งเมืองอยู่

    เขาว่า สมัยนั้น การข่าวของ อยุธยาผิดพลาด?.เจ้าเมืองกาญจนบุรี แจ้งว่าพม่าจะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ พระเจ้าเอกทัศน์ ก็มีรับสั่งให้พระยาอภัยราชมนตรี ยกพลหนึ่งหมื่นไป ดักรอสกัด ที่นั่น และให้พระยาพระคลัง ยกพลอีกหนึ่งหมื่นไป เป็นทัพหนุนที่ ราชบุรี

    ต่อมามีข่าวจากเจ้าเมืองกำแพงเพชรว่า พม่าจะส่งมาทางด่านแม่ละเมาอีกทางหนึ่ง ทางกรุงศรีฯ ก็ส่งทัพไปสักดอีกเช่นกัน

    ด้านพม่านั้นเมื่อตีทะวายได้แล้ว ก็ต่อมายังมะริด และ ตะนาวศรี เจ้าเมืองจึงได้มีหนังสือมาแจ้งเมืองหลวง แต่ตอนนั้น กำลังพลส่วนใหญ่ได้ใช้ไปรักษาสองด่าน แรกหมดแล้ว จึงเหลือเพียงกำลังเล็กๆ ที่ยกไปรักษามะริด และ ตะนาวศรี

    พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดให้ พระยายมราช เป็นแม่ทัพคุมกำลัง สามพัน และ พระยารัตนาธิเบศร์คุมทัพหนุน สองพัน

    ในเวลานั้น มีครูฝึกเพลงอาวุธอยู่ในเมืองวิเศษไชยชาญอยู่ผู้หนึ่ง ชื่อ ครูดาบชู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ให้เป็น ปลัดเมือง กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวบ้านจึงเรียนว่าขุนรองปลัดชู

    เมื่อท่านทราบข่าว ว่าพม่ายกมาตีมะริด ตะนาวศรี ท่านก็สละตำแหน่ง ปลัดเมืองทันที แล้วนำชายฉกรรจ์ ที่เป็นลูกศิษย์ประมาณ ๔๐๐ คน เดินทางมายังพระนคร เพื่อทูลขออาสาออกศึกกับพม่า
    โดยไม่ต้องรอคำสั่งย้าย แต่ประการใด
    เรามักจะสงสัยกันว่าว่า ทำไมอยุธยาเสียกรุงสองครั้ง

    ...การข่าวพลาดมั้ง..?

    แล้วก็ความเห็นแก่ตัว ของมนุษย์
    สมัยนั้นก็มีคนแบบในภาพนี้แหละ ที่ บอกว่า แค่กำลังสี่ร้อยคน จะไปสู้สึก เรือนหมื่น ทัพพม่าแปดพันที่ยกมา

    ความเห็นแก่ตัวระดับ เล็กๆ ก็ไม่น่ากลัวเท่ากับความเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ได้ ของคน
    ความรักชาติระหว่างการเกณฑ์ผู้คนให้ได้ครบนั้น ชาวบ้านต่างมาร่วมใจกันทั้งตำบล แม้กระทั่งคนตาบอด ที่มีวิทยายุทธก็พากันมาสมัคร แต่ระดับขุนพลในกรุงศรี ฯ กลับไปประจบสอพลอขันทีเฒ่า เช้าตีกล๊อฟ เย็นเข้าผับ แถมแอบเบียดบังตั้งงบเป็นแสนล้านกว่าจะกินกันข้ามภพข้ามชาติ แผ่นดินจะพินาศไม่สนใจทัพพม่ามาเต็มรูปแบบ ทั้งช้าง ม้า ปืนใหญ่ของเราคนน้อยกว่า ก็ต้องอาศัย ยุทธวิธี หรือ กลยุทธบ้าง ไม่ได้จะสู้ตายอย่างเดียว

    เช่น

    .. ตัดต้นขวาก มีหนามแหลม มากีดขวางทัพข้าศึก ให้ทะลวงผ่านช่องเขาไม่ได้ง่าย

    .. กลิ้งตะกร้อ ที่สานด้วยไม้ไผ่กรุด้วย ฟางแห้ง เผาไฟลงใส่ข้าศึก

    .. ราดน้ำมันบริเวณช่องเขา พอทหารล่วงเข้ามาก็ใช้ธนูเพลิง ระดมยิงให้ไฟครอกตาย
    แล้ววันแห่งการรุกรบก็มาถึง....ในคืนก่อนการศึกนั้น
    ท่านขุนรองปลัดชู ปลุกใจ บรรดาเพื่อนร่วมรบว่า

    .. ไม่คืนนี้ ก็อาจจะเป็นตอนย่ำรุ่ง ที่กองทัพพม่า จะเดินทางมาถึง
    พวกเอ็งเตรียมใจแล้วหรือยัง

    เจ้าแช่ม หนึ่งในกองทหาร ตอบว่า

    .. เรื่องนั้น พี่ชู มิต้องวิตก คนวิเศษไชยชาญ ทุกคนในที่นี้ ล้วนแล้วแต่กำลังฝจดีกันทั้งสิ้น แต่เมื่อช่วงพลบค่ำ ก็มีหลายเสียงที่ยังไม่กระจ่างใจ
    ว่าเหตุใด ทับหลวงมิส่งกองหนุนมาสมทบให้เราบ้าง ส่งมาสักกองก็ยังดี
    หากทัพพม่ามันมาทางนี้ พวกเราสี่ร้อยคน จะรับมือไหวรึ ?

    ท่านขุนรอง ตอบว่า

    " เอ็งก็คงสงสัยมิใช่น้อยเหมือนกัน แต่ช่างหัวมันปะไร
    ใครใคร่เห็นแก่ตัว ก็ปล่อยเขา
    บ้านเมืองเรา ยามนี้ มีศึก
    มัวหดหัว กลัวเสี่ยงภัย ไร้สำนึก
    ต้องผนึก ผนวกใจ ไปต่อกร

    ไอ้แช่ม เอ็งดูต้นไม้นี่สิ กว่ามันจะเติบโตขึ้นมาได้ มันก็ต้องอาศัยหลายอย่าง

    รอบต้นไม้มีทั้งก้อนหิน ก้อนดิน หากมีแต่ก้อนหิน มันคงตาย ต้องมีก้อนดิน เพื่อพยุงให้มันโต ให้รากยึดเกาะได้

    แล้วเราไม่อยากเป็นก้อนดินเหล่านี้รึ เป็นก้อนดินที่ยังให้ต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ ยึดเหนี่ยวต่อไป นานๆ เถิด

    ..เหมือนกับเป็นคนดี ที่ต้องปกป้องรักษาแผ่นดินเกิดของตัวเองไว้จนถึงที่สุด
    กองทัพอาทมาท ต่อสู้กับพม่าอย่างถวายชีวิต
    จนแม่ทัพพม่า ถึงกับออกปากชม เชย

    ศัตรูยังนับถือน้ำใจ .... แล้วคนในชาติเดียวกัน ?
    รู้สึกอย่างไรล่ะ
    ท่านขุนรองปลัดชู มิได้รบจนมุทะลุอย่างเดียว ในเมื่อไม่เป็นไปตามแผนการ กองหนุนก็ไม่มาสักทีกองทหารอ่อนแรงไปมากแล้ว

    ก็มีช่วงที่ต้องข่มขู่กันด้วย การเจรจา ข่มขวัญบ้างละ....

    แม้ไม่ได้ผลเต็มร้อย หยุดรบบ้างก็ยังมีเวลาหายใจ เพื่อ...จะไปลบจำนวนศัตรูลงให้มากที่สุด อันเป็นเป้าหมายในการศึกคราวนี้

    ".........แม้จะตายก็ขอตายในหน้าที่
    ชีวีนี้ พลีเพื่อชาติ ที่ข้ารัก
    แม้ศัตรู รุกเข้ามา จนหน่วงหนัก
    ข้าพร้อมพรัก ประจัญบาน สังหารมัน ....."
    ในที่สุด กองทัพอาทมาดทั้งสี่ร้อยก็พลีชีพดับดิ้นสิ้นใจด้วยหมดแรงล้า ตายทั้งที่สองมือยังถือดาบมั่น

    แต่ปฎิธาน ของท่านขุนรอง ปลัดชู และ เพื่อนร่วมทัพของท่าน คงยังอยู่ ว่า

    " ตราบใดที่ลมหายใจยังมี
    ชีวิตนี้ กูขออุทิศ เพื่อปกป้อง ผืนแผ่นดิน สยาม
    กูจะสู้ แม้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอย ถึงแม้ว่าจะดับสลาย
    แผ่นดินนี้ พ่อกูอยู่ ปู่กูตาย ยอมมลายมิยอมให้ไพรีครอง
    .... ใครบ้างเหวยจะยืนสู้เช่นกูบ้าง ใครบ้างเหวยจะเคียงข้างไทยใจหาญ
    ใครบ้างเหวย จะละสุขสนุกสำราญ ใครบ้างเหวย ยอมวายปราณ เพื่อไทยคง.....



    บางระจัน


    บางระจัน



    อ้างอิง : www.oknation.net/blog



    [radio]http://dc99.google.co.th/img/29137670/dca0bb62/dlink__2Fdownload_2F29137670_2Fdca0bb62_3Ftsid_3D20090615-200916-75ae1511/preview.mp3[/radio]



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 16-06-2009 at 09:43.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •